แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คณะกก.พิทักษ์ผู้สื่อข่าวชี้คำสั่งคดีฟาบิโอเป็นก้าวแรกสู่ยุติธรรม

ที่มา ประชาไท


ชอว์น คริสปิน ตัวแทนจากคณะกรรมการพิทักษ์ผู้สื่อข่าวระบุผิดหวังกับคำสั่งศาลกรณีช่างภาพ อิตาลี เนื่องจากใช้เวลาถึง 3 ปีแต่ยังมีความคลุมเครือ อย่างไรก็ตามชี้เป็นก้าวแรกของความยุติธรรม
 
เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 56 เวลา 19.00 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการแถลงข่าวสืบเนื่องจากกรณีการออกคำสั่งศาลในคดีการไต่สวนสาเหตุการเสีย ชีวิตของช่างภาพชาวอิตาลี ฟาบิโอ โปเลนกี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนราชดำริระหว่างการสลายการชุมนุมของกลุ่มคน เสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 โดยผู้ร่วมแถลงได้แก่ ชอว์น คริสปิน ตัวแทนจากคณะกรรมการเพื่อพิทักษ์ผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists) และเอลิซาเบ็ตต้า โปเลนกี น้องสาวของฟาบิโอ โปเลนกี 
 
ชอว์น คริสปิน กล่าวว่า คำสั่งที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ออกมาในวันนี้ ซึ่งชี้ว่ากระสุนที่ยิงนายฟาบิโอเสียชีวิตมาจากทิศทางของทหาร แต่ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิงนั้น ถือว่าเป็นก้าวแรกของความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ยังมีความคลุมเครืออยู่มาก แม้ระยะเวลาหลังการเกิดเหตุจะเป็นราว 3 ปีแล้ว แต่คำสั่งของศาลที่ออกมากลับยังมีความไม่ชัดเจน ทั้งๆ ที่มีพยานหลักฐานและพยานแวดล้อม รวมถึงผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ให้การเป็นพยานว่าทหารน่าจะเป็นผู้ยิงกระสุน ที่ทำให้ฟาบิโอเสียชีวิต
 
ชอว์น กล่าวถึงการพิจารณาของศาลด้วยว่า ฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตได้พยายามยื่นพยานหลักฐาน เช่น คลิปวีดีโอ และพยานบุคคลซึ่งเป็นนักข่าวต่างประเทศเพิ่มเติม แต่ศาลได้ปฏิเสธไม่รับพิจารณา เนื่องจากกล่าวว่าซ้ำซากกับพยานอื่นๆ ที่ได้เบิกไปแล้ว ซึ่งชอว์นมองว่า ฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตควรต้องสามารถยื่นหลักฐานเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมได้โดย ไม่ต้องกลัวจะถูกปฏิเสธ
 
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังแสดงความกังวลต่อกรณีที่ตำรวจกดดันให้นักข่าวส่งมอบหลักฐานต่างๆ เช่น คลิปวีดีโอ นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่ามีการบุกค้นห้องนักข่าว และการคุกคามในรูปแบบอื่นๆ ต่อนักข่าวในช่วงหลังการชุมนุม และชี้ว่าควรให้เป็นไปตามสมัครใจมากกว่า 
 
เขากล่าวว่า ทางคณะกรรมการฯ เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามในการค้นหาชายสวมหมวกสีเงิน ซึ่งมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายว่าเป็นคนเอากล้องถ่ายรูปของฟาบิโอไป ซึ่งจนบัดนี้ยังคงค้นหากล้องดังกล่าวไม่พบ รวมถึงเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้คัดค้านการผ่านร่างพ.ร.บ. ปรองดองแห่งชาติของร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นการนิรโทษกรรมเหมาเข่งแก่ผู้กระทำผิด
 
ด้านเอลิซาเบ็ตตา เห็นด้วยเช่นกันว่า พ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่ให้แก่ทุกฝ่าย จะเป็นสิ่งที่ "เลวร้ายที่สุดที่รัฐบาลจะกระทำต่อประชาชนของตนเอง" และหวังว่ารัฐบาลจะไม่ผ่านพ.ร.บ. ดังกล่าว 
 
"การให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอัน ร้ายแรงเช่นนี้ เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่รัฐบาลจะกระทำต่อประชาชนของตนเอง เพราะถือว่าพวกเขาเป็นพี่น้อง เป็นพลเมืองของตนเอง และสำหรับ 90 กว่าชีวิตที่เสียไป ก็เหมือนกับจะไม่มีค่าอะไรทั้งสิ้น" เธอกล่าว "ไม่เพียงแต่เท่านั้น แต่ครอบครัว และญาติๆ ของพวกเขา ก็รู้สึกสูญเสียเช่นเดียวกัน" 
 
เอลิซาเบ็ตตากล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาตนได้รับการติดต่อจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีเพื่อขอเข้าพูดคุยเป็นการส่วนตัว แต่ตนไม่ได้พบ และในวันนี้ได้เชิญนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีมาร่วมที่งานแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศต่อกรณี คำสั่งคดีฟาบิโอด้วย แต่มิได้ให้การตอบรับเป็นอย่างใด
 
ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว เอลิซาเบ็ตตาได้เปิดตัวหนังสือรวมภาพถ่ายของฟาบิโอ ในชื่อ "Bangkok Last Pictures 2010" โดยภาพบางส่วนจัดแสดงอยู่ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และขายแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป รายได้ที่ได้จากการขายหนังสือและภาพถ่าย เอลิซาเบ็ตต้ากล่าวว่า จะนำไปมอบให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่ขาดแคลนทรัพยากรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น