ซะการีย์ยา อมตยา ที่ สน.สมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน สถานที่แจ้งความ
"ข้าพเจ้าเห็นว่า กกต. เขตคลองสานได้ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงขอฟ้องดำเนินคดี กกต. เขตคลองสาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157" วรรคท้ายฟ้องดำเนินคดี กกต.เขตคลองสาน
ของซะการีย์ยา อมตยา นักเขียนกวีซีไรต์ ปี 2553 ลงเวลา 21:00 น. วันที่ 26
ม.ค.57
ซะการีย์ยา เข้าแจ้งความที่ สน.สมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน
เนื่องจากได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตที่เขตคลองสานไว้
โดยภูมิลำเนาของเขาอยู่ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
และตั้งใจไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา
แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก มีการปิดคูหาก่อนเวลา 15.00 น.
โดยเจ้าหน้าที่ กกต. อ้างเหตุผลทางการเมืองว่า ผู้ชุมนุม
กปปส.มาปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง
ในวันนี้ (27 ม.ค.2557) ซะการีย์ยา เดินทางไปยังไปยัง
สน.สมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน อีกครั้ง
เพื่อแจ้งความเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ควรต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม
กฎหมาย
ประชาไท พูดคุย กับซะการีย์ยา
ในวัยวันที่น่าจะผ่านการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งหลายครา
แต่ทำไมการเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีความสำคัญสำหรับเขา
และการเดินหน้าฟ้องคดีกับ กกต.เพื่อปกป้องสิทธิ์ในครั้งนี้
เขาคาดหวังสิ่งใด
000
Q: ทราบว่าวันนี้ไป สน.สมเด็จเจ้าพระยา ฟ้องใคร ด้วยข้อหาอะไรบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ไปแจ้งความมาแล้ว เมื่อวันที่ 26 ม.ค.?
วันนี้ผมไปฟ้องประธาน กกต.และคณะ (เขตเลือกตั้งคลองสาน)
ที่เกี่ยวข้องกับการยุติการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้ากลางคัน
เป็นการฟ้องเพิ่มเติมจากการฟ้องเมื่อวานตามกฎหมายประมวลอาญามาตรา 157
ในข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ฟ้องเพิ่มเติมในข้อหาจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นความผิดตามมาตรา 20
ประกอบตามมาตรา 137 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550
Q: คำว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ – ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คืออะไร?
ไม่ปฏิบัติหน้าที่คือไม่ดำเนินการเลือกตั้งให้ครบตามกำหนดเวลา ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่คือทิ้งงาน ทิ้งหน้าที่กลางคัน
Q: สถานการณ์อะไรในวันที่ 26 คือสิ่งที่ทำให้เห็นว่า ไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่?
ผมไม่ได้เห็นเหตุการณ์ตอนที่ม็อบ กปปส.มาสั่งยุติการเลือกตั้ง
ผมมาถึงที่หน่วยเลือกตั้งเขตคลองสานบ่ายสองโมงแล้ว
ผมฟังจากผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ม็อบ
กปปส.นำผู้คนมา 2 คันรถ แล้วขอให้ยุติการเลือกตั้ง ไม่ได้ทำอะไรใดๆ
ที่เกิดความรุนแรงใดๆ เลย
อีกอย่าง สน.สมเด็จเจ้าพระยาก็อยู่ไม่ไกลจากหน่วยเลือกตั้ง
กกต.ละเลยไม่ยอมใช้ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มาปกป้องสิทธิ์ของผู้มาใช้สิทธิ์
เลือกตั้งล่วงหน้าเอง
Q: ทำไมถึงคิดเรื่องแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ เพราะหากต้องการรักษาสิทธิ์แค่ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันก็เพียงพอแล้ว?
