ถอดคำ
ละเลียดความ และขยายผล (โดย ระยิบ เผ่ามโน) ข้อวินิจฉัยของ สปป.
ต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้ง ๒ กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ
โดยที่ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้ระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยทางรัฐธรรมนูญ
อันมีประชาชนเป็นอธิปัตย์ และใช้การเลือกตั้งกับระบบเสียงข้างมากเป็นสรณะแห่งการตัดสิน
ดังนั้นการที่กลุ่มหรือองค์กรเอกชนทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานแห่งรัฐ
ไม่ว่าเจ้าพนักงานนั้นๆ จะอยู่ในเครือข่ายของอำนาจตามรัฐธรรมนูญแขนงใด
ย่อมเป็นการกระทำอันชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฏหมายสูงสุดของประเทศ ควรแก่การขยายผล
เหตุ
นี้ผู้เขียนขอนำถ้อยแถลงแห่งคำประกาศของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
(สปป.) เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗
ในสาระที่จะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจอันดีในข้อกฏหมายและเนื้อนาแท้จริงทาง
การเมืองต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญโดยสังเขป
มาเรียบเรียงใหม่เพียงเล็กน้อย ฃยายผลด้วยลายลักษณ์อักษร
สปป.
วินิจฉัยว่า คำตัดสินของศาล รธน. ขาดความชอบธรรมตามตัวบทกฏหมายรัฐธรรมนูญ
และไม่มีความชอบธรรมในทางการเมืองด้วย
ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา
๒๔๕ (๑) และศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ โดยอ้างว่าในวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ ๕๗ ไม่มีการเลือกตั้งใน ๒๘ เขตที่ถูกขัดขวาง
ดังนั้นจึงตีความว่าไม่มีการเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักรในวันเดียวกัน อันขัดกับเนื้อหาตอนหนึ่งของมาตรา
๑๐๘ วรรค ๒ แห่งรัฐธรรมนูญ
แต่ สปป. เห็นว่าคำตัดสินนั้นมีปัญหาดังนี้
๑.
มาตรา ๒๔๕ (๑)
กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเห็นว่า บทบัญญัติกฏหมายใดไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
วัตถุแห่งคดีจึงต้องเป็น ‘บทบัญญัติแห่งกฏหมาย’ แต่ในคำตัดสินของศาล รธน.
ไม่ได้มีบทบัญญัติแห่งกฏหมายเป็นวัตถุแห่งคดี
ศาลนำเอาการจัดเลือกตั้งมาเป็นวัตถุแห่งคดีแทน ซึ่งไม่ตรงต่อ รธน.
ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ควรนำเสนอให้ศาลพิจารณาแต่แรกแล้ว แม้เมื่อผู้ตรวจการฯ
นำเสนอไป ศาลเองก็มีหน้าที่ต้องไม่รับคำร้อง
การที่ศาลรับและตัดสินเท่ากับว่าศาลทำการแก้รัฐธรรมนูญด้วยตนเอง โดยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดบ่งบอกให้อำนาจศาลกระทำการเช่นนั้นได้
ขยายผล :นี่ทำให้พิเคราะห์ได้ว่า
ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลรัฐธรรมนูญ ‘สำคัญผิด’ ในข้อกฏหมาย หรือจงใจตีความนอกกรอบของเนื้อถ้อยในบทบัญญัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง
๒.
มาตรา ๑๐๘ วรรค ๒
บัญญัติว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยการออกพระราชกฤษฎีกา
กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายในไม่น้อยกว่า ๔๕ วันแต่ไม่เกิน ๖๐ วัน
และวันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันคือวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ศาลได้นำเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังการกำหนดวันเลือกตั้งมาเป็นฐานในการพิจารณา
ทั้งๆ
ที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เจาะจงว่าการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นได้เฉพาะภายในวันเดียวกันเท่านั้น
เมื่อมีเหตุสุดวิสัยก็ย่อมไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้
ขยายผล :นี่ก็ชี้ให้เห็นว่าศาลตีความอย่างจงใจให้เป็นความผิดไว้ก่อนโดยละเลยข้อเท็จจริง
และไม่คำนึงถึงเนื้อความแห่งกฏหมาย อาจจัดเป็นความ ‘สำคัญผิด’
ในขอบข่ายแห่งอำนาจและหน้าที่ของตนเองก็เป็นได้
๓.
