แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิน อินแอลเอ ล้วนๆ :ไม่ล่วงล้ำ ไม่รุ่มร้อน ไม่เหลวไหล

ที่มา Thai E-News



รายงานโดย ระยิบ เผ่ามโน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มีนาคม ศกนี้ รศ. ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เดินทางไปบรรยายให้กลุ่มคนไทยที่เรียกตนเองว่า เร็ด ยูเอสเอในนครลอส แองเจลีสฟังในหัวข้อ สถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทยหลังจากที่ได้ไปพบปะ และเป็นผู้ดำเนินการสัมมนาย่อยกับนักวิชาการของสมาคมเอเซียศึกษา (Association for Asia Studies) ที่นครซานดิเอโก้ เรื่อง ‘The Monarchy in Post Bhumibol Thailand’ ซึ่ง ดร.ปวินบอกว่า
“การประชุมของ เอเอเอส เป็นการประชุมเอเซียศึกษาทางด้านวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือสำคัญที่สุด และมีการมารวมตัวกันของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทั่วโลก รวมถึงนักวิชาการไทยด้วย เพราะว่าเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยเป็นเรื่อง Asian studies ..สมาคมมีสมาชิกประมาณ ๘ พันถึง ๑ หมื่นคน ไม่ใช่องค์กรเล็ก และก็มีการประชุมทุกๆ ปี ไม่ใช่มีแค่ครั้งเดียว ปีที่แล้วจัดที่โทรอนโต ปีก่อนหน้านั้นจัดที่ฮาวาย..ปีนี้จัดที่ซานดิเอโก้ ปีหน้าจัดฟิลาเดลเฟีย ปีต่อไปจัดที่ชิคาโก เวียนกันไป..ก็จะมีคนมาร่วมงานเยอะมาก อย่างอาทิตย์ที่แล้วนี่ ๓ พันคน
แล้วก็มีการพรีเซ้นต์เพเปอร์ (เสนอรายงาน) เป็นร้อยๆ จัดในเวลาเดียวกันหลายงาน..แล้วแต่เราจะไปเลือกฟังอะไร ผมเองมีความสนใจเรื่องสถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย ผมก็จัดเป็น Roundtable ขึ้นมาเป็นสัมมนาโต๊ะกลม ของผมเท่ากับว่าเป็นหนึ่งในงานสัมมนาที่มันมีอยู่เยอะแยะ..เพียงแต่ว่าหัวข้อมันอาจจะมีความละเอียดอ่อน ทางฝ่ายกรุงเทพฯ จึงจับตามองเป็นพิเศษ..
นี่คือต้นสายของปัญหาที่ ดร.ปวินเลยต้องเกริ่นก่อนการปาฐกถาว่า

“การ พูดในวันนี้เป็นการพูดทางวิชาการ..ผมไม่มีเป้าหมายอย่างอื่นนอกจากจะมา..ไม่ อยากพูดว่าให้ความรู้ด้วยซ้ำ..เอาเป็นว่าผมมาแชร์ข้อมูลในส่วนที่ผมมีก็แล้ว กัน ในมุมมองของนักวิชาการ และก็ผมไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่ได้ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ และก็ทำงานทางด้านวิชาการจริงๆ”
ปัญหาดังกล่าวก็คือ  “มีความพยายามของกลุ่มที่ส่งเสริมกลุ่มอำนาจเก่าในเมืองไทย นำโดยคุณภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ ตำแหน่งเป็นอดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ช่วงอาทิตย์ที่แล้วเขาเขียนบทความออกมา ภาษาไทย เขียนอยู่ ๓ ประเด็น..แต่ข่าวที่เอามาเขียนมันไม่ได้กรอง ไม่พอ มันเป็นข่าวที่ make up ชุ่ย มันมี hidden agenda เห็นแล้วรู้สึกเศร้าใจกับคนที่เป็นผู้ใหญ่ขนาดนี้แล้วก็ยังแต่งเรื่องขึ้นมา...
ภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์
เขาบอกว่าขณะนี้ที่สหรัฐอเมริกามีขบวนการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์จริงๆ ข้อกล่าวหานี้มีมานานพอสมควร แต่คุณภุมรัตน์เอามา reinvent ใหม่..มาเขียนใหม่ว่ามันมีขบวนการนี้จริงๆ และก็มีกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ทำงานร่วมกับนักการเมืองของสหรัฐอเมริกา ในการที่จะโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ นี่เป็นพ้อยต์แรก
พ้อยต์ ที่สองบอกว่าในช่วงกลางปี ๒๕๕๖ กลุ่มล็อบบี้ยิสต์กลุ่มนี้ที่เขาพูดถึงพยายามที่จะผลักดันให้สมาคมเอเซีย ศึกษา..ให้จัดการประชุม ซึ่งอันนี้ข้อมูลมันผิด มันไม่ได้จัดกลางปี มันเพิ่งจัดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และผมเพิ่งไปมา..ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ (เขาบอก) ว่าองค์กรนั้นมีคนไทยคนหนึ่งที่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ผมคาดว่าเขาหมายถึงอาจารย์ท่านหนึ่ง..ซึ่งได้รับตำแหน่งประธานของสมาคมเอเอ เอสปีนี้..เป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นรับตำแหน่งสำคัญอันนี้
สองเรื่องที่มันเป็นเรื่องกวนใจผม เรื่องทางวิชาการต้องตกมาเป็นประเด็นทางด้านการเมือง มันสะท้อนว่าคนที่อยู่ฝ่ายเจ้าเก่งนักเรื่องตอแหล เกี่ยวกับการทำข้อมูลปลอมขึ้นมา แล้วมันน่ากลัวตรงที่ในที่สุดแล้วข้อมูลปลอมกลายเป็นข้อมูลจริง เรื่องที่แต่งขึ้นมาพูดกันมากๆ มันกลายเป็นเรื่องจริง เรื่องที่ใส่ร้ายป้ายสี ทำไฟล์ขึ้นมา เขาหมายหัวใครเขาก็ทำไฟล์ขึ้นมา เอาเรื่องแต่งใส่เข้าไปในไฟล์ ถึงเวลาจะดำเนินคดีก็เอาไฟล์มาเปิดว่าคุณเคยทำเรื่องนี้ เรื่องนี้ มัน fake ทั้งหมด
แต่เราอยู่ในสังคมที่มันไม่ปกติ สังคมที่มันพิกลพิการอย่างสังคมเมืองไทย เราคงได้แต่บ่น คงทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ แต่ว่าในส่วนของนักวิชาการอย่างพวกผม เราก็ยังถือว่ามันเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เราต้องทำเรื่องนี้ต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งก็มีข่าวด้วยว่า ผมกลายเป็นคนดังไปแล้ว ดังในทางลบ เป็นดาราในทางลบ เป็นดาวยั่ว ผมกลายเป็นดาวยั่วไปแล้ว เพราะว่ายั่วโทสะของหลายๆ คนเลยกลายเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ และก็มีข่าวว่าเขาจะส่งคนจากสถานกงสุลที่ลอส แองเจลีสมา เขาก็ส่งไปจริงๆ ส่งไปที่ซานดิเอโก้ เห็นมีหน้าแปลกๆ ถ่ายรูปเราไปบ้าง อัพเสียงไปบ้าง..”
อาคันตุกะมาขอแอบอัพเสียง 'อินแอลเอ'

เมื่อเข้าสู่การบรรยายตามหัวข้อ ดร.ปวินเอ่ยถึงอุดมการณ์กษัตริย์นิยมชนิดสุดโต่งที่เรียกว่า Hyper-royalism “ที่แสดงความรักเจ้ามากล้นจนเลยผ่านเหตุผล และตรรกะการพิจารณาต่างๆ” ดร.ปวินกล่าวว่าจริงๆ มีสองประเภท แรกคือรักสถาบันล้นเอ่อโดยไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง 
อีกกลุ่มที่น่ากลัวยิ่งกว่า เป็นพวกที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วยังแสดงออกอย่างไฮเปอร์ ดร.ปวินวิเคราะห์สาเหตุที่มีอาการกันอย่างนั้นเนื่องจาก “คนพวกนี้มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์” เกิดอาการ desperation (ตะเกียกตะกายใกล้สิ้นหวัง) และมี anxiety (เร่าร้อนกระวนกระวาย)
ดร.ปวินกล่าวถึงฝ่ายทหารว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครือข่ายสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ Network Monarchy ตามทฤษฎีของศาสตราจารย์ Duncan McCargo แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ ในสหราชอาณาจักร (ซึ่งมิได้หมายถึงพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว แต่รวมทั้งองคาพยพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีผลประโยชน์ร่วมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ “ตั้งแต่กองทัพ สถาบันตุลาการ บริษัทผูกขาดขนาดใหญ่ ตลอดจนองค์กร และบุคคลที่พึ่งพิง และพึ่งพาสถาบันกษัตริย์”)*
