รายงานข่าว แจ้งว่า วันนี้(26พ.ย.2555) ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
วันที่สอง ได้มีการเผยแพร่ เอกสาร ลับที่สุด ที่ลงนาม โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่ยื่นต่อ
ประธานวุฒิสภา เรื่อง
ขอให้ถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งบทบัญญัติ มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ด้วยข้าพเจ้าผู้ลงลายมือชื่อท้ายคำร้องฉบับนี้
ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ตามบทบัญญัติมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขอยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา
เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง
ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี
มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
แต่ได้บังอาจกระทำการขัดต่อกฎหมาย ข้าพเจ้าจึงขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
โดยมีข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ดังนี้
ข้อ 1.ผู้ถูกร้อง
ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีจงใจบังอาจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมาย
กล่าวคือ สืบเนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และได้มีผลบังคับใช้ในวันที่19 เมษายน 2554 ซึ่งมาตรา 103/7 วรรคหนึ่งได้บัญญัติ ให้หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้และในมาตรา
103/7 วรรคสี่
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
เห็นสมควรเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เนื่องจากการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งคณะกรรมการ
ป.ป.ช.เห็นสมควรในการกำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับไปปฏิบัติ
ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำอนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช. กำหนดมาตรการในเรื่องนั้น แล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบก็ได้
และเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งมาตรา 103/8 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่รายงาน
ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา
103/7 วรรคหนึ่ง
โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ
แต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการดังกล่าวและให้คณะกรรมการ
ป.ป.ช.มีหน้าที่ติดตามผลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย
หน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อมีความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งหรือต้องพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่กรณี
ข้อเท็จจริง ในหลักเกณฑ์ของกฎหมายย่อมเห็นโดยชัดแจ้งว่า
เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการที่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในทุกหน่วยงานของรัฐ
เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงได้กำหนดให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
มีหน้าที่จัดทำรายงานกำหนดหลักเกณฑ์ ตามมาตรา103/7 และต้องดำเนินการตาม มาตรา 103/8
ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบแปดวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ
เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่สั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา
103/7 วรรคหนึ่ง
ข้อ 2 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำหนังสือถึง
นายกรัฐมนตรี เรื่อง การให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลาง
และการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้อเพิ่มเติม
พร้อมแนบรายงานซึ่งเป็นรูปแบบดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลาง
และการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดธได้
และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
แต่นายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้เห็นชอบกับรายงานที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช.ได้เสนอ
โดยคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา
103/7 วรรคหนึ่ง
แต่ประการใด ประธานคณะกรรมการ
ป.ป.ช.ก็ยังได้ทำหนังสือขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโดยให้เหตุผลว่ามติคณะรัฐมนตรียังไม่ครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 แต่มติคณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่รับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ข้อ 3
จากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ข้าพเจ้าได้กราบเรียนมาดังกล่าวข้างต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า
ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีได้มีพฤติกรรมดังจะกล่าวต่อไปนี้
3.1)
จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมาย คือ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง, มาตรา
103/8 และ
3.2)
จงใจที่จะกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 และ
3.3)
จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
ในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 178
3.4) การกระทำตาม ข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.2 ที่
ผู้ถูกร้อง
ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ.2542 และประมวลกฎหมายอาญา
ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน
พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุที่มีการทุจริตกันหลายโครงการ
และเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเป็นอย่างมาก
ซึ่งพฤติกรรมของผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี
ย่อมรับฟังโดยชัดแจ้งว่าเป็นกรณีที่ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
ข้อ 4 ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี
โดยหลักความเป็นจริงแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จำต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายโดยเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ก็มีเจตนารมณ์ในการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตงบประมาณของประเทศ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นเชื้อร้ายอยู่ในสังคมขณะนี้ แต่สิ่งที่ผู้ถูกร้อง
ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีได้กระทำกลับตรงกันข้ามกับหลักกฎหมายและหลักความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง
รายงานกำหนดรูปแบบดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลาง
ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้นำเสนอตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่ได้รับการสนใจใยดี
จากคณะรัฐมตรีเลยแม้แต่น้อย
ทั้งๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้คณะรัฐมนตรีเมื่อได้รับรายงานจาก
คณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว
มีหน้าที่โดยตรงในการสั่งการหน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตนจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา
103/7
วรรคหนึ่ง
โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัดนับ
แต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำนเนินการดังกล่าวและให้คณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีหน้าที่ติดตามผลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย
แต่รัฐมนตรีก็มิได้ดำเนินการสั่งการตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาโดยชัดแจ้งว่า
นอกจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วยังมีเจตนาที่จะสนับสนุน
ส่งเสริมให้มีการทุจริต
ผู้ถูกร้อง เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี มีพฤติกรรมกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
จงใจใช้อำนาจหน้าที่ข้อต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ใช้อำนาจไปในทางทุจริต
อันเข้าลักษณะที่จะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2550 มาตรา 270
ข้าพเจ้าดังมีรายนามแนบท้าย ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จึงขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 271 ประกอบ มาตรา 270
ร้องขอมายังท่านในฐานะประธานวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการส่งเรื่องดังกล่าวให้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน
และดำเนินการเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ผู้ถูกร้อง
ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ส่วนรายละเอียด ข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆ
ข้าพเจ้าขอส่งในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการตามกระบวนการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2550 ต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น