หมายเหตุ: แปลจากต้นฉบับบทความภาษามลายูชื่อ “DamaiSetengahHati”[http://atjehpost.com/articles/read/1602/Damai-Setengah-Hati]เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ atjehpost.comเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่หวังผลเพื่อให้ยุติปฏิบัติการทางทหารเท่านั้น
เมื่อวันศุกร์ที่28 กุมภาพันธ์2557 ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานวันสื่อสันติภาพ 2014 ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีทางภาคใต้ของไทย งานดังกล่าวเพื่อเป็นการรำลึกวันครบรอบหนึ่งปีของกระบวนการพูดคุยเพื่อ สันติภาพที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับฝ่ายขบวนการปลดปล่อยปา ตานี โดยมีท่านดาโต๊ะอะฮ์หมัดซัมซามิน ฮาซิม จากสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก
ในวันดังกล่าวเมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในหน้าประวัติศาสตร์ของการต่อสู้และความขัดแย้งด้วย อาวุธทางภาคใต้ของไทย ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติมลายู นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะรัฐมลายูปาตานี นับตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา รัฐที่เคยเลื่องลือในฐานะเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ทางวิชาการที่โด่งดัง ซึ่งได้สร้างบรรดาอูลามาอฺ(นักปราชญ์)ที่ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินมลายูมานับมิ ถ้วน ที่บัดนี้ได้ตกอยู่ภายใต้อาณัติของสยาม(ประเทศไทยในปัจจุบัน)
ความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธที่ปาตานีในช่วงหลังมานี้ได้เริ่มสุกงอมนับ ตั้งแต่สิบปีที่แล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวแทบจะไม่เคยมีวันที่ไร้เสียงระเบิดหรือเสียงอาวุธปืนนานา ชนิด ตามสถิติที่ได้รายงานโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(Deep SouthWacth) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ระบุว่านับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 22 ธันวาคม 2013 ได้มีการบันทึกสถิติเหตุการณ์การลอบวางระเบิดมีจำนวน320 ครั้ง แยกเป็นรายจังหวัดคือ ปัตตานีจำนวน 105 ครั้ง นราธิวาส 129 ครั้ง ยะลา 69 ครั้ง และสงขลา 17 ครั้ง แต่นั่นยังไม่ได้นับรวมเหตุการณ์การใช้อาวุธปืนที่เกิดขึ้นเกือบรายวันใน ช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่ปี 2004 ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 5,000 คนจากทั้งสองกลุ่มทั้งมุสลิมและพุทธ
อาบู ฮาฟิซ อัลฮากีม ตัวแทนจากฝ่ายนักต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานี ได้กล่าวผ่านคลิปวิดีโอในวาระครบรอบของการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมที่ปาตานี มิได้เริ่มต้นเมื่อสิบปีที่แล้วแต่อย่างใด แต่มันเป็นเสมือนฟันเฟืองแห่งสายโซ่จากกระบวนการต่อสู้ที่มีอย่างยาวนานกว่า 200 ปีที่แล้ว
ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลซึ่งลงนามโดย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยที่เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทางฝ่ายขบวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีที่นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani)ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการพยายามคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งทางการ เมืองของรัฐไทยในพื้นที่ภาคใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวาระที่ เหมาะสม ซึ่งอยู่ในห้วงที่มาเลเซียอยู่ในระหว่างการเลือกผู้นำครั้งที่ 13 พอดิบพอดี อย่างน้อยทางผู้นำรัฐบาลจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติอย่าง นาญิบ ราซัค ก็พอจะกวาดคะแนนเสียงจากชาวมลายูไปได้บ้าง ในแง่ที่ว่าครั้งหนึ่งผู้นำคนนี้ก็มิได้ละเลยต่อปัญหาความเดือดร้อนของคน มลายูที่อยู่ข้ามแนวชายแดนแต่อย่างใด
