๐๐๐๐
พระเจ้าช่วยกล้วยทอด กรณีคำวินิจฉัยการเลือกตั้งทั่วไปเป็นโมฆะ..!!เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือเมื่อยุบสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง รัฐธรรมนูญกำหนดให้วันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราช อาณาจักร ม.107 วรรคแรก ม.108 วรรคสอง และ ม.118 วรรคแรก
การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้ มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
กกต. จึงได้ไปตรา พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ขึ้น
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ม. 78 วรรคแรก ว่าในกรณีที่ "มีการจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น" นั้น กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งหรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือก ตั้งประกาศงดลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้นได้ (ม.78 วรรคสอง) และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง นั้นโดยเร็ว (ม. 78 วรรคสาม)
กกต. เกิดความสงสัยว่าการขัดขวางทำให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญได้ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ความมั่นคงแห่งรัฐ หรือภัยพิบัติสาธารณะอันสำคัญ สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ตามสภาพการณ์แห่งความจำ เป็นได้หรือไม่?
24 ม.ค. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 8:0 ว่า วันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้
แต่ท่านมิได้มีคำวินิจฉัยว่า เลื่อนได้เฉพาะพื้นที่ที่มีเหตุหรือต้องเลื่อนทั้งหมด และยังบอกว่า "การตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ในฐานะผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน"
ในการหารือ นายกฯ กับประธาน กกต. มีประเด็นหารือกันว่า ถ้าเลื่อนการเลือกตั้งออกไปแล้ว กปปส. จะไม่มาปิดไม่ให้มีการเลือกตั้งอีกหรือไม่ ? และ ปชป. จะลงเลือกตั้งหรือไม่? ทุกคนตอบไม่ได้ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.
มีอาจารย์ธรรมศาสตร์ท่านหนึ่งไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 ก.พ. ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้ดำเนินการเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 6:3 ว่า การเลือกตั้งเป็นโมฆะเพราะการเลือกตั้งดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการเลือกตั้งใน วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ถ้าวันที่ 24 ม.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ ออกคำวินิจฉัยเพื่อวางหลักให้ชาติบ้านเมืองว่า "การเลื่อนนั้นต้องเลื่อนพร้อมกันทั้งหมด" ปัญหานี้ก็จะไม่เกิด ไม่ทราบขมิบไว้ทำไม?
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ม. 78 วรรคแรก ว่าในกรณีที่ "มีการจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น" นั้น กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งหรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือก ตั้งประกาศงดลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้นได้ (ม.78 วรรคสอง) และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง นั้นโดยเร็ว (ม. 78 วรรคสาม) ดังกล่าวนั้น หากพิจารณาตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเกิดเหตุบางพื้นที่และมีคำสั่งงดออกเสียงไปแล้ว ก็เท่ากับว่า "การเลือกตั้งทั้งหมด 99.99 % เป็นอันเสียไปทั้งหมด" เพราะ กกต. ต้องประกาศวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ ของหน่วยนั้นแล้วเสนอนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ วันเลือกตั้งทั่วไปใหม่ทั้งประเทศ
พระเจ้าช่วยกล้วยทอด... อย่างนี้ สตง. จะต้องออกมาทักท้วงเรื่องค่าใช้จ่ายไหมนี่..? คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนท่านคงต้องออกมาคัดค้านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า ขัดหลักการคุ้มครองสิทธิปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญไหมนี่..? คงไม่.. เพราะท่านเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ..
คงอีนุงตุงนังกันต่อไปว่า ใครทำให้โมฆะ ระหว่างรัฐบาล กกต. กปปส. หรือเฉพาะผู้ปิดล้อมไม่เกี่ยว กปปส. และถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิดจะต้องมีการฟ้องเรียกร้องความเสียหายกันต่อไปหรือ ไม่?
มึนกันละพี่น้อง..!!! "ไทยอดทน" ทนๆ กันไว้ อย่าใช้ความรุนแรงก็แล้วกันครับ เสียของกันมาเยอะแล้ว
คิดเสียว่า "นั่งบนภู ดูเสือกัดกัน" ต่อไป พอเห็นหนทางสงบบ้างไหมครับ..??
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น