โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
ที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 57/2556: วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2556
โสภณ พรโชคชัยในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิ ได้พาคณะผู้สนใจด้านอสังหาริ
มทรัพย์ไปสัมมนาและดูงาน ณ ประเทศลาวเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เห็นสิ่งล้ำหน้าที่น่
าสนใจได้แก่ การก่อสร้างถนนในแนวคิดใหม่ การเวนคืนเพื่อจัดระเบียบเมือง และการจัดการผู้บุกรุกที่
สาธารณะ
เมื่อปีพ.ศ.2552 ดร.โสภณได้เดินทางไปบรรยายที่
ประเทศลาว ก็เห็นลาวมีโทรศัพท์ระบบ 3 G แล้ว มาปีนี้พ.ศ.2556 เขาก็ไปถึง 4 G และจะพัฒนาล้ำหน้าไปอี
กในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่เกี่
ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปีพ.ศ.2554 ดร.โสภณ ได้ไปสำรวจความต้องการอสังหาริ
มทรัพย์ในประเทศไทยของนักธุรกิ
จชาวลาว ก็ปรากฏว่ามีความต้องการค่อนข้
างสูง ผู้ประกอบการในประเทศจึงควรพิ
จารณาเจาะตลาดผู้ซื้
อในประเทศลาว แต่สำหรับนวัตกรรมในประเทศลาวที
่จะกล่าวถึงได้แก่
ประการแรก การก่อสร้างถนนแนวใหม่ เมื่อประเทศลาวเริ่มดำริสร้
างถนน
กรุงเวียงจันทน์ 450 ปีได้เวนคืนที่ดิน 2 ฟากฝั่งถนนข้างละ 50
เมตรในราคาตารางเมตรละ 50 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือตารางวาละ 6,000 บาท
และเมื่อก่อสร้างถนนเสร็
จความเจริญเข้าไปในพื้นที่
ตาบอดแต่เดิมแล้ว ราคาที่ดิน 2 ข้างทางก็เพิ่มขึ้นเป็
นตารางเมตรละ 300 เหรียญสหรัฐอเมริกา (36,000 บาทต่อตารางวา) หรือ 6 เท่าตัว ทำให้การก่อสร้างถนนนี้แทบไม่ต้
องเสียค่าก่อสร้าง เพราะได้กำไรจากการขาย (ให้เช่า 50-75 ปี ในราคาสูงกว่าตอนที่เป็นที่ดิ
นดิบ) แม้ในภายหลังจะพบว่ายังมีอุ
ปสรรคในการดำเนิ
นการบางประการแต่ก็ถือได้ว่
าการตัดถนนลักษณะนี้เป็นนวั
ตกรรมที่น่าสนใจ
เมื่อปี 2547 ดร.โสภณ ก็เคยนำเสนอแนวคิดนี้ในการก่
อสร้างถนนในประเทศไทย ซึ่งหากสามารถก่อสร้างถนนได้
ตามนี้ก็จะไม่เสียงบประมาณแผ่
นดินในการก่อสร้างถนนเลย เช่นที่ดินเขตใจกลางเมืองอาจมี
ราคาเป็น 3 เท่าของค่าก่อสร้างถนน หากเวนคืนที่ดิน 2 ฟากถนนก็จะทำให้ราคาที่ดิน 2 ฟากถนนนั้นเพิ่มขึ้นนับเท่าตั
วทำให้คุ้มค่าแก่การลงทุน ยิ่งหากเป็นกรณีถนนในชนบทราคาที่ดินอาจเพิ่มขึ้นหลายเท่าตั
วทำให้ยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นอีก
ประการที่สอง การเวนคืนเพื่อจัดระเบียบเมือง ถ้าเราไปประเทศลาวคงต้
องไปกราบนมัสการพระธาตุหลวง หาไม่คงถือว่ายังไปไม่ถึ
งประเทศลาว ณ วัดธาตุหลวงนั้นโดยรอบพระธาตุ
แต่เดิมมีชุมชนชาวบ้านอยู่กั
นอย่างแออัด แต่ในภายหลังรัฐบาลได้เวนคืนที่
ดินโดยรอบเพื่อขยายอาณาเขตของวั
ดพระธาตุหลวงซึ่งทำให้ตั
วพระธาตุแลดูสง่างามในฐานะที่
เป็นสัญลักษณ์สำคัญของประเทศลาว กรณีเช่นนี้สมควรดำเนิ
นการในการฟื้นฟูเมืองในหลาย ๆ บริเวณของกรุ
งเทพมหานครและในประเทศไทยเช่นกั
น แต่ว่าไม่ได้ดำเนินการเพราะผู้
บุกรุกในประเทศไทยอาจอ้
างความยากจนหรื
อความยากลำบากในการโยกย้ายมาดื้
อแพ่งได้
กรณีนี้ทางราชการสมควรจ่ายค่
าทดแทนให้เหมาะสม จัดหาที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้
เคียงเพื่อบรรเทาความเดือดร้
อนของประชาชน แต่จะให้เกิดกรณีดื้อแพ่งกี
ดขวางความเจริญหรือการพัฒนาเมื
องไม่ได้ ประเทศไทยควรส่งเสริมให้
ประชาชนเจ้าใจถึงความจำเป็
นในการเวนคืนเพื่อผลประโยชน์
ของส่วนรวม ส่วนผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลที
่เสียหายไปจากการเวนคืนควรได้รั
บการชดเชยอย่างเหมาะสม
ประการที่สาม การจัดการผู้บุกรุกที่สาธารณะ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ขณะที่มาเยี่ยมเยือนนครเวียงจั
นทน์อีกครั้งหนึ่ง และได้ไปรับประทานอาหารค่ำในภั
ตตาคารแห่งหนึ่งซึ่งปลูกล้
ำลงไปในคลองสาธารณะบริเวณดอนจั
นทน์ริมแม่น้ำโขง ปรากฎว่าในการเยี่ยมเยือนครั้
งล่าสุดนี้พบว่าพื้นที่ส่วนล้ำได้ถูกรื้อออก และมีการสร้างเขื่อนริมคูคลองดั
งกล่าวให้เป็นระเบียบเรียบร้
อยพร้อมลู่วิ่งสองข้างคลอง
นี่นับเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่
ส่งเสริมการปกครองตามกฎหมายไม่
เห็นแก่กฎหมู่ ใช้หลักนิติศาสตร์มากกว่าหลักรั
ฐศาสตร์ที่มักเออ ออ ห่อหมกกันไปเช่นกรณีประเทศไทย การยอมรับการทำผิดกฎหมายในที่
หนึ่งก็จะทำให้เกิดการเลี
ยนแบบในที่อื่นร่ำไป
จากกรณีการก่อสร้างถนนในแนวคิ
ดใหม่ การเวนคืนเพื่อจัดระเบียบเมือง และการจัดการผู้บุกรุกที่
สาธารณะ ชี้ให้เห็นว่าประเทศลาวมีนวั
ตกรรมการวางแผนพัฒนาเมืองและอสั
งหาริมทรัพย์ที่อาศัยความมุ่งมั
่นที่จะดำเนินการเพื่อประโยชน์
ของประเทศชาติ ซึ่งไทยควรศึกษาเป็นเยี่ยงอย่าง อันที่จริงประเทศไทยก็
สามารถทำได้ เพราะมีความรู้และเทคโนโลยีที่
เหนือกว่า ติดขัดอยู่ที่อภิสิทธิ์ชนมากกว่
า
ขอบเขตพระธาตุหลวงหลังจากเวนคืนที่ดินโดยรอบแล้ว
ภัตตาคารแห่งนี้ แต่ก่อนสร้างคร่อมคลองนี้อยู่
การสัมมนา ณ กรุงเวียงจันทน์ที่ผู้เขียนจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น