แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

สถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์

ที่มา Thai E-News


กษัตริย์กายเน็นดรา พิกรม เทพ แห่งเนปาล

"การที่พระมหากษัตริย์ทรงเข้าไปยุ่มย่ามกับการเมืองมีส่วนทำให้ระบอบสมบูรณายาสิทธิราชของเนปาลล่มสลายลงไป"


บทความวิชาการโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ บรรณาธิการรับเชิญของศูนย์ศึกษาเอซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต 
(ถอดความเป็นไทยโดย ระยิบ เผ่ามโน จากเรื่อง Monarchies in Southeast Asia  )
ศาสตราจารย์ไมเคิล ไลฟ์เฟอร์ นักวิชาการผู้ล่วงลับ ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในด้านเอเซียอาคเนย์ศึกษา เขียนคำนำไว้ในหนังสือชื่อกระฉ่อนเรื่อง สถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์ ของ รอเจอร์ เคอร์ชอว์ ตอนหนึ่งว่า
“แม้เป็นที่ทราบกันดีว่าสถาบันกษัตริย์ได้ผันแปรไปแล้ว ในเอเซียอาคเนย์ความจริงเรื่องนี้ใช้ได้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น ทั้งๆ ที่เผชิญกับการล่มสลายในแง่ขององค์กร อันเนื่องจากลัทธิอาณานิคม และการโค่นทำลาย เอเซียอาคเนย์ก็ยังคงดำรงสถาบันกษัตริย์ในรูปแบบของผู้ปกครองไว้ได้แห่งหนึ่ง (บรูไน) กับที่เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยการนำเข้าจากนอกแบบใดแบบหนึ่งอีกสามแห่ง (กัมพูชา มาเลย์เซีย และไทย)*1
เคอร์ชอว์ เองนั้นได้ตั้งข้อสังเกตุต่อข้อเขียนของไลฟ์เฟอร์ไว้ว่า “ความไม่แน่นอนของการที่สถาบันกษัตริย์จะอยู่รอด เป็นเพราะค่านิยมทางการเมืองโดยธรรมชาติ และเหนียวแน่น หรือว่าสามารถดำรงอยู่ได้เพราะโชคเข้าข้างก็ตาม บัดนี้ได้ถูกชักใยโดยกลุ่มชนชั้นนำ (และแม้แต่กษัตริย์นั่นเอง) เพื่อตัดหน้าช่วงชิงไม่ให้กระแสวิวัฒนาการยุคใหม่สามารถทำลาย หรือกัดกร่อนได้ ความก้าวหน้าของวิวัฒนาการนั้นเองที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการคงไว้ซึ่ง สถาบันกษัตริย์”*2
บทความสั้นๆ ต่อไปนี้เป็นผลจากเนื้อความที่ได้กล่าวมา หากแต่แทนที่จะพูดถึงหัวข้อข้างต้นเสมือนเป็นสิ่งผิดเพี้ยน กลับจะแสดงให้เห็นการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองแนวใหม่
เคอร์ชอว์กล่าวไว้อย่างถูกต้องทีเดียวว่าวิวัฒนาการยุคใหม่เป็นภัยคุกคามต่อสถาบันกษัตริย์ แท้จริงแล้วไม่เพียงวิวัฒนาการยุคใหม่เท่านั้นที่ท้าทายต่อความเหมาะสมทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ พัฒนาการประชาธิปไตยก็มีส่วนกดดันให้ฐานะของสถาบันกษัตริย์บังเกิดอาการง่อนแง่นด้วย 
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคลื่นแห่งพัฒนาการประชาธิปไตยโหมกระหน่ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่ลดละ ในที่สุดอำนาจนิยมที่เกาะกุมอินโดนีเซียมานานปีก็สิ้นสุดลงเมื่อประเทศก้าวเข้าสู่การพัฒนาประชาธิปไตยอย่างจริงจัง และเช่นเดียวกันหลังจากโดดเดี่ยวอยู่นอกประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ ในที่สุดพม่า-ชื่อดั้งเดิมของเมียนมาร์ ก็เปิดประตูสู่การปฏิรูป
