แด่ความรักและความศรัทธา
แด่สันติภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
แด่ทุกจิตวิญญาณที่ต่อสู่เพื่อเสรีภาพ
แด่ประชาธิปไตยที่ไฝ่ฝัน
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
“ทุกครั้งทุกคราที่ต้องเผชิญ หน้ากับตำรวจหรือทหาร ก็รู้สึกผวาไปหมดทั้งตัว ความทรงจำครั้นถูกนำตัวไปทรมานยังคงไม่จางหายไป แต่เรื่องเหล่านี้ผมปลงแล้ว คงทำได้แค่เพียงขอพรจากพระเจ้าเท่านั้น...” [1]ชายวัยราว 60 ปีชาวมุสลิมคนพื้นที่ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่น เครือในภาษามลายูท้องถิ่น แสงสุริยนอันโชติช่วงชัชวาลสาดส่องเรือนร่างของชายชรา เผยให้เห็นผิวหยาบกร้านที่แสดงถึงการตรากตรำทำงานและประสบการณ์ชีวิตอัน โชกโชน แต่แสงตะวันแรงกล้านี้มิเคยสาดแสงส่องแนวทางสู่ความผาสุกแก่ชายชรา ซ้ำยังแผดเผาจิตใจที่อ่อนล้าและร่างกายที่อิดโรยและบอบช้ำจนร่างกายหมด เรี่ยวแรงที่จะเดินหน้าต่อไป ความเจ็บปวดที่ส่งผ่านแววตาอันเศร้าโศกของเขาชวนในผู้ฟังย้อนกลับมาตั้งคำ ถามว่า อะไรกันที่เปลี่ยนดินแดนอันเปี่ยมสุขแห่งนี้ให้กลายเป็นสมรภูมิรบที่เป็นราว กับฝันร้ายของคนกว่าสามล้านห้าแสนคนผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ อะไรกันเป็นบริบทที่ทำให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้ และอะไรกันเป็นทางออกที่ดีที่สุดของพวกเขาที่จะทำให้พวกเขาสามารถหลุดออกไป จากฝันร้ายนี้ได้
ปัจจุบันเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคง คุกกรุ่นอยู่และพร้อมที่จะระเบิดตลอดเวลา จำนวนผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพื่อให้สามารถเข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงและปรากฏการณ์ทางสังคมที่กำลังเกิด ขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน เราจึงต้องเข้าไปศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ให้ชัดเจน การก่อตั้งขบวนการปลดแอกอิสรภาพให้แก่พื้นที่บริเวณนี้มิใช่เรื่องใหม่แต่ อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สยามได้เข้ายึดครองรัฐปาตานีดารุสลามและแต่งตั้งให้ อยู่ในฐานะประเทศราช เหตุการณ์ต่างๆมีความชัดเจนและทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากรัฐบาลสยามได้ทำ สัญญากับเครือจักรภพอังกฤษโดยเรียกว่า ข้อตกลงสยาม-อังกฤษ (Anglo-Siam treaty) โดยมีการปันส่วนดินแดนในบริเวณคาบสมุทรมลายูอย่างชัดเจน โดยสยามได้รับอำนาจอธิปไตยเหนือปัตตานี ยะลา ระแงะและสายบุรีไป จากนั้นสยามได้ทำการรุกรานและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมของพื้นที่เหล่า นี้เพื่อพยายามกลืนอัตลักษณ์ของพื้นที่ให้เข้ากับรัฐประชาชาติของสยาม จึงเป็นการจุดประกายให้เกิดความรุนแรงขึ้นในเวลาต่อมา
ในอดีต ปรากฏการณ์การลุกฮือขึ้นของประชาชนชาวปาตานีดารุสลามในหน้าประวัติศาสตร์ อยู่บ่อยครั้งเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมของรัฐบาลไทย ความพยายามในการแยกตัวออกจากรัฐประชาชาติสยามนั้นมีมานานตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ที่ 2500-2530 อย่างไรก็ตามกระบวนการขับเคลื่อนการแบ่งแยกดินแดนมีความสลับซับซ้อนมากกว่า ข้อมูลที่สื่อมวลชนของรัฐเสนอออกเป็นข่าวสาร กลุ่มการแบ่งแยกดินแดนแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มและล้วนมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน อาทิกลุ่มนิยมการปกครองแบบฆราวาสนิยม กลุ่มนิยมอิสลามแบบเคร่งครัดและแบบไม่เคร่งครัด กลุ่มนิยมพรรคคอมมิวนิสต์มาเลย์ และกลุ่มที่สนับสนุนการปกครองตัวเอง (autonomy) เช่นการเป็นเขตปกครองพิเศษโดยยังคงอยู่ใต้อาณัติของสยามรัฐ
