แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จักรภพ เพ็ญแข: 3 ปีขบวนประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท



มวลชนที่รักและเคารพครับ
ทีมงานประชาไทขอให้ผมเขียนรายงานประเมินผลสามปีของการทำลายล้าง ขบวนประชาธิปไตยและสังหารหมู่พี่น้องประชาชน ณ ใจกลางกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ.2553ทั้งตลอดแนวถนนราชดำเนินและในบริเวณแยกราชประสงค์ ผมรับชวนด้วยเงื่อนหนึ่งข้อ นั่นคือผมสามารถประเมินผลได้เพียงจากภายนอกเท่านั้น เนื่องจากผมได้เดินทางออกจากประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2552 หลังสลายชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ข้อมูลข่าวกรองที่ผมได้รับ และจะนำมาประเมินร่วมด้วย ก็เป็นข้อมูลที่ผมไม่อาจยืนยันได้เต็มที่ รายงานต่อไปนี้จึงถูกถ่วงดุลด้วยข้อจำกัดดังกล่าวนั้น
สามปีที่ผ่านมาผมมองย้อนกลับไปถึงความแตกร้าวทางความคิด “บางซื่อ-หัวลำโพง” ที่ทำให้แกนนำหลายคนยังมองกันกันไม่ติดหรือไม่สนิทใจมาจนบัดนี้ ยิ่งเวลาผ่านไปผมยิ่งรู้สึกว่านั่นเป็นสาระสำคัญของขบวนการต่อสู้ภาคประชาชน ฝ่ายบางซื่อชูธงสะสมชัยชนะและสงวนเลือดเนื้อ ฝ่ายหัวลำโพงอ้างความมุ่งมั่นของประชาชน บวกกับแรงหนุนจากผู้นำการเมืองที่มิได้อยู่ในสนามให้เดินหน้าต่อ ทั้งสองฝ่ายมีเหตุผลของตนเองและยังคงปกป้องท่าทีของตนเองอย่างรุนแรง คงเพราะตระหนักดีว่านี่คือสิ่งที่ประวัติศาสตร์จะนำมาประเมินซ้ำอย่างไม่รู้ จบ ความแตกร้าวเรื่องนี้ ถือเป็นภัยต่อเอกภาพในระยะต้น แต่ในระยะยาวแล้วถือเป็นคุณ เพราะทำให้เราเข้าใจชัดเจนว่าพลังของฝ่ายเสื้อแดงอยู่ตรงไหนและปุ่มต่างๆ ที่ใช้กดแสดงพลังเหล่านั้นอยู่ที่ใด ผมเชื่อว่า บทเรียนจากการนองเลือดครั้งที่ 1 ในปีนั้น คือเมื่อวันที่ 10 เมษายนเป็นแรงกระตุุ้นสำคัญสำหรับฝ่ายที่ต้องการลงบางซื่อ ยิ่งเมื่อพลตรีขัตติยะ สวัสดิผลหรือ “เสธ.แดง” ถูกสังหารในวันที่ 13 พฤษภาคมคืออีกเดือนเศษๆ ต่อมานั้น ฝ่ายบางซื่อก็ยิ่งมั่นใจในจุดยืนของตนเอง โอกาสจะ “ถนอมรัก” กับฝ่ายหัวลำโพงในช่วงนั้นจึงหมดไป การก้าวลงจากเวที นปช. ของคุณวีระ มุสิกพงศ์ส่งผลให้ข่าวกรองจากฝ่ายอำมาตย์ลดน้อยลงไป เหลือแต่ข่าวกรองบ้างไม่กรองบ้างที่ส่งมาจากต่างประเทศ การรับมือกับสรรพกำลังของฝ่ายเจ้าของบ้านจึงทำได้ไม่เต็มที่ และยังถูกหลอกล่อให้เตรียมความพร้อมต่อเนื่องกันหลายสิบวัน ด้วยความเชื่อว่าจะถูกบุก ทำให้ทั้งแกนนำและมวลชนเกิดความเหนื่อยเพลีย ระแวงสงสัย และอารมณ์สั้นลง เมื่อการสังหารหมู่มาถึง เราจึงเหลือแต่ใจของมวลชนเป็นอาวุธแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งอื่นๆ ที่อาจเรียกว่าอาวุธนั้นล้วนอยู่ในสภาพไก่รองบ่อนทั้งสิ้น แต่เมื่อเอ่ยวลีไก่รองบ่อนออกมาแล้ว ก็ต้องเอ่ยต่อไปว่า บ่อนไก่ กลับไม่ใช่ไก่รองบ่อน เรากลับได้รับความร่วมมือจากมวลชนที่รู้จักพื้นที่บ่อนไก่เป็นอย่างดี บวกทักษะของนักสู้ประจำถิ่น ตามอาชีพซึ่งเดิมทีเราเคยรู้สึกว่าอยู่คนละข้างกับกฎหมาย