รองนายกฯผู้รับผิดชอบโครงการบริหารจัดการน้ำ
ยืนยันการดำเนินโครงการมีความโปร่งใส และมีการทำงานอย่างจริงจัง
พร้อมขอให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์
ได้ตรวจดูข้อมูลอย่างละเอียดและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้นำเสนอบ้าง
โดยมั่นใจว่าโครงการนี้ จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งได้อย่างถาวร
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าชมห้องเก็บเอกสาร ว่าด้วยรายละเอียดแผนการบริหารจัดการน้ำที่ถูกเสนอมาโดยบริษัทต่างๆ กว่า 37 บริษัทใน 8 กลุ่ม โดยเอกสารมีจำนวนมากกว่า 3 พันกล่อง น้ำหนักรวมทั้งหมดมากกว่า 15 ตัน โดยนอกจากนี้ยังได้พาเยี่ยมชมการทำงานของคณะกรรมการ 30 คน ประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ที่จะมาทำหน้าที่วิเคราะห์และพิจารณาแผนการจัดการน้ำภายใต้วงเงินกว่า 3 แสนล้านบาทเหล่านี้
โดยนายปลอดประสพได้กล่าวว่า ในขณะนี้ การทำงานอยู่ในระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกบริษัท ที่จะมาดำเนินการในโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบใน 10 โครงการย่อย หรือ 10 โหมด โดยเกณฑ์การพิจารณา จะดูว่ามีข้อเสนอในด้านต่างๆ ครบถ้วนทั้ง 10 โหมดหรือไม่ โดยจะมีการคัดเลือกให้เหลือ 3 บริษัทต่อโหมด รวมเป็น 30 บริษัท ทั้งนี้จะเน้นบริษัทที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการ และการใช้เทคโนโลยีเป็นสำคัญ
ซึ่งการคัดเลือกบริษัทที่จะมาดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำครั้งนี้ นายปลอดประสพ ยอมรับว่า ได้มีการแก้ไขระเบียบให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกขึ้นจริง แต่ก็เป็นการแก้ไขระเบียบโดยเปิดเผยมาตั้งแต่ก่อนจะมีการรับสมัครผู้เสนอ โครงการ โดยสามารถตรวจสอบได้ และมีการประกาศให้ทราบกันโดยทั่วไป ซึ่งบริษัทที่เข้าเสนอโครงการทุกบริษัท ต่างก็ยังไม่มีข้อร้องเรียนต่อว่าใดๆ จนถึงบัดนี้
โดยนายปลอดประสพยังได้กล่าวด้วยว่า ที่พาสื่อมวลชนมาดูการทำงานของคณะกรรมการในวันนี้ (30 พ.ย.55) ก็เพื่อให้สื่อมวลชนและประชาชน ได้เห็นว่าทางคณะกรรมการ ได้มีการลงมือทำงานอย่างจริงจัง มีรายละเอียดขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ โดยมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ โดยได้ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญ เพราะโครงการนี้ คือโครงการเพื่ออนาคตของชาติอย่างแท้จริง และยังขอร้อง ให้กลุ่มคนที่ออกมาคัดค้าน ซึ่งต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญน้ำในรุ่นเดียวกับตน ได้ให้โอกาสคนรุ่นใหม่นำเสนอความคิดบ้าง
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ยังคาดว่าโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ น่าจะสามารถเริ่มต้นได้ทันทีภายหลังการคัดเลือกบริษัทที่จะมาดำเนินโครงการ เสร็จสิ้นลงในช่วงเดือนเมษายน 2556 โดยมีความมั่นใจว่า เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้น จะสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งได้อย่างถาวร อีกทั้งจะสามารถทำให้ประชาชนไทยทุกคน สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้อย่างเสมอภาคกัน
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าชมห้องเก็บเอกสาร ว่าด้วยรายละเอียดแผนการบริหารจัดการน้ำที่ถูกเสนอมาโดยบริษัทต่างๆ กว่า 37 บริษัทใน 8 กลุ่ม โดยเอกสารมีจำนวนมากกว่า 3 พันกล่อง น้ำหนักรวมทั้งหมดมากกว่า 15 ตัน โดยนอกจากนี้ยังได้พาเยี่ยมชมการทำงานของคณะกรรมการ 30 คน ประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ที่จะมาทำหน้าที่วิเคราะห์และพิจารณาแผนการจัดการน้ำภายใต้วงเงินกว่า 3 แสนล้านบาทเหล่านี้
โดยนายปลอดประสพได้กล่าวว่า ในขณะนี้ การทำงานอยู่ในระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกบริษัท ที่จะมาดำเนินการในโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบใน 10 โครงการย่อย หรือ 10 โหมด โดยเกณฑ์การพิจารณา จะดูว่ามีