แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

'คารม' เตรียมฟ้องอาญาตุลาการศาล รธน.

ที่มา Voice TV




ทนาย นปช. เตรียมฟ้องคดีอาญาต่อตุลาการศาล รธน. ในขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมหน้าศาล รธน. ยังคงปักหลักรอคำตอบการยุติบทบาทของตุลาการทั้ง 9 คน 

กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป. ยังคงปักหลักชุมนุม หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ 9 โดยการชุมนุมยังคงเป็นไปด้วยความสงบ ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของตำรวจตามปกติ

โดยแกนนำและผู้ประสานงาน กวป. แถลงว่าการชุมนุมตลอด 9 วันที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อสถานที่หรือบุคคล และสิ่งที่ทางกลุ่มต้องการ คือคำตอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องความชอบธรรมในการรับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และที่มาในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น โดยยืนยันว่าจะชุมนุมจนกว่าจะได้รับคำตอบจากตุลาการทั้ง 9 คน

ในขณะที่นายคารม พลพรกลาง ทนายความของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีอาญากับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน เนื่องจากการรับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการทำงานเกินหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ เข้าข่ายความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

โดยนายคารมคาดว่า จะสามารถรวบรวมรายชื่อผู้เสียหาย มาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องได้จำนวนมาก และคาดว่าจะยื่นเรื่องฟ้องได้ภายในวันที่ 3 หรือ 7 พฤษภาคมนี้ โดยยืนยันว่าการดำเนินการนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล หรือกลุ่ม นปช. แต่อย่างใด
30 เมษายน 2556 เวลา 15:51 น.

รถไฟความเร็วสูง..ไม่ใช่ภาระหนี้สิน แต่คือโอกาสใหม่ของการสร้างรายได้

ที่มา ประชาไท


จากการเสนอบทวิเคราะห์เรื่อง “ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง คุ้มค่า และเป็นประชาธิปไตย?” โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับบทวิเคราะห์ดังกล่าวในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ทางคณะทำงานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์ที่จะชี้แจง ข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวทางการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนโครงการรถไฟความ เร็วสูง และแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้
คุ้มไม่คุ้ม............ไม่ได้ตัดสินแค่เพียงจำนวนผู้โดยสาร
เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา มติชนออนไลน์ได้รายงานข่าวเรื่อง “ทีดีอาร์ไอค้าน ไฮสปีดเทรนมีผู้โดยสาร 9 ล้านถึงจะคุ้ม จี้รัฐเลิกประชานิยมสุดกู่” โดยนายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอได้วิเคราะห์ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มค่าการลงทุนได้ ก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสารต่อปีอย่างน้อย 9 ล้านคน[1]

ทั้ง นี้ หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประมาณการณ์ของนายสุเมธ (ซึ่งอ้างอิงมาจากการประเมินต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถไฟความเร็วสูง ในเส้นทางต่างๆของทวีปยุโรป)[2] จะพบว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยมีความคุ้มค่าแก่การลงทุนอย่างแน่นอน เพราะเมื่อพิจารณาถึงผลการประมาณการณ์จำนวนผู้โดยสารขั้นตำ่ซึ่งได้จัดทำออก มาแล้ว เช่น ผลการวิจัย Pre-Feasibility Study ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย ซึ่งจัดทำโดย Third Railway Survey and Design Institute Group Corporation (TSDI) เมื่อเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2555 ได้แสดงให้เห็นว่า เพียงแค่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคายรวมกัน ก็จะมีปริมาณผู้โดยสารสูงถึง 23.8 ล้านเที่ยว-คน ในปี 2563[3]
รถไฟความเร็วสูง กับการกระจายโอกาสในการสร้างรายได
สำหรับในเรื่องการจัดประเภทการลงทุนให้บริการทางสังคม (Social Services) ซึ่งประชาไทได้รายงานข้อเสนอของทีดีอาร์ไอ เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา[4] ทางคณะทำงานฯมีความประสงค์ที่จะชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมด้วยกัน 2 ประเด็น คือ
1.      ข้อกังวลของทีดีอาร์ไอที่ว่า ภาครัฐไม่ควรอุดหนุนโครงการรถไฟความเร็วสูง และใช้เรื่องบริการทางสังคมเป็นข้ออ้างว่ากิจการประเภทนี้สามารถขาดทุนได้ นั้น ทางคณะทำงานฯขอชี้แจงว่า รัฐบาลมีแนวนโยบายให้โครงการรถไฟความเร็วสูงสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองได้ อย่างเพียงพอ โดยได้มีการวางรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) แบบ “ลูกผสม” คือ นอกจากการสร้างรายได้ทางตรงจากการให้บริการขนส่งมวลชนและสินค้าทางรถไฟความ เร็วสูงแล้ว ยังได้วางแนวทางในการสร้างรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ภายใต้โครงการรถไฟ ความเร็วสูงเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด (generating revenue from cargo & passengers services + affiliated business from existing assets) ตัวอย่างเช่น แนวทางการสร้างรายได้จากพื้นที่การค้าภายในตัวอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น (สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของแนวทางรูปแบบธุรกิจดังกล่าว สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “รถไฟความเร็วสูงและระบบรางคู่ คือการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่คุ้มค่า”[5] และสามารถชมตัวอย่างการดำเนินรูปแบบทางธุรกิจดังกล่าวที่ประสบความสำเร็จ ได้ที่งานนิทรรศการ “รถไฟสายความสุข.......เศรษฐกิจใหม่จากรางสู่เมือง” ที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC)
2.      ข้อกังวลของทีดีอาร์ไอที่ว่า รถไฟความเร็วสูงไม่ควรถือเป็นบริการทางสังคม เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อย ทางคณะทำงานฯขอแสดงความคิดเห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างที่จะเกิด ขึ้นภายหลังการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง และเป็นการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นพิจารณาถึงแต่เพียงผลประโยชน์ทางตรงที่จะ เกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงเพียงเท่านั้น (Transport User Benefit) ทั้งนี้ ทางคณะทำงานฯจะขอยกตัวอย่างโอกาสในการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการและภาค ธุรกิจรายย่อยในระดับท้องถิ่นที่จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อรถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ได้แก่
2.1 การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เช่น รถไฟความเร็วสูง จะสามารถช่วยกระตุ้นและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน ภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย และจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products, GPP) เพิ่มสูงขึ้น จากผลการสำรวจของกระทรวงคมนาคมชิ้นล่าสุดพบว่า จำนวนผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนตำ่ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการขยายตัวของ GPP ในจังหวัดต่างๆในระดับภูมิภาค[6] ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงจะทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการขยายตัวของ GPP รวมทั้งเป็นระบบคมนาคมทางเลือกในยุคที่ราคานำ้มันปรับตัวสูงขึ้นอย่างไม่ หยุดยั้ง
และเพื่อกระจายโอกาสในการสร้างรายได้ จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค รัฐบาลจึงได้วางแนวนโยบายจัดสรรพื้นที่การค้าภายในตัวอาคารสถานีรถไฟความ เร็วสูง ให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจรายย่อยระดับท้องถิ่น
2.2 ระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟความเร็วสูงที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แบบ “Just-in-Time” จะช่วยขยายฐานลูกค้าให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจรายย่อยระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้มีการวางแนวทางส่งเสริมภาคธุรกิจในกลุ่ม SMEs และ OTOP โดยจะเปิดให้บริการจัดส่งพัสดุ และบริการจัดส่งแบบ LTL (Less Than Truckload) ผ่านทางรถไฟความเร็วสูงและระบบ Feeder เพื่อยกระดับมาตรฐานการนำจ่ายพัสดุถึงมือผู้รับภายใน 24 ชั่วโมง และมาตรฐานการนำจ่ายแบบ “Same Day Delivery” นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังมีแผนงานในการขยายการให้บริการจัดส่งสินค้าอาหาร ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการท้องถิ่นจากภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ โดยบริการดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก “บริการอร่อยทั่วไทยสั่งได้ที่ไปรษณีย์” ซึ่งมีอยู่แล้วในยุคปัจจุบัน[7]
ในส่วนของแนวยุทธศาสตร์การกระจายโอกาสในการสร้างรายได้จากโครงข่ายรถไฟ ความเร็วสูงซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ ทางคณะทำงานฯขอเสนอว่า ไม่ควรมองแนวนโยบายดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายประชานิยม (Populist Policies) แต่ควรพิจารณาในแง่ของการเป็น “Propulsive Policies” ที่จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจรายย่อย พัฒนาและยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการของตน





[1] “ทีดีอาร์ไอค้าน ไฮสปีดเทรนมีผู้โดยสาร 9 ล้านถึงจะคุ้ม จี้รัฐเลิกประชานิยมสุดกู่”, มติชนออนไลน์, 24 เมษายน 2556 (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366817466&grpid=01&catid=&subcatid=)
[2] บทวิเคราะห์ของทีดีอาร์ไอได้อ้างอิงถึงผลการศึกษาของ Chris Nash, “When to Invest in High-Speed Rail Links and Networks?, OECD/IFT Joint Transport Research Center Discussion Paper, No. 2009-16 (2009) และดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Gines de Rus and Gustavo Nombela, “Is Investment in High Speed Rail Socially Profitable”, Journal of Transport Economics and Policy, Vol. 41, No. 1 (Jan., 2007), pp. 3-23
[3] Third Railway Survey and Design Institute Group Corporation (TSDI), “High Speed Railway Bangkok to Chiang Mai: Pre-Feasibility Study” (August 2012) และ Third Railway Survey and Design Institute Group Corporation (TSDI), “High Speed Railway Bangkok to Nong Khai: Pre-Feasibility Study” (October 2012)
[4] ““ควรเดินหน้า แต่....” ข้อเสนอทีดีอาร์ไอโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน”, ประชาไท, 19 เมษายน 2556 (http://www.prachatai.com/journal/2013/04/46298)
[5] คณะทำงานประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี, “รถไฟความเร็วสูงและระบบรางคู่ คือการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่คุ้มค่า”, ประชาไท, 7 เมษายน 2556 (http://prachatai3.info/journal/2013/04/46133?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook)
[6] ข้อมูลจากกระทรวงคมนาคม
[7] สัมภาษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านระบบปฏิบัติการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, 6 สิงหาคม 2555

ปวิน-สมศักดิ์ เจียมฯ วิพากษ์สุนทรพจน์ยิ่งลักษณ์ จับตาเป็นแค่ “คารม”

ที่มา ประชาไท


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชชาลพงศ์พันธ์ วิพากษ์สุนทรพจน์ของยิ่งลักษณ์ที่มองโกเลีย ชี้ถ้าจริงใจต้องแก้ไขปัญหานักโทษการเมืองอย่างเร่งด่วน
ภายหลังจากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวปาฐกถาปาฐกถาพิเศษในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย  ที่อูลัน บาตอ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา โดย นายกไทยระบุ ประชาชนเสียเลือดเนื้อ ถูกยิงด้วยสไนเปอร์ พี่ชายถูกรัฐประหาร ชี้ เพราะเมืองไทยยังมีคนไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ รวมถึงกล่าวด้วยว่าขณะนี้ยังคงมีคนถูกจำคุกด้วยประเด็นทางการเมือง
สองนักวิชาการซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดอย่างต่อ เนื่อง ได้ตั้งข้อสังเกตต่อปาฐกถาดังกล่าวว่า ต้องรอดูว่าอาจจะเป็นเพียงแต่คารมหวานๆ เท่านั้น
โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการณรงค์ผ่ามืออากง โพสต์เฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสุนทรพจน์ดังกล่าว 4 ประเด็นได้แก่
1. ยิ่งลักษณ์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies – CD) ครั้งที่ 7 การพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยของไทย รัฐประหารที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และการสังหารประชาชน จึงเป็นหัวข้อสุนทรพจน์ที่มีความชอบธรรม แต่จะประจวบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในหรือเปล่านั้น ยากที่จะสรุป
2. อย่างไรก็ตาม ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนร่างสุนทรพจน์เอง ทั้งหมดร่างโดยทีมงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่า ทีมคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังการเขียนสุนทรพจน์ในแนวนั้น ส่วนยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่ผู้สื่อสาร
3. คงต้องรอดูต่อไปว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์พูดจะเป็นแค่คารมหวานๆ (rhetoric) หรือไม่ ความเห็นส่วนตัวนะ ผมว่า ยิ่งลักษณ์คงเดินเกมเกี๊ะเซี๊ยะต่อไป สุนทรพจน์ที่มองโกเลียจัดทำเพื่อเสริมความชอบธรรมให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งอาจเพื่อเอาใจกลุ่มรักประชาธิปไตยในประเทศเท่านั้น
“...ไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองจากความเป็นจริงครับ....” เขากล่าวก่อนจะโพสต์ข้อความต่อมาในวันนี้ (30 เม.ย.) ว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ได้พูดคือ จากปาฐกถาดังกล่าวไม่ได้มีคำมั่นสัญญาว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง
"ดิชั้นเข้าใจความอยุติธรรมที่นักโทษการ เมืองได้รับ ดิชั้นจะผลักดันให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด....นี่คือสิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ ได้พูดที่มองโกเลีย.....”
ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์ข้อความใน วันที่ 29 เม.ย.ในท่วงทำนองที่คล้ายคลึงกันว่า หากยิ่งลักษณ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์จริงจังกับสิ่งที่พูดจริง กรณีนักโทษการเมืองนั้นถือเป็นปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลนี้
“พูดถึง สปีช ที่มองโกเลีย ของ ยิ่งลักษณ์ นะครับ
ถ้าคุณยิ่งลักษณะ และ รัฐบาล ซีเรียส กับสิ่งที่พูดในสปีช โดยเฉพาะส่วนนี้นะครับ
"...แม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่"
(Even today, many political victims remain in jail.)

(และดูปริบทของประโยคนี้ ทีกล่าวนำมาก่อนหน้านั้น)
“ผมว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ก็น่าจะออกเป็น "พรก." ปล่อยนักโทษการเมือง (ตามข้อเสนอ นปช) ได้เลยด้วยซ้ำ (คือถ้าดูตามปริบทของสปีช จะเห็นว่า เรืองนี้ เป็นอะไรที่ เร่งด่วน และเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ) หรืออย่างน้อย ก็ประกาศเป็นนโยบายที่จะออก พรบ.นิรโทษกรรม หรือเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม ในนามรัฐบาล เองเลย (พรบ. ที่เสนออยู่ ของคุณ วรชัย ไม่ใช่ ของรัฐบาล)”

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 30/04/56 ใครๆ เค้าก็คิดดีทั้งนั้น..ยกเว้น..ไอ้นี่?

ที่มา blablabla




ฝั่งหนึ่ง..ล้วนคิดคี ให้มีผล
เพื่อผองชน ร่มเย็น เป็นสุขสันต์
ฝั่งหนึ่ง..กลับตั้งท่า มากีดกัน
หวังห้ำหั่น ทับถม ให้จมดิน....

คิดไม่บอก บอกไม่ได้ ให้โทษแม้ว
เชิญบ๊องแ๊บ๊ว ตามสะดวก พวกทุศีล
วาทกรรม คำอ้าง หวังตีกิน
สุดท้ายลิ้น พันคอ หงอทุกราย....

ฝั่งคิดดี เพื่อเมืองไทย ไปได้สวย
พวกตัวซวย กลับเหยียบซ้ำ ทำฉิบหาย
เติมเชื้อไฟ ให้คุกรุ่น จนวุ่นวาย
แก่ใกล้ตาย ยังสิ้นคิด วิปริตนัก....

เจียนสุดทาง คนชั่ว พวกตัวถ่วง
ล้านกลลวง แสนโสมม ยิ่งจมปลัก
นับถอยหลัง ล่มสลาย ตายยกพรรค
พวกดีดัก ประจักษ์ชัด วัดคนเลว....

๓ บลา / ๓๐ เม.ย.๕๖

อ่านแล้วน้ำตาไหล "สมยศ พฤกษาเกษมสุข: “ผมคิดผิดไปแล้ว”

ที่มา Thai E-News

 30 เมษายน, 2013 - 12:03 | โดย Somyot-Redpower
โดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ที่มา "สมยศ พฤกษาเกษมสุข: “ผมคิดผิดไปแล้ว”



ผม ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าเมื่อชีวิตย่างเข้าสู่วัย 50 ปี จะกลายเป็นอาชญากรแผ่นดิน ติดคุกตะราง ถูกจองจำสูญเสียอิสรภาพ ใช้ชีวิตอยู่ในกรงขังแน่นหนาเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน

ผมใช้ชีวิตในวัย หนุ่มอยู่กับผู้ใช้แรงงาน ต่อสู้เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม เช่นเดียวกันกับผู้คนร่วมสมัยมากมายที่ใฝ่ฝันถึงสังคมใหม่ที่ดีงาม ปราศจากการกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ เป็นสังคมแห่งความเสมอภาพเท่าเทียมกัน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย

ผมไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้มีเงินทองมากมาย ผมใช้ชีวิตพออยู่พอกิน ไม่เคยคดโกงหรือเบียดเบียนคนอื่น ไม่คิดสะสม พอมีเงินเหลือบ้างก็แบ่งปันให้คนที่ยากจนทุกข์ยากมากกว่าผม เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับผมบอกผมว่า “ผมคิดผิดไปแล้ว” เพ้อฝันอยู่กับอุดมคติเกินไป

หลายคนประสบผลสำเร็จเป็นนักธุรกิจเงิน ล้าน เป็นครูอาจารย์ที่น่านับถือ เป็นนักการเมืองชื่อดัง มีชีวิตที่มั่งคั่งร่ำรวย สุขสบาย ส่วนผมเป็นคนสามัญชนคนธรรมดา เดินถนน กินข้าวแกงอยู่ตามตรอกตามซอย

ผมเติบโตมากับการต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตย ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจะเลวร้าย ย่ำแย่ลง ไร้สิทธิเสรีภาพ รัฐประหารมีแต่ความรุนแรงด้วยการปราบปราม เข่น”ประชาชน และจับกุมคุมขัง ผมไม่อาจอยู่เฉย เอาตัวรอดตามลำพัง ผมออกมาต่อต้านการรัฐประหารตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2519 , 23 กุมภาพันธ์ 2534 และล่าสุด 19 กันยายน 2549 ผมเห็นว่านี่เป็นการทำหน้าที่พลเมืองไทย และเป็นการทำประโยชน์ให้กับสังคม เป็นคุณงามความดีตามความเชื่อของพุทธศาสนา

ผม เป็นเพียงผู้เข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ฟังการปราศรัย เข้าร่วมการเดินขบวนเป็นบางครั้ง ผมเริ่มรู้จักหลายคนที่ร่วมการชุมนุม จึงได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตยขึ้นมา เป็นองค์กรหนึ่งที่ร่วมก่อตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง

เมื่อแกนนำ นปช. ถูกจับกุมในปี 2550 , 2552 และ 2553 ผมและพรรคพวกในนามกลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตยได้ออกมาต่อสู้เรียกร้องให้ปล่อย ตัวพวกเขา ขนถูกเรียกว่า แกนนำ นปช. รุ่น 2 เป็นการขนานนามโดยสื่อมวลชน ครั้นเมื่อแกนนำได้รับการปล่อยตัวแล้ว ผมก็กลายเป็นคนธรรมดา ที่ยังต่อสู้อยู่กับประชาชนเหมือนเดิม จนผมถูกพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร ฟ้องหมิ่นประมาทจากการขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีคณะรัฐประหาร ผมต่อสู้คดีในศาลอย่างโดดเดี่ยว มีทนายความอาสามาช่วยฟรีอย่างอนาถา ผลก็คือศาลพิพากษาปรับ 100,000 บาท จำคุก 2 ปี รอลงอาญาไว้ 1 ปี ทำให้ผมกลายเป็นคนมีหนี้สินที่ต้องชดใช้ จนเดี๋ยวนี้ผมยังชดใช้ไม่ได้

เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทบอกกับผมว่า “ผมเลือกข้างผิดแล้ว ดูซิ ไม่มีใครสนใจให้ความช่วยเหลือเลย”

ผม ถูกเชิญให้มาช่วยเขียนบทความให้กับนิตยสาร Voice of Taksin ต่อมาทีมงานจัดทำเกิดความขัดแย้งกัน ผมจึงถูกมอบหมายทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารให้ ผมคิดแต่เพียงว่าจะได้ใช้โอกาสนี้ผลิตสื่อเสรี เป็นเวทีกลางของประชาชนที่ต่อต้านอำมาตย์ และการก่อการรัฐประหาร คัดค้านอำนาจนอกระบบที่ครอบงำการเมืองไทยมาช้านาน

หลังจากที่รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข่นฆ่าคนเสื้อแดงอย่างโหดร้ายระหว่างเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม 2553 ผมและอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ออกมาประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผลก็คือตำรวจตามล่า จับกุมตัวไปไว้ที่ค่ายทหารอดิศร จังหวัดสระบุรี ตำรวจที่มาสอบสวนขอร้องให้เลิกทำนิตยสาร Voice of Taksin เลิกยุ่งเกี่ยวกับคนเสื้อแดง ร่วมมือกับรัฐบาลเป็นพยานปรักปรำชายชุดดำซึ่งมีอาวุธ หากไม่ให้ความร่วมมือจะเจอข้อหาตามมาตรา 112 อย่างแน่นอน

ผมปฏิเสธ โดยเด็ดขาดที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ได้ใส่ใจต่อคำเตือนของตำรวจคนดังกล่าว เมื่อปล่อยตัวผมออกมา ผมยังคงดำเนินงานเหมือนเดิมทุกประการ แค่เปลี่ยนชื่อนิตยสารเท่านั้น ผมเห็นว่าเป้นความถูกต้องชอบธรรมของประชาชนในการต่อสู้ด้วยสันติวิธี และเป็นสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตก็ตาม

ช่วงนั้นมีการดำเนินคดี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาเพิ่มมากขึ้น ผมเห็นว่าเป็นการใช้กฎหมายนี้คุกคามเสรีภาพของประชาชน ผมได้แสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผยว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมายไม่เป็นธรรม ผมจึงแถลงข่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2554 ว่าจะรวบรวมรายชื่อประชาชนไม่น้อยกว่า 10,000 คน จนถึง 1 ล้านคน เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 112 อันเป็นสิทธิของประชาชนคนไทยตามรัฐธรรมนูญ 2550

อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เคยเตือนให้ผมหลบหนีเพราะมีกระแสข่าวว่า DSI ออกหมายจับในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ และมั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมอย่างแน่นอน ผมจึงไม่หลบหนีไปไหน แม้ว่าในเวลานั้นผมถูกสะกดรอยตามอย่างใกล้ชิดจนคุ้นเคย และจำใบหน้าได้เป็นอย่างดี แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร และประสงค์อะไร

ถึง แม้ผมจะทุ่มเททำงานในหน้าที่สื่อมวลชน และร่วมกับขบวนการประชาชนต่อต้านรัฐประหาร จนไม่มีเวลาให้ครอบครัว แต่ผมก็รักครอบครัว ไม่เคยคิดหนีไปไหน ผมมีความสุขอยู่กับการอุทิศตนร่วมกับประชาชน เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ความถูกต้อง เพื่อสังคมใหม่ที่ดีงาม ผมจึงไม่คิดหนีไปไหนอย่างแน่นอน จนกระทั่งผมนำคณะท่องเที่ยวไปกัมพูชา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ผมจึงถูกจับกุม ผมไม่ได้ขัดขืนหรือตระหนกตกใจ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ต้องถูกใส่กุญแจมือ ถูกนำไปขังไว้ที่ห้องขังกองปราบปราม ซึ่งเต็มไปด้วยฝุ่นเกรอะกรัง กลิ่นเหม็นอับด้วยคราบสกปรกของห้องน้ำที่น่าขยะแขยง ผมล้มตัวลงนอนด้วยความอ่อนเพลีย

ตำรวจคอมมานโดพร้อมอาวุธปืนกลควบคุม ตัวผมมาฝากขังที่ศาลอาญาในวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ราวกับเป็นอาชญากรร้ายแรง และถูกส่งตัวมาขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

คุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ซึ่งถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่นกันแนะนำให้รับสารภาพดีกว่า เพราะการต่อสู้คดีไม่มีวันได้รับความเป็นธรรม เพราะจะไม่ได้รับสิทธิประกันตัว เมื่อสารภาพแล้วจึงขอพระราชทานอภัยโทษ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อไป

ผมไม่เชื่อคำแนะนำดังกล่าว ผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ และมั่นใจในกระบวนการยุติธรรม ผมยื่นคำร้องขอสิทธิประกันตัวอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นคดีร้ายแรง กลัวว่าจะหลบหนี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 – เมษายน 2555 ผมถูกส่งตัวไปไต่สวนสืบพยานฝ่ายโจทก์ที่ศาลจังหวัดสระแก้ว ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ศาลจังหวัดนครสวรรค์ และศาลจังหวัดสงขลา โดยที่ต้องถูกคุมขังอยู่ในคุกแต่ละจังหวัดเป็นเวลานาน จนล้มป่วยหนัก ร่างกายผ่ายผอม ไอออกมาเป็นลิ่มเลือด

เมื่อได้กลับมาคุมขังอยู่ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ฝ่ายพนักงานสอบสวน และอัยการ เสนอแนะผ่านทางเรือนจำให้ผมยอมรับสารภาพจะได้ลดโทษกึ่งหนึ่ง ส่วนเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เองได้เกลี้ยกล่อมให้ยอมรับสารภาพ เพื่อจะได้ขอรับพระราชทานอภัยโทษให้

ผมไม่เชื่อ และมั่นในความบริสุทธิ์ มั่นใจว่ายังมีความยุติธรรมอยู่ ผมจึงเดินหน้าต่อสู้คดี ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป ระหว่างการไต่สวนไม่มีการเตรียมพยาน ไม่มีการเตรียมคดี เพียงแต่พูดความจริงให้หมดเปลือก ผมมั่นใจในความบริสุทธิ์เหมือนเดิมทุกประการ

ผมถูกคุมขังถึง 2 ปีเต็ม ใช้ชีวิตไร้อิสรภาพด้วยความซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย อยู่กับนักโทษคนอื่น ๆ มากมายที่เข้ามาใหม่ และปล่อยตัวออกไป คดีนี้เป็นเพียงความคิดเห็นที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น เพียงแต่มีการตีความเกินไปกว่าถ้อยคำที่ปรากฏเพื่อเอาผิดให้ได้ ผมทำหน้าที่สื่อมวลชนในตำแหน่งบรรณาธิการบริหารโดยสุจริตใจ ผมจึงมั่นใจว่าจะได้รับการปล่อยตัวในที่สุด แต่แล้วเมื่อ 23 มกราคม 2556 ศาลตัดสินจำคุก 10 ปี บวกกับคดีหมิ่นประมาทที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปีด้วยกัน

ผมคิดทบทวนอยู่หลายวัน ความทุกข์ทรมานเจ็บปวดแทบสิ้นชีวิต ทำให้ผมคิดจะฆ่าตัวตายให้พ้นไปจากความทุกข์เหลือคณานับในครั้งนี้ มีเพียงนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข บุตรชายมาบอกให้ผมต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด แม้ว่าในชั้นการอุทธรณ์ และฎีกา อาจจะยืดเยื้อถึง 5 – 6 ปีก็ตาม โดยมี คุณวสันต์ พานิช เป็นทนายความอีกคนหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการโต้แย้งคดีในชั้นศาลอุทธรณ์

ผม คิดทบทวนอยู่หลายวันว่าการตัดสินใจของผมนั้นถูกหรือผิดกันแน่ ? ผมเลือกข้างผิดไปแล้ว ดูซิติดคุกมา 2 ปีแล้ว ยังประกันตัวไม่ได้ คนอื่น ๆ เขาได้ตำแหน่งสุขสบายกันไปหมดแล้ว ?

อุดมคติกินไม่ได้ สู้ไปติดคุกฟรี สารภาพไปเถอะ อยู่ไม่กี่ปีก็ได้ออกจากคุกไปเร็วกว่าสู้คดีอีก ถ้าสารภาพป่านนี้คงได้ออกจากคุกแล้ว ?

การต่อสู้คดีเป็นการท้าทาย ผมเตือนคุณแล้ว กองเชียร์ไม่ได้ติดคุกด้วย สู้ไปข้างหน้าติดคุกยาวแน่ ?

2 ปี แห่งความทุกข์ทรมานที่ผ่านมากับอีก 9 ปีข้างหน้าเป็นเดิมพันชีวิต ด้วยอิสรภาพทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณของผม ผมไม่รู้ว่าจะหมดลมหายใจเมื่อใด เมื่อต้องทุกข์ทรมานแสนสาหัสอยู่หลังกำแพงขัง และอยู่ในกรงขังเหล็กที่แน่นหนา

ไม่ว่าจะตายหรือเป็น ผมยังมั่นใจในความบริสุทธิ์ ช่วยผมหาคำตอบจากคำถามที่ผมคิดทบทวนอยู่หลายวันด้วยเถิด ... !!!

ภาพกิจกรรม "ครบรอบ 2 ปี คุมขัง สมยศ พฤกษาเกษมสุข"

ที่มา Thai E-News


30 เมษายน 2556
ภาพและเรื่อง Bulunraya Khan
วันนี้เวลา10.00น.ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล (ประตู 4) กลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตยและคนเสื้อแดงกว่า 50คนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเล็กๆ โดยนำนกกระดาษสีแดงไปแขวนไว้ที่หน้าประตูทำเนียบ และยื่นจดหมายเปิดผนึกของสมยศ พฤกษาเกษมสุขให้กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 
โดย มีนายนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้อีสานเป็นผู้มารับจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว จากนั้นกลุ่มกิจกรรมดังกล่าวขึงเดินทางไปเยี่ยมสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่เรือนจำกลาง ลาดยาว

 

นุ่มนวลแต่เด็ดขาด! "เต่านา" ชื่นชมคำกล่าว "ยิ่งลักษณ์" ที่มองโกเลีย

ที่มา go6tv

 30 เมษายน 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษระหว่างการการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ณ ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา ล่าสุด "หม่อมเต่านา" หรือ หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Taona Sonakul แสดงความเห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ พร้อมทั้งชื่นชมการบริหารงานราชการแผ่นดินของนายกฯยิ่งลักษณ์ มีลักษณะที่นุ่มนวลแต่เด็ดขาด ละเอียด ชัดเจน โดยมีข้อความดังนี้

"เก่ง จริงๆ และดีแล้วที่เลือกใช้เวทีประชาธิปไตยระดับโลกแบบนี้ หมัดเดียวได้ทั้งในประเทศตัวเอง และส่งผลพลอยได้ในด้านดี ให้กับประเทศอื่นๆที่ยังเพิ่งเริ่มตั่งไข่เปิดประเทศเรื่องประชาธิปไตย เช่นพม่า ฯลฯโดยที่ไม่ต้องไปทำเป็นเสือกสั่งสอนเพื่อนบ้านให้ระคายใจกันอีก การที่นายกปูยืนยันว่า รัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่คนที่ไม่ได้รับเลือกตั้งแค่กลุ่มเดียว เป็นการพูดที่ช่วย นาง ออง ซาน ซูจี อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าการหมั่นผลัดกันไปถ่ายรูปกับ นาง อองซาน มาโพสเรียกเสียกรี๊ดเสียอีก เพราะนางออง ซาน เอง ไม่สามารถพูดเองได้ว่า รัฐบาลพม่าต้องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยประชาชน เพราะรัฐธรรมนูญพม่าในปัจจุบันเขียนกีดกันเธอในฐานะคนที่มีสามีเป็นต่างชาติ ว่าไม่สามารถเป็นนายกได้ 

...การ ประชุมครั้งนี้ทำให้เราสบายใจมาก เพราะเขาเลือกให้เมืองไทยเป็นศุนย์กลาง และเอเซียในการนำแบบนายกยิ่งลักษณ์ จะยึดหลักการสร้างประชาธิปไตยจากเสียงส่วนใหญ่ แต่จะดำเนินไปด้วยวิธีที่นุ่มนวล ให่้เกียรติกับตัวตนและวัฒนธรรมที่แตกต่างของประเทศเพื่อนบ้านทุกคนที่เป็น อยู่ น่าสนใจและเป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก นายกปูเป็นคนที่จังหวะดีมาก ใช้คนเป็น จึงดึงดูดให้มีคนที่เหมาะสมมาให้ใช้อยู่เรื่อยๆ การบริหารงานของท่านเป็นแบบนุ่มนวล แต่เด็ดขาด ละเอียด ชัดเจน กล้าได้กล้าเสีย แต่ไม่บ้าระห่ำ ดูมวยแล้ว เอาท่านลงยากจริงๆ ยากมากๆจริงๆ"

"ชยิกา" หลานสาวนายกฯ โพสต์ FB ถาม "เล่ารัฐประหาร-ทำรัฐประหาร" อย่างไหนทำร้ายประเทศ?

ที่มา go6tv

 30 เมษายน 2556 go6TV ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น.ที่ผ่านมา  นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ หลานสาวนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (บุตรสาวนางเยาวเรศ ชินวัตร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว https://www.facebook.com/Sand.Chayika โดยตั้งคำถามต่อสังคมว่าระหว่างผู้ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐประหารกับ ผู้ที่ทำรัฐประหาร อย่างไหนเป็นการทำร้ายประเทศไทย พร้อมภาพกราฟิกประกอบเป็นรูปป้ายเขตพื้นที่การใช้กระสุนจริง รวมทั้งมีข้อความระบุในส่วนท้ายว่า "ช่วยกันแชร์/กดไลค์ ให้ดังถึงคนกลุ่มนี้ที"

ทั้งนี้ นางสาวชยิกา โพสต์ข้อความมีเนื้อหาดังนี้




“เล่ารัฐประหาร” กับ “ทำรัฐประหาร” อย่างไหน “ทำร้าย” และ “ทำลาย” ภาพพจน์ประเทศ?