พิธีการลงนามทั่วไปเพื่อแสวงหาสันติภาพถูกกำหนดให้มีขึ้นอย่างเร่งรีบ กล่าวคือเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยทักษิณ ชินวัตร ได้ดอดเข้ากรุงกัวลาลัมเปอร์เพื่อพบปะกับบรรดาแกนนำนักเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อปลดปล่อยปาตานีในช่วงเวลาดังกล่าว ทักษิณ ชินวัตร ที่บัดนี้ได้พำนักอยู่ที่เมืองดูไบนั้นได้ฝากคำขอโทษต่อชาวมุสลิมทางภาคใต้ ของไทยต่อความผิดพลาดที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้กระทำไปในช่วงรัฐบาลของตน รวมถึงความผิดพลาดร้ายแรงที่สุด นั่นก็คือการฆาตกรรมอันโหดร้ายที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของโศกนาฏกรรมตากใบ ที่จังหวัดนราธิวาส และโศกนาฏกรรมมัสยิดกรือเซะที่ปัตตานี
ในเหตุการณ์ตากใบที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนออกมาเรียก ร้องให้ปล่อยตัวครูสอนศาสนาซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ภูธรอำเภอตากใบ จนที่สุดมีการสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงและทำการจับกุมหลังจากที่ถูกกระทำ ด้วยวิธีการที่ไร้มนุษยธรรม บางรายก็ได้หมดลมหายใจในที่เกิดเหตุ ส่วนที่เหลือถูกจับมัดมือมัดเท้าและถูกยัดเข้าไปในท้ายรถบรรทุกของทหารด้วย การวางเรียงร่างกายที่อ่อนล้าไร้เรี่ยวแรงเหล่านั้นเป็นชั้นๆ มิต่างอะไรกับปลากระป๋อง อีกหลายสิบคนเสียชีวิตลงเนื่องจากไม่สามารถหายใจได้โดยสะดวกจากความแออัดยัด เยียด ในขณะที่ร่างกายก็ถูกกดทับระหว่างผู้ถูกจับกุมมาด้วยกัน การเดินทางขนย้ายด้วยระยะทางที่ไกลเกือบ200 กิโลเมตร เพื่อลำเลียงผู้ถูกจับกุมไปยังศูนย์ซักถามในค่ายทหารที่ตะลาฆอบากง (Telaga Bakung)จังหวัดปัตตานี เหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดในช่วงเดือนรอมฏอน 2004 นั้น เสมือนเป็นการจุดกองไฟที่กำลังร้อนระอุ และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายสามารถสัมผัสได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤติความ ขัดแย้งทางการเมืองทางภาคใต้ของไทย
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลมิได้ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดโดย สังคมในภูมิภาคเพียงเท่านั้น แต่ยังถูกเฝ้ามองโดยบรรดาองค์กรสิทธิมนุษยชนสากลอีกด้วย ดังที่อาบูฮาฟิซได้กล่าวไว้ว่า นับตั้งแต่การลงนามในฉันทามติทั่วไประหว่างรัฐไทยกับตัวแทนขบวนการต่อสู้ที่ นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็น ทั้งสองฝ่ายได้นั่งประชุมบนโต๊ะพูดคุยเพียง 3 ครั้ง (มีนาคม, เมษายน และกรกฎาคม 2013) ส่วนในการพบปะที่ไม่เป็นทางการนั้น ทั้งสองฝ่ายได้มีการพบปะกันผ่านผู้อำนวยความสะดวกดาโต๊ะซัมซามินหลายต่อหลาย ครั้งด้วยกัน ฝ่ายไทยที่นำโดย พล.ท ภราดร พัฒนถาบุตรขณะที่ทางคณะผู้แทนการพูดคุยของบีอาร์เอ็นนำโดยท่านอุสตาซ ฮาซัน ตอยิบ
