สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชชาลพงศ์พันธ์
วิพากษ์สุนทรพจน์ของยิ่งลักษณ์ที่มองโกเลีย
ชี้ถ้าจริงใจต้องแก้ไขปัญหานักโทษการเมืองอย่างเร่งด่วน
ภายหลังจากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
กล่าวปาฐกถาปาฐกถาพิเศษในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่อูลัน บาตอ
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา โดย นายกไทยระบุ ประชาชนเสียเลือดเนื้อ
ถูกยิงด้วยสไนเปอร์ พี่ชายถูกรัฐประหาร ชี้
เพราะเมืองไทยยังมีคนไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตย
ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
รวมถึงกล่าวด้วยว่าขณะนี้ยังคงมีคนถูกจำคุกด้วยประเด็นทางการเมือง
สองนักวิชาการซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดอย่างต่อ เนื่อง ได้ตั้งข้อสังเกตต่อปาฐกถาดังกล่าวว่า ต้องรอดูว่าอาจจะเป็นเพียงแต่คารมหวานๆ เท่านั้น
โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการณรงค์ผ่ามืออากง โพสต์เฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสุนทรพจน์ดังกล่าว 4 ประเด็นได้แก่
1. ยิ่งลักษณ์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies – CD) ครั้งที่ 7 การพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยของไทย รัฐประหารที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และการสังหารประชาชน จึงเป็นหัวข้อสุนทรพจน์ที่มีความชอบธรรม แต่จะประจวบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในหรือเปล่านั้น ยากที่จะสรุป
2. อย่างไรก็ตาม ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนร่างสุนทรพจน์เอง ทั้งหมดร่างโดยทีมงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่า ทีมคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังการเขียนสุนทรพจน์ในแนวนั้น ส่วนยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่ผู้สื่อสาร
3. คงต้องรอดูต่อไปว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์พูดจะเป็นแค่คารมหวานๆ (rhetoric) หรือไม่ ความเห็นส่วนตัวนะ ผมว่า ยิ่งลักษณ์คงเดินเกมเกี๊ะเซี๊ยะต่อไป สุนทรพจน์ที่มองโกเลียจัดทำเพื่อเสริมความชอบธรรมให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งอาจเพื่อเอาใจกลุ่มรักประชาธิปไตยในประเทศเท่านั้น
“...ไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองจากความเป็นจริงครับ....” เขากล่าวก่อนจะโพสต์ข้อความต่อมาในวันนี้ (30 เม.ย.) ว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ได้พูดคือ จากปาฐกถาดังกล่าวไม่ได้มีคำมั่นสัญญาว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง
"ดิชั้นเข้าใจความอยุติธรรมที่นักโทษการ เมืองได้รับ ดิชั้นจะผลักดันให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด....นี่คือสิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ ได้พูดที่มองโกเลีย.....”
ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์ข้อความใน วันที่ 29 เม.ย.ในท่วงทำนองที่คล้ายคลึงกันว่า หากยิ่งลักษณ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์จริงจังกับสิ่งที่พูดจริง กรณีนักโทษการเมืองนั้นถือเป็นปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลนี้
“พูดถึง สปีช ที่มองโกเลีย ของ ยิ่งลักษณ์ นะครับ
ถ้าคุณยิ่งลักษณะ และ รัฐบาล ซีเรียส กับสิ่งที่พูดในสปีช โดยเฉพาะส่วนนี้นะครับ
"...แม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่"
(Even today, many political victims remain in jail.)
(และดูปริบทของประโยคนี้ ทีกล่าวนำมาก่อนหน้านั้น)
“ผมว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ก็น่าจะออกเป็น "พรก." ปล่อยนักโทษการเมือง (ตามข้อเสนอ นปช) ได้เลยด้วยซ้ำ (คือถ้าดูตามปริบทของสปีช จะเห็นว่า เรืองนี้ เป็นอะไรที่ เร่งด่วน และเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ) หรืออย่างน้อย ก็ประกาศเป็นนโยบายที่จะออก พรบ.นิรโทษกรรม หรือเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม ในนามรัฐบาล เองเลย (พรบ. ที่เสนออยู่ ของคุณ วรชัย ไม่ใช่ ของรัฐบาล)”
สองนักวิชาการซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดอย่างต่อ เนื่อง ได้ตั้งข้อสังเกตต่อปาฐกถาดังกล่าวว่า ต้องรอดูว่าอาจจะเป็นเพียงแต่คารมหวานๆ เท่านั้น
โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการณรงค์ผ่ามืออากง โพสต์เฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสุนทรพจน์ดังกล่าว 4 ประเด็นได้แก่
1. ยิ่งลักษณ์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies – CD) ครั้งที่ 7 การพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยของไทย รัฐประหารที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และการสังหารประชาชน จึงเป็นหัวข้อสุนทรพจน์ที่มีความชอบธรรม แต่จะประจวบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในหรือเปล่านั้น ยากที่จะสรุป
2. อย่างไรก็ตาม ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนร่างสุนทรพจน์เอง ทั้งหมดร่างโดยทีมงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่า ทีมคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังการเขียนสุนทรพจน์ในแนวนั้น ส่วนยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่ผู้สื่อสาร
3. คงต้องรอดูต่อไปว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์พูดจะเป็นแค่คารมหวานๆ (rhetoric) หรือไม่ ความเห็นส่วนตัวนะ ผมว่า ยิ่งลักษณ์คงเดินเกมเกี๊ะเซี๊ยะต่อไป สุนทรพจน์ที่มองโกเลียจัดทำเพื่อเสริมความชอบธรรมให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งอาจเพื่อเอาใจกลุ่มรักประชาธิปไตยในประเทศเท่านั้น
“...ไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองจากความเป็นจริงครับ....” เขากล่าวก่อนจะโพสต์ข้อความต่อมาในวันนี้ (30 เม.ย.) ว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ได้พูดคือ จากปาฐกถาดังกล่าวไม่ได้มีคำมั่นสัญญาว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง
"ดิชั้นเข้าใจความอยุติธรรมที่นักโทษการ เมืองได้รับ ดิชั้นจะผลักดันให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด....นี่คือสิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ ได้พูดที่มองโกเลีย.....”
ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์ข้อความใน วันที่ 29 เม.ย.ในท่วงทำนองที่คล้ายคลึงกันว่า หากยิ่งลักษณ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์จริงจังกับสิ่งที่พูดจริง กรณีนักโทษการเมืองนั้นถือเป็นปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลนี้
“พูดถึง สปีช ที่มองโกเลีย ของ ยิ่งลักษณ์ นะครับ
ถ้าคุณยิ่งลักษณะ และ รัฐบาล ซีเรียส กับสิ่งที่พูดในสปีช โดยเฉพาะส่วนนี้นะครับ
"...แม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่"
(Even today, many political victims remain in jail.)
(และดูปริบทของประโยคนี้ ทีกล่าวนำมาก่อนหน้านั้น)
“ผมว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ก็น่าจะออกเป็น "พรก." ปล่อยนักโทษการเมือง (ตามข้อเสนอ นปช) ได้เลยด้วยซ้ำ (คือถ้าดูตามปริบทของสปีช จะเห็นว่า เรืองนี้ เป็นอะไรที่ เร่งด่วน และเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ) หรืออย่างน้อย ก็ประกาศเป็นนโยบายที่จะออก พรบ.นิรโทษกรรม หรือเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม ในนามรัฐบาล เองเลย (พรบ. ที่เสนออยู่ ของคุณ วรชัย ไม่ใช่ ของรัฐบาล)”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น