ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนรอลงอาญา 2 ปี "ปราโมทย์ นาครทรรพ"
เขียนบทความปฏิญญาฟินแลนด์หมิ่น"ทักษิณ"
ศาลระบุเป็นนักวิชาการ-นักประชาธิปไตย
เคยสร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ
ที่กระทำผิดเพราะต้องการปกป้องสถาบันที่เคารพ ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
จึงให้รอลงอาญาไว้
5 เม.ย. 56 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงาน
ว่าศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.1747/2549 ที่พรรคไทยรักไทย
และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระและคอลัมนิสต์ ,บริษัทแมเนเจอร์
มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) , น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์
ผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ.แมเนเจอร์ , นายขุนทอง ลอเสรีวานิช
บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ผู้จัดการรายวัน และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ
ผู้ดูแลเว็บไซต์ผู้จัดการ เป็นจำเลยที่ 1-5
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาและดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 , 328 , 332 , 393
โดยคดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า ระหว่างวันที่ 17 - 25 พ.ค.49
จำเลยทั้งห้า ร่วมกันตีพิมพ์และเผยแพร่บทความ “ ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ :
แผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย ? ” ของจำเลยที่ 1
ลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์
ซึ่งใส่ร้ายโจทก์ทั้งสองเสื่อมเสียชื่อเสียง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.52 เห็นว่า
บทความเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ 5 ตอนที่เผยแพร่ใน นสพ.
ผู้จัดการและเผยแพร่ในเว็บไซต์ ที่จำเลยที่ 1 เขียนพาดพิงถึงโจทก์ทำนอง
ว่ามีนโยบายที่ต้องการทำลายระบบราชการไทย การสร้างระบบการเมืองพรรคเดียว
และล้มล้างสถาบันเบื้องสูง แต่ชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1
กลับไม่นำสืบว่าโจทก์ทั้งสองกระทำการล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด
ขณะที่ท้ายบทความยังได้ให้ประชาชนต่อต้านโจทก์ทั้งสองที่กำลังลงสมัครรับ
เลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เม.ย.49
ซึ่งไม่ได้เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 4 เป็น
บก.ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ผู้จัดการรายวัน
มีหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหาก่อนตีพิมพ์
จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 4
มีส่วนรู้เห็นและทราบว่าบทความดังกล่าวมีเนื้อหาดูหมิ่นโจทก์ด้วย
จึงให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 4 คนละ 1 ปี และปรับคนละ 100,000 บาทแต่จำเลยที่
1 เป็นนักวิชาการ นักประชาธิปไตยและจำเลยที่ 4 เป็นนักหนังสือพิมพ์
เคยสร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ
ที่กระทำผิดเพราะต้องการปกป้องสถาบันที่เคารพ
ประกอบกับจำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี
และให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน โฆษณาคำพิพากษาย่อในหนังสือพิมพ์รายวัน 5
ฉบับเป็นเวลา 7 วันติดต่อกันด้วย โดยให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 5
ต่อมาจำเลยทั้งสอง ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1
เป็นความผิดตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นชอบแล้วจึงพิพากษายืน
แต่ในส่วนจำเลยที่ 4 เห็นว่า ยังไม่มีมูลว่ากระทำการที่เป็นความผิด
จึงพิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น