นับตั้งแต่เริ่มแรก สื่อมวลชนไทยที่ไร้จรรยาบรรณได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อ สันติภาพที่เคแอลที่ให้ภาพในทางลบ ทำการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุดซอย มีการคาดเดาไปต่างๆ นานา โดยปราศจากซึ่งหลักฐานที่ชัดเจน และได้เสนอความคิดเห็นที่พยายามเบี่ยงเบนประเด็นซึ่งมีสื่อมวลชนเพียงไม่มาก เท่านั้นที่เห็นว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างคู่ขัดแย้งที่ก่อให้ สูญชีวิตผู้คนไปแล้วนับพันรายแล้วนั้นไปในทิศทางบวก และเป็นที่แน่นอนฝ่ายที่ออกมาคัดค้านคงจะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากกลุ่มคนจากพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้ามของพรรคเพื่อไทยที่นำโดย น.ส.ยิงลักษณ์ ชินวัตร
ทางพรรคประชาธิปัตย์รู้สึกเสียหน้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลอดระยะเวลานับสิบปีที่พวกเขาครองอำนาจ นอกจากประชาชนชาวมลายูทางภาคใต้ของไทยจะรู้สึกผิดหวัง และสิ่งที่พวกเขากังวลใจอย่างยิ่งก็คือ ถ้าหากว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ได้บรรลุผลออกมาในทางที่ดี อย่างที่ทุกฝ่ายต่างคาดหวังไว้ แน่นอนทางพรรคประชาธิปัตย์คงต้องเสียคะแนนนิยมครั้งสำคัญในพื้นที่ที่กำลัง เกิดวิกฤตินี้เลยทีเดียว
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอล เริ่มจะมีความสั่นคลอนเล็กน้อยภายหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายมิสามารถปฏิบัติตาม ข้อตกลงเพื่อยุติความรุนแรงเป็นเวลา 40 วันนั้นได้ ที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนรอมฏอน 2013 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า แผนการริเริ่มเพื่อสันติภาพรอมฎอน (Ramadhan Peace Initiative) ในตอนเริ่มแรกแผนการริเริ่มดังกล่าวที่เสนอโดยผู้อำนวยความสะดวกฝ่ายเดียว นั้นค่อนข้างที่จะสมบูรณ์พร้อม ทว่าท้ายสุดแล้วก็เกิดฉีกขาดระหว่างทางจนได้
เพราะว่าแผนการริเริ่มที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2013 นั้น ได้มีการระบุถึงทั้งสองฝ่าย ทั้งจากฝ่ายกองกำลังติดอาวุธของขบวนการและฝ่ายไทย ให้ยับยั้งตนเองด้วยการลดการปฏิบัติการทางทหารลง เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ที่ดีดังกล่าว ทางฝ่ายบีอาร์เอ็นก็รับไว้ในหลักการด้วยการกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้ต้องการลดเหตุรุนแรงเท่านั้นแต่จะยุติการใช้อาวุธทั้งหมดตลอด ช่วงของเดือนรอมฏอน แต่แน่นอนคงต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน อย่างเช่น ทางกองทัพต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่กลับไปยังที่ตั้งทั้งหมด ในช่วงเวลาดังกล่าวทางกองทัพไทยมิควรออกลาดตระเวนในชุมชนมลายู
ทว่าแผนการริเริ่มดังกล่าว เป็นได้แค่ตัวอักษรที่ถูกร่างขึ้นมาอย่างเร่งรีบและขาดความรอบคอบ เพราะเพียงสัปดาห์แรกของเดือนรอมฏอน ทางฝ่ายความมั่นคงได้ลอบยิงนักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวหลายคนด้วยกัน คงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเพราะได้พบความบกพร่องในแผนการริเริ่มดังกล่าว หนึ่งในนั้นก็คือการไม่ได้ระบุถึงฝ่ายที่จะเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่อย่าง ชัดเจนในช่วงของการยุติปฏิบัติการ‘สู้รบ’ดังกล่าว อย่างไรก็ตามสาธารณชนมิได้รับทราบถึงเนื้อหาที่ตกลงกันได้อย่างชัดเจนนัก อย่างเช่นหากว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีการละเมิดข้อตกลงควรที่จะไปร้องเรียนไปยัง ที่ใด ที่มิอาจทนต่อการกระทำของอีกฝ่าย จนในที่สุดทางฝ่ายกองกำลังติดอาวุธก็ได้ทำการตอบโต้ต่อเจ้าหน้าที่ทหารไทย และแผนการริเริ่มหยุดยิงเดือนรอมฏอนเป็นอันต้องยกเลิกไปโดยปริยายด้วยต่าง ฝ่ายต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกัน
อย่างไรก็ตามข้อตกลงร่วมกันที่จะนั่งลงพูดคุยกันยังคงเป็นเจตนารมณ์หลัก ของทั้งสองฝ่ายเช่นเดิม เพื่อการพูดคุยจะสามารถประคับประคองได้ด้วยดี ตามคลิปที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม2013 ทางฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นได้ทวงถามถึงเงื่อนไขเบื้องต้นไขทั้ง 5 ข้อ เพื่อเป็นวาระในการพูดคุยร่วมกันต่อไป เพื่อความชัดเจนถึงเนื้อหาของเงื่อนไขดังกล่าว ทางฝ่ายขบวนการได้อธิบายถึงรายละเอียดจำนวน 25 หน้า ที่คงจะเป็นการหนักสำหรับฝ่ายไทยในการรับข้อเสนอดังกล่าว หนึ่งในนั้นที่ได้ระบุว่า ทางกรุงเทพต้องให้การรับรองถึงสิทธิความเป็นเจ้าของของคนมลายูบนแผนดินปา ตานีที่ได้ยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จนับตั้งแต่ปี 1902
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กว่ากันก็คือ กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพต้องได้รับการรับรอง(endose) ผ่านรัฐสภาไทยและต้องเป็นหนึ่งในวาระของประเทศ และต้องยกสถานะบทบาทของมาเลเซียให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย(mediator) มิใช่เป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวก(fasilitator) เพียงเท่านั้น ตัวแทนจากกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น อาเซียน โอไอซี และองค์กรจากภายนอกต้องสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ตามที่ได้ร้องขอจากฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ถูกทางกรุงเทพปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นไปตามที่คุณภราดรได้กล่าวไว้ เพราะเรื่องที่จะพูดคุยในการประชุมนั้น มันเป็นเรื่องภายในของไทย ไม่สมควรที่จะให้คนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลนั้นจะยัง สานต่อหรือยุติลงกลางทาง ถึงกระนั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะว่าหลายเดือนที่ผ่านมานี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องเจอมรสุมทางการเมืองรุม เร้าจากพรรคฝ่ายค้าน เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังอยู่ในอาการระส่ำระส่ายอยู่นั้น ในที่สุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์เองก็เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือน กุมภาพันธ์ซึ่งก็ที่ถูกบอยคอตการเลือกตั้งโดยพรรคฝ่ายค้านด้วยการเห็นชอบจาก ราชสำนัก ทั้งที่จริงแล้วยิ่งลักษณ์เองก็ได้ประกาศยุบสภาไปแล้ว จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นเพียงนายกรัฐมนตรีรักษาการเท่านั้น
คลื่นมวลชนที่เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ (ในฐานะเป็นแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดง) เพื่อให้ทำการมอบอำนาจให้แก่กลุ่ม กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ขบวนการเคลื่อนไหวกลุ่มนี้ยังสามารถที่จะตีความได้ว่าเป็นกระทำที่เต็มไป ด้วยความกังวลเกินขอบเขตของฝ่ายค้าน เช่นเดียวกับราชสำนักซึ่งกังวลต่อสถานะการดำรงอยู่ในอนาคตของสถาบันกษัตริย์ ในประเทศแห่งช้างเผือกแห่งนี้ทางกลุ่มสุเทพเทือกสุบรรณ นักวางแผนของผู้ชุมนุม ‘กลุ่มเสื้อเหลือง’ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขับไล่ยิ่งลักษณ์ออกจากทำเนียบรัฐบาลนอก เหนือจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองแล้ว การระดมมวลชนเพื่อปิดกรุงเทพฯเป็นเดือนๆนั้น เป็นความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ภายใต้ระบบรัฐสภา พร้อมหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบการปกครองแบบ สาธารณรัฐหลังจากผ่านพ้นรัชสมัยขององค์กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช
นอกเหนือจากชาวมลายูปาตานีที่ได้เรียกร้องเอกราชทางภาคใต้แล้ว ประเด็นที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายในช่วงหลังมานี้คือความเป็น ไปได้ที่กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศจะทำการเรียกร้อง เอกราชเช่นกัน ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นเคยมีอาณาจักรล้านนาที่มีศูนย์กลางอยู่ ที่เชียงใหม่ ซึ่งบัดนี้อยู่ภายใต้การยึดครองโดยกรุงเทพฯ นั่นคือปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิทางการเมืองของไทยวันนี้จึงดู วุ่นวาย หากมองจากตรงนี้คงจะเป็นเหมือนบาปกรรมของรัฐไทยที่ได้ก่อขึ้นมาในอดีตที่ชอบ ‘ปล้น’ ของคนอื่น ซึ่งรวมไปถึงการครอบครองดินแดนของคนมลายูปาตานีอีกด้วย
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลจะยังคงดำเนินต่อไปหรือจะยุติลง คงต้องขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์และ ความจริงใจของฝ่ายไทยที่มีมากน้อยเพียงใดในการสะสางประวัติศาสตร์กับชาว มลายูปาตานี อย่างที่ท่านอาบูฮาฟิซได้กล่าวไว้ว่า ทางฝ่ายขบวนการต่อสู้ปาตานีได้พบปะพูดคุยสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการกับฝ่าย ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของรัฐไทยและองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศจำนวนหนึ่ง มาแล้วหลายครั้งด้วยกัน การพบปะเคยมีขึ้นเช่นที่เกาะลังกาวี บอกอร์ เจนีวา เป็นต้น แต่ทั้งหมดนั้นก็ไม่พ้นเป็นกุศโลบายของฝ่ายไทยเช่นเคย ที่เพียงเพื่อต้องการรับรู้ถึงความเข้มแข็งของกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายขบวน การปลดปล่อยปาตานีเท่านั้นเอง
ตามที่อาบูฮาฟิซได้กล่าวไว้ว่า หากวันนี้ทางฝ่ายนักต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีได้เลือกวิธีการใช้กำลังอาวุธ นั่นคงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เพราะเมื่อในอดีตทางฝ่ายไทยไม่ต้องการรับฟัง เสียงเรียกร้องของประชาชนเลย ผู้นำปาตานีในอดีตได้ต่อสู้มาอย่างยาวนานเรียกร้องผ่านทางรัฐสภาและองค์กร สิทธิมนุษยชน ที่มักลงเอยด้วยการถูกจับกุมหรือถูกจำคุก บางส่วนถูกฆาตกรรมหรือต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หนำซ้ำสภาพการณ์เช่นนั้นยังคงดำรงอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
คงจะคล้ายกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เคแอลที่ได้ครบรอบหนึ่งปี ซึ่งอาจทิ้งไว้เพียงความทรงจำในหน้าประวัติศาสตร์ หากว่าฝ่ายไทยเข้าสู่โต๊ะพูดคุยเนื่องจากถูกบังคับหรือไม่มีความเต็มใจ เพราะอย่างที่เรารับรู้กันดีว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพเองนั้นถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายของทางกรุงเทพ เช่นกัน เพื่อยุติการสู้รบด้วยกำลังอาวุธในพื้นที่ภาคใต้ของไทยก่อนวันที่ 1 มกราคม 2015 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
ถ้าหากนั่นเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยปรารถนา นี่คงหมายถึงกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพก็เป็นไปเพื่อต้องการให้การต่อ ต้านที่ใช้อาวุธในปาตานียุติลง มิได้มองถึงเรื่องสิทธิและอำนาจอธิปไตยของเจ้าของผืนดินที่ถูกยึดครองมา อย่างยาวนานหลายทศวรรษแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น