เพราะผมเห็นใบหน้าผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพ
มีความมุ่งมั่นที่จะลงคะแนนเสียง แต่ไม่มีโอกาสนั้น
พวกเขาล้วนเป็นคนต่างจังหวัด
แต่ได้ลงทะเบียนลงเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะใช้สิทธิ์ของตน
สิทธิ์ของทุกคนควรได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่รัฐ
และผมได้พูดคุยกับผู้มาใช้สิทธิ์ที่เห็นเหตุการณ์ ม็อบ
กปปส.มาสั่งให้ยุติการเลือกตั้ง ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
ผมเห็นผู้คนหลายร้อยคนในห้องประชุม สน.สมเด็จเจ้าพระยา
พวกเขาดูตื่นตระหนก ดูผิดหวังที่ไม่ได้ใช้สิทธิ์
บางคนกลัวจะเสียสิทธิ์จึงแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ไม่มีใครคิด
หรืออาจคิดไม่ทัน หรืออาจไม่รู้ว่าสามารถฟ้อง กกต.ได้
หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรืออาจรู้แต่ไม่กล้าจะฟ้อง
ผมเองก็กลัวว่าจะไม่มีใครฟ้อง เลยตัดสินใจฟ้องด้วยตัวเอง ทั้งๆ
ที่ผมเองไม่รู้หรอกว่าขั้นตอนการฟ้องจะเป็นอย่างไร
Q: แล้วกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. 5 คน มองอย่างไร?
มองว่าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเลือกตั้งที่ไม่เชื่อในการเลือกตั้งมากที่
สุด เพราะโดยหน้าที่แล้วนี่เป็นกลุ่มองค์กรที่จะต้องทำให้เกิดการเลือกตั้ง
ไม่ใช่ขัดขวางหรือพยายามทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้ง
Q: คาดหวังการฟ้องคดีครั้งนี้จะนำไปสู่อะไร?
เป็นไปได้ว่าเรื่องอาจไม่ไปไหนเลย
แต่อย่างน้อยนี่เป็นการฟ้องร้องเอาผิดกับองค์กรอิสระที่บกพร่องในหน้าที่รับ
ผิดชอบที่น่าจะเป็นการตรวจสอบและเอาผิดที่ควรเป็นบรรทัดฐานของสังคมที่เจริญ
แล้ว ครั้งนี้ก็จะเป็นแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
Q: ไม่กลัวหรือ?
เราทุกคนต่างก็กลัว คนกล้าหาญที่สุดก็ยังมีความกลัว
และคนในประเทศของเราก็เคยชินกับความกลัวที่อยู่ในรูปของการถูกบังคับให้รัก
ยกย่อง คนที่มีอำนาจวาสนามากกว่า ซึ่งสิ่งที่สำคัญกว่าการขจัดความกลัวก็คือ
การเคารพสิทธิ์และความเป็นคนของกันและกัน
หากจะกลัวก็คือการกลัวว่าการกระทำและการแสดงออกของเราทำให้คนอื่นต้องเดือด
ร้อนหรือเป็นทุกข์
Q: มองการเลือกตั้งอย่างไร หลายคนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่หลายคนเห็นตรงข้าม?
การเลือกตั้งไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าเราจะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
เพราะมันไม่มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะโลกนี้หรือโลกหน้า
แต่ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่ทำให้ผู้ซึ่งมีความเห็นแตกต่างสามารถ
เท่าเทียมกันได้ผ่านการเลือกตั้ง
และทำให้ทุกสังคมที่มีความขัดแย้งกันอยู่เป็นพื้นฐานไม่ต้องห้ำหั่นหรือ
ประหัตประหารกันด้วยกำลังและอาวุธ
Q: มีข้อเสนอสำหรับคนที่ต้องการไปเลือกตั้ง 2 ก.พ.หรือไม่ต้องการไปเลือกตั้ง 2 ก.พ.อย่างไร?
ในสังคมที่ปกติ การเลือกตั้งถือเป็นสิทธิพื้นฐาน ในสังคมที่ไม่ปกติ การเลือกตั้งคือหน้าที่ในการรักษาสิทธิ์นั้นไว้
Q: คนในวงการเดียวกันแต่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างไร?