เช้า นี้ (30 เมษายน 2556) ได้มีโอกาสฟังวิทยุคลื่นหนึ่ง มีนักวิชาการท่านหนึ่งออกมา ติติงการปาฐกถาพิเศษของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ว่า 
(1) นายกฯยิ่งลักษณ์ทำร้ายและทำลายภาพพจน์ประเทศ และ 
(2) นายกฯยิ่งลักษณ์นำเรื่องของพี่ชาย ซึ่งเป็นครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัวมาพูดในเวทีโลก
เมื่อ ได้ฟังแล้วก็รู้สึกท้อใจ กับตรรกะของคนบางกลุ่มที่มีเพียงทัศนคติด้านลบ และสร้างวาทกรรมบิดเบือนความเป็นจริง เพียงเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง

ทั้งๆ ที่สิ่งที่นายกรัฐมนตรี พูดก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย โดยเฉพาะ กรณีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
หรือคนกลุ่มนี้คิดว่าที่ผ่านมา ทั่วโลกไม่เคยมีใครรับรู้ รับทราบ ถึงเรื่องราวเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราเลย
1. เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 ที่มี นายกฯ ชื่อ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
2. การมีรัฐบาลที่มีที่มาจากคณะรัฐประหาร หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
3. การชุมนุมยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อปี 2551 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4.การ ช่วงชิงเสียง ส.ส. เพื่อระดมไปจัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในปลายปี 2551 ที่มีการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนขณะนั้นว่ามีการไปพูดคุยเจรจากันในค่ายทหาร
และ 5.เหตุการณ์การสลายการชุมนุมของประชาชน ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553

ที่ สุด ก็คงได้แต่ทำใจว่าคนบางกลุ่มที่ “เสียงดัง” คือมีโอกาสเข้าถึงสื่อสารมวลชนมากกว่าคนอื่น กลับใช้สื่อในทางที่ผิด บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพราะท้ายที่สุด ประชาชนก็คงเป็นผู้ตัดสินเองว่า ระหว่างผู้กระทำการรัฐประหาร กับ ผู้ถูกรัฐประหาร และ ผู้ที่นำเรื่องการทำลายประชาธิปไตยด้วยการรัฐประหาร มาบอกเล่านั้น “ใคร” เป็นบุคคลที่ทำร้ายและทำลายภาพพจน์ประเทศ

หาก “เห็นด้วย” ก็ขอให้ช่วย “กด LIKE” “กด SHARE” ให้ดังไปถึง “คนกลุ่มนี้” ทีนะคะ

https://www.facebook.com/Sand.Chayika

ด่วน! ผลไต่สวนศาลยืนยัน ทหารยิงกันเองตายช่วงสลายการชุมนุมเสื้อแดง

ที่มา go6tv



30 เมษายน 2556 go6TV -  ศาลอาญาอ่านคำสั่งในคดีการไต่สวนการเสียชีวิตของพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี ว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด รวมถึงสาเหตุและพฤติการณ์การตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 จากเหตุการณ์ที่ผู้ตายถูกยิงเสียชีวิต ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจกับกลุ่มคนเสื้อแดง ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ดอนเมือง) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553

โดยศาลพิเคราะห์แล้วมีคำสั่งว่า ผู้ ตายคือพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิตที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง เมื่อเวลา 15 นาฬิกา ของวันที่ 28 เมษายน 2553 ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ที่ยิงจากอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น โดยกระสุนปืนถูกที่หางคิ้วด้านซ้าย ทะลุกระโหลกศรีษะ ทำลายเนื้อเยื่อสมองเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย

ขณะที่การฟังคำสั่งในวันนี้ ไม่มีญาติและผู้ร้อง หรือเจ้าหน้าที่ทหารผู้เกี่ยวข้องเดินทางมาฟังคำสั่งแต่อย่างใด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ThaiFreeNews - ภาพชุดใหม่ ยิงกันเอง เผยแพร่ด่วน

เจ้าชายวิลเลม แห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จขึ้นครองราชย์ วันนี้

ที่มา go6tv

 เน เธอร์แลนด์ จัดพระราชพิธีเสด็จขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์พระองค์แรกในรอบกว่า 122 ปีของประเทศ วันนี้ (30 เมษายน) ตัวแทนราชวงศ์จากทั่วโลกเข้าร่วม


วันนี้ (30 เมษายน) เว็บไซต์ฮัฟฟิงตันโพสต์ รายงานว่า พระราชินีบีทริกซ์ พระราชมารดา จะลงพระนามแต่งตั้งให้เจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์ มกุฏราชกุมารขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของเนเธอร์แลนด์อย่างเป็น ทางการ โดยมกุฎราชกุมาร วิลเลม อเล็กซานเดอร์ พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ จะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระมารดา ที่ทรงปกครองประเทศมายาวนานถึง 33 ปี และพระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในรอบ 122 ปีนับตั้งแต่กษัตริย์วิลเลม ที่ 3 สวรรคตเมื่อปี 2433 

รายงาน ระบุว่า คนงานหลายพันคนได้จัดเตรียมเวทีและประดับตกแต่งอาคารด้วยสีธงชาติ แดงขาวน้ำเงิน และสีส้ม ที่เป็นสีสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์ออเรจน์-นัสเซา ของเนเธอร์แลนด์ และคาดว่าจะมีประชาชนมากถึงเกือบ 1 ล้านคน เฝ้ารอชมสองข้างถนน และริมแม่น้ำในกรุงอัมสเตอร์ดัม เพื่อร่วมชมพิธีเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 30 เมษายนนี้

ทั้ง นี้ นายกรัฐมนตรีมาร์ค รูทเทอร์ของเนเธอร์แลนด์ เปิดเผยว่า หนึ่งในพิธีสำคัญในวันอังคารที่ 30 เมษายนนี้ คือ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของกษัตริย์และพระราชินีพระองค์ใหม่ โดยประชาชนจะได้ชมเรือพระที่นั่งสวยงามในกระบวนพยุหยาตราและการแสดงดนตรี ของวงออเคสตรา และรัฐบาลได้เตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาเพื่อให้วันอังคาร นี้เป็นวันเฉลิมฉลองที่มีความสุข 

ขณะ ที่สถานีโทรทัศน์ของเนเธอร์แลนด์จะแพร่ภาพถ่ายทอดสดพระราชพิธีนาน 14 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 75 พรรษา ทรงลงพระปรมาภิไธยในตราสารสละราชสมบัติช่วง 10 โมงเช้า ตามเวลาท้องถิ่น ที่พระบรมมหาราชวัง ส่วนพิธีสถาปนากษัตริย์พระองค์ใหม่จะจัดขึ้นที่โบสถ์ใหม่ ซึ่งเป็นโบสถ์อายุ 600 ปี ในเวลาบ่าย 2 โมง ตามเวลาท้องถิ่น คาดว่าจะมีสมาชิกราชวงศ์จากทั่วโลกเสด็จเข้าร่วมพิธ อาทิเช่น เจ้าฟ้าชายชาร์ลและดัชเชสออฟคอร์นวอลล์ แห่งอังกฤษ เจ้าชายฟิลิปเป้และเจ้าหญิงเลติเซียแห่งสเปน เจ้าชายนารุฮิโตะและเจ้าชายมาซาโกะแห่งญี่ปุ่น เป็นต้น

สำหรับ พิธีเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งนี้ ทางเนเธอร์แลนด์ใช้คำว่า inauguration แทนคำว่า coronation หรือพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อเน้นถึงความเสมอภาคกันระหว่างกษัตริย์และประชาชน และเจ้าชายวิลเลม อเล็กซานเดอร์ ซึ่งทรงมีพระชนมายุครบ 46 ชันษาเมื่อวันเสาร์ ทรงประทานสัมภาษณ์เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนวันสำคัญว่า พระองค์ไม่ได้ยึดติดกับพิธีการ ถึงพระองค์จะเป็นกษัตริย์ แต่ก็เป็นมนุษย์ปุถุชนด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังตรัสว่าจะทรงเป็นกษัตริย์ที่สืบทอดโบราณราชประเพณี แต่ก็จะเป็นกษัตริย์แห่งยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นแรงบันดาลใจแก่ประชาชน

ทั้ง นี้ หลังพิธีเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เนเธอร์แลนด์จะกำหนดให้วันที่ 27 เมษายน ซึ่งตรงกับวันประสูติของกษัตริย์พระองค์ใหม่ เป็นวันราชา




วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

นายกรัฐมนตรีหวังว่า 91 ศพที่สละเพื่อประชาธิปไตยจะเป็นครั้งสุดท้าย

ที่มา Voice TV




ในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Communities of Democracies) ครั้งที่ 7 ที่ประเทศมองโกเลียเป็นเจ้าภาพ โดยได้กล่าวถึงการพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย รวมทั้งย้ำว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ โดยหวังว่าความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ และผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย 91 ศพในปี 2553 จะเป็นครั้งสุดท้าย
และนี่เป็นคำแปลสุนทรพจน์ทั้งหมด

คำแปลปาฐกถาพิเศษ
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
การประชุมประชาคมประชาธิปไตย
อูลัน บาตอ, มองโกเลีย
29 เมษายน 2013

ท่านประธาน,
ท่านผู้มีเกียรติ,
ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,
ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถา ณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่ เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลีย ประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย แต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่าง มาก และที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉัน ประเทศไทยที่ดิฉันรัก

ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่ เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความ หวังสำหรับผู้คนจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความ เป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพ และความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้ และที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หรือ? ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย  คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพ นั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพ พวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบั

มีหลายประเทศที่ความ เป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำ ความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศต่างๆ จากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลักดันของ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ในระดับภูมิภาค หลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตย และรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตย ไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลง ดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ในปี 1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้ว และจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การรัฐประหาร

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ เกิดขึ้น รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ 10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนที่ไม่ รู้จักดิฉัน อาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไป ซึ่งหากตัวดิฉันและครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่นั่นก็ไม่ ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้น จากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติ หลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิก ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

คำว่า "ไทย" หมายความว่า "อิสระ" และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมา แต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คนบริสุทธิ์ ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์ แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอย และยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้า จนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิด เบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อ แต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความต้องการของประชาชนได้ ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ขอประเทศ แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ

มีความชัดเจน ว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่ รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อ จำกัดความเป็นประชาธิปไตย
ตัวอย่างหนึ่ง ที่ดีในประเด็นนี้ จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่ แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วน ใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของ ประชาธิปไตยไทยในปัจจุบัน ดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทย พัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่ แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขา จะได้รับการดูแลที่ยุติธรรม เจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภา ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมี ประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง เกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจน คนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไม จึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้า เราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนมีความรู้ ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปกป้องความเชื่อของตน จากผู้ที่ต้องการกดขี่ และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สห ประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่าง คนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและ เสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาล ต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่า และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

และดิฉันเชื่อว่าเรา ต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการ หาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่ จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วน เสีย ทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,
อีกบทเรียนที่ ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญ การกดดันจากนานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยใน ประเทศไทยคงอยู่ได้ การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติ อย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ ได้ การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์และสร้างความร่วมมือ หากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวที่นี้เวทีนี้และการดำเนินงานของสภา บริหาร ( Governing Council ) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ ดิฉันขอชื่นชมประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชีย เพื่อประชาธิปไตย ( Asian Partnership Initiative for Democracy ) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,
ดิฉันขอปิด ท้ายด้วยการประกาศว่า ดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ต้องเผชิญจะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ
29 เมษายน 2556 เวลา 12:51 น.

'อภิสิทธิ์'จวก'ยิ่งลักษณ์'ใช้เวทีต่างประเทศ ป้องพี่ชาย

ที่มา Voice TV

 'อภิสิทธิ์'จวก'ยิ่งลักษณ์'ใช้เวทีต่างประเทศ ป้องพี่ชาย


"อภิสิทธิ์" แนะ "ยิ่งลักษณ์"  เป็นนายกฯของประเทศต้องแยกให้ออกระหว่างการเป็นน้องสาว พรรคเพื่อไทย และการเป็นนายกรัฐมนตรี ของประเทศ 
 
 
วันนี้(29 เม.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงการที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปปาฐกถาพิเศษในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ครั้งที่ 7 ที่ประเทศมองโกเลีย ถึงคนที่รัฐบาลไทยต้องการตัว ว่า ตนอยากให้น.ส.ยิ่งลักษณ์แยกให้ออกระหว่างการเป็นน้องสาว พรรคเพื่อไทย และการเป็นนายกรัฐมนตรี ของประเทศ แม้ว่านายกฯ จะเสียใจเกี่ยวกับการที่พี่ชายถูกโค่นอำนาจ แต่ก็เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าพูดเลยเถิดไปปกป้องพี่ชาย ซึ่งเป็นคนที่รัฐไทยต้องการตัวในฐานะหลบหนีคดีอยู่ ก็ไม่ถูกต้อง 
 
 
ส่วนที่นายกฯ โจมตีรัฐธรรมนูญ ปี2550 นั้น  ตนคิดว่า เขาก็เป็นแบบนี้ อะไรที่ได้ประโยชน์ก็ไม่พูด และพยายามสร้างความเข้าใจที่ผิด ทั้งนี้นายกฯ ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะคนที่มาจากระบอบประชาธิปไตยก็คัดค้านในเรื่องนี้ แต่การไปพูดถึงคนที่หลบหนีคดี โดยไม่บอกว่า ทำผิดกฎหมายอย่างไร และพยายามอ้างว่า จำเป็นต้องทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ เพราะการรัฐประหารทั้งที่หลายเรื่องไม่ใช่ผลพวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ต้องปรับท่าทีกัน โดยถ้าแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ระบบดีขึ้น เป็นความชอบธรรมอยู่แล้ว แต่ถ้าแก้เพื่อหวังรวบอำนาจและโค่นล้มอำนาจตุลาการ ถือว่าไม่ชอบธรรม
 
 
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการชุมนุมกดดันศาลรัฐธรรมนูญของคนเสื้อแดง และการผลักดันออกกฎหมายนิรโทษกรรมว่า ต้องไปถามนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยว่าทำไมจึงต้องการให้สังคมไปสู่การเผชิญหน้า ซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวของรัฐบาลในที่สุด เพราะหากฝ่ายตุลาการไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รัฐบาลชุดนี้ก็จะเป็นรัฐที่ล้มเหลว  เพราะมีหน้าที่บริหารประเทศต้องลดความขัดแย้งแต่กลับมาสร้างความขัดแย้ง เสียเอง ด้วยการพยายามเปลี่ยนดุลอำนาจของระบบ โดยมีเป้าหมายทุบระบบเดิมเพื่อสร้างระบบใหม่ในการรวบอำนาจ จึงขอเรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะสุดท้ายจะเกิดความขัดแย้งรุนแรง หากรัฐบาลมีความจริงใจที่จะให้บ้านเมืองมีความสงบก็ควรหยุดได้แล้ว
 
 
29 เมษายน 2556 เวลา 14:35 น.

อดีตส.ว.สรรหาร้องดีเอสไอตรวจสอบตลก.ศาลรธน.​

ที่มา Voice TV




อดีตส.ว.สรรหายื่นคำร้องขอให้ DSI ตรวจสอบการทำหน้าที่ตุลาการศาลรธน.ของนายชัช ชลวร เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ เนื่องจากไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขณะที่องค์กรพิทักษ์ปกป้องมาตุภูมิแห่งประเทศ ไทย เดินทางมาให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเรียกร้องคนไทยปกป้องศาลรัฐ ธรรมนูญ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา เข้ายื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ผ่านพันตำรวจเอกนิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ เพื่อขอให้ตรวจสอบนายชัช ชลวร ในการทำหน้าที่เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ เนื่องจากการทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของนายชัช ชลวร ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2554 เป็นต้นมาไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะเข้าข่ายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คนก็ยังยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่โดยนายเรืองไกรระบุว่าการยื่นคำร้องครั้งนี้ เป็นการยื่นเพิ่มเติมต่อเนื่องจากที่เคยยื่นคำร้องขอให้ดีเอสไอตรวจสอบกรณี ที่นายชัช ชลวร แอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานภายหลังจากที่ลาออกจากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ด้านพันตำรวจเอกนิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ ระบุว่า คำร้องเรียนนี้เป็นเรื่องความมั่นคงซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดี พิเศษ โดยจะดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวต่อไป ส่วนกรณีคำร้องขอให้ตรวจสอบการแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานของนายชัช ชลวร ภายหลังลาออกจากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้น ได้สรุปเรื่องเสนออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้วว่าน่าจะเข้าข่ายมีการกระทำ ความผิด และ น่าจะเข้าสู่กระบวนการขอเป็นคดีพิเศษได้

ขณะเดียวกันกลุ่มองค์กรพิทักษ์ปกป้องมาตุภูมิแห่งประเทศไทย ได้เดินทางมาเพื่อคัดค้านการชุมนุมของกลุ่ม กวป. และ ให้กำลังใจต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

โดยนายวิรัตน์ รัตนชาติตัวแทนของกลุ่ม ระบุว่า การกระทำของกลุ่มกวป.นั้นถือว่าเป็นการข่มขู่และคุกคาม ศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มองค์กรพิทักษ์ปกป้องมาตุภูมิแห่งประเทศไทยจึงเดินทางมาในวันนี้(29 เม.ย.)เพื่อให้กำลังใจ และขอให้คนไทยช่วยกันออกมาปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ
29 เมษายน 2556 เวลา 13:11 น.