“ทหารจะอยู่รอดไม่ได้ถ้าไม่โหนสถาบันฯ ในทางตรงกันข้ามก็เช่นเดียวกัน มันเกี่ยวโยงกัน แยกไม่ออก ทหารใช้สถาบันฯ เป็นเครื่องมืออ้างว่าปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ..ที่น่าตกใจ สมัยก่อนเครือข่ายฯ ยังพูดคุยกัน ยังรู้ว่าจะทำอะไร สมัยนี้เนื่องจากเทคโนโลยี่ เนื่องจากมีตัวแสดงมากขึ้น เนื่องจากมีทักษิณ คิดว่าเขามีการสื่อสารต่อกันน้อยลง
ผลก็คือคนพวกนี้คิดจะทำอะไรก็ทำโดยไม่รับคำสั่งจากข้างบน หมายความว่าคนพวกนี้เริ่มทำอย่างเป็นเอกเทศ ซึ่งบางครั้งไม่ได้รับคำสั่งจากข้างบน ยกตัวอย่างการจับกุมตาม (มาตรา ) ๑๑๒
ปัญหา ก็คือว่า เรื่องที่ผ่านมาทั้งหมด ต้นทุนทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม (กับทักษิณ-ประชาธิปไตย) เอาไปเทิดทูลไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเดียว..ผมอยากจะเจาะลงไปด้วย ว่าเป็นการไปเทิดพระเกียรติไว้กับพระมหากษัตริย์องค์นี้องค์เดียว..ซึ่งเป็น เรื่องที่น่ากลัว
ที่น่ากลัวเพราะว่า ขอใช้ภาษาอังกฤษ มันเป็นเรื่องที่ “not universal, but exclusive” หมายความว่าเป็นการเทิดพระเกียรติที่ไปลงไว้กับพระมหากษัตริย์องค์นี้ ที่ไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่พระมหากษัตริย์องค์หน้าได้  in other words หรือพูดอีกทางหนึ่งก็คือ ความรัก ความภักดี ผลประโยชน์ทั้งหมดไปตกอยู่กับบุคคล ไม่ใช่สถาบัน ซึ่งมันจะเกิดปัญหากับรัชสมัยหน้า..”
เกี่ยวกับรัชสมัยหน้า ดร.ปวินให้ข้อคิดเป็นคำถามไว้สี่ประการ คือเรื่องแรกเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านก็ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสถาบันฯ ต้องเปลี่ยนแปลงแล้วจะเปลี่ยนไปในทางไหน  ทางบวกที่ดีขึ้น หรือทางลบที่แย่ลง แย่ลงนี่หมายความว่ามีการกดขี่ข่มเหงกันมากขึ้นด้วยกฏหมาย ๑๑๒
“อันที่สอง ความเกี่ยวพันทางการเมืองระหว่างสถาบันกษัตริย์ และเครือข่ายฯ มันมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดมา ๔๐-๕๐ ปีนี่จะส่งผลต่อรัชสมัยหน้าแน่ๆ เครือข่ายสถาบันกษัตริย์จะยังคงอยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะมีบทบาททางด้านการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน เราอ่านวิกิลี้คส์เรารู้แล้วว่าแม้แต่สมาชิกบางคนของเครือข่ายฯ อย่างคุณเปรมเองก็ออกมาพูดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์รัชสมัยหน้า แต่เป็นเพราะคุณเปรมก็เป็นคุณเปรม ก็เลยเอาตัวรอดไปได้ไม่มีใครกล้าเล่นอะไร”
ประการที่สาม ในเรื่องการเปลี่ยนผ่านอำนาจภายในพระราชวังของสถาบันกษัตริย์  มันเป็นกระบวนการที่ยาวนานต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับรัชสมัยหน้าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร พระมหากษัตริย์พระองค์หน้าจะทำอย่างไรในการสร้างความนิยม (ทั้งนี้ ดร.ปวินบรรยายไว้ก่อนหน้าแล้วว่าความสำเร็จของรัชกาลปัจจุบันมีมากจนเทียบเคียงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นเรื่องยากที่รัชกาลหน้าจะคงไว้  “shoes have become too big”)
ประการสุดท้ายเป็นคำถามว่า สังคมจะมีการตอบสนองต่อการจะมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างไร บอกไม่ได้เพราะตอนนี้สังคมมันแตกเป็นเสี่ยงๆ มีทั้งแดงทั้งเหลือง “เหลืองนี่บอกตรงๆ น่าสนใจ ผมเคยคุยกับเสื้อเหลืองหลายคน หมอคนหนึ่งขอไม่เอ่ยชื่อ เขาบอกว่าความรัก และความจงรักภักดีของเขานี้ มีต่อพระมหากษัตริย์องค์นี้เท่านั้น”
ดร.ปวินปิดท้ายการบรรยายด้วยคำกล่าวว่า “ความไม่แน่นอนทั้งหมด ความแตกแยกทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น จะแก้ไขได้หรือไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์องค์หน้า..สิ่งแรกที่จะสามารถทำได้คือการ win hearts and minds ของประชาชน คือปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด”
*หมายเหตุ - ดู ปวิน in แอลเอ และชม  ฝ่ามืออากง in Chicago สำหรับท่านที่ต้องการฟังบรรยายเต็มๆ กรุณาไปฟังคลิปที่ http://redusala.blogspot.com/2013/03/blog-post_27.html หรือที่ dangdd.com/threads/มาแล้ววว-คลิปฮ๊อทสุดฮิท-ปวิน-อิน-แอลเอ-สถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย.15900/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น