ในประเด็นแห่ง ‘ข้อเท็จจริง’ นั้น การเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๕๗ ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยเป็นส่วนใหญ่
แต่ศาลนำเอาเหตุของการไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในบางเขตเพราะมีการขัดขวางเกิดขึ้น
มากล่าวอ้างเพื่อตัดสินให้พระราชกฤษฎีกาขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากจะไม่ต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนั่นเองแล้ว
ยังก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าคำตัดสินของศาลนี้มุ่งทำลายสิทธิเสียงของประชาชน ๒๐
ล้านคนที่ไปลงคะแนนเลือกตั้งด้วยหรือไม่
๔.
ทางด้านมิติการเมืองนั้น
อุปสรรคต่อการเลือกตั้งเกิดจากการประทำของ กปปส.
และผู้สนับสนุนกลุ่มประท้วงนี้ทั้งในและนอกสภา ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย
ในอันที่จะทำลายระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางรัฐสภา
อีกทั้งคณะกรรมการเลือกตั้งเองก็ไม่ได้แสดงถึงเจตจำนงแน่วแน่ในการทำงานตามกรอบอำนาจหน้าที่ในการจัดเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วง
การตัดสินของศาล รธน. จึงเป็นผลส่งเสริมปฏิบัติการต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างละเลย และมองข้ามสิทธิของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
๕.
การ
ร่วมมือกันของกลุ่มผู้ประท้วงและองค์กรอิสระขัดขวางระบอบประชาธิปไตยนี้จะ
ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อสร้างสุญญากาศทางการเมืองให้เกิดขึ้นจนได้
แล้วเปิดทางให้แก่การเข้าสู่อำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลแบบนอกรัฐธรรมนูญ
เพื่อทำการผลักดัน แก้ไข ตัดต่อ ดัดแปลงรัฐธรรมนูญ
โดยหวังผลให้ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเกิดความอ่อนแอ
ขยายผล :เปิดทางไปสู่การยกเลิกระบบเลือกตั้ง
และ/หรือถูกกำจัดออกไปในท้ายที่สุด
๖.
นับแต่มีการรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
บรรดาองค์กรอิสระและอำนาจตุลาการกลายเป็นเครื่องมือของพลังเสียงข้างน้อย
ที่ปฏิบัติการต่อต้านระบอบประชาธิปไตย เพียงเพื่อต้องการทำลายกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามให้ได้อย่างเด็ดขาดรวดเร็วเท่านั้น
การปล่อยให้มีการบิดเบือนและฉวยใช้องค์กรอิสระและอำนาจตุลาการเพื่อทำลายประชาธิปไตย
แล้วยังทำร้ายเศรษฐกิจของชาติจนไม่สามารถเติบกล้าได้เต็มที่นี้
รังแต่จะทำให้ประเทศจมปลักในวังวนอับตันของความขัดแย้งรุนแรงไม่สิ้นสุด ถึงเวลาแล้วจะต้องปฏิรูปองค์กรอิสระและอำนาจตุลาการ
สร้างกลไกถ่วงดุลตรวจสอบขึ้น
นี่เป็นภาระที่ประชาชนต้องร่วมกันเดินหน้าผลักดันให้ถึงที่สุด
๗.
กระบวนการทำลายการเลือกตั้งทำให้ประเทสไทยตกอยู่ในภาวะขัดแย้งรุนแรงมาเกือบทศวรรษ
และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกว่าทุกฝ่ายจะมีการเคารพสิทธิเท่าเทียมกันในการเลือกตั้ง
สปป. ยืนยันว่าทางออกมีแต่การยอมรับหลักสี่ประการข้างล่างนี้โดยถ้วนทั่วเท่านั้น
๗.๑ หลักการว่าด้วย
‘คนเท่ากัน’
๗.๒ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
๗.๓ ความชอบธรรมของเสียงข้างมาก
เรื่องเกี่ยวเนื่อง http://thaienews.blogspot.com/2014/03/2_23.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น