10 เมษายน 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ร่วมรำลึกครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์การสังหารหมู่ประชาชนบริเวณถนนราชดำเนิน "10 เมษายน 2553" โดยเผยแพร่บทความ "ทวงความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตที่แยกคอกวัว" ผ่านเว็บไซท์ส่วนตัว http://robertamsterdam.com/thai/?p=1107 มีข้อความดังนี้
นาย
เทอดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์มีอายุเพียง 29 ปี
เมื่อเขาถูกสังหารด้วยกระสุนพลซุ่มยิง ในวันนี้เมื่อ 3 ปีก่อน ในวันที่ 10
เมษายน พ.ศ. 2553 เขาล้มลงบนพื้นถนนอันแข็งกระด้างในกรุงเทพฯ
และบาดเจ็บสาหัส
กองกำลังที่ใช้จัดการกับนายเทอดศักดิ์เป็นกองกำลังที่มีเป้าหมายสังหารและ
ผู้สั่งก็จงใจให้เป็นเช่นนั้นแม้ว่าคนที่ลั่นกระสุนจะเห็นชัดเจนว่าเหยื่อ
ของเขาไม่มีอาวุธและมิได้เป็นภัยต่อผู้ใดแต่อย่างใดก็ตาม
คำเดียวที่สามารถใช้อธิบายการกระทำเหล่านี้ได้คือการฆาตกรรมและสำนักงาน
กฎหมายของผมยังคงทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้
นอก
จากนี้ หากพิจารณาในประเด็นต่างๆ
ก็เป็นเรื่องชัดเจนว่ากองกำลังที่ใช้จัดการกับคนเสื้อแดงที่แยกคอกวัวในคืน
อำมหิตเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ออกแบบมาเพื่อสังหารเพียงอย่างเดียว
กองกำลังดังหล่าวได้สังหารคนเสื้อแดงทั้งหมด 21 ราย
โดยทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนซึ่งยิงจากปากกระบอกปืนที่มีนายกรัฐมนตรีนาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นคนสั่งการ นอกจากนี้ยังมีทหารเสียชีวิตอีก 5 นาย
โดยการจบชีวิตของพวกเขาเป็นไปในสถานการณ์ที่เป็นปริศนา
ในขณะที่การสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของนักข่าวช่างภาพญี่ปุ่น นายฮิโร
มูราโมโตยังคงดำเนินต่อไป
การกระทำทั้งหมดนี้ทำให้มีภรรยาม่ายและมารดาหลายคนที่ต้องเศร้าสลดกับ
เหตุการณ์ดังกล่าวอยู่เบื้องหลัง
หาก
ปราศจากความยุติธรรมสำหรับเหยื่อทุกคน โศกนาถกรรมของเดือนเมษยน พ.ศ. 2553
ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
ประเทศไทยยังไม่มีความสงบสุขแท้จริงนับตั้งแต่คืนที่ครอบครัวของผู้เสีย
ชีวิตถูกปล่อยให้จมอยู่กับคำถามที่ยังตอบไม่ได้มากมาย
และ
หากต้องการทำความเข้าใจถึงความรู้สึกอันลึกซึ้งในกรณีการสังหารหมู่ที่คอก
วัวในวันที่ 10 เมษายน
คุณไม่จำเป็นต้องมองหาที่ไหนอื่นไกลไปกว่าหนังสือภาษาไทยอันน่าทึ่ง ชื่อว่า
“คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต”
ซึ่งตีพิมพ์โดยมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย
หนังสือเล่มนี้ให้พื้นที่เหยื่อจากเหตุการณ์เดือนเมษายน พ.ศ. 2553
ได้ร่ำไห้ถึงสิ่งที่ทุกคนควรฟังหากต้องการให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าเพื่อ
ความสมานฉันท์
อย่างกรณีมารดาของนายเทอดศักดิ์ นางสุวิมล ซึ่งบอกเล่าให้กลุ่มผู้เขียนของหลังสืออันยอดเยี่ยมนี้ฟังว่า
“จริงๆ ลึกๆแล้วยังอยากต่อสู้เพื่อลูก เพราะเขาตายไป เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายไปโดยไม่สมควร ไม่สมควรมาทำเขา เรารู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราแค่เป็นประชาชนคนเล็กๆธรรมดา ขอแค่มีส่วนร่วมไปเดินบ้างอะไรบ้างก็โอเค แต่ยังไงก็ไม่ลืม”
เรา
ควรตรึกครองถึงคำพูดของนางสุวิมลในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบเหตุการณ์
ความสูญเสียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 – “ฉันยังต้องการจะต่อสู้เพื่อลูก”
มารดาคนเสื้อแดงผู้เสียชีวิตไม่สามารถ “ลืม”
เรื่องการสูญเสียบุตรหลานแบบนี้ได้อย่างง่ายดายซึ่ง ต่างจากผู้วิจารณ์
นักการเมือง หรือผมกล้าพูดได้เลยว่า แม้แต่นักกฎหมาย
เราทำได้แค่เพียงเสนอความช่วยเหลือและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการ
ต่อสู้เพื่อสู้เพื่อความยุติธรรมกับบุคคลที่ตกอยู่ในชะตากรรมแบบเดียวกับนาง
สุวิมล
เหยื่อ
เหตุการณ์สังหารหมู่คอกวัวอีกรายคือช่างเย็บผ้า นายวสันต์ ภู่ทอง (อายุ 39
ปี) น้องสาวของเขา น้ำทิพย์เล่าเรื่องผ่านทางหนังสือ “คนที่ตายมีใบหน้า
คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” ว่า
“ตอนนี้ก็ยังคิดถึง เพราะทำงานอยู่ด้วยกันมานานมาก หันไปก็ต้องเจอ เพราะอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน ……มันทำใจยาก”
คำ
พูดของน้ำทิพย์สะท้อนให้เห็นถึงการเสียชีวิตของน้องชายเธอซึ่งถูกสังหารใน
สถานการณ์อังน่าขยะแขยงได้เป็นอย่างดี
การปราศจากความยุติธรรมที่แน่ชัดจะยังคงทำให้เหยื่อจากเหตุการณ์คอกวัวยาก
ที่จะทำใจ “ยอมรับเรื่องแบบนี้”
วันนี้ ทีมงานผมได้รับเกียรติพูดคุยกับพี่เขยของวสันต์ นายกลิ่น และเราขอทิ้งท้ายคำพูดของเขาไว้ในบทความนี้ คำพูดเหล่านี้ควรเป็นคำขวัญของเรา ในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบอีกหนึ่งปีที่บุคคลอันเป็นที่รักของเราถูก พรากไป“ตอนนี้ยังไม่มีความยุติธรรม เพราะคนผิดยังไม่ถูกลงโทษ เราจะยังคงต่อสู้ต่อไปเพื่อความยุติธรรม”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น