โดย เหว่ยเฉียง
ที่มา THAIPUBLICA
“เกาหลีเหนือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า
ประเทศแห่งเสียงกระซิบกระซาบ
เพราะผู้คนไม่สามารถคุยกันได้อย่างเปิดเผย…การไปเยือนประเทศเขาก็เหมือนกับ
เล่นเกมโชว์แบบเรียลิตีทางทีวี ที่คุณจะได้รู้แค่ข้อมูลคร่าวๆ
เหมือนภาพร่างเบลอๆ กับเสียงกระซิบเบาๆ
ที่คุณจะแยกไม่ออกเลยว่าตอนไหนบ้างที่พวกเขาจริงใจไม่ได้ตบตาคุณ
หรือตอนไหนพวกเขากำลังหวาดกลัวว่าความลับจะรั่วเข้าหูคู่ต่อสู้
ตรงไหนคือความจริงหรือคำลวง
ส่วนไหนคือเกมเรียลิตีหรือการสร้างภาพลวงโลกกันแน่?”
ครีสเตียน โคเฮน หรือชื่อจริงว่า แม็ตต์ ดวอร์เซนคชีก ผู้กำกับ
|
นี่คือประโยคเปิดใน DPRK: The Land of Whispers (2013)
โดยครีสเตียน โคเฮน (แม็ตต์ ดวอร์เซนคชีก -ชื่อจริง)
สารคดีท่องเที่ยวเกาหลีเหนือในแบบแสบๆ ห่ามๆ
แต่ยังคงไว้ซึ่งอาการมองโลกในแง่งามและให้ภาพชัดเจนที่สุด
เกี่ยวกับประเทศที่โดดเดี่ยวตัวเองออกจากโลกภายนอกมานานกว่าห้าสิบปี
ภายใต้การปกครองโดยท่านผู้นำตระกูลคิมสามรุ่นคน ด้วยปรัชญาจูเช
ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อกล่อมเกลาประชากรของท่านคิมเอง
ที่โคเฮนผู้กำกับเรื่องนี้ได้ถามเอาไว้ในหนังด้วยว่า “คนพวกนี้จะรู้สึกอย่างไร ถ้าวันหนึ่งเกิดรู้ความจริงขึ้นมาว่าสิ่งที่พวกเขาเชื่อกันอยู่นั้น…มันไม่จริงเลย!?”
โคเฮนเกิดในโปแลนด์สมัยที่ยังเป็นคอมมิวนิสต์อยู่
ก่อนจะย้ายไปร่ำเรียนทางหนังในอเมริกา และเคยเป็นผู้ช่วยโปรดักชันรายการ
America’s Got Talent (2006) กับอยู่เบื้องหลังหนังมนุษย์ค้างคาว The Dark
Knight (2008) ก่อนจะอพยพไปตั้งรกรากในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
เพื่อรับจ๊อบผลิตงานโฆษณาและทำสารคดีส่วนตัว ในแบบที่เขาว่าเน้นความสนุก
ตื่นเต้น ไม่ซ้ำใคร และมีจริยธรรม ภายใต้นามบริษัทของเขาเองว่า Etherium Sky ซึ่ง DPRK: The Land of Whispers เรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานของบริษัทนี้ ที่สามารถดูออนไลน์ได้ฟรีๆ ทางช่องยูทูบของเขาเอง(สา
มารถคลิกปุ่ม CC ใต้ขอบจอคลิปเพื่อเลือกคำบรรยายภาษาไทยได้ด้วย
-แปลไทยมาอย่างดีโดย พินิจนันต์ ชนะสะแบง)
อันเป็นหนังคว้ารางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากเทศกาลหนัง Third World Indie ปี
2013 ในซานฟรานซิสโก
จุดเริ่มต้นเกิดจากโคเฮนมีเพื่อนที่เคยไปเกาหลีเหนือมาก่อน โดยเธอคนนั้นบอกเขาว่า
“มันเป็นประเทศที่เปลี่ยนวิถีของโลกไปอย่างสิ้นเชิง
พวกเขาเปลี่ยนแนวทางที่ฉันเคยคิดเกี่ยวกับรัฐบาล และรูปแบบทางสังคมทั้งหมด
นึกไม่ออกจริงๆ ว่าผู้คนที่นั่นใช้ชีวิตแบบนั้นกันได้ยังไง?” อันทำให้โคเฮนพบว่าการไปเที่ยวเกาหลีเหนือนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงสมัครผ่านบริษัทนำเที่ยวที่เสิร์ชได้ตามกูเกิล
จากนั้นหนังก็ให้ข้อมูลว่า ‘ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติ
เพียงพัน-สองพันคนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเยือนเกาหลีเหนือ…และคน
ส่วนใหญ่คือผู้ร่วมการแข่งขันกีฬาอารีรังเกมส์
ที่มักจะถูกจำกัดให้อยู่แต่ภายในบริเวณสนามกีฬาเท่านั้น’
โคเฮนจึงติดต่อขออนุญาตบันทึกภาพด้วยข้ออ้างว่าเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
ประเทศ ก่อนจะออกเดินทางโดยข้ามพรมแดนจากจีน
พร้อมกับรับทราบกฎข้อห้ามดังต่อไปนี้
1. ห้ามถ่ายภาพชาวบ้านเกาหลีเหนือ
ที่ต่อมาโคเฮนได้รู้เหตุผลที่แท้จริงว่าเป็นการสกัดกั้นไม่ให้นักท่องเที่ยว
เข้าใกล้ชาวบ้าน
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนที่นั่นรับรู้เรื่องราวจากโลกภายนอก
2. เคารพต่อสื่อ
คือถ้าเห็นหนังสือพิมพ์ที่มีภาพท่านผู้นำคิม อิล ซุง (1912-1994) คิม จอง
อิล (1941-2011) หรือคิม จอง อึน (2011-ปัจจุบัน)
ก็ห้ามพับกระดาษที่มีรูปพวกท่านเหล่านั้นโดยเด็ดขาด
ห้ามขยำทิ้งหรือแสดงอาการไม่เคารพนบนอบไม่ว่าทางใดก็ตาม “และจริงๆ แล้วสิ่งพิมพ์ทุกชนิดล้วนมีภาพท่านผู้นำ” โคเฮนตั้งข้อสังเกต
3. การถ่ายภาพต้องสมจริง
ทุกครั้งที่ถ่ายรูปประติมากรรมหรืออนุสาวรีย์ใดๆ ของท่านผู้นำสุดที่รัก
(dear leader เป็นฉายาเรียกท่านผู้นำสูงสุด) ต้องถ่ายจากมุมต่ำกว่าเสมอ
และต้องเห็นเต็มตัว ห้ามตัดทอนส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพออกเลย
ซึ่งหนังก็ได้ถ่ายทอดให้เห็นอีกด้วยว่าทุกซอกมุมเมืองล้วนมีภาพของท่านผู้นำ
ประดับประดาอยู่ทั่วไป
“ท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่จงเจริญ! สหายคิมจองอึน
ประธานาธิบดีตลอดกาลคิมอิลซุง และคิมจองอิลท่านผู้นำที่รัก
จะสถิตอยู่กับพวกเราตลอดกาล!” คือคำประกาศแรกของไกด์ทัวร์
ที่ภายหลังโคเฮนพบว่าแท้จริงไกด์พวกนี้จะทำหน้าที่ไม่ต่างจากผู้คุม
คือคอยสอดส่องตรวจเข้มนักท่องเที่ยวให้อยู่แต่ในบริเวณ
หรือพาไปยังพื้นที่เฉพาะ ที่ถูกกำหนดไว้แล้วเท่านั้น
อันทำให้โคเฮนพบว่าแต่ละพื้นที่นั้นล้วนผูกพันอย่างแนบแน่นต่อการสรรเสริญ
บูชาท่านผู้นำตระกูลคิมทั้งสาม เช่น ภูเขาเพ็กตู