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 29/04/56 พูดผิด..หรือสำคัญตัวผิด

ที่มา blablabla



ภาพเลยเถิด เปิดหน้า แล้วท้าชก
เหมือนตลก ขอเล่นบ้าง ช่างน่าขัน
เพราะอำนาจ ชั่วช้า นับสารพัน
คนเห็นกัน ทั้งเมือง ทุกเรื่องราว....

สารพัด จะเอนเอียง ทำเลี่ยงหลบ
แถมประจบ เลือกข้าง ทางอื้อฉาว
ยุติธรรม ย้ำโสมม ล้มระนาว
มันถึงคราว โห่ไล่ ให้พ้นตา....

เหมือนนักมวย ชกกรรมการ พล่านสำรอก
คำย้อนยอก ที่กล่าวอ้าง ช่างมุสา
ใครได้ฟัง ต่างเจ็บแค้น แสนระอา
ทำมารยา ตีหน้าซื่อ ดื้อด้านจริง....

เสียงคนดู โห่ไล่ ไม่ยอมรับ
คนสับปลับ ตัวกาลี พวกผีสิง
ถึงเวลา มาร่วมด้วย ช่วยท้วงติง
กำจัดปลิง ใจบาป ในคราบคน....

๓ บลา / ๒๙ เม.ย.๕๖

บทความ: จะสู้กับศาล รธน ยังไงให้ชนะ มรรควิธีที่ปฎิบัติได้จริง

ที่มา Thai E-News

 โดย เสรีชนประชาไท
ที่มา ประชาทอล์ค
28 เมษายน 2556


ปราบศาลระยำธรรมนูญ 9 ตัวนี้ไม่ยาก ขอเพียงกล้าลุย เข้าใจกฎหมาย จุดอ่อน และข้อจำกัดของมัน ทำตามที่ผมแนะนำ ชนะได้ไม่ยาก



1. เปิดโปงเบื้องหลังของแต่ละตัว อาทิ   จรัญ กะล่อน เจอประภาศน์ อวยชัยยกมือไหว้ วิ่งเข้าหา ลับหลังร่วมพวกวิชาด่าประภาศน์ โกงเงินหรือสงสัยว่าจะทุจริตเงินสมัยเป็นเลขาเนติบัณฑิตให้ลูกสาวไปเรียนนอก สุพจน์ ไข่มุก สมัยเป็นทูตที่อิหร่าน ไปมีเมียน้อยกิ๊กลูกสาวคนขับรถตัวเอง เรื่องอะไรทำนองนี้ ผมไม่ใช่คนวงการ แต่พรรคเพื่อไทยทุ่มทุนหานักสืบแหวกสันหลังคนพวกนี้มาตีแผ่ลงทีวี แค่นี้มติมหาชนก็ไม่ไว้ใจ 9 ตัวนี้แล้ว

2. ใช้สื่อทีวีแดง สื่อรัฐ วิทยุรัฐออกบทความวิชาการกระแทกศาล รธน ไปเรื่อยๆ ย้ำอยู่นั่น ที่สุด มันจะขาดความน่าเชื่อถือเอง เรามีสิ่งนี้ ที่พวกมันไม่มี ทำซีท่าน มัวอมไมค์ไว้เหมือนอมสากกระเบือทำไม ใส่ไปเรื่อยๆ คนขาดความเชื่อถือศาลเอง หรือเอาคำพูดศาลมาทำตลก อาทิ คำพูดจรัญว่า สมัยนี้แปลกคนดูไล่ต่อยกรรมการ ก็มาล้อว่าสมัยนี้แปลกพี่เลี้ยงนักมวยปลอมเป็นกรรมการ หรือกรรมการสมัยนี้แปลก ไล่รุมต่อยนักมวยเสียเอง เอาให้ฮา ให้ขำแต่ลดความน่าเชื่อถือของพวกเขา

3. ออก พรบ วิธีพิจารณาความในศาล รธน ให้เร็วที่สุด และ ต้องจำกัดการใช้ดุลพินิจของพวกมันใน พรบ ให้มากที่สุด องค์คณะต้องเป็น 7 ใน 9 หากเสียงโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งขององค์คณะที่มาประชุม ให้ถือว่า มติของศาลตกไป หรือในกรณีที่เสียงโหวตเท่ากัน ให้ฝ่ายที่เห็นเป็นคุณกับฝ่ายจำเลยชนะ  แค่นี้มันก็ตายแล้ว

4. ใช้วิธีการทางงบประมาณ ตัดงบประมาณศาล รธน หรือไม่ให้ก่อสร้างอาคารเพิ่ม ดองงบมันให้ช้าที่สุด

5. หาทางเล่นที่มาขององค์คณะไม่ชอบ อย่างอดีต สว เรืองไกรทำ อาทิ เล่นงานนายชัช ชลวร ที่ไม่ได้โปรดเกล้า แต่ดันไปร่วมในการประชุมคัดเลือกนายวสันต์มาเป็นประธานศาล รธน จึงเป็นการขัด รธน มาตรา 208

6. ยื่นถอดถอนพวกมันผ่าน ปปช และวุฒิ แม้ว่ารัฐบาลหรือสภาจะแพ้แน่ใน ปปช หรือวุฒิที่เป็นพวกมัน หรือเสียงไม่พอที่จะถอดถอน แต่ก็เป็นการเพิ่มแรงกดดันศาล 9 ตัวอีกทางหนึ่ง

7. ไม่เชิญตุลาการร่วมงานรัฐพิธีใดๆ ที่รัฐบาลจัด งานในหลวง สมเด็จ งานสันนิบาต งดเชิญคนเหล่านี้ หรือถ้าเชิญก็จัดที่ให้ศาล รธน ต่ำแค่ระดับปลัดกระทรวงหรือ รมช

8. หากมันฟ้องเรา ก็ฟ้องมันกลับ แจ้งความทุกจังหวัด เอาให้วิ่งหน้าแหกเลย สั่งการผ่านผู้บัญชาการตำรวจให้ตำรวจใช้ดุลพินิจรับแจ้งความจับศาลทุกคดี  เอาแค่นี้ก็ตายแล้ว

9. สั่งสายสืบตามการกระทำของตุลาการ 9 ตัวตลอด ผิดกฎหมาย ทิ้งขยะบนถนน ถุยน้ำลาย ไม่ข้ามถนนทางม้าลาย สั่งปรับดำเนินคดีเลย

เอาง่ายๆ ตามอำนาจที่เรามีอยู่ รับรองตุลาการก็หนาวแล้ว  นี่ยังไม่นับวิธีการอื่นที่อาจจะทำนอกกฎหมายหากพวกนี้ทำการนอกกฎหมายกับ ฝ่ายประชาธิปไตยได้อีก

ขอเพียงสภาสู้ ไม่ยอมรับอำนาจมัน เจอมาเยอะแล้ว ศาลในมาเลเซีย มหาเธร์เป่าเงียบเลย อังกฤษ อินเดีย อียิปต์และตุรกีที่ฝ่ายบริหารกล้ายันศาล ก็เห็นกันอยู่ ศาลแพ้ทุกที โดยเฉพาะศาลที่ไม่มีพลังประชาชนหรือ legitimacy ความชอบธรรมหนุนหลัง จบเหมือนกันทั้งนั้นคือ ศิโรราบต่อสภาทุกราย !!!


