แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

รณรงค์ดาวกระจาย บ้านสี่เสา,อนุสาวรีย์ ปชต.,ศาล รธน.ค้านเลือกตั้งโมฆะ,องคมนตรียุ่งเกี่ยวการเมือง

ที่มา ประชาไท

นักกิจกรรมการเมือง มอบข้าวเหนียวมะม่วงให้ป๋า วอนหยุดแทรกแซงการเมือง คลุมผ้าดำอนุสาวรีย์ จุดเทียนดำหน้าศาลรัฐธรรมนูญถาม ตลก เห็นหัวคนคนยี่สิบล้านคนบ้างไหม ตั้งคำถามที่มาและความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ  เรียกร้องให้ลาออก

ภาพโดย Panumas Khodchadat

กลุ่มเหลืออดแต่งคอสต์เพลชัชชาติหิ้วข้าวเหนียวมะม่วงเยี่ยมป๋าเปรม
21มีนาคม2557 เวลา12.00น. บริเวณบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี สี่เสาเทเวศน์ กลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองนำโดยนายนิธิวัต วรรณศิริ พร้อมเพื่อนประมาณ4คน ได้แต่งคอสต์เพลย์เลียนแบบนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รักษาการ รมว.คมนาคม เดินถือถุงข้าวเหนียวมะม่วงและป้ายคำพูดของ นวมทอง ไพรวัลย์ แท็กซี่ที่ขับรถเข้าชนรถถังของทหาร "ไม่ขอมีชีวิตอยู่ใต้อำนาจเผด็จการ" เข้าติดต่อขอมอบให้ พลเอกเปรม ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์
แกนนำกลุ่มกล่าวกับประชาไทว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มในการทำกิจกรรมครั้ง นี้ก็คืออยากเรียกร้องให้พลเอกเปรม ซึ่งมีตำแหน่งองคมนตรีถูกแต่งตั้งโดยตรงโดยพระราชอำนาจในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวการ เมือง องคมนตรีจึงไม่ควรยุ่งเกี่ยวทางการเมืองเช่นกัน
การนำข้าวเหนียวมะม่วงไปมอบให้ นิธิวรรธ อธิบายว่ามาจากการที่ พลเออกเปรมได้กล่าวให้ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ไปอ่านวาทะของ พลเอกกฤษณ์ สีวะรา (ที่มีข่าวลือว่าเสียชีวิตจากการกินข้าวเหนียวมะม่วง)ว่า"ทหารเรายืนอยู่บน เกียรติอันสูงส่ง ที่ประชาชนคนไทยหวังเป็นที่พึ่งขั้นสุดท้ายของเขา" ซึ่งทางกลุ่มมองว่าเป็นการส่งสัญญาณจากประธานองคมนตรีให้ทหารเข้าแทรกแซงการ เมือง

ในกิจกรรมดังกล่าวได้มี  จนท ตำรวจ เข้ามาขอดูและถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ทำกิจกรรม ซึ่งทางผู้จัดกิจกรรมก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้วยดี


นักศึกษา นักเรียน นักกิจกรรมทางสังคมห่มผ้าดำอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย
เวลาประมาณ 16.00น. กลุ่มนักศึกษา นักเรียน นักกิจกรรมทางสังคมประมาณ20คน นำโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อ ประชาธิปไตย(LLTD ) กลุ่มวันใหม่ และนักเรียนกลุ่มRespect My Future ได้ทำกิจกรรมนำเอาผ้าดำผืนใหญ่มาคลุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นยังได้พ่นคำ "20ล้าน+3 < 6"

สุพัฒน์ อาษาศรี เลขาธิการ สนนท.ชี้แจงว่าการจัดกิจกรรมเอาผ้าดำคลุมอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ  เลขา สนนท.กล่าวว่าทางกลุ่มยืนยันว่าการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชอบธรรมเนื่องจากที่มาของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรม ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน

เลขา สนนท.ยังเรียกร้องให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ไม่เห็นด้วยออกมาแสดงความเห็นใน ที่สาธารณะ โดยกล่าวต่อว่าในวันที่25 มีนาคม 2557  นี้ทาง สนนท.จะเดินทางไปเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยุติบทบาทการให้ความเห็นทางการเมืองกรณีการเสนอคนกลางเข้ามาแก้ปัญหา สถานการณ์การเมืองเนื่องจาก กสม.เองก็ยังไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองแต่อย่างใด