ประวัติศาสตร์ฉบับของรัฐปาตานีดารุสลามและฉบับที่ปรุงแต่งขึ้นใหม่โดยกรม พระยาดำรงราชานุภาพมีความแตกต่างกันอยู่มาก ประวัติศาสตร์ชาติไทยเน้นยำและเชิดชูคุณงามความดีของพระมหากษัตริย์ไทยว่า เป็นผู้มีบุญญาธิกาสูงส่งเสียดฟ้าและแข็งแกร่งจนสามารถพิชิตเมืองต่างๆที่ อยู่รอบข้างได้ แต่ประวัติศาสตร์ของรัฐปาตานีดารุสลามมีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลที่ บันทึกความชอกช้ำของการถูกย่ำยีโดยรัฐไทยและความโหดร้ายของ “นักล่าอาณานิคมชาวสยาม” (Siam Penjajahan) ที่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีของชาวปาตานีดารุสลามมาทุกยุคทุกสมัย ดังเช่นในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของชาวปัตตานีที่กล่าวเป็นภาษามลายูอย่าง ชัดแจ้งว่า
“…Kerana Raja Siam memandang darjat baginda itu sangat rendah dari padanya…”หมายความว่า ขัตติยะแห่งกรุงสยามดูถูกเหยียดหยามรายาแห่งปาตานีว่ามีเกียรติภูมิและ ศักดิ์ศรีต่างจากตนมากมาย ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองธานีปะทุขึ้นบ่อยครั้ง จนถึงครั้นรัฐไทยใช้อำนาจเข้าปกครองรัฐปาตานี จากที่เคยมีสถานภาพเป็นเพียงประเทศราชที่ปราศจากพันธนาการทางการเมือง มีการบุกเข้าทำลายล้างสิ่งๆต่างๆที่ปาตานีดารุสลามได้สั่งสมไว้ด้วยความ ภาคภูมิใจ มีเรื่องเล่าต่างๆนานาเกี่ยวกับความโหดร้ายที่สยามได้กระทำไว้กับปาตานี เช่น มีการสั่งใช้ความรุนแรง หรือการจับกุมผู้นำชุมชนบ่อยครั้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของเต็งกูอับดุลกอเดร์ที่ถูกพระยาศรีหเทพซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยหลอกลวงโดยนำล่ามภาษามลายูที่สมคบคิดกับสยามมาแปล หนังสือที่ให้เต็งกูอับดุลกอเดร์เซ็นรับรองอย่างผิดๆ ในความเป็นจริงแล้วหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญามอบอำนาจการปกครองปัตตานีให้กับ สยาม ซึ่งรัฐบาลไทยได้นำไปยื่นต่อเครือจักรภพอังกฤษในภายหลัง เมื่อทราบความจริงเต็งกูผู้นี้จึงได้เขียนหนังสือไปถึงทางการอังกฤษเพื่อขอ ความช่วยเหลือ โดยฉบับวันที่ 13 สิงหาคม 2544 มีใจความดังนี้
(Tueew and Wyatt, 1970 : 228)
“ I trust that
the trouble and grievances which are being impost on my people will be
seen by your excellency to be so harassing and unendurable that the
peace and well-being of the state are endangered…and also that it will
be seen that my application for the intervention and good offices of
Great Britain has good grounds on which it is founded....“[2][ผู้
เขียนแปลความว่า:
ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกท่านได้ประจักษ์แล้วถึงปัญหาและความทุกข์ระทมที่ประชาชน
ของข้าพเจ้ากำลังเผชิญ
ความโหดร้ายที่(สยามรัฐ)ได้กระทำช่างรุนแรงและไม่สามารถต้านทานได้จนเป็น
อันตรายต่อความสงบสุขของรัฐและความผาสุกของราษฏรของข้าพเจ้า
จะเห็นได้ว่าการแทรงแซงของเครือจักรภพอังกฤษมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม…]
มีการบันทึกไว้ว่า เวลาบ่ายสามโมงของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2445
เมื่อสยามทราบความดังกล่าว
พระยาศรีสหเทพจึงได้สั่งทหารจับตัวเต็งกูอับดุลกอเดร์อย่างโหดเหี้ยเพื่อนำ
ตัวไปยังจังหวัดสงขลาทางเรือทันที่โดยมีหะยีอับดุลลาตีฟ
โต๊ะอีหม่ามมัสยิดรายาจะบังติ-กอติดตามไปด้วย
