***********************************************
X-Ray รายละเอียดโครงการ
โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศถือว่าเป็นการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมระบบการขนส่งของประเทศครั้งใหญ่ครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยสามารถจำแนกตามยุทธศาสตร์และประเภทของการคมนาคมได้ดังนี้
จำแนกตามยุทธศาสตร์ |
จำแนกตามประเภทการคมนาคม |
|
|
|
2. ทางถนน วงเงินรวม 289,482.11 ล้านบาท (ร้อยละ 14.54) |
|
3. ทางน้ำ วงเงินรวม 29,819.50 ล้านบาท (ร้อยละ 1.50) |
|
4. พัฒนาด่านของกรมศุลกากร จำนวน 41 ด่าน วงเงินรวม12,544 ล้านบาท (ร้อยละ 0.63) |
-
โครงการสนับสนุน (โครงการก่อสร้างด่าน จัดซื้อและติดตั้ง) รวม 49 โครงการ มีวงเงิน 56,704 ล้านบาท ซึ่งพร้อมดำเนินการได้ทันที
-
โครงการที่พร้อมดำเนินการ (มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
การออกแบบรายละเอียด และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และโครงการที่ไม่ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) 25 โครงการ
รวมวงเงิน 473,134 ล้านบาท
-
โครงการที่ขาดการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 18 โครงการ รวมวงเงิน 529,055 ล้านบาท
-
โครงการที่ยังกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
และโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 11 โครงการ
รวมวงเงิน 931,886 ล้านบาท
กลุ่ม |
ความก้าวหน้าใน การดำเนินโครงการ |
จำนวนโครงการ และงบประมาณ (ล้านบาท) |
|||
ยุทธศาสตร์ที่ 1 |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
รวม |
||
กลุ่มที่ 1 (โครงการสนับสนุน) |
โครงการที่ไม่จำเป็นต้องศึกษา FS |
6 โครงการ |
43 โครงการ |
- |
49 โครงการ |
41,923 |
14,781 |
- |
56,704 |
||
กลุ่มที่ 2 (พร้อมดำเนินการ) |
ศึกษา FS, DD, และ EIA แล้ว |
- |
9 โครงการ |
14 โครงการ |
23 โครงการ |
- |
123,184 |
320,898 |
444,082 |
||
โครงการที่ไม่จำเป็นต้องศึกษา FS |
2 โครงการ |
- |
- |
2 โครงการ |
|
29,051 |
- |
- |
29,051 |
||
กลุ่มที่ 3 |
โครงการที่ศึกษา FS และ DD แล้ว กำลังศึกษา EIA อยู่ |
10 โครงการ |
3 โครงการ |
5 โครงการ |
18 โครงการ |
134,970 |
121,181 |
272,904 |
529,055 |
||
กลุ่มที่ 4 |
กำลังศึกษา FS อยู่ |
- |
2 โครงการ |
- |
2 โครงการ |
- |
558,271 |
- |
558,271 |
||
โครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ |
7 โครงการ |
2 โครงการ |
- |
9 โครงการ |
|
148,657 |
224,958 |
- |
373,615 |
ข้อสังเกตต่อกรณีการลงทุนในระบบขนส่งทางราง
ดร. สุเมธ ชี้ให้เห็นว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่นั้น ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาความเป็นได้ของโครงการ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ทั้งทางเก่าและทางใหม่เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเป็น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดต้นทุนในการขนส่งของ ระบบเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ดร. สุเมธได้ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีการลงทุนในระบบขนส่งทางราง ดังนี้
-
บทบาทของภาครัฐในการอุดหนุนระบบ
-
ความคุ้มค่าในการลงทุนและเทคโนโลยีรองรับ
ทั้งนี้ การสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ประสบความสำเร็จ ควรต้องมีการเชื่อมโยงโครงข่ายที่ดี คือมีระบบรถไฟปกติในการรองรับพื้นที่โดยรอบ มิใช่เป็นเพียงการสร้างขึ้นเดี่ยว ๆ โดยปราศจากระบบการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ดร.สุเมธ มีความเห็นว่า ควรมีการพัฒนาการลงทุนในระบบรถไฟรางคู่ที่มีความจำเป็นและมีผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจมากกว่า
จากการวิเคราะห์ พบว่า ภายใต้เงื่อนไขการลงทุนก่อสร้างในปัจจุบัน ระบบรถไฟความเร็วสูงควรต้องมีผู้โดยสารในปีแรกสูงถึงประมาณ 9 ล้านคน/เที่ยว เป็นอย่างน้อย ถึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารเครื่องบินระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 4-5 ล้านคนเท่านั้น
เพราะฉะนั้น รัฐบาลควรทำการศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้งานและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจก่อนที่ รัฐบาลจะตัดสินใจในการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว
แนวทางการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการขนาดใหญ่ (Mega-Projects)
ดร. สุเมธ ยังได้ชี้ให้เห็นว่า โครงการขนาดใหญ่หรือ Mega-Projects ที่มีระยะเวลาในการวางแผนยาวและมีความเสี่ยงสูง รวมถึงมีการประสานงานที่สลับซับซ้อน ควรมีความชัดเจนในเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน
งานวิจัยของ Flyvbjerg (2009)1 ระบุปัญหาของโครงการขนาดใหญ่ในอดีตว่ามีปัญหาด้านต้นทุนการก่อสร้างโครงการ ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ (Cost overruns) และ ผลประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าที่คาดการณ์ (Benefit shortfalls) เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการ กล่าวคือการมีจำนวนผู้ใช้งานจริงน้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รวบรวมข้อมูลของโครงการขนาดใหญ่มากกว่า 200 โครงการ จาก 20 ประเทศ ในห้าทวีป พบว่า ต้นทุนของโครงการด้านรถไฟ มีค่าเฉลี่ยต้นทุนสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงร้อยละ 44.7 และในส่วนของการคาดการณ์ผู้โดยสารที่ใช้บริการ พบว่า โครงการรถไฟมีจำนวนผู้โดยสารจริงน้อยกว่าการคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารมากถึง ร้อยละ 51.4
ลักษณะของโครงการ |
จำนวนกรณีศึกษา |
ค่าเฉลี่ยต้นทุนที่สูงเกินกว่าการคาดการณ์ (%) |
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
ระบบราง (รถไฟ) |
58 |
44.7 |
38.4 |
สะพานและอุโมงค์ |
33 |
33.8 |
62.4 |
ถนน |
167 |
20.4 |
29.9 |
ลักษณะของโครงการ |
จำนวนกรณีศึกษา |
ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของจำนวนผู้โดยสารจริงกับการคาดการณ์ (%) |
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
ระบบราง (รถไฟ) |
25 |
-51.4 |
28.1 |
ถนน |
183 |
9.5 |
44.3 |
จากปัญหาข้างต้น การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการจึงมีความสำคัญมาก และควรมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการอย่างเป็นระบบ โดยที่งานศึกษาของ European Commission (2008)2 ได้ระบุประเด็นในการวิเคราะห์ที่ชัดเจนว่า ควรมีการประเมินปริมาณความต้องการในการเดินทางและขนส่งเมื่อมีและไม่มี โครงการ (Demand Analysis) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Economic Benefits) เช่นมูลค่าการประหยัดเวลา มูลค่าของการลดอุบัติเหตุ และมีการวิเคราะห์ต้นทุนของโครงการ รวมถึงแหล่งเงินในการลงทุน เป็นต้น
โครงการขนาดใหญ่ควรมีการสร้างระบบความรับผิดชอบหรือ Accountability ที่ชัดเจน โดยในส่วนการดำเนินงานของภาครัฐ ควรมีการสร้างความโปร่งใสและมีการตรวจสอบได้ของสาธารณะ ผ่านการเปิดเผยข้อมูลและผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้แก่สาธารณชน และสื่อมวลชน รวมถึงนักวิชาการได้ตรวจสอบและติดตามความคืบหน้า
ทั้งนี้ ควรให้หน่วยงานที่มีความเป็นกลาง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินงานตรวจสอบพิจารณาอย่างครบถ้วนในเรื่อง ราคา ความถี่ของการให้บริการ รวมถึงรายละเอียดตัวแปรอื่น
นอกจากนี้ การสร้างระบบความรับผิดชอบสามารถทำได้โดยการตั้งกลุ่มผู้ตรวจสอบอิสระ (Independent Peer Review) ของโครงการและควรมีหน่วยงานกลางของรัฐเป็นผู้ตรวจสอบโครงการอีกด้วย ในระยะยาว โครงการต่าง ๆ ควรได้รับการวัดผลหลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้วเพื่อให้เพิ่มความมั่น ใจว่า การดำเนินงานและการศึกษาความเป็นไปได้มีความสัมฤทธิ์ผล และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไป
URL: http://tdri.or.th/tdri-insight/sumet_x-ray_2trillion
Facebook: https://www.facebook.com/tdri.thailand
Twitter: http://twitter.com/TDRI_thailand
อ้างอิง
1 Flyvbjerg (2009) Survival of the unfittest: why the worst infrastructure gets built—and what we can
do about it, Oxford Review of Economic Policy, Volume 25, Number 3, 2009, pp.344–367.
do about it, Oxford Review of Economic Policy, Volume 25, Number 3, 2009, pp.344–367.
2
European Commission (2008) Guide to Cost-Benefit Analysis of Investment Projects, Directorate General Regional Policy.
European Commission (2008) Guide to Cost-Benefit Analysis of Investment Projects, Directorate General Regional Policy.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น