นี่เป็นเสน่ห์ของสังคมประชาธิปไตย
คุณไม่จำเป็นต้องคิดหรือเห็นชอบเหมือนกัน
ถ้าเราตื่นมาแล้วเห็นว่าคนที่ประกอบวิชาชีพเดียวกับเรา
คิดหรือเห็นชอบแบบเดียวกับเราทุกอย่าง ก็ต้องตั้งคำถามแล้วล่ะว่า
เรากำลังอยู่ในสังคมแบบไหนกันแน่
Q: คิดอย่างไรกับการ ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐ ในสถานการณ์ปัจจุบัน?
ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นความผิดพลาดของรัฐบาล
อีกครั้ง ที่ไม่ว่าจะมองว่าเป็นกลยุทธ์ในการรวมอำนาจ
หรือควบคุมกองทัพหรืออะไรก็ตาม
มันลดความชอบธรรมของรัฐบาลรักษาการลงอย่างปฏิเสธไม่ได้
Q: เรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มันมีบทเรียนของสถานการณ์ที่ภาคใต้หรือเปล่า เปรียบเทียบกันได้ไหม?
มันแตกต่างกันทั้งบริบทและผู้คน เปรียบเทียบกันไม่ได้เลย
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับเดียวกันใช้ในพื้นที่ต่างกันมีน้ำหนักต่างกัน
ในสามจังหวัดมันคือความน่าสะพรึงกลัว กลัวที่ใครบางคนจากครอบครัวจะหายไป
กลัวการถูกจับไปสอบสวนแล้วฟกดำช้ำเขียวกลับมา
Q: พูดเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ กทม.ไม่มีความน่ากลัวอะไรเลย?
มันยังไม่ทำอะไรเลยไง... นั่งโต๊ะเจรจา
Q: คิดว่านอกจากรัฐบาลเสียทางการเมือง แล้วยังไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการจริงๆ?
น่าจะเป็นอย่างนั้น
Q: การเลือกตั้งล่วงหน้ามีความพิเศษอย่างไร?
การเลือกตั้งล่วงหน้ามีความสำคัญพอๆ กับการเลือกตั้งปรกติ
การเลือกตั้งโดยรวมแล้วครั้งนี้จะเป็นเหมือนปรอทวัดอุณหภูมิคนไข้
รวมถึงการไม่เอาเลือกตั้งด้วย
Q: คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญกว่าครั้งอื่นๆ อย่างไร?
มีความสำคัญเพราะความเห็นต่างชัดเจนมาก สังคมขัดแย้งมาหลายปี
ยังไม่ได้รับการเยียวยา
ฝ่ายที่สนับสนุนเลือกตั้งถือว่าเป็นปราการด่านสุดท้ายของการตั้งมั่นในหลัก
การ ส่วนฝ่ายที่ไม่สนับสนุนยังมองว่าการเลือกตั้งคือปัญหา
Q: ที่เคยบอกกับสื่อว่า "เป็นครั้งแรกที่ตั้งใจไปเลือกตั้ง" ทำไมถึงบอกอย่างนั้น?