เวลาประมาณ 19.00น. ประชาชนกว่า 30 คนในนาม เครือข่ายนักกิจกรรมจุดเทียน นัดรวมตัวหน้าที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญเก่า สะพานพุทธ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ พร้อมเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออก
ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ใส่เสื้อสีดำและนำผ้าดำมาผูกรั้วศาล พร้อมนำผ้าดำปิดปาก เพื่อสื่อว่า องค์กรอิสระไม่กี่คนกำลังปิดปากคนไทยทั้งประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมจุดเทียนไว้อาลัยด้วย จากนั้น ผู้ชุมนุมร่วมตะโกน "พอกันที ยุติความอยุติธรรมในประเทศนี้" "ศาลรัฐธรรมนูญ" "ลาออกๆ" ผู้ชุมนุมใช้เวลาทำกิจกรรมราว 3 นาที ก่อนแยกย้ายกันกลับ
สหายเดียร์ฯ จากกลุ่มพอกันที กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสื่อถึงศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือก ตั้ง (กกต.) ว่า สิ่งที่ทำมาทั้งหมดไม่ว่าการตัดสินครั้งนี้หรือครั้งก่อน ทำให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ไม่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ตุลาการ เพราะไม่มีความชอบธรรม โดยยกตัวอย่างการตัดสินครั้งนี้ เช่น กรณีเขตเลือกตั้งในนครศรีธรรมราชที่จัดเลือกตั้งไม่ได้เพราะ กปปส.ไปปิด ขณะที่ก็มีการระบุเองว่า กปปส. ชุมนุมถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่วันนี้กลับบอกว่าผลจากการกระทำของ กปปส.นั้นขัดรัฐธรรมนูญ ตกลงจะเอาอย่างไรกันแน่ พร้อมชี้ว่า ตอนนี้ประชาชนกลายเป็นผู้รับกรรม ต้องเลือกตั้งใหม่ หรืออาจต้องได้นายกฯ คนกลาง ถามว่าประชาชนทำผิดอะไร
กรณีที่มีการวิจารณ์ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีคู่แข่งนั้น เขาตั้งคำถามว่า พรรคประชาธิปัตย์จะลงหรือไม่ลงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนหรือ มันเป็นเงื่อนไขที่พรรคประชาธิปัตย์เองเป็นผู้สร้างขึ้น ไม่ยอมลงเลือกตั้ง ทั้งที่มีโอกาสชนะ ก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไร ขณะที่อดีตรองหัวหน้าพรรค ปชป.ก็มาชุมนุมปิดการเลือกตั้ง มันไม่ยุติธรรมกับประชาชนอย่างยิ่ง
เขาเสนอด้วยว่า หากจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ให้ได้จริงๆ ก็ควรจะหาตัวผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ หาก กกต.บกพร่องในหน้าที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ก็ต้องลาออกหรือรับโทษจำ คุกหรือไม่ เพราะ กกต.เองก็มีส่วนขัดขวางการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินขอบเขต ตัดสินไม่ยุติธรรม จะรับผิดชอบอย่างไร ลาออกดีไหม แล้วค่อยมาคุยว่าจะเลือกตั้งใหม่หรือเปล่า
"คือการเลือกตั้งมันเป็นอำนาจโดยตรงของประชาชน ระบอบประชาธิปไตยมันบอกเราว่าประชาชนเป็นผู้ถืออำนาจโดยเอาอำนาจนั้นไปฝาก สภา สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญทำคือการกระทำตนใหญ่กว่าอำนาจของประชาชน คุณกำลังลบหลู่ดูหมิ่นอำนาจของประชาชน ถ้าคุณทำเรื่องร้ายแรงขนาดนี้ คุณไม่ควรมาทำตำแหน่งนี้หรอกฮะ"
บุญรัตน์ พฤกษา ประชาชนที่มาร่วมจุดเทียน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน โดยวันนี้ได้เตรียมเทียนสีดำมาจุดไว้อาลัย พร้อมถามว่า คนมาใช้สิทธิ 20 กว่าล้านเสียง บ้างก็ต้องปีนกำแพงสารพัด และเงิน 3,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาษีประชาชน ใครจะรับผิดชอบ ทั้งคนทั้งเงิน นอกจากนี้ ยังตั้งคำถามด้วยว่า กรณีที่ทั้งองค์กรอิสระหรือองค์กรต้านคอร์รัปชันต่างๆ ที่มีคนใกล้ตัวหรือคนในองค์กรถูกตั้งคำถามเรื่องคอร์รัปชันจะตอบสาธารณะ อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น