โดย ศ. เกษียร เตชะพีระ
ที่มา เฟซบุ๊ค Kasian Tejapira
ฟังรมว.ชัชชาติเรื่องเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทแล้ว ผมคันในใจยากที่จะเกา.....
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
ตรง ข้ามกับบางคนที่คิดว่าโปรแกรมเศรษฐกิจเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นแค่กลวิธี, กโลบายหรือข้ออ้างแก้เกี้ยวไม่ให้ดู “การเมือง” เกินไป (http://www.prachatai.com/journal/2013/05/46907 อันสะท้อนว่าเขายังหลงคิดติดอยู่ในกรอบ “การปฏิวัติกระฎุมพี” วงจรแรกกว่าสองร้อยปีก่อนในสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ที่แนวรบการเมืองนำ)
ผมกลับเห็นว่ามันเป็น “ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ” ซีเรียสจริง ๆ ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์-เครือข่ายทักษิณ ที่จะทะลวงด่านชะงักงันทางการเมือง โดยอาศัยพลวัตทางเศรษฐกิจนำ เพื่อเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองไปในทิศทางที่ข้ามพ้นการเมืองเสื้อสีออกไป (http://shows.voicetv.co.th/intelligence/70628)
และดังนั้น ผมจึงคิดว่าเราควรติดตามใส่ใจขบคิดค้นคว้าวิเคราะห์วิจารณ์จริงจังเกี่ยวกับเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ดังกล่าวนี้
%%%%%%%%%%
แน่ นอน โฆษกเอกของโครงการดังกล่าวผู้เดินสายบรรยายเรื่องนี้ไปแทบทุกเวทีในประเทศ ได้แก่ รมว. คมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองศาสตราจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
น่าสังเกตว่าในคำบรรยายครั้งสำคัญบนเวทีประชาชาติธุรกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ รมว.ชัชชาติ ย้ำประเด็นหนึ่งถึง ๒ ครั้ง (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368605848updated ) นั่นคือแง่มุมเรื่องผลกระทบด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจากโครงการลงทุนเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์:
“ผมขอแตะนิดนึงเรื่องเงินกู้ ๒ ล้านล้านบาท มันไม่ใช่แค่รถไฟเร็วสูง มันมีมิติอื่นอีกมาก และมันลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาส....
“ถ้า เราดูเฉพาะค่าตั๋ว โอกาสคุ้มทุนยาก เราต้องดูทุกคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราดูว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เกษตรกร ลงลึกในเรื่องต่างๆ นักท่องเที่ยว มาใช้จ่ายในจังหวัด มาอยู่โรงแรม ถ้าวิเคราะห์คนที่เกี่ยวข้องกับความเร็วสูง ไม่ใช่แค่คนซื้อตั๋วอย่างเดียว ที่บอกว่ารถไฟสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่จริง แต่มันลงไปลึกถึงประชาชน รากหญ้าทั้งหมด....”
สรุปคือรมว.ชัชชาติฟันธงว่า โครงการลงทุนเมกะโปรเจคส์ลอจิสติกส์ซึ่งรวมรถไฟความเร็วสูงไว้้ด้วยนั้น
-ไม่เพียงไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ
-แต่ยังลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาสลงไปถึงประชาชนรากหญ้าด้วย
การประเมินประเด็นนี้แหละครับที่ผมยังไม่กล้าฟันธงอย่างแน่ใจเหมือนรมว.ชัชชาติ.....
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
เหมือน การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อนำพาประเทศก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจทุกครั้งที่ผ่านมา เช่น การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๒๕๐๔ - ปัจจุบัน (เริ่มขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการทหารของนายกฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์), การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอีสเทิร์นซีบอร์ด ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน (เริ่มขึ้นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายกฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์), เวลาทำเช่นนี้ มันเป็นเรื่องของ...