ที่ชาวเกาหลีเหนือเชื่อกันว่าเป็นที่กำเนิดของท่านคิม จอง อิล
(ทั้งที่โลกภายนอกมีหลักฐานชี้ชัดว่าแท้จริงท่านคิมเกิดในรัสเซีย)
จึงตั้งชื่อภูเขาละแวกนั้นว่าภูเขาจองอิล “ภูเขาหลายลูก ต้นไม้ดอกไม้หลายชนิด และสถานที่อีกมากมาย ครึ่งหนึ่งของสิ่งต่างๆ ในประเทศนี้ถูกตั้งชื่อตามท่านผู้นำคิมที่ยิ่งใหญ่” โคเฮนตั้งข้อสังเกต
โคเฮนยังเกิดคำถามระหว่างทางอีกด้วยว่า “ทำไมท่านผู้นำประเทศนี้จึงต้องผลาญเงินทองและทรัพยากรของประชาชนไปเป็นจำนวนมหาศาลในการปลูกสร้างอนุสาวรีย์ให้กับตัวเองมากมาย?” ทว่าไกด์ทัวร์กลับตอบว่า “เพราะ
ท่านผู้นำคิมทำแต่สิ่งดีงามที่สุดเพื่อประชาชนเท่านั้น
ท่านไม่เคยทำอะไรเพื่อตัวเองเลย ท่านปราศจากความเห็นแก่ตัว
ห่วงใยประชาชนอย่างแท้จริง และจริงๆ
แล้วท่านคิมไม่ได้ต้องการให้มีการสร้างรูปปั้นเพื่อบูชาท่านเลย
แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ล้วนสร้างมาจากเสียงเรียกร้องของบรรดาประชาชนผู้
รักและศรัทธาในท่านผู้นำ”
แล้วโคเฮนก็พบสิ่งที่น่าสะพรึงไปยิ่งกว่านั้น เช่น
โรงแรมสูง 50 ชั้นอันเป็นที่พักของทัวร์กรุปนี้ มีเพียงชั้นที่ 26
เท่านั้นที่มีนักท่องเที่ยวเข้าพักจริงๆ
นอกนั้นทุกชั้นไม่มีคนอื่นเลยเหมือนเป็นโรงแรมร้าง แม้ว่าชั้นล่างจะมีบาร์
คาสิโน คาราโอเกะ และห้องอาหาร
แต่ทุกห้องล้วนร้างไร้ร่างนักท่องเที่ยวหรือพนักงานรายอื่นเลย!
รวมถึงมินิมาร์ทที่ไม่มีสินค้าวางขาย
มีเพียงผลไม้ปลอมทำจากพลาสติกที่ตั้งโชว์ไว้ตบตา
หรือแม้แต่สนามกีฬาขนาดมหึมาที่มีจำนวนห้องหับนับไม่ถ้วนแต่กลับไม่มีใครแวะ
เวียนเหยียบผ่านเข้าไปได้เลย
หรือทุกการแสดงของชาวบ้านที่ถูกจัดมาเพื่อสร้างความสำราญให้กับลูกทัวร์คณะ
นี้ และแม้แต่ช่องทีวีต่างๆ
ก็ล้วนเป็นเพลงปลุกใจให้รักชาติและปลูกจิตสำนึกให้รู้บุญคุณและสรรเสริญความ
ดีงามของท่านผู้นำ
การแสดงร้องเพลงปลุกใจของเด็ก 6 ขวบ
|
รวมถึงแนวคิดที่ว่า ‘ชาวเกาหลีเหนือทุกคนต้องยึดถือหลักจูเชอย่างเคร่งครัด’
อันเป็นปรัชญาที่ถือกำเนิดในปี 1965 โดยคิม อิล ซุง
ได้วางข้อกำหนดนี้ที่ผสมผสานระหว่างคติแบบขงจื๊อรวมกับสตาลิน มีหัวใจหลัก 3
ประการ คือ 1. ชาจู เป็นอิสระทางการเมืองไม่ขึ้นกับแนวคิดทางการเมืองของชาติอื่น 2. ชาริป ยังชีพด้วยระบบเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินด้วยการพึ่งตนเอง 3. ชาวี เชื่อมั่นในการปกป้องประเทศโดยไม่พึ่งพาชาติอื่นใด ที่ในหนังมีอยู่ตอนหนึ่งโคเฮนถามกับไกด์ทัวร์โต้งๆ ว่า “คุณเชื่อจริงๆ หรือว่าปรัชญาจูเชจะช่วยทำให้ประเทศนี้เจริญก้าวหน้า?”