ในที่อื่นๆ ของโลกนอกเหนือจากนี้ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง ประชาธิปไตยกลายเป็นคุณค่าอันจำเป็นต้องแสวงหา ด้วยแนวโน้มนี้เองสถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์ถูกจับตามองตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ในบรรดาประเทศที่ยังคงมีสถาบันกษัตริย์อยู่ประชาชนเริ่มตั้งคำถามที่ไม่อาจละเลยอีกต่อไปมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สถาบันกษัตริย์สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
ในปี ๒๕๕๑ เนปาลยกเลิกราชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จแล้วประกาศจัดตั้งเป็นสหสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนขึ้น การสิ้นสุดของราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลอันเก่าแก่ ๒๓๙ ปี แสดงให้เห็นความเปราะบางของสถาบันกษัตริย์เมื่อปรากฏว่าพยายามที่จะขัดขวางประชาธิปไตย มีความเห็นที่แปลกแยกมากมายในบรรดาผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมือง รวมทั้งภายในพระบรมวงศานุวงศ์เองต่อสถานะอันเหมาะควรของกษัตริย์ในประเทศเนปาลยุคใหม่

ขณะที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงยืนกรานที่จะมีบทบาทแข็งขันในทางการเมือง และเป็นแก่นสำคัญของศูนย์รวมแห่งชาติ นักการเมืองกลับมองว่าพระราชภารกิจของกษัตริย์มีแต่เพียงลายลักษณ์ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กษัตริย์ทรงประทับแต่บนบัลลังก์ มิได้เสด็จลงมาปกครอง*3 การที่พระมหากษัตริย์ทรงเข้าไปยุ่มย่ามกับการเมืองมีส่วนทำให้ระบอบสมบูรณายาสิทธิราชของเนปาลล่มสลายลงไป
สถาบัน กษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์บางแห่งสามารถยืนหยัดทำการปกครองอยู่ได้โดยทัดทานก ระแสประชาธิปไตย บ้างก็ตกเป็นเป้าของการโค่นล้มทำลาย ปัจจุบันมีอยู่สี่แห่งในสิบประเทศเอเซียอาคเนย์ที่ยังคงรักษาระบอบราชา ธิปไตยไว้ได้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย นับแต่แบบสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ หรือชนิดยึดแนวรัฐธรรมนูญ และประเภทที่เป็นเพียงสัญญลักษณ์ทางด้านพิธีการ ในบทความพิเศษชิ้นนี้จะมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของสถาบัน กษัตริย์ในประเทศไทย กัมพูชา มาเลย์เซีย และบรูไน
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งโครงสร้างทางการเมืองต่างๆ ของไทย ทรงเสด็จเสวยราชย์เมื่อปี ๒๔๘๙ หลังจากเหตุการณ์อันน่าฉงนที่มีผู้ปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐาของพระองค์
สุลต่านแห่งบรูไน และชายา
สุลต่าน ฮัสซานัล โบเกียห์ แห่งบรูไน ได้พิสูจน์พระองค์ในความหนักแน่น และทรงปกปักความชอบธรรมแห่งพระราชอำนาจสมบูรณ์เอาไว้ได้ท่ามกลางกาลสมัยที่ เต็มไปด้วยรัฐชาติประชาธิปไตย กษัตริย์สีหมุณีแห่งกัมพูชาซึ่งพระราชกรณียกิจส่วนใหญ่มีแต่เพียงด้าน พิธีกรรม ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติของชาวเขมร แต่ว่าสถานะของพระองค์เริ่มที่จะไม่แน่นอนเมื่อสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จนโรดมสีหนุ กษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตลงเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๕
สมเด็จนโรดมสีหนุ และสีหมุณี
ในมาเลย์เซียนั้นมีระบบกษัตริย์แบบที่ได้มาจากการเลือกตั้ง ยัง ดิ-เปอตวน อากง เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศซึ่งกำหนดโดยรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐมาเลย์เซีย ยัง ดิ-เปอตวน อากง องค์ปัจจุบันเป็นรัชกาลที่ ๑๔ ทรงพระนามว่า สุลต่าน อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งเคดาห์ ทรงเข้าสู่ตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๓ธันวาคม ๒๕๕๔ จากมติการเลือกโดยสมัชชาแห่งเจ้าผู้ครองนคร
สุลต่านอับดุล ฮาลิม แห่งมาเลย์เซีย และชายา
ใน ตะวันตกระบบกษัตริย์เป็นสิ่งตกยุคที่ต้องเผชิญกับสถาบันการปกครอง ประชาธิปไตย สถาบันกษัตริย์ของอังกฤษอยู่รอดมาได้ด้วยการปรับปรุงตัวให้เข้ากับพัฒนาการ ทางการเมืองในประเทศอย่างสม่ำเสมอ เดวิด คาวานาห์ กล่าวไว้ว่า “กุญแจแห่งการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในบริเตนเกิดจากความเต็มใจในช่วงสาม ทศวรรษที่ผ่านมาที่จะยอมสละอำนาจบางส่วนในขณะที่ยังสมบูรณ์พูนสุข เพื่อให้การเรียกร้องให้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์เพลาๆ มือลงไป*4
ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ร่องรอยแห่งโบราณกาลที่ผ่านเลยไปแล้วภายใต้การปกครองของกษัตริย์ และสุลต่าน ยังคงดำรงอยู่รอดได้ในยุคประชาธิปไตย แต่จะอยู่ไปอีกนานแค่ไหนนั้นเป็นปัญหา
วิกฤต ทางการเมืองอันยืดเยื้อในประเทศไทยที่ซึ่งต่างฝ่ายต่างหักหาญเพื่อยึดครอง ความยิ่งใหญ่ในอำนาจกลับเหนี่ยวรั้งให้พระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูลล้น พ้นต้องจมลงสู่ห้วงลึกมิอาจหยั่งถึงของการเมือง แต่ถ้าจะว่ากันตามตรงแล้วพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่ ทรงนิ่งเฉยมาโดยตลอด*5
และนับแต่การรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา พระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์มิต้องทรงการเมืองอย่างปกปิดอีกต่อไป ได้มีการแสดงบทบาทเบื้องหน้าอย่างโจ่งแจ้ง ดังตัวอย่าง.....งานศพของสมาชิกเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยผู้จงรักภักดีรายหนึ่ง นั่นเป็นที่กล่าวถึงว่าสถาบันกษัตริย์เข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองมากยิ่งขึ้น......
เท่าที่เป็นมาองค์สุลต่านแห่งบรูไนแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในการปรับระบบการเมืองภายในประเทศให้เข้ากันได้กับการท้าทายใหม่ๆ ทรงกระชับความชอบธรรมในสถานะของพระองค์ด้วยอุดมการณ์พระราชามลายูอิสลาม (เอ็มไอบี) ซึ่งเปิดโอกาสให้ศาสนาอิสลามเข้าไปมีบทบาทต่อกิจการแห่งรัฐ แต่กระบวนการเช่นนี้มีลักษณะจำเพาะเจาะจง และเสี่ยงกับการถูกปฏิเสธโดยประชากรที่ไม่ใช่ชนมุสลิม
ขณะเดียวกันราชวงศ์อื่นๆ ต่างต้องประสบกับปัญหาเรื่องอื้อฉาว และพฤติกรรมผิดทำนองคลองธรรม เหล่านี้ทำให้ภาพลักษณ์ของราชวงศ์ด่างพร้อย และกลายมาเป็นภัยคุกคามต่อการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ ดังตัวอย่าง เต็งกู เตเม็งกอง มูฮัมมัด ฟาคหรี เจ้าฟ้าชายแห่งมาเลย์เซียจากรัฐกลันตัน ถูกกล่าวหาว่าทรงปฏิบัติต่อพระชายาอดีตนางแบบวัย ๑๗ ปีประดุจนางทาสบำเรอสวาท
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นมากมายภายในหมู่สมาชิกของราชวงศ์มาเลย์เซีย ฮัซลิซ่า อิซัค อดีตนางแบบวัย ๒๖ ปี ชายาคนที่สองของราชา จาฟาร์ ราชา มูดา มูซ่า ซึ่งเป็นอันดับสองในสายการขึ้นครองบัลลังก์มาเลย์เซียของรัฐเปรัค เธอเสียชีวิตลงในปี ๒๕๔๕ ใกล้เมืองอิโปห์ แล้วก่อให้เกิดเรื่องราวอื้อฉาวเกี่ยวกับราชวงศ์เป็นที่ติดตามของทั้งประเทศอยู่เป็นเวลาหลายเดือน
สรี ราม เชาเลีย นักวิชาการชาวอินเดียแสดงความเห็นว่าอนาคตของสถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่คละเคล้ากันของความสามารถส่วนตัวกับสมรรถภาพทางการ เมือง และกรรมวิธีในการปรับตัวเข้ากับองค์ประกอบประเภทที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อ ประชาธิปไตย*6
การอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในบริบทของเอเซียอาคเนย์ก็เช่นกัน ต้องพึ่งพาความสามารถในการชุบตัวเองใหม่ในสามระดับ คือส่วนบุคคล ระดับชาติ และในทางระหว่างประเทศ
ด้านตัวบุคคล กษัตริย์จำเป็นต้องแสดงออกอย่างชนิดไม่เคยมีมาก่อน ถึงการรับผิด และรับชอบต่อการกระทำของพระองค์ รวมทั้งความโปร่งใส และความใส่ใจในพันธะหน้าที่ ถ้าหากทรงมีพระประสงค์จะดำรงอยู่เคียงข้างกับรัฐบาลประชาธิปไตย
บนภาคพื้นทวีปของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กรอบความคิดเรื่องกษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพยังคงเป็นเรื่องเร้นลับยิ่งนัก พระมหากษัตริย์ของไทย และเขมรถูกคาดหมายให้เป็นธรรมราชา หรือกษัตริย์ในอุดมคติ เพื่อเสริมสร้างพระบารมี และตามมาด้วยศรัทธาจากบรรดาพสกนิกร
สุลต่าน แห่งมาเลย์เซียก็อยู่ในแนวคิดเดียวกัน ต้องแสดงพลานุภาพแห่งเจ้าเหนือหัวให้สอดคล้องกับหลักอิสลาม ความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาของราชบัลลังก์ยังคงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ คงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ มันแสดงให้เห็นความเกี่ยวโยงต่อกันและกันของความเป็นเจ้าเหนือหัวกับศาสนา และถ้าหากนำมาใช้อย่างชาญฉลาด มันสามารถยกระดับความเป็นเทพเจ้าของกษัตริย์ขึ้นไปอีกโสตหนึ่งได้
การที่ราชาธิปไตยเบ็ดเสร็จภายใต้การปกครองของกษัตริย์กายเน็นดรา พิกรม เทพ แห่งเนปาลถูกล้มล้างลงไป ส่วนหนึ่งมาจากการขาดซึ่งพระบารมีทางศาสนาของพระองค์