-การจัดสรรและเปลี่ยนแปลงโยกย้าย ถ่ายโอนการใช้ทรัพยากรของชาติ (ที่ดิน, น้ำ, ป่า, อากาศ, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) กันใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามแย่งชิงฐานทรัพยากร (ศ.เสน่ห์ จามริก UserFiles/File/กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์.doc )
-รวมทั้ง การบริหารจัดการ จัดสรรแบ่งปันและกระจาย โอกาส กับ ความเสี่ยง ที่มากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมขนานใหญ่ด้วย ว่าใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะได้โอกาสในการลงทุนทำการผลิตค้าขายบริการประกอบอาชีพใหม่ ๆ ไต่เต้าร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว? ใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะพลาดโอกาสดังกล่าว หรือได้รับไปน้อยกว่าคนอื่น? และในทางกลับกันใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ในอัตราส่วนเท่าใด? ความเสี่ยงที่พวกเขาแบกรับได้สัดส่วนกับโอกาสที่พวกเขาได้รับแบ่งปันมาหรือ ไม่? หรือว่าแบกรับแต่ความเสี่ยง ทว่าไม่ได้โอกาสอะไรมาอย่างคุ้มค่ากันเลย? (Joseph Stiglitzhttp://people.cas.sc.edu/coate/Readings/Stiglitz.pdf )
-ตัว การสำคัญที่กำหนดการจัดสรรแบ่งปันเปลี่ยนย้ายรวบรวมสะสม ทรัพยากรของชาติ, โอกาสและ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจดังกล่าว ได้แก่โครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจและกฎหมายดังที่เป็นอยู่ หากโครงสร้างดังกล่าวเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกัน มันก็จะจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร, โอกาส, ความเสี่ยงออกไปอย่างเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันในพื้นที่ กลุ่มชน และกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจต่าง ๆ ในทางตรงข้ามหากโครงสร้างดังกล่าวจัดวางไว้ดี มุ่งเกลี่ยให้เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น กลุ่มผลประโยชน์และพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ลง มันก็จะก่อให้เกิดการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร, โอกาส, ความเสี่ยงออกไปอย่างเกลี่ยให้เสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทุกด้านลงไป (Benedict Anderson http://criticalasianstudies.org/assets/files/bcas/v09n03.pdf )
ขอ เรียนถามรมว.ชัชชาติ, กยอ.และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าที่ประเทศไทยเรามีตอนนี้เป็นโครงสร้างความ สัมพันธ์ทางอำนาจและกฎหมายที่มุ่งไปสู่การเกลี่ยให้เสมอภาคกันแล้วหรือ?
รึว่ายังเป็นโครงสร้างที่เปิดให้เหลื่อมล้ำยิ่งขึ้นกันแน่? เช่น กฎหมายที่ดินที่ไม่จำกัดการสะสมรวมศูนย์เก็งกำไรที่ดินในมือภาคเอกชน, กฎหมายสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมที่เอาใจนักลงทุนและภาคอุตสาหกรรม มากกว่าจะปกป้องสุขภาพสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ, กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่เอื้อเฟื้อปกป้องการรวมตัวต่อรองของคนงานเป็น สหภาพแรงงาน รวมทั้งรอนสิทธิอำนาจต่อรองของคนงานอพยพต่างแดน เป็นต้น
นั่น แปลว่าโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทอาจกระจายความเจริญไปตามเส้นทางลอจิสติกส์แก่บางพื้นที่ภูมิภาค แต่จะทำให้ระดับการพัฒนาของพื้นที่ภูมิภาคเหล่านั้นห่างไกลออกจากพื้นที่ ภูมิภาคนอกเส้นทางมากขึ้นหรือไม่?
รัฐบาลคิดวางมาตรการเกลี่ยความเจริญที่จะเหลื่อมล้ำยิ่งขึ้นระหว่างภูมิภาคใน/นอกเส้นทางลอจิสติกส์อย่างไร?
และ ในพื้นที่ภูมิภาคที่จะได้รับแรงกระตุ้นการพัฒนาจากเส้นทางลอจิสติกส์เหล่า นี้เอง อะไรคือมาตรการที่เตรียมไว้รับประกันว่าผลดีผลได้ไม่ว่าทรัพยากร, โอกาส ฯลฯ จะไม่กระจุกรวมศูนย์อยู่กับกลุ่มผู้กุมอำนาจ ทุนและอิทธิพลซึ่งมือยาวได้เปรียบในโครงสร้างเดิมที่เป็นอยู่ แทนที่จะกระจายแผ่กว้างออกไปถึงคนรากหญ้าที่มือสั้นกว่า ผู้อาจเสียทรัพยากร ไม่ได้โอกาสตามที่ควร แต่ต้องแบกรับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ฐานะ สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เอาไว้หมด อย่างที่เคยเกิดมาแล้วกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง?
จน กว่าคิดตรองและตอบจริงจังต่อคำถามเหล่านี้ การประเมินสั้น ๆ แบบสรุปเหมาเอาเองของรมว.ชัชชาติก็ยากแก่การจะเชื่อถือนะครับ เรียนตามตรง
และ ผลลัพธ์ก็อาจจะออกมาตรงข้ามกับที่คุณชัชชาติคาดหวังเหมือนการก้าวกระโดดทาง เศรษฐกิจครั้งก่อน ๆ ของไทยก่อนหน้านี้ ( ปราณี ทินกร, “ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในช่วงสี่ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ : 2504-2544” ใน วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2-3 มิถุนายน – กันยายน 2545, หน้า 141-208; และhttp://thaipublica.org/2012/11/30-years-eastern-seaboard-development/)
ฟังรมว.ชัชชาติเรื่องเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทแล้ว ผมคันในใจยากที่จะเกา.....
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
ตรง ข้ามกับบางคนที่คิดว่าโปรแกรมเศรษฐกิจเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นแค่กลวิธี, กโลบายหรือข้ออ้างแก้เกี้ยวไม่ให้ดู “การเมือง” เกินไป (http://www.prachatai.com/journal/2013/05/46907 อันสะท้อนว่าเขายังหลงคิดติดอยู่ในกรอบ “การปฏิวัติกระฎุมพี” วงจรแรกกว่าสองร้อยปีก่อนในสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ที่แนวรบการเมืองนำ)
ผมกลับเห็นว่ามันเป็น “ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ” ซีเรียสจริง ๆ ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์-เครือข่ายทักษิณ ที่จะทะลวงด่านชะงักงันทางการเมือง โดยอาศัยพลวัตทางเศรษฐกิจนำ เพื่อเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองไปในทิศทางที่ข้ามพ้นการเมืองเสื้อสีออกไป (http://shows.voicetv.co.th/intelligence/70628)
และดังนั้น ผมจึงคิดว่าเราควรติดตามใส่ใจขบคิดค้นคว้าวิเคราะห์วิจารณ์จริงจังเกี่ยวกับเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ดังกล่าวนี้
%%%%%%%%%%
แน่ นอน โฆษกเอกของโครงการดังกล่าวผู้เดินสายบรรยายเรื่องนี้ไปแทบทุกเวทีในประเทศ ได้แก่ รมว. คมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รองศาสตราจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
น่าสังเกตว่าในคำบรรยายครั้งสำคัญบนเวทีประชาชาติธุรกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ รมว.ชัชชาติ ย้ำประเด็นหนึ่งถึง ๒ ครั้ง (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368605848updated ) นั่นคือแง่มุมเรื่องผลกระทบด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจากโครงการลงทุนเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์:
“ผมขอแตะนิดนึงเรื่องเงินกู้ ๒ ล้านล้านบาท มันไม่ใช่แค่รถไฟเร็วสูง มันมีมิติอื่นอีกมาก และมันลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาส....
“ถ้า เราดูเฉพาะค่าตั๋ว โอกาสคุ้มทุนยาก เราต้องดูทุกคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราดูว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เกษตรกร ลงลึกในเรื่องต่างๆ นักท่องเที่ยว มาใช้จ่ายในจังหวัด มาอยู่โรงแรม ถ้าวิเคราะห์คนที่เกี่ยวข้องกับความเร็วสูง ไม่ใช่แค่คนซื้อตั๋วอย่างเดียว ที่บอกว่ารถไฟสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่จริง แต่มันลงไปลึกถึงประชาชน รากหญ้าทั้งหมด....”
สรุปคือรมว.ชัชชาติฟันธงว่า โครงการลงทุนเมกะโปรเจคส์ลอจิสติกส์ซึ่งรวมรถไฟความเร็วสูงไว้้ด้วยนั้น
-ไม่เพียงไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ
-แต่ยังลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาสลงไปถึงประชาชนรากหญ้าด้วย
การประเมินประเด็นนี้แหละครับที่ผมยังไม่กล้าฟันธงอย่างแน่ใจเหมือนรมว.ชัชชาติ.....
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
เหมือน การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อนำพาประเทศก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจทุกครั้งที่ผ่านมา เช่น การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๒๕๐๔ - ปัจจุบัน (เริ่มขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการทหารของนายกฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์), การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอีสเทิร์นซีบอร์ด ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน (เริ่มขึ้นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายกฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์), เวลาทำเช่นนี้ มันเป็นเรื่องของ...
-การจัดสรรและเปลี่ยนแปลงโยกย้าย ถ่ายโอนการใช้ทรัพยากรของชาติ (ที่ดิน, น้ำ, ป่า, อากาศ, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) กันใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามแย่งชิงฐานทรัพยากร (ศ.เสน่ห์ จามริก UserFiles/File/กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์.doc )
-รวมทั้ง การบริหารจัดการ จัดสรรแบ่งปันและกระจาย โอกาส กับ ความเสี่ยง ที่มากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมขนานใหญ่ด้วย ว่าใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะได้โอกาสในการลงทุนทำการผลิตค้าขายบริการประกอบอาชีพใหม่ ๆ ไต่เต้าร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว? ใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะพลาดโอกาสดังกล่าว หรือได้รับไปน้อยกว่าคนอื่น? และในทางกลับกันใครบ้าง กลุ่มไหน ธุรกิจใดจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ในอัตราส่วนเท่าใด? ความเสี่ยงที่พวกเขาแบกรับได้สัดส่วนกับโอกาสที่พวกเขาได้รับแบ่งปันมาหรือ ไม่? หรือว่าแบกรับแต่ความเสี่ยง ทว่าไม่ได้โอกาสอะไรมาอย่างคุ้มค่ากันเลย? (Joseph Stiglitzhttp://people.cas.sc.edu/coate/Readings/Stiglitz.pdf )
-ตัว การสำคัญที่กำหนดการจัดสรรแบ่งปันเปลี่ยนย้ายรวบรวมสะสม ทรัพยากรของชาติ, โอกาสและ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจดังกล่าว ได้แก่โครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจและกฎหมายดังที่เป็นอยู่ หากโครงสร้างดังกล่าวเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกัน มันก็จะจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร, โอกาส, ความเสี่ยงออกไปอย่างเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันในพื้นที่ กลุ่มชน และกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจต่าง ๆ ในทางตรงข้ามหากโครงสร้างดังกล่าวจัดวางไว้ดี มุ่งเกลี่ยให้เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น กลุ่มผลประโยชน์และพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ลง มันก็จะก่อให้เกิดการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร, โอกาส, ความเสี่ยงออกไปอย่างเกลี่ยให้เสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทุกด้านลงไป (Benedict Anderson http://criticalasianstudies.org/assets/files/bcas/v09n03.pdf )
ขอ เรียนถามรมว.ชัชชาติ, กยอ.และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าที่ประเทศไทยเรามีตอนนี้เป็นโครงสร้างความ สัมพันธ์ทางอำนาจและกฎหมายที่มุ่งไปสู่การเกลี่ยให้เสมอภาคกันแล้วหรือ?
รึว่ายังเป็นโครงสร้างที่เปิดให้เหลื่อมล้ำยิ่งขึ้นกันแน่? เช่น กฎหมายที่ดินที่ไม่จำกัดการสะสมรวมศูนย์เก็งกำไรที่ดินในมือภาคเอกชน, กฎหมายสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมที่เอาใจนักลงทุนและภาคอุตสาหกรรม มากกว่าจะปกป้องสุขภาพสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ, กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่เอื้อเฟื้อปกป้องการรวมตัวต่อรองของคนงานเป็น สหภาพแรงงาน รวมทั้งรอนสิทธิอำนาจต่อรองของคนงานอพยพต่างแดน เป็นต้น
นั่น แปลว่าโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๔ ล้านล้านบาทอาจกระจายความเจริญไปตามเส้นทางลอจิสติกส์แก่บางพื้นที่ภูมิภาค แต่จะทำให้ระดับการพัฒนาของพื้นที่ภูมิภาคเหล่านั้นห่างไกลออกจากพื้นที่ ภูมิภาคนอกเส้นทางมากขึ้นหรือไม่?
รัฐบาลคิดวางมาตรการเกลี่ยความเจริญที่จะเหลื่อมล้ำยิ่งขึ้นระหว่างภูมิภาคใน/นอกเส้นทางลอจิสติกส์อย่างไร?
และ ในพื้นที่ภูมิภาคที่จะได้รับแรงกระตุ้นการพัฒนาจากเส้นทางลอจิสติกส์เหล่า นี้เอง อะไรคือมาตรการที่เตรียมไว้รับประกันว่าผลดีผลได้ไม่ว่าทรัพยากร, โอกาส ฯลฯ จะไม่กระจุกรวมศูนย์อยู่กับกลุ่มผู้กุมอำนาจ ทุนและอิทธิพลซึ่งมือยาวได้เปรียบในโครงสร้างเดิมที่เป็นอยู่ แทนที่จะกระจายแผ่กว้างออกไปถึงคนรากหญ้าที่มือสั้นกว่า ผู้อาจเสียทรัพยากร ไม่ได้โอกาสตามที่ควร แต่ต้องแบกรับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ฐานะ สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เอาไว้หมด อย่างที่เคยเกิดมาแล้วกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง?
จน กว่าคิดตรองและตอบจริงจังต่อคำถามเหล่านี้ การประเมินสั้น ๆ แบบสรุปเหมาเอาเองของรมว.ชัชชาติก็ยากแก่การจะเชื่อถือนะครับ เรียนตามตรง
และ ผลลัพธ์ก็อาจจะออกมาตรงข้ามกับที่คุณชัชชาติคาดหวังเหมือนการก้าวกระโดดทาง เศรษฐกิจครั้งก่อน ๆ ของไทยก่อนหน้านี้ ( ปราณี ทินกร, “ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในช่วงสี่ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ : 2504-2544” ใน วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2-3 มิถุนายน – กันยายน 2545, หน้า 141-208; และhttp://thaipublica.org/2012/11/30-years-eastern-seaboard-development/)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น