โคเฮนแสดงความเห็นว่า
“หลายอย่างที่นี่ถูกบิดเบือนไปอย่างมาก ผิดแบบทนโท่และเลวทรามสุดๆ
ซึ่งเป็นผลพวงจากการปลูกฝังกล่อมเกลามาอย่างเข้มข้น
ทำให้พวกเขาเชื่อกันจริงๆ ว่า
ภาพลักษณ์จอมปลอมที่ถูกบิดเบือนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องจริง…ก่อนผมจะไปเกาหลี
เหนือผมคาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถแสดงให้ผมเห็นได้ว่าปรัชญาความเชื่อของพวก
เขาสูงส่งสมบูรณ์แบบและเป็นประเทศในอุดมคติอย่างแท้จริง
เป็นเมืองสวรรค์อย่างที่พวกเขาเชื่อกัน
ผมอยากจะทำความเข้าใจพวกเขาให้มากขึ้น
และผมอยากรู้ว่าพวกเขาถูกสอนอะไรมาบ้าง
แต่กลับกลายเป็นว่าผมยิ่งมีแต่คำถามที่ไม่ควรถามและจะไม่มีวันได้รับคำตอบ
เลย”
การแสดงในพิธีเฉลิมฉลองนโยบายซอนกุน หรือ ‘ทหารมาต้องมาก่อน’
|
“คิม อิล ซุง สั่งสอนพวกเราว่า
เป้าหมายสูงสุดของเราคือสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่ มั่งคั่ง และแข็งแกร่ง
เป็นประเทศที่ประดุจดั่งสวรรค์
ดังนั้นเราจึงต้องรีบเร่งสร้างประเทศให้แข็งแรงโดยเร็วที่สุด
และส่งต่อไปยังลูกหลานในยุคต่อไป” คือคำอธิบายของไกด์ทัวร์ที่บอกกับโคเฮน
ผู้ที่งุนงนกับสภาพบ้านเมืองอันล้าหลังจากโลกภายนอกไปกว่า 50 ปี
ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่รู้จักดนตรีแนวใหม่ๆ
อยู่ในอาคารปลอมๆ โดยไม่รู้ว่าโลกภายนอกนั้นเจริญก้าวหน้าไปไกลโขแล้ว
แต่กลับเชื่อว่าประเทศตัวเองนั้นเจริญล้ำกว่าชาติอื่น แถมยังห้ามตั้งคำถาม
ห้ามคิดต่าง
และต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านผู้นำที่โคเฮนปิดท้ายด้วยคำถามในหนังว่า
“ถ้าวันหนึ่งเกาหลีเหนือเปิดประเทศ ผู้คนที่นั่นจะยอมก้าวไปสู่อนาคตหรือเปล่า?”
กรุงเปียงยางเต็มไปด้วยอาคารขนาดมหึมาที่ล้วนแต่เป็นตึกร้างเพื่อสร้างภาพความเป็นประเทศรุ่งเรือง ด้วยสถาปัตยกรรมแบบเชยๆ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น