หลังจากก็ถูกนำส่งตัวส่งไปยังกรุงเทพฯและถูกจำขังที่พิษณุโลกตามลำดับเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2506 อังกฤษได้ปลดปล่อยรัฐมลายูทั้งปวงให้เป็นอิสระ ในเวลาต่อมารัฐเหล่านี้ก็ได้รับการพัฒนาจากรากฐานที่ประเทศอังกฤษที่วางโครง สร้างไว้ให้จนมีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยะประเทศ ในขณะที่ปัตตานี ยะลาและนราธิวาสซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงเหลือเกิน กลับถูกละเลยและทิ้งร้างไว้ให้มีฐานะยากจน มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี และมีรัฐสวัสดิการที่ไม่ทั่วถึง ประวัติศาสตร์ปาตานีดารุสลามจึงเป็นเสมือนร่องรอยแผลเป็นที่ฝังอยู่ในส่วน ลึกของจิตใจชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความชอกช้ำที่ไม่สามารถหลงลืมไปได้ ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนผ่านไปนานแค่เพียงใด
นอกจากบริบทด้านประวัติศาสตร์แล้ว การศึกษาพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยถือ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยื่งยวด อัตลักษณ์ของสังคมภาคใต้ตอนล่างที่สำคัญคือความเป็นอิสลามที่เข้ามามีบทบาท ต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ในทุกๆมิติ การทำความเข้าใจสังคมอิสลามต้องมีแนวคิดพื้นฐานที่ถูกต้อง นั่นคืออิสลามมิได้มีบทบาทเป็นเพียงศาสนา แต่เป็นวัฒนธรรม เป็นระบอบการปกครอง เป็นธรรมนูญชีวิต เป็นเลือดเนื้อและศักดิ์ศรีของชาวมุสลิมทุกคน ตามแก่นแนวคิดของศาสนาอิสลามนั้น ความรักแก่เพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงใส่ใจและปฏิบัติตาม โดยมีหลักความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดจากนบีอาดัม ที่พระเจ้าสร้างขึ้นจากดิน มนุษย์ทุกคนจึงมีความเสมอภาคในศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ รวมไปถึงสิทธิเสรีภาพที่พระผู้เป็นเจ้าตั้งใจรังสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะมีเพศ ชาติพันธุ์ หรือสีผิวที่แตกต่างกันแต่อย่างใด ก็มิสามารถแบ่งแยกได้ดังที่บันทึกไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า
“...และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด
มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า....” (พระคัมภีร์กุรอาน, 5:8)[3]
ด้วยเหตุนี้ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งความสงบสุข สอดคล้องกับความหมายของคำว่า “อิสลาม” อย่างแท้จริงมันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า....” (พระคัมภีร์กุรอาน, 5:8)[3]
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความเสมอภาคนี้กอปรกับความภาคภูมิใจของชาติพันธุ์ มลายูซึ่งเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความเจริญ รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้งปะทุขึ้น เนื่องจากรัฐไทยมีระบอบการจัดการที่รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึงอันขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ประชาชนพึงได้รับในฐานะ พลเมืองเข้าไม่ถึงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง อีกทั้งยังปรากฏการทำงานที่เลือกปฏิบัติโดยแบ่งแยกชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนา และชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บางครั้งยังมีการกดขี่อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์มลายู การกระทำของรัฐบาลไทยล้วนแล้วแต่ขัดแย้งต่อหลักความเข้าใจและโลกทัศน์ของชาว มุสลิม ถือเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในหน้า ประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