ผมใช้ชีวิตต่างประเทศช่วงหนึ่ง
และไม่ได้อยู่ในพื้นที่ในช่วงเลือกตั้งมาเป็นเวลานาน
โดยก่อนหน้านั้นผมไม่เชื่อว่าระบอบการเลือกตั้งจะช่วยอะไรได้มาก
แต่มาครั้งนี้ ผมคิดว่า การไปเลือกตั้ง หรือใช้สิทธิ์
(ไม่ว่าจะโนโหวตหรืออะไรก็ตาม)
นี้เกี่ยวโยงโดยตรงกับสิทธิ์พื้นฐานของความเป็นคน มันเป็นการพิสูจน์ด้วยว่า
การเคลื่อนไหวสกัดขัดขวางการเลือกตั้งนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม
และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ต้องการให้ใครมาริบอำนาจของเขาไป
ผมไปเลือกตั้งเพื่อยืนยันในสิทธิ์นี้
ผมไปเลือกตั้งเพื่อบอกกับคนที่ต้องการยึดอำนาจนั้นว่า พวกเขาไม่สิทธิ์จะมายึดมันไปง่ายๆ เหมือนที่ผ่านมา
Q: รัฐบาล กับ กกต.จะเจรจาเลื่อนเลือกตั้งหรือไม่เลื่อนพรุ่งนี้ ในควรเห็นส่วนตัวคิดว่ายังไง ควรเลื่อนเลือกตั้งไหม?
ตอบไปแล้ว ข้างบน
Q: หมายความว่า ยังไงก็ต้องมีการเลือกตั้ง 2 ก.พ.นี้?
ใช่...
Q: ประเมินเรื่องความรุนแรงใน
การเลือกตั้ง 2 ก.พ.ว่าอย่างไร
จะหนักกว่านี้ไหมที่มีการตายและคนบาดเจ็บแล้ว
หลายคนบอกไม่คุ้มที่จะเดินหน้า?
เรื่องของความรุนแรงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
และก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าฝ่ายใดในตอนนี้ต้องการให้เกิดความรุนแรง
คนที่อยากไปเลือกตั้งเขาไม่ต้องการใช้ความรุนแรง
ไม่เช่นนั้นเขาคงไม่เลือกตั้งจริงไหม
ซึ่งการบาดเจ็บล้มตายที่เกิดขึ้นก็ต้องพิจารณาไปเป็นกรณีหรือเรื่องๆ ไป
เราไม่สามารถนำเอาความรุนแรงตรงนี้ไปล้มการเลือกตั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของการ
แก้ปัญหา
Q: หากการเลือกตั้งเดินหน้าได้จริง คนจะกล้าออกมาเลือกตั้งไหม?
คำถามนี้จริงๆ แล้วต้องการถามว่าถ้าการเลือกตั้งไม่ถูกล้ม
คนจะกล้าไปเลือกตั้งไหม คำตอบคือคนที่เขาต้องการการเลือก กตต.
หรือผู้ดูแลรับผิดชอบสามารถรักษาความปลอดภัยได้ไหมต่างหาก
นี่เป็นความรับผิดชอบของ กกต. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างตำรวจและทหาร
ไม่ใช่เรื่องของความกล้าไม่กล้านะครับ
Q: การที่มีบางคนบอกให้เลื่อนเลือกตั้งออกไปอีกหน่อย จะเป็นอะไรไป ดีกว่ามีแล้วเกิดความรุนแรง จะบอกเขาว่าอย่างไร?
การเลื่อนเลือกตั้งไปไม่ใช่สิ่งที่ กปปส. เรียกร้องนะครับ
เขาก็เน้นกันอยู่
ดังนั้นการเลื่อนเลือกตั้งโดยไม่มีการเจรจาก็คือการเลื่อนเพื่อรออำนาจพิเศษ
มาล้มรัฐบาลเพื่อไทย มันก็เท่านั้น
หมายเหตุ: ขณะนี้เว็บไซต์ของ กกต.มีการอธิบายขั้นตอนการแจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ เพื่อรักษาสิทธิ์ (คลิกดู) ส่วนเพจ สปป.เผยแพร่แบบฟอร์มร้องทุกข์/ กล่าวโทษให้ประชาชนที่ถูกละเ มิดสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันท ี่ 26 ม.ค. สำหรับไปแจ้งความที่ สน.ในท้องที่ เพื่อดำเนินคดีกับ ผู้ขัดขวางการลงคะแนนเลื อกตั้ง รวมทั้งผู้อำนวยการ และคณะกรรมการการเลือกตั้งป ระจำเขตเลือกตั้ง (คลิกดู)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น