จนสามารถตรึงกำลังได้นานกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากประทัดยักษ์และยางรถยนต์ ในเหตุการณ์หน้างานนั้น มองจากภายนอกคงสรุปได้ว่า การสั่งการจากนอกพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับผู้ที่รู้ข่าวกรองในพื้นที่ ไม่ว่ามีอยู่ในมือกี่แหล่งก็ตาม ทักษะในการต่อสู้ของผู้ที่เป็นทหารเก่า นักเลงเก่า คนคุมบ่อน ฯลฯ กลับเป็นทักษะที่ช่วยชีวิตผู้คนเอาไว้ได้มากมาย ผมเห็นว่าคนเหล่านี้เป็นวีรชนที่ยังไม่มีใครสรรเสริญ (unsung heroes) และอย่าได้คิดประมาทเจตนา “พลีชีพ” ของมวลชนผู้ตาสว่าง ผู้นำและแกนนำจึงต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบเป็นทวีคูณในความเกี่ยวข้องทุก ประการกับมวลชน
เรามาลองมองภาพใหญ่ขึ้นบ้าง โดยเฉพาะในเหตุการณ์หลังจากนั้น ผมมีความรักและชื่นชมต่อแกนนำ นปช. แทบทุกท่าน และยังคงรู้สึกเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน แต่ต้องขอให้ข้อคิดเห็นว่า ความหมกมุ่นกับ นปช. และการเน้นให้ นปช. ผูกขาดงานมวลชนแต่เพียงผู้เดียวในนามขบวนประชาธิปไตยนั้น ถือเป็นกรอบที่แคบเกินไปสำหรับอารมณ์ทางการเมืองของมวลชนภายหลังเหตุการณ์ 19 พ.ค.  นปช. ยังคงควรเป็นแกนนำในขบวนประท้วงและชุมนุม เนื่องจากมีประสิทธิภาพ มีประสบการณ์ และมวลชนจำนวนมากให้ความเชื่อถือ แต่ไม่ควรใช้วิธีทางตรงหรืออ้อมในการจำกัดและกำจัดกลุ่มย่อยๆ ที่มีจุดประสงค์เดียวกันลงไป กลุ่มย่อยๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อขบวนประชาธิปไตยและ นปช. ในการเสริมฐาน นปช. ให้เป็นองค์กรการเมืองที่ใหญ่โตซับซ้อนขึ้น เสมือนสร้างระบบนิเวศที่เป็นประชาธิปไตยขึ้นมาห่อหุ้ม ผมเชื่อว่าบรรยากาศอย่างนั้นมีประโยชน์กว่า นปช. ที่โดดเดี่ยวอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมศักดินาอำมาตย์ เพราะสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งแนวร่วม ตัวช่วย และข้ออ้างในเหตุการณ์ทางการเมืองต่อๆ ไป ซึ่งจะต้องอาศัยต้นไม้ที่มีหลายกิ่งก้านสาขาและมีรากที่แข็งแรงมั่นคงมาสนับ สนุน นปช. ควรวางตัวเป็นบริษัทแม่ หรือ holding ที่ทำงานร่วมกับบริษัทลูกหรือบริษัทสาขาคือ subsidiary ได้อย่างกลมกลืน เหตุผลหลักที่ผ่านมาเป็นเพราะว่าเกรงจะถูกแย่งชิงทรัพยากรในการทำงานหรือ อำนาจสูงสุดในการสื่อสารกับมวลชน จึงเผลอเห็นองค์กรย่อยเหล่านี้เป็นผู้เล่นที่น่ารำคาญหรือแม้กระทั่งศัตรู คู่แข่ง จนเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับไปมาก ผมมั่นใจว่า ผู้นำการเมืองในปัจจุบันไม่มีใครมองว่าใครจะเป็นคู่แข่งกับ นปช. ได้ และจะเดินหน้าสนับสนุนต่อไปอย่างน้อยก็ในฉากหน้า เท่าที่ผ่านมาสามปี เราเสียเวลามากไปหน่อยกับความวิตกจริตเหล่านั้น ซึ่งผมเชื่อว่าคงเป็นอดีตไปแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ผมเคยเสนอเมื่อครั้งร่วมบริหารตั้งพีทีวี จนมาเป็น นปก. และ นปช. แต่ยังไม่ได้ทำเลยนั้น มาวันนี้สมควรเร่งทำและทำชนิดหวังผลสัมฤทธิ์ด้วย นั่นคือการจำแนกประเภทมวลชนผู้สนับสนุนฝ่ายเราออกเป็นสาขาอาชีพและ ประสบการณ์ต่างๆ ระบอบอำมาตย์ศักดินาประสบชัยชนะและครองบ้านเมืองมานานหลายชั่วอายุคน ทำให้บุคลากรที่มีความสามารถหลั่งไหลไปสังกัดและให้ความภักดี แทบไม่มีใครช่วยงานใหญ่ในฝ่ายประชาชน ซึ่งยังคงเป็นผู้แพ้ในทางการเมืองอยู่ เราควรเริ่มแยกประเภท (sort out) มวลชนและผู้สนับสนุนฝ่ายเราออกเป็นสาขาอาชีพ ทักษะ ประสบการณ์ และความถนัด เพื่อสร้างเครือข่ายทั้งภายในประเภทและระหว่างประเภทเหล่านี้ขึ้นเป็นเครือ ข่ายทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ นี่เป็นหนทางลัดอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของขบวนประชาชน เราควรมีวิศวกร แพทย์ ครู พระ ทนายความ สถาปนิก ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าของโรงงาน ช่างฝีมือทุกๆ ด้าน ผู้ประกอบการรายใหญ่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง-ขนาดย่อม นักกีฬาอาชีพ เจ้าของไนท์คลับ คนทำอาหาร ผู้บริหารโรงแรม ฯลฯ ที่กล้าแสดงตัวเองว่าเป็นมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย ถึงมีฝ่ายตรงข้ามแฝงตัวเข้ามาบ้างก็ให้แฝงไป เพราะงานของเราเปิดเผยและชัดเจน จนอาจโน้มน้าวให้สายที่แฝงตัวมาเหล่านั้นแปรเปลี่ยนเจตนาไปได้ ความบกพร่องอย่างหนึ่งของฝ่ายประชาธิปไตยคือ เรามุ่งสร้างแต่นักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งก็ได้คนการเมืองตั้งแต่เกรดสูงไปถึงเกรดต่ำ โดยไม่คิดนำคุณสมบัติอื่นๆ มาใช้เลย คนทุกคนไม่อาจจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้ นิสัยใจคอและสันดานเราล้วนแล้วแต่ต่างกัน ควรเลิกประเพณีว่าใครอยากทำงานเพื่อบ้านเมืองก็ต้องยอมตัวเป็นนักการเมือง เท่านั้น แต่หาทางให้คนที่มีภูมิรู้และทักษะที่แตกต่างกันเข้าสู่การเมืองได้หลายช่อง ทาง บทเรียนของเราสอนเรามาแล้วว่า มวลชนผู้มีวุฒิภาวะในทางประชาธิปไตยทุกคนล้วนเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการ พัฒนาประชาธิปไตย ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนและส่วนใดของขบวนประชาธิปไตยก็ตามที
ประการสุดท้าย การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายระหว่าง นปช. กลุ่มพลังฝ่ายประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องมีประสิทธิภาพกว่าสามปีที่ผ่านมา แกนภายในขบวนประชาธิปไตยของเราครบถ้วน รัฐบาลกำหนดและผลักดันนโยบาย พรรคเพื่อไทยโดยผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและบางส่วนของวุฒิสภาสร้างและปรับ ปรุงกฎหมาย ตลอดจนปฏิบัติการถ่วงดุลอำนาจ นปช. ร่วมกับกลุ่มพลังประชาธิปไตยในการโน้มน้าวประชามติให้หันเหมาทางเรามากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากทักษะของมวลชนอย่างที่ผมเสนอมาเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้น้อยหน้ากว่าเขาในเชิงปริมาณและความทันสมัยของแนวคิด แต่เรายังตามเขาอยู่ไม่น้อยในการจัดการภายในองค์กรของเราเอง
โดยสรุปแล้ว สามปีที่ผ่านมานี้ถือเป็นเวลาที่มีประโยชน์ต่ออนาคตของพวกเรามาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น