การแบ่งแยก (discrimination) ดังกล่าวมีต้นตอสาเหตุหลายประการ ประการแรกคือการปลูกฝังแนวคิดคลั่งชาติ (chauvinism) ผ่านการศึกษาที่ผูกขาดโดยภาครัฐส่วนกลาง โดยเฉพาะผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์กระแสหลัก (Grand Narrative) ที่มีลักษณะแบบชาตินิยม เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยที่เกิดจากสร้างรัฐประชาชาติขึ้นเพื่อก่อให้เกิด บูรณภาพในรัฐและยังคงไม่ได้รับการแก้ไขจนถึงปัจจุบัน โดยมีการสรรเสริญยกยอศึกสงครามอันคร่าชีวิตผู้คนมานับล้าน (glorification of war) โดยมักมองว่าชาติไทยเป็นฝ่ายธรรมะและฝ่ายคู่สงครามเป็นฝ่ายอธรรมที่คอยรังแก ชาติไทย ผลิตซ้ำวาทกรรมเกี่ยวกับศีลธรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฏฐาธิปปัตย์ ผ่านกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ (sanctification) และวาดภาพชาติอื่นๆให้เป็นปานประหนึ่งปีศาจร้าย (demonization) เพื่อสร้างฐานแนวคิดคู่ขนานที่วาดมโนทัศน์ว่าชาวไทยเป็นฝ่ายถูกย่ำยี ทั้งๆที่ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จาก ประเทศที่เจริญแล้วและประเทศที่มีความพยายามในการพัฒนาจากทั่วโลกได้ก้าว ผ่านไปเรียบร้อจยท่ามกลางกระแสโลกานิยม (globalism) โดยการเขียนประวัติศาสตร์จากภววิสัย (objectivity) และปราศจากอคติทางเพศ ชาติพันธุ์ หรือสีผิว (political correctness) ในขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์ไทยที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอผ่านหลักสูตรการศึกษาภาค บังคับเรียกได้ว่า เป็นการนำเสนอข้อมูลด้านเดียวและยังมีอคติ (subjectivity) หลงเหลืออยู่มาก ทั้งยังปลุกปั่นความเกลียดชังแก่เยาวชนทั่วประเทศผ่านการกดขี่ทางแนวคิดที่ ทำให้ประชาชนตกเป็นเครื่องมือความเกลียดชังของรัฐโดยไม่รู้ตัว
ปัจจัยประการแรกนี้เองก่อให้เกิดปัจจัยประการที่สอง นั่นคืออาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติของชาวไทย (xenophobia) ระบบการศึกษาของไทยวาดภาพมโนทัศน์ของชาวต่างชาติเป็นสามประเภทคือเป็นศัตรู ผู้ต้อยต่ำกว่า เป็นศัตรูคู่แข่ง และเป็นผู้ย่ำยี ทำให้ชาวไทยมีมโนทัศน์ที่ค่อนข้างคับแคบเกี่ยวกับชาวต่างชาติและมีอคติต่อ ชาวต่างชาติอยู่บ่อยครั้ง อาการดังกล่าวนี้มีลักษณะคล้ายคลีงกับการเหยียดสีผิว (Racism) แต่บางครั้งมีความรุนแรงที่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนมากกว่า ด้วยปัจจัยนี้ทำให้ชาวไทยพุทธรู้สึกเกลียดและกลัวชาวมลายูซึ่งมีลักษณะทาง กายภาพแตกต่างจากชาวไทยในภูมิภาคอื่นๆ ประกอบกับเหตุการณ์วินาศกรม 9-11 ที่เป็นการก่อการร้ายครั้งสำคัญของโลกโดยกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่สื่อมวลชนนำมาผลิตซ้ำและตอกย้ำซ้ำเติมแนวคิดการเกลียดกลัวชาวมุสลิมในไทย และทำให้เกิดการมองแบบสามัญทัศน์ (stereotype) ว่าชาวมุสลิมเป็นผู้มีแนวคิดรุนแรงและมีความต้องการแบ่งแยกดินแดน ทำให้ชาวไทยจำนวนมากละทิ้งหลักประชาธิปไตยและกล่าวหาว่าร้ายเหมารวมชาว มุสลิมด้วยถ้อยคำเกลียดชัง (hate speech) และเสริมสร้างอคติให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยให้ใช้ความรุนแรงกับชาวมุสลิม ในพื้นที่ในเวลาต่อมาจนทำให้ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนปะทุขึ้นอย่างดุเดือดและ ไม่มีทีท่าจะหยุดลง
การผูกขาดการนำเสนอข้อมูลของสื่อโดยรัฐที่ไม่มีการถ่วงดุล (check & balance) ปลุกเร้าและทวีคูณกระแสความเกลียดชังของประชาชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดกระแสการต่อต้านอิสลามด้วยแนวคิดแบบนิยมพุทธ (Buddhist chauvinism) อันยึดแนวคิดศาสนาพุทธเป็นศูนย์กลางและดูถูก โดยคนจำนวนมากมีโลกทัศน์ที่คับแคบ มองมนุษย์เป็นสีขาวและสีดำ เป็นคนดีและคนชั่ว เป็นธรรมะและอธรรม พิพากษาชาวมุสลิมว่าเป็นคนบาป เป็นจำเลยสังคม กรอบแนวคิดที่ยืดหลักศีลธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้มัดมือมัดเท้าพร้อมปิด ปากชาวมุสลิมจนโดยลืมไปว่าชาวมุสลิมก็มีสิทธิเสรีภาพ มีศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ มีความชอบธรรมในการเป็นเจ้าของอำนาจ (popular sovereignty) มี ‘เสียง’ ที่ดังเท่าๆกับชาวไทยพุทธผู้มีศีลธรรมทั้งหลายทั้งปวง ชาวไทยจำนวนมากมักเชื่อว่าชาติเราเป็นฝ่ายถูกกระทำย่ำยี เป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่ผู้มีศีลธรรมเหล่านี้คงหลงลืมอะไรบางอย่าง พวกเขาได้หลงลืมไปว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำ นั่นคือการตีตราชาวไทยมุสลิมว่าเป็นคนสามานย์ ไร้คุณธรรม จนผลิตซ้ำอัตลักษณ์และก่อให้เกิดความรุนแรง ก็เป็นการบดขยี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จนเหลือเพียงเศษธุลีที่ไม่มีใครมอง เห็น ความเจ็บปวดรวดร้าวจากการถูกกดขี่ข่มเหงเป็นสิ่งที่ชาวไทยผู้กล่าวอ้างตน เป็นผู้ถูกกระทำในหน้าประวัติศาสตร์ควรเข้าใจเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดีสิ่งที่แสดงออกมานั้นขัดแย้งกันอย่างชัดเจน เพราะผู้ที่รู้ซึ้งเข้าใจความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างแท้จริงไม่มีทางยัดเยียด ความเจ็บปวดนั้นให้แก่ผู้อื่นเป็นอันขาด
อัตลักษณ์สำคัญอีกอย่างของชาวไทยมุสลิมในบริเวณนี้คือภาษามลายู โดยปกติ คนในพื้นที่นี้สามารถพูดได้สองภาษาคือ ภาษาไทยและภาษามลายู อย่างไรก็ตามรัฐไทยมีความพยายามในการลดความสำคัญทางการเมือง (depoliticization)[4] ของภาษามลายูลงอย่างต่อเนื่อง รัฐไม่แสดงออกถึงความพยายามในการเก็บรักษาองค์ความรู้ภาษามลายูไว้ เห็นได้ชัดจากการใช้ภาษามลายูผิดๆถูกๆในประกาศต่างๆของรัฐ มีการบังคับให้เรียนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ไทยและลดงบประมาณที่ใช้ในการ สนับสนุนการเรียนภาษามลายู อีกทั้งยังมีการประกาศสั่งปิดโรงเรียนปอเนาะซึ่งเป็นสถานที่ไม่กี่สถานที่ ที่ยังสามารถคงองค์ความรู้เหล่านี้ไว้ได้โดยให้เหตุผลว่า โรงเรียนปอเนาะเป็นแหล่งซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จนทำให้ชุมชนหลายชุมชนถูกดูดกลืนอัตลักษณ์ทางภาษาอันเลอค่านี้จนสูญสิ้นจน กลายเป็นเชื้อมูลให้เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
อีกบริบทหนึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดปัญหาความรุนแรงคือ ปัญหาทางเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากปัญหาทางการเมือง ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ การเลือกใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) เป็นการตัดสินใจเลือก (making a choice) ที่ทำให้เกิดค่าเสียโอกาส (opportunity cost) และเกิดสภาวะได้อย่างเสียอย่าง (trade-off) ที่เรียกว่า ผลกระทบภายนอกเชิงลบ (negative externality) ได้แก่ ต้นทุนทางสังคม (Social cost) และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (inequality) รัฐบาลของประเทศที่ใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมต้องเข้ามามีบทบาทในการควบคุม จัดการผลกระทบภายนอกเชิงลบดังกล่าวในฐานะผู้คงเสถียรภาพ (stabilizer) อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดการของรัฐบาลไทยยังคงขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากยังมีการรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง (centralization) ขาดการกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น ส่งผลกระทบให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึงและรัฐส่วนกลางไม่สามารถเข้าถึงความต้อง การของท้องถิ่นได้ และยังมีระบบการจัดการที่ขาดการตรวจสอบได้ (transparency) ทำให้การทำงานของรัฐไม่สามารถตอบสนองการเป้าหมายของการบริหารรัฐกิจ (public administration) ได้แก่ ประสิทธิภาพ (efficiency) และความเท่าเทียม (equity) พื้นที่บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรเลอ ค่าจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ ทรัพยากรชายฝั่ง ประกอบกับภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะกับการเป็นจุดยุทธศาสตร์การค้าทางทะเล ทำให้พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่ามีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมาก อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยทุกยุคสมัยไม่สามารถบริหารงานโดยตอบรับกับศักยภาพดังกล่าวได้ อีกทั้งยังดูดกลืนทรัพยากรและความเจริญรุ่งเรืองต่างๆเข้าสู่เมืองหลวง ทำให้ปริมาณเม็ดเงินในระบบ (money supply) ของพื้นที่นี้มีอยูในปริมาณน้อยและอยู่ในมือผู้มีอำนาจเก่าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บุคคลเหล่านี้ครอบครองทั้งอำนาจทุนและอำนาจทางการเมืองจนกลายเป็นการ ผูกขาดอำนาจทางการเมืองท้องถื่น
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ลุกลามอย่าง รวดเร็ว จากสถิติเงินรายหัวต่อปีของคนในพื้นที่ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีรายได้เป็นอันดับที่ 31 โดยมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 82,745 บาทต่อปี จังหวัดนราธิวาสมีรายได้เป็นอันดับที่ 44 โดยมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 61,487 บาทต่อปี ส่วนจังหวัดปัตตานีมีรายได้เป็นอันดับที่ 48 โดยมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 56,927 บาทต่อปี[5] รายได้เหล่านี้ล้วนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตจึงก่อให้เกิดความไม่พอใจใน ความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ของรัฐ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่คนมักมองข้าม แต่ก็เป็นอีกประเด็นที่มีความสำคัญมากเท่าๆกัน เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คนในพื้นที่ต้องการเรียกร้องอำนาจการปกครอง ตนเองเมื่อรู้ถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของพื้นที่ตนเองที่รัฐมิเคย ใส่ใจในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม หากคนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) มีกินมีใช้ สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสวัสดิการของรัฐได้ ก็แทบไม่เหลือเหตุปัจจัยใดให้ความรุนแรงปะทุขึ้นจนชีวิตนับร้อยพันต้องสูญ สิ้นไป
นอกจากบริบทต่างๆที่กล่าวมาข้างตน สื่อมวลชนของประเทศไทยก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงมาก ขึ้น เนื่องจากสื่อไทยมีการผูกขาดข้อมูลข่าวสารที่มีความเป็นอัตวิสัยสูง กล่าวคือมีการนำเสนอข้อมูลเพียงชุดเดียวประกอบกับมีการปิดกั้นการนำเสนอ ข้อมูลจากมุมมองที่แตกต่าง นอกจากนี้ยังใส่อคติทางชาติพันธุ์เข้าไปผ่านถ้อยคำแห่งความเกลียดชังอยู่ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำศัพท์ต่างๆที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนอีกฝ่ายและปลุก เร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่านมากเกินกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงอันเป็น จรรยาบรรณของสื่อมวลชน เช่นการใช้คำว่า โจรใต้ มุสลิมหัวรุนแรง ฯลฯ การใช้ถ้อยคำเหล่านี้เป็นการขาดความอดทนอดกลั้น (tolerance) ต่อคนในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย และยังเป็นการใช้ทรรศนะแบบเหมารวมหรือสามัญทัศน์ (stereotype) ในการมองว่า มุสลิมเป็นคนหัวรุนแรง หรือคนกลุ่มนี้เป็นโจรและยังเหมารวมผู้คนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้ยังแสดงถึงความไม่เข้าใจในจุดม่งหมายของการเรียกร้องของคนเหล่านี้ โดยบิดเบือนให้ผู้เสพสื่อเข้าใจว่าเป็นเพียงการสร้างความหวาดกลัวให้กับ สังคมด้วยเหตุผลทางศาสนา ทั้งๆที่ยังมีบริบทรอบด้านอีกมากมายที่ผู้คนควรเข้าใจและรับฟัง
