ที่มา Thai E-News
ที่มา เว็บโรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัม
3 เมษายน 2556
หลังจากเป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกว่า 90
รายถูกสังหารโดยกองกำลังของรัฐบาลบนท้องถนนในกรุงเทพฯ
กลุ่มคนเสื้อแดงก็ได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่จากองค์การพหุภาคีที่สำคัญ
ซึ่งได้ฉายแสงให้เห็นถึงความอยุติธรรมอันแผ่ซ่านในระบบการเมืองไทย
หลังจากการประชุมครั้งล่าสุดในประเทศเอกัวดอร์ องค์กรรัฐสภาสากล (ไอพียู)
-ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในยูเอ็น
และได้รับการยอมรับจากยูเอ็นว่าเป็นองค์กรชั้นนำในด้านรัฐสภา
ได้ออกมติแห่งประวัติศาสตร์ประณามการตัดสิทธิ์อันมิชอบด้วยกฎหมายของสมาชิก
รัฐสภา นายจตุพร พรหมพันธุ์
เมื่อแกนนำเสื้อแดงคนสำคัญในรัฐสภา
นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์จากการเป็นสส.โดยคำสั่งผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญซึ่ง
แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม ปี 2555
อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี
25553 ของเขา
ซึ่งหลังจากนั้นได้นำไปสู่การคุมขังและทำให้นายจตุพรไม่สามารถไปใช้สิทธิลง
คะแนนเสียงเลือกตั้งได้
มติของไอพียูคงไว้ซึ่งหลักการที่ว่า การที่นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์ถือ
“เป็นการละเมิดพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อสิทธิมนุษยชนโดยตรง”
ในขณะเดียวก็ย้ำถึงความกังวลเรื่องการจับกุมนายจตุพรทซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การ
ใช้อำนาจฉุกเฉินอันมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว
รวมถึงข้อหาก่อการร้ายซึ่งมีเหตุจูงใจจากเรื่องทางการเมือง
ตามมติ TH/183 ของไอพียู ซึ่งยื่นในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556
ที่นั่งในรัฐสภาของนายจตุพรถูกเพิกถอนในเวลาที่
“มิได้มีการพิสูจน์ว่าเขากระทความผิดใด” และรายละเอียดคำปราศรัยปรากฎว่า
“เป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก”
มติยังระบุว่าการกระทำซึ่งยับยั้งมิให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาจากสิทธิ
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือ “เป็นข้อจำกัดอันมิสมเหตุสมผล”
โดยเฉพาะตามบทบัญญัติของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการ
เมืองซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาในการให้ถูกสันนิษฐานว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เป็นอย่างอื่น
ไอพียูกล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับหลักสำคัญทางกฎหมายและเหตุผลเบื้องหลังการ
ถอนประกันและคุมขังนายจตุพร โดยร้องขอสำเนารายละเอียดข้อหาของนายจตุพร
ในขณะเดียวกันก็ร้องขอให้สำนักงานเลขาธิการใหญ่
“เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยกประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา
รัฐบาลและตุลาการผู้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงมองหาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว”
ท่านใดที่สนในสามารถดาวน์โหลดมติของไอพียูได้ที่นี่
ข้างล่างคือคำแปลภาษาไทยบางส่วนของคำสั่งไอพียู
โปรดระลึกว่านายจตุพรถูกตัดสินลงโทษในวันที่ 10 กรกฎาคม และ 27 กันยายน
พ.ศ. 2555 ในคดีอาญาสองกระทง โดยถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน (รอลงอาญา 2 ปี)
และปรับ 50,000 บาท ตามลำดับในข้อหาหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ในขณะนี้ทั้งสองคดีอยู่ในระหว่างการอุทรณ์;
โปรดระลึกว่าผู้ตรวจการพิเศษองค์การสหประชาชาติส่งเสริมและปกป้องสิทธิใน
เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งเน้นย้ำในรายงาน (A/HRC/17/27
ของวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
โดยเรียกร้องให้ทุกประเทศยกเลิกโทษทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท
โปรดระลึกว่าประเทศไทยลงนามในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิการเมือง
ดังนั้นจึงมีพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองสิทธิที่รับรองไว้ในกติกาดังกล่าว
เมื่อพิจารณาว่า ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเริ่มอภิปรายเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งคาดว่าจะ
กระทบต่อรายละเอียดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและการยุบพรรค;
โปรดระลึกว่า
ที่มาของความหวาดกลัวว่าการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของนายจตุพรอาจถูกพรรคการ
เมืองฝ่ายตรงข้ามใช้โต้เถียงว่าพรรคผู้นำรัฐบาลเพื่อไทย
“ส่งนายจุตพรลงสมัครเลือกตั้งในสส.ระบบบัญชีรายชื่อโดยมิชอบ”จึงเป็นเหตุให้
การเลือกตั้งเป็นไปในลักษณะที่ “ไม่ซื่อสัตย์และยุติธรรม”
ดังนั้นพรรคการเมืองที่เขาสังกัดควรถูกยุบ
1.ไอพียูขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการใหญ่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสำหรับจดหมายและความร่วมมือ
2.ไอพียูยืนยันว่าจดหมายดังกล่าวมิได้ทำให้ไอพียูคลายความกังวลใจกรณีที่นาย
จตุพรถูกตัดสิทธิ์ด้วยเหตุผลซึ่งขัดต่อพัธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อมาตราฐาน
สิทธิมนุษยชนสากลโดยตรง
3.เมื่อพิจารณาว่า
แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยจะบัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงเรื่องการตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งทางกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง
โดยยับยั้งมิให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
เลือกตั้ง
ซึ่งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ในมาตรา
25 ที่รับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะ” รวมถึงการ
“ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้ง” โดยปราศจากการ
“ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
4.เมื่อพิจารณาในแง่ดังกล่าว
การปฎิเสธมิให้สส.ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อไปใช้สิทธิลง
คะแนนเสียงเลือกตั้งตั้งจึงเป็น “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
โดยเฉพาะในบทบัญญัติของกติกาที่รับรองว่าบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทาง
อาญาให้ถือเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ ให้ได้รับ
“การปฎิบัติที่แตกต่างจากบุคคลผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว” (มาตรา 10
(2)(a) );
ไอพียูระบุว่าการตัดสิทธิ์ของนายจุตพรยังปรากฎว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อ
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 102(4)
ซึ่งบัญญัติว่าผู้ที่ถูกตัดสินว่าว่ากระทำความผิดทางอาญาเท่านั้น
ที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รวมผู้ถูกกล่าวหาทางอาญา
5.ซึ่งไม่ต่างจากกรณีที่ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของนายจตุพรถูกเพิกถอนใน
เวลาที่ยังมิได้มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใด
และในกรณีของคำปราศรัยอันปรากฎว่าเป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก
ได้ย้ำเตือนถึงความกังวลว่า
ศาลสามารถตัดสินกรณีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็น
เรื่องส่วนบุคคลระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นโดยอันที่จริงก็มิได้มี
ข้อพิพาทใดระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นเลย
6.จากข้อเท็จจริงข้างบน ไอพียูจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เจ้าหน้าที่รัฐไทยจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อพิจารณาการตัดสิทธิของนาย
จตุพรอีกครั้งและรับรองว่าบทบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะมีความสอดคล้องกับ
มาตราฐานสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
ทางไอพียูประสงค์ที่จะได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของกระบวนการแก้ไข
รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้
7.ทางไอพียูยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาทางกฎหมายและข้อเท็จจริงซึ่งอ้าง
อิงอันเกี่ยวกับข้อหาของนายจตุพร
และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งถอนประกันนายจตุพร;
ดังนั้นไอพียูจึงประสงค์ที่จะขอสำเนาซึ่งเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าว
และพิจารณาว่า
ในกรณีนี้อาจเป็นเป็นประโยชน์ที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมการ
พิจารณาคดีในศาล และร้องขอให้เลขานุการใหญ่จัดการการนัดหมายที่จำเป็น
8.ความกังวลของไอพียูต่อกรณีที่นายจตุพรถูกสั่งฟ้อง
ตัดสินและลงโทษในความผิดหมิ่นประมาท; ในกรณีนี้
ความเห็นของผู้ตรวจการพิเศษขององค์การสหประชาชาติระบุว่า
ความผิดหมิ่นประมาทมิควรที่จะเป็ความผิดทางอาญา ดังนั้น
ไอพียูจึงประสงค์ที่จะเห็นเจ้าหน้าที่รัฐไทยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และประสงค์ที่จะได้รับสำเนาเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าว
รวมถึงได้รับแจ้งถึงขั้นตอนการอุทรณ์ในคดีดังกล่าว
9.ทางไอพียูพิจารณาว่า
คดีในปัจจุบันมีการแตกกิ่งการสาขานอกเหนือจากกรณีของนายจตุพร
และยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางรัฐธรรมนูญและระบบระหว่างสภาผู้แทนราษฎร
และศาล;
ทางไอพียูจึงร้องขอให้เลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยก
ประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการที่ทรงประสิทธิภาพ
รวมถึงค้นหาถึงความเป็นไปได้ว่าทางไอพียูจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างใน
กรณีดังกล่าว
10.ทางไอพียูร้องขอให้เลขาธิการใหญ่ส่งมตินี้ไปยังเจ้าหน้าที่รัฐที่ทรงประสิทธิภาพและผู้ให้ข้อมูล
11.ทางไอพียูร้องขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบคดีนี้อย่างต่อเนื่อง และรายงานให้ทางไอพียูทราบต่อไปในระบะเวลาที่เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น