แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

กลุ่มดาวดินแต่งคนป่าฟ้องศาลปกครอง ยัน 'ผู้ตรวจการฯ' ไม่มีอำนาจยื่นเลือกตั้งโมฆะ

ที่มา Thai E-News



ที่มา ประชาไท

แต่งคนป่าล้อเลียน ศาล รธน.ตัดสินทำประชาธิปไตยไทยล้าหลัง ชี้ผู้ตรวจการแผ่นดินชงเรื่องเลือกตั้ง โมฆะกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จวกเป็นการรัฐประหารจากองค์กรอิสระ พร้อมยันการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ไม่เป็นโมฆะ เหตุศาล รธน.วินิจฉัยแค่การกำหนดวันเลือกตั้ง จี้ กกต.เร่งจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตที่เหลือ
24 มี.ค. 2557 เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ที่ศาลปกครองภาค 4 จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) และเครือข่ายนักกิจกรรมชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) เกิดทางเข้ายื่นฟ้องผู้ตรวจการแผ่นดิน เรียกค่าเสียหายจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งดังกล่าว (คลิกอ่านข่าวเก่า) ระบุผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจหน้าที่ในการนำเรื่องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจในการรับพิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 สรุปว่า เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไปแล้ว ปรากฏยังไม่มีการจัดการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัครการเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวมิได้มีการเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้ง สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง หลังวันที่ 2 ก.พ.ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียว กัน เป็นผลให้ พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามมาตรา 108 วรรคสอง

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ผู้ประสานงานกลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเหตุผล คือ 1.ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณี ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงไม่มีอำนาจใน การยื่นคำร้อง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับพิจารณาคำร้องดังกล่าวด้วย
2.พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นั่นคือ วันที่ 2 ก.พ. 2557 หลังจากการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่วันที่ 9 ธ.ค. 2556 ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 108 กำหนดแล้ว ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ขัดต่อรัฐ ธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 นั่นหมายความว่าศาลรัฐ ธรรมนูญรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย
3. เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายจากฝ่ายมวลชนอนุรักษ์นิยมไป ขัดขวางหรือปิดคูหาการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิทางการเมืองตามที่ กฎหมายกำหนดได้ และ กกต.ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในการการจัดการเลือกตั้ง แต่กลับมีความพยายามหาช่องทางที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือเลื่อน การเลือกตั้งออกไป ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับ “การปฏิบัติตามกฎหมาย” ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติกฎหมาย
“สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนการรัฐประหารจากองค์กรอิสระ การตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ จะนำไปสู่ทางตันของการเลือกตั้งครั้งหน้า และจะสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่เป็นปัญหาต่อไปในอนาคต” จตุภัทร์กล่าว   
จตุภัทร์ กล่าวด้วยว่า การฟ้องครั้งนี้ไม่ได้หวังผลทางกฎหมายเพราะหมดศรัทธากับกระบวนการยุติธรรม แล้ว แต่ทางกลุ่มต้องการแสดงสิทธิการเมือง ต้องการพื้นที่ในการแสดงออกเพื่อให้สังคมรู้ว่ามีคนที่ทนไม่ได้กับการใช้ กระบวนการยุติธรรมทำลายประชาธิปไตย จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ กกต.หอบหีบเลือกตั้งหนีประชาชน ส่วนองค์กรอิสระก็ชงเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึงเขารู้สึกว่าเหมือนเป็นกระบวนการปฏิวัติเงียบที่ลิดรอนอำนาจของประชาชน
ส่วนกรณีที่ยื่นฟ้องผู้ตรวจการแผ่นดิน จตุภัทร์ กล่าวว่า เพราะต้องการให้สังคมได้มองเห็นผู้เล่นหลักอีกตัวหนึ่ง ซึ่งทำให้การเดินหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง
ทั้งนี้ ตามเอกสารคำฟ้อง ระบุชื่อ นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ตามลำดับ พร้อมระบุว่า
หากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต้อง การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเท่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 245 (2)
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจบการ ศึกษาด้านนิติศาสตร์ และเคยเป็นอาจารย์สอนวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ย่อมมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างดี และย่อมเข้าใจอำนาจหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 245 (1) และ (2) อยู่แล้ว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามยังคงยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญของการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 จึงเป็นการการจงใจดำเนินการโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเองไม่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐ ธรรมนูญ เป็นการดำเนินการนอกขอบอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

แต่งคนป่าล้อเลียน คำตัดสินศาล รธน. ชี้ทำประชาธิปไตยไทยล้าหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว กลุ่มดาวดินและนักศึกษากลุ่ม ชนพ.ยังทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์คัดค้านคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่หน้าตึกที่ทำการศาลปกครอง เริ่มจากมีคน 6 คน เขียนหน้าเป็นตัวตลกและแต่งตัวเป็นคนป่า ล้อเลียนการทำงานของศาลที่มีความล้าหลังไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ต่างกับยุคคน ป่า และต่อมามีคนใบหน้าโศกเศร้า 4 คน เข้ามาชูบัตรประชาชนขึ้นยืนนิ่งพร้อมถือป้ายที่มีข้อความว่า “เลือกตั้ง 2 กุมภาเป็นโมฆะ” เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐหารได้เกิดขึ้นแล้วแม้ไม่ได้เกิดจากปลายกระบอกปืนแต่ เกิดจากองค์กรอิสระ