แนวทางการแก้ไขปัญหานี้มิใช่เรื่องยาก ในความเป็นจริง รัฐบาลไทยทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อลงทุนในการแก้ไขปัญหานี้ นักวิชาการไทยจำนวนมากก็ล้วนทราบดีถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและ ยั่งยืน อย่างไรก็ตามการทำงานของรัฐบาลไทยยังคงเป็นไปอย่างเฉื่อยชาด้วยระบบคร่ำครึ ที่ยังคงรวมศูนย์อำนาจสั่งการและขาดการกระจายอำนาจ วิธีการแก้ไขปัญหานั้นจะต้องเข้าไปศึกษาและเจาะแต่ละรากฐานของปัญหา แล้วจึงวิเคราะห์ต่อยอดออกมาเป็นข้อสรุปได้ดังต่อไปนี้
วิธีการแก้ไข
ประการแรก การเริ่มการแก้ไขจากระบบการเมืองที่มีลักษณะ แบบอำนาจนิยม (authoritarianism) ของประเทศไทยที่ผูกขาดอำนาจรัฐกับอำนาจทุน ประกอบกับอำนาจเก่าของชนชั้นสูงที่อาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของกรอบคุณธรรม จริยธรรมมาชุบตัวเพื่อเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับตน ทั้งหมดนี้จึงทำให้อำนาจในการบริหารจัดการและการพัฒนารวมอยู่ที่ศูนย์กลาง นอกจากการทำงานจะล่าช้าแล้วยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้มีอำนาจในการพัฒนาขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่เป้าหมายอย่าง แท้จริงทำให้งบประมาณที่ได้รับมาสูญเปล่าไปทุกๆปีกับการใช้ทหารอัตราจ้าง จำนวนมากมาแก้ปัญหาปลายเหตุ คือการป้องกันความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นหลายครั้งคราจาก การที่เจ้าหน้าที่เข้าทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ แค่เพียงเพราะประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ก็อาจถูกตีตราให้เป็นจำเลยทางสังคมได้อย่างง่ายดายและอาจตกเป็นเหยื่อความ รุนแรงได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการทำงานที่ ล่าช้าประหนึ่งมีความตั้งใจที่จะเพิกเฉยต่อความ อยุติธรรมโดยเฉพาะเมื่อเหยื่อเป็นประชาชนชาวมุสลิมที่ถูกทำร้ายก็มักถูก ละเลยโดยรัฐ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการผลิตซ้ำซากภาพลักษณ์ชาวมุสลิมของรัฐสู่ประชาชน อันเป็นตัวจุดชนวนให้ชาวมุสลิมจำนวนหนึ่งรู้สึกโกรธแค้นและต้องการลุกขึ้น มาทวงคืนอิสรภาพและความยุติธรรมให้กับสังคมของตน รัฐจึงควรปรับปรุงปฏิรูปโครงสร้างระบบต่างๆโดยเร็วที่สุดเพื่อยุติความ รุนแรงต่างๆมิให้ลุกลามไปมากกว่านี้ และริเริ่มการสนับสนุนการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมลายูไม่ว่าทาง ด้านการเงินหรือทางด้านการลงมือปฏิบัติประการที่สอง สิ่งที่ประเทศไทยควรเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว คือ การสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยนับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งและทรงพลังที่ สุด ความหมายของประชาธิปไตยนั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถนิยามได้อย่างแท้ จริง แต่หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคือการเคารพสิทธิมนุษยชน การเคารพซึ่งกันและกันถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในระบอบประชาธิปไตย โดยห้ามมีการแบ่งแยกใดๆ ไม่ว่าด้วยเพศ ชาติพันธุ์ สีผิว สถานะทางเศรษฐกิจหรือความคิดเห็นทางการเมือง การเคารพซึ่งกันและกันจะนำไปสู่ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ต้องมีการเคารพเสียงส่วนใหญ่และคุ้มครองเสียงส่วนน้อย (Majority rule, minority right) มีการเปิดพื้นที่สาธารณะให้มีการถกเถียง (dialogue) และวิพากษ์สิ่งต่างๆอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันที่ เป็นที่น่าพึงพอใจแก่ทุกฝ่าย