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ของแถม คลิปจาก ohmygod3009 ที่ถูกเผยแพร่ช่วงเดือนตุลาคม 2010











+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทโคลง


ฤาแส่ดีเพียงซ้อง เผด็จสร้าง ตุลากุม
@บังเฮยแอบร่างซ้อน บังเงา

บังเป่ามนต์ดำเขลา จุ่งยื้อ

เหรียญตราหว่านโปรยเผา สนองอยาก

คลานแห่คลุกคลานซื้อ เสพเจ้า ระยำกรรม


@ตุลาการตุลากล้วย เหลือเขือ

เหลืองกกแดงกัดเครือ แกว่งห้อย

จำอวดเบ่งคับเหลือ คำขาก

พิพากษาแต่งดอกสร้อย สดุดุ้น กระสางดำ


@ใดฤาใดผิดเพี้ยน หลักไท

ใครข่มใครชักใบ ถ่างป้อง

เฝือใจแก่เกินไข หัวหงอก

ฤาแส่ดีเพียงซ้อง เผด็จสร้าง ตุลากุม


@มาเฮยมาไถ่กู้ ขบวนโกง

กลองย่ำตอกฝาโลง เปลี่ยนแก้

ตอกธรรมปักกลางโขลง ศาลรัฐธรรมนูญ

ลอกเผ่าชาติดักแด้ ศาลเตี้ย ตุลากลวง
Sam Marak
NSW, Australia

บทความ: ตามไปดูชุมนุม ไล่ "ตลก." หน้าศาลรัฐประหาร

ที่มา Thai E-News

 โดย ลูกชาวนาไทย
ที่มา ประชาทอล์ค
28/04/2013

ตามไปดูชุมนุม ไล่ "ตลก." หน้าศาลรัฐประหาร คนมาหนาตาเกือบ 2,000 จุดติดแล้ว



วันนี้ (28 เม.ย.) ผมได้มีโอกาสไปเดินดู การชุมนุมของพี่น้องเสื้อแดง ที่ไปชุมนุมไล่ ตลก. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ชึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่พักผมมากนัก

ขับรถเข้าไปในศูนย์ราชการ ก็เห็นมีรถจอดเต็ม เนื่องจากพื้นที่กว้างขวางมากอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการจอดรถ เห็นรถจอดมากผิดสังเกตุ ก็แสดงว่ามีพี่น้องเสื้อแดงเอารถมาจอดในศูนย์ราชการเยอะพอสมควร ผมขับรถวนไปดูที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสะพานข้ามถนนอยู่ ก็เห็นมีการกางเต็นท์ และมีคนเสื้อแดงอยู่จำนวนมาก ก็เรียกได้ว่าหนาตาพอสมควร

เจอคุณนักเลงโบราณ และ คุณมดชมพู ที่มีร่วมด้วย ผมประมาณว่ามีคนเสื้อแดงเข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 1-2,000 คน เรียกได้ว่า "หนาตาพอสมควร" เลยทีเดียว เพราะวันนี้ไม่ใช่วันแรกเขาชุมนุมกันมา 4-5 วันแล้ว คนไม่ได้หายไป แสดงว่า "จุดติดในระดับหนึ่ง"

ผมไปถึงกำลังมีการดันกันพอดีกับตำรวจ เพื่อขอพื้นที่ 4 เมตร

ทีแรกผมก็ยังไม่รู้ว่าดันกันทำไม แต่ก็คิดเอาว่า แกนนำคงเห็นว่ามันอาจน่าเบื่อ ก็เลยออกกำลัง แสดงกำลัง เพื่อฝึกให้มวลชนฟังแกนนำ ก็ดันกันสักพักก็เลิก ตำรวจถอยให้ 4  เมตร

แกนนำส่วนใหญ่ผมไม่รู้จัก เข้าใจว่าเป็นแกนนอน ทั้งหลาย ที่ยังไม่มีประสบการณ์ การพูดบนเวทีมากนัก ก็พูดกันตามความสามารถที่มี ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะมวลชนเข้าใจปัญหาอยู่แล้วเรื่องตุลาการ

เท่าที่ผมพอสัมผัสได้จากสถานการณ์โดยรวม "คนเสื้อแดงส่วนใหญ่" ยังไม่ได้เข้าร่วม แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางหรือเป็นปรปักษ์กับการชุมนุมไล่ตุลาการครั้งนี้ ส่วนใหญ่ "เฝ้าดูอย่างสนใจ" ว่าสถานการณ์มันจะพัฒนาไปอย่างไร

ผมคิดว่าแม้พวก ตลก.จะไม่ยอมลาออก แต่นั้นก็ไม่ใช่ประเด็นใหญ่มากนักในความเห็นผม

แต่การชุมนุมไล่ ตลก.ครั้งนี้ มันส่งสัญญาณตรงๆ ว่า "ประชาชนจริงๆ" นั้นเริ่มทนไม่ไหวกับความ "อยุติธรรมของ ตลก." ทั้งหลาย นี่เป็นประชาชนส่วนหนึ่ง "บนยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น" ยังมีใต้ภูเขาน้ำแข็งอีกมหาศาล

หากพวก ตลก.ทำอะไรที่เป็นปฎิปักษ์กับประชาชนมากกว่านี้ เช่น ขัดขวางการแก้ไข รธน. ยุบพรรคเพื่อไทย หรือล้มรัฐบาล ผมคิดว่า "คนที่รอดูสถานการณ์" แต่พร้อมออกมา ก็จะออกมามากมายกว่านี้เป็นร้อยเท่า

มันเป็การส่งสัญญาณว่า "ต่อไปนี้พวก ตลก. ชนกับประชาชนโดยตรง" ไม่มีกันชน หรือการไว้หน้าอีกต่อไป

ไม่มีพ่อแม่คอยดูแลคุ้มครองอีก ตลก. 9 คน จะต้อง ชนกับประชาชนนับแสน นับล้านโดยตรง

ผมถือว่านี่เป็น "ครั้งแรกที่ ระบอบตุลการวิบัติ" ชนกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประเทศโดยตรง"

หากไม่หยุดในจุดที่พอหยุดได้แล้ว เกิดบานปลายแน่นอน

วันนี้ "ตลก" ไม่มีอิทธิพลคุ้มกะลาหัวแล้ว ก็ต้องชนกับชาวบ้านตรงๆ

ม็อบเสื้อเหลือง สลิ่มไม่มีทางปลุกขึ้นมาสนับสนุน ตลก.ได้หรอก เพราะ จำนวนจริงๆ ใน กทม. คนพวกนี้ก็มีไม่เกิน 1.25 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ อาซิ้ม และสลิ่ม ที่เก่งแต่หลังคีย์บอร์ด แต่ไม่ออกมาชนแน่นอน

ตุลาการ ก็รบกับประชาชนโดยตรง

ผมขอเรียก "ศาลรัฐประหาร" แทน ศาลรัฐธรรมนูญ" เพราะมีที่มา และอุดมการณ์ปกป้องคณะรัฐประหาร 2549 พวกนี้ไม่ได้มาจากประชาชน ไม่มีอะไรที่ประชาชนต้องไปนับถือกราบไหว้ หรือให้เกียรติแต่อย่างใด คนพวกนี้ไม่มีเกียรติ ไม่ได้มีความเป็นกลาง ไม่มีคุณสมบัติเป็น "ตุลาการ" ที่จะตัดสินคดีใดๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว

วันนี้วันอาทิตย์ มีคนมาร่วมๆ 2,000 คน น่าจะจุดติดแล้วล๊ะ 
อีกภาพ ที่หน้าศาล รธน.

เจ้าหน้าที่ ที่หน้า ศาล รธน. ศาลรัฐประหาร

ประชาชนที่มาร่วมประท้วง หน้า ศาลรัฐธรรมนูญ รอบนอก

เจ้าหน้าที่ถอยให้แล้ว 4 เมตร โอเค จบ นั่งลงได้ ออกกำลังกันเล่น มันเมื่อย 

คนเสื้อแดงนั่งฟังอยู่รอบๆ

คนเสื้อแดงเดินในเต็นท์ 
พี่น้องเสื้อแดงที่นั่งฟัง

อีกภาพ เสื้อแดงที่มาร่วมประท้วง "ศาล รธน."

นับเป็น "ตุลากรอัปยศ" เอียงเสียจนมีประชาชนมาต่อต้าน ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ก้าวต่อไปของสงครามคือ ประชาชน ชน ตุลาการ 

พี่น้องที่มาต่อต้านตุลาการวันนี้ "ศาลรัฐประหารเปิดศึกโดยตรง" กับประชาชน

ภาพเสื้อแดงหน้า ศาล รธน. ข้างตึก DSI ตลก. อย่าผยอง ประชาชนไล่ท่านได้

อีกภาพถึงคนบางคน

อีกภาพแด่ ระบบตุลาการไทย วันทีีท่านไม่ได้ทำหน้าที่อย่างยุติธรรม นำความอัปยศมาสู่คำว่า "ยุติธรรม"

จอดรถปุ๊บ คนมาตรึมส์ ที่หน้า ศาล รัฐประหาร แจ้งวัฒนะ 
คนอุ่นหนาฝาคั่ง ต่อต้านศาลรัฐประหาร

ดันกันเล่น ๆ เพื่อออกกำลังกาย

อีกภาพครับ

อีกภาพ ที่หน้าศาล รธน.