กิจกรรมสุดท้ายมีการล้อเลียนกระแสนายกคนกลาง โดยมีชายใส่หน้ากากซุปเปอร์ฮีโร่ปิดใบหน้า และถอดเสื้อโดยภายในเสื้อแสดงสัญญาลักษณ์ของซุปเปอร์แมนแต่เขียนคำว่า “มาตรา 7” แต่ถูกชูป้ายข้อความว่า  “ไม่เอานายกคนกลาง ประเทศไทยไม่ต้องการ Hero” เป็นการแสดงออกถึงความคิดที่ไม่ต้องการนายกคนกลางที่ไม่ได้มาจากกระบวน ประชาธิปไตย
นางสาว จุฑามาส  ศรีหัตถผดุงกิจ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) กล่าวว่ากิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นการต่อต้านความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงเป็นคนป่า ในบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงความล้าหลังของคำวินิจฉัยที่ออกมา การแสดงละครใบ้ ที่แสดงถึงการถูกลิดรอนสิทธิโดยไม่รู้ตัว แต่ก็พร้อมที่จะสู้ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตย
และสุดท้ายคือ การออกมาของ “ฮีโร่” ที่จากข้อเท็จจริงที่ผ่านมานั้น ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่ได้ช่วยให้ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยเจริญงอกงามขึ้นแต่อย่างใด  ซึ่งวิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการที่ สงบ สันติ อหิงสา อย่างแท้จริง


จากนั้น กลุ่มผู้ทำกิจกรรมได้อ่านแถลงการณ์ประกาศจุดยืนของกลุ่ม โดยระบุว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไม่เป็นโมฆะ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งวินิจฉัยแต่เพียงว่าการกำหนดวันเลือก ตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 ตาม พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ส่วน กกต.จะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตที่เหลือซึ่งยังไม่สามารถ จัดการเลือกตั้งได้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
พร้อมยื่นยัน ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบไม่ว่าโดยทหารหรือองค์กรอิสระ หรืออำนาจนอกระบอบใดๆ และสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องการนายกคนกลางหรือนายกพระราชทานซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่ อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

แถลงการณ์ กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
จากสถานการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้องของผู้ตรวจการ แผ่นดินว่าการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ตามพระราช กฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญได้มีมติ 6 ต่อ 3 เสียง ให้พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ.2557 ไม่ชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรค 2 นั้น พวกเรา (ดาวดิน) ได้ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่แบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนระหว่าง ฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายอนุรักษ์นิยม พวกเราขอแสดงเจตนาทางการเมืองว่าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจในการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัย เพราะ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการเลือกตั้งทั่ว ไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจใน การรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย
2. พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นั่นคือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 หลังจากการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่วัน ที่ 9 ธันวาคม 2556 ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 108 กำหนดแล้วซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 นั่นหมาย ความว่าศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย
3. เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายจากฝ่ายมวลชนอนุรักษ์นิยมไป ขัดขวางหรือปิดคูหาการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิทางการเมืองตามที่ กฎหมายกำหนดได้ และคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองคือการจัดการเลือกตั้ง แต่ กกต.กลับมีความพยายามหาช่องทางที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือเลื่อน การเลือกตั้งออกไป ซึ่งเป็นการสิ้นเปลื้องงบประมาณแผ่นดิน 3,800 ล้านบาทโดย เปล่าประโยชน์ และถือเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอย่าง ร้ายแรง
ดังนั้น พวกเราขอประกาศจุดยืนว่า
1. การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ เป็นโมฆะ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งวินิจฉัยแต่เพียงว่าการกำหนดวันเลือก ตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์2557 ตามพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง เป็นโมฆะ
2.คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. จะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งที่เหลือ ซึ่งไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
3.พวกเราขอต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบไม่ว่าโดยทหารหรือ องค์กรอิสระ หรืออำนาจนอกระบอบใดๆ อันเป็นการทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยโดยฝ่ายที่ไม่ต้องการประชาธิปไตย
4.พวกเราสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องการนายกคนกลางหรือนายกพระราชทานตามมาตรา7 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับ หลักการประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน
“การเลือกตั้ง” ไม่ได้แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย แต่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ “การเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นกลไกขั้นพื้นฐานที่แสดงถึงสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ของประชาชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันตามหลักสิทธิมนุษยชน
ด้วยจิตคารวะ
                               
กลุ่ม เผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
เครือข่ายนักกิจกรรมชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา ( ชนพ. )
24 มีนาคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น