ประการที่สาม ระบบการศึกษาไทยควรได้รับการชำระขึ้นใหม่ ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ไร้ประสิทธิภาพและเหยียบ ย่ำความเป็นมนุษย์ของคนต่างชาติพันธุ์ ปลูกฝังโลกทรรศน์ที่มองสิ่งต่างๆในลักษณะที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูง บ่มเพาะความเกลียดชังให้กับพลเมืองตั้งแต่วัยเรียน หากชาวไทยยังมีทัศนคติที่ล้าหลังเช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นการเกลียดกลัวชาวต่าง ชาติ การมองชาติอื่นต่ำกว่าและมองว่าชาติตนเองสูงส่งกว่าชาติอื่นๆ (Thai-centrism) ประเทศไทยจะไม่มีทางได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกได้อย่างแท้จริง เราจึงควรเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเยาวชนไทยเพื่อให้คุ้นชินกับการเผชิญ โลกกว้างที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายและเคารพในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ประการที่สี่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนับเป็น อีกประเด็นปัญหาเร่งด่วน เนื่องจากเป็นต้นตอของปัญหาที่หยั่งรากลึกมานาน ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะแก่การทำการค้าอย่าง ยิ่ง นอกจากนี้ยังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงเพราะมีทรัพยากรเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่นี้ถูกรัฐบาลละเลยอยู่เสมอ ทำให้บัณฑิตที่มีความสามารถหลั่งไหลเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียเป็นจำนวน มาก กว่าร้อยละ 30 ของนักวิชาการที่ประเทศมาเลเซียล้วนเป็นบัณฑิตที่มาจากพื้นที่สามจังหวัดชาย แดนภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลไทยไม่เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาบริหารการ พัฒนาพื้นที่ ปล่อยปะละเลยจนพื้นที่นี้กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะอาชญากรรม ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการอัดฉีกเม็ดเงินเพื่อการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐาน เพิ่มอัตราการจ้างงานและสนับสนุนการศึกษาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและสอด คล้องกับบริบทของโลกร่วมสมัย
การริเริ่มทำสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถมีกำลังในการ เลี้ยงตัวเอง สามารถลืมตาอ้าปากได้ และยังสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีความสุขจากการได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง นอกจากนี้เรายังสามารถใช้อัตลักษณ์ของมุสลิมเป็นตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เจาะตลาดคู่ค้าใหม่ๆในโลกมุสลิมในช่วงเวลาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพ ยุโรปเริ่มเศรษฐกิจซบเซา และยังเพิ่มอัตราการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยได้อีกด้วย ทุกฝ่ายจึงจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเช่นนี้อย่างแท้จริง
การพัฒนาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจมิใช่เรื่องง่าย นอกจากรัฐบาลผู้ดำเนินการจักต้องอาศัยความมุ่งมั่นแล้ว ยังต้องการความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ทุกภาคส่วนจึงควรทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเพื่อนำสันติภาพกลับมาสู่ขวาน ทองแห่งนี้และรอคอยอย่างมีความหวัง แม้จะฟังดูเป็นนามธรรม แต่ก็เป็นความหวังนี้เองมิใช่หรือ ที่คอยขับเคลื่อนให้เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างสง่างาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น