เชาเลียกล่าวไว้ว่า “ตำนานที่มาแห่งความเป็นเทพมักเป็นฐานมั่นคงของอำนาจกษัตริย์เสมอ แต่ก็ย่อมหมายรวมถึงความคาดหมายจากมวลชนด้วยว่า กษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ควรที่จะทรงปกครองด้วยสไตล์เที่ยงตรง และสะอาดสดใส บารมีมิได้เกิดได้โดยอัตโนมัติ แม้แต่ในการสืนสานตำแหน่งชั้นสูงทางศาสนา หากแต่สั่งสมผ่านมาทางกรณีกิจที่ทำให้ประชาชนรำลึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาของราชบัลลังก์
กษัตริย์กายเน็นดราแห่งเนปาลทรงลืมมิติอันสำคัญนี้ไป แล้วทำลายสายใยแห่งความเคารพเทิดทูลที่บรรพบุรุษของพระองค์สร้างสมไว้ นับแต่การไร้ซึ่งคุณธรรมส่วนพระองค์ไปถึงเรื่องอาชญากรรม ความอื้อฉาว และการเสื่อมเสียภาพพจน์สาธารณะภายในพระราชวงศ์ที่พระเจ้ากายเน็นดราไม่ทรงสามารถยับยั้งได้ กลายเป็นการขุดหลุมศพพระองค์เองในสายตามหาชน”*7
ในระดับชาติ อำนาจของสถาบันกษัตริย์ยืนหยัดอยู่ได้เพราะมีความเกี่ยวเนื่องอย่างซับซ้อนกับคณะทหาร ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันว่าโดยพันธะกรณีกองทัพเป็นผู้ปกปักพิทักษ์สถาบันเจ้านายเชื้อพระวงศ์ กษัตริย์ทั้งในอดีต และปัจจุบันทรงแสวงหาสายสัมพันธ์มั่นแม่นไว้กับกองทัพ ดังที่ปรากฏในบางประเทศที่กองทัพจะมีคำนำหน้าว่า “ในพระองค์” (รอยัล)
กองทัพไทยก็เป็นกองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสัญญลักษณ์ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ในกรณีของไทยเป็นที่ชัดแจ้งว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงโปรดเป็นอย่างยิ่งที่มีกองทัพคอยสนับสนุน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๓๑) อันเป็นตำแหน่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง เคยพูดไว้ในคราวหนึ่งว่า “เหล่าทหารเปรียบเสมือนม้าคอยรับสนองต่อองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่รับใช้นักการเมือง”*8
กองทัพนั้นคงไว้ซึ่งอาณัติอันทรงพลังที่ใช้เป็นเครื่องกำหนดว่ารัฐบาลไหนจะมีอายุยืนยาวเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลในระบอบราชาธิปไตย เผด็จการ หรือแม้แต่ประชาธิปไตย ศูนย์กลางแห่งความอยู่ยงคงกระพันของสถาบันกษัตริย์นั้นก็คือความจงรักภักดีของกองทัพ ทว่าความสัมพันธ์อันล้ำลึกระหว่างองค์กษัตริย์กับเหล่าทหารก็ไม่อาจเป็นหลักประกันความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากสายใยสัมพันธ์นั้นคุกคามต่อประชาธิปไตย
วิกฤต ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าความเป็นพันธมิตรระหว่าง กษัตริย์กับทหารกำลังเสื่อมคลายความแน่นแฟ้นในการเกาะกุมอำนาจลงไป ขบวนการเสื้อแดงมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการกุมบังเหียนการเมืองโดยฝ่ายทหาร และการเข้าไปพัวพันการเมืองของสถาบันกษัตริย์ก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ เรียกว่า พวกไม่เอาเจ้าขึ้นมา
ท้ายสุดในขอบข่ายระหว่างประเทศ สถาบันกษัตริย์อาจจะจำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่าการคงอยู่ของตนสอดคล้องกับผลประโยชน์ของมิตรประเทศ และยังคงเป็นสถาบันที่จำเป็นภายในประเทศ การสนับสนุนของมหามิตรต่างประเทศจะเป็นประโยชน์แก่สถาบันกษัตริย์ในยามคับขันที่ถูกคุกคามโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง สหรัฐเคยเป็นหลักประกันความปลอดภัยของกษัตริย์ไทยในช่วงที่คอมมิวนิสต์แผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาค
แนวทางไปสู่ความอยู่ยงของสถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์เหล่านี้มิได้เป็นภาพหรูสำหรับอนาคตได้เสมอไป ปัจจัยใหม่ๆ ก่อเกิดขึ้นมาท้าทายศักดิ์ศรี และความชอบธรรมในการปกครองของสถาบันกษัตริย์เป็นครั้งคราว การใช้เครื่องมือไม่ชอบธรรมในการต่อสู้กับการท้าทายเหล่านั้นอาจกลายเป็นผลร้ายย้อนกลับก็ได้
การ ใช้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปราบปรามพวกไม่เอาเจ้าก่อให้เกิดการเพ่งเล็ง เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย การใช้มาตรการรุนแรงมิได้แสดงถึงอำนาจสุดยอดของกษัตริย์เสมอไป มันอาจแสดงอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการพยายามเกาะเกี่ยวอำนาจเช่นนั้นไว้เมื่อ ใกล้สิ้นหวัง
ระบบกษัตริย์นั้นมีมานานนับพันปี มันได้ผ่อนปรนความกร้าวแกร่งลงไป ในบางกรณีล่มสลายไปแล้วก็มี โดยที่นานาประเทศในโลกรับเอาระบบปกครองแบบประชาธิปไตยไว้เป็นสรณะ แน่ละในเกณฑ์ความเข้มข้นที่ลดหลั่นกันไป และในต่างสไตล์รูปแบบ
ดังนั้นกุญแจสำคัญสุดยอดในการอยู่รอดของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงขึ้นอยู่กับวิธีการกระทำ และตอบสนองในท่วงทำนองเอื้อเฟื้อต่อความปรารถนาของประชาชนที่กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ 
เชิงอรรถ
1. Roger Kershaw, Monarchy in Southeast Asia: The Faces of Tradition in Transition (London: Routledge, 2001), p. XI.
2. Ibid, p. 6.
3. See, Bhuwan L. Joshi and Leo E. Rose, Democratic Innovations in Nepal: A Case Study of Political Acculturation (Berkeley and Los Angeles: University of California Press, 1966), pp. 386--7.
4. Quoted in José M. Magone, Contemporary European Politics: A Comparative Introduction (Oxon: Routledge, 2011), p. 176.
5. See, Thongchai Winichakul, “The Monarchy and Anti-Monarchy: Two Elephants in the Room of Thai Politics and the State of Denial,” in ‘Good Coup’ Gone Bad: Thailand’s Political Developments since Thaksin’s Downfall, edited by Pavin Chachavalpongpun (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2013).
6. Sreeram Chaulia, “Monarchies in Asia: Crowns Die Hard”, Opinion Asia, 11 June 2008 <sreeramchaulia.net/publications/Monarchies%20in%20Asia.doc> (accessed 27 December 2012).
7. Ibid.
8. In his interview with Far Eastern Economic Review, see <http://testfeer.wsj-asia.com/free-interviews/ 2006/september/general-prem-tinsulanonda1> (accessed 27 December 2012).
เอกสารอ้างอิง
Chaulia, Sreeram. 2008. Monarchies in Asia: Crowns Die Hard. Opinion Asia, 11 June <sreeramchaulia.net/publications/Monarchies%20in%20Asia.doc> (accessed 27 December 2012).
Joshi, Bhuwan L. and Rose, Leo E. 1966. Democratic Innovations in Nepal: A Case Study of Political Acculturation. Berkeley and Los Angeles: University of California Press.
Kershaw, Roger. 2001. Monarchy in Southeast Asia: The Faces of Tradition in Transition. London: Routledge.
Magone, José M. 2011.
Thongchai, Winichakul. 2013. The Monarchy and Anti-Monarchy: Two Elephants in the Room of Thai Politics and the State of Denial. In ‘Good Coup’ Gone Bad: Thailand’s Political Developments since Thaksin’s Downfall, edited by Pavin Chachavalpongpun. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น