อัษฎางค์ ปาณิกบุตร |
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง นักวิชาการอิสระ
ได้แสดงทรรศนะส่วนตัวแสดงความไม่เห็นด้วย
กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะนำเรื่องจำนวนวันแปรญัตติมาฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ โดย อาจารย์อัษฏางค์ ได้แสดงความเห็นไว้ดังนี้
“ที่ฝ่ายค้านหยิบการกำหนดวันแปรญัตติที่องค์ประชุมไม่ครบมาเป็นประเด็นนั้น
การแปรญัตติส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ยอมรับก็ใช้เวลา 15 วัน
การเรียกร้องให้ใช้เวลานานถึง 60 วัน เจตนาเป็นการเตะถ่วง
แต่ละร่างแก้ไม่กี่มาตรา แปรญัตติ 7 วันก็ได้
เรื่องเร่งด่วนส่วนใหญ่ใช้เวลา 15 วัน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม หากว่ากันตามหลัก เมื่อฝ่ายค้านเสนอให้แปรญัตติ 60 วัน
แล้วประธานจะรวบรัดไม่ได้ อย่างไรก็ต้องโหวต ซึ่งความจริงโหวตอย่างไรก็ชนะ
แต่ที่ประธานรัฐสภาบอกว่าองค์ประชุมไม่ครบก็ต้องถามซีกรัฐบาลว่า
หลังจากโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะรีบร้อนไปไหน รออีกหน่อยไม่ได้หรืออย่างไร
รู้อยู่แล้วว่าจะยังมีขั้นตอนการตั้งกรรมาธิการอีก แล้วจะรีบไปไหน
เท่ากับเปิดช่องให้ฝ่ายค้าน เรื่องที่ไม่ควรเป็นเรื่องจึงเป็นเรื่องขึ้นมา
ไม่รับผิดชอบต่อการทำหน้าที่
การแก้ปัญหาอาจต้องเรียกประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องที่คากันอยู่
หรือต้อง ดูข้อบังคับการประชุมว่าจะทำอย่างไร ได้บ้าง
แต่การส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ผมมองในมุมการถ่วงดุลของ 3 อำนาจ
ผมเป็นนักรัฐศาสตร์ไม่เคยเห็นด้วยกับการที่ตุลาการเข้ามาสั่งการฝ่ายนิติบัญญัติ
ทุกอย่างมีกติกาว่าฝ่ายไหนมีหน้าที่อะไร ใครทำผิดก็มีกฎหมายบังคับอยู่
อำนาจตุลาการดูเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้ให้
ไม่ใช่ทำเปรอะไปทุกเรื่อง ส่วนการปิดประชุมโดยไม่ขอมติที่ประชุมนั้น
พิจารณาจากธรรมชาติของการประชุมทั่วๆ ไป เมื่อหมดเรื่องพูดคุยประธานก็ปิดประชุม
ส่วนมากก็ไม่ต้องขอมติ ผมเป็นประธานการประชุม คณบดี อธิการบดี
เมื่อไม่มีเรื่องอะไรแล้วก็ปิดประชุม
ไม่ทันดูรายละเอียดว่าต้องขออนุมัติปิดประชุมหรือไม่
ดังนั้น การที่ฝ่ายค้านเลือกเล่นเกมนี้เป็นเรื่องไร้สาระ
ไม่ได้ทำให้โก้เลย เล่นการเมืองแบบไม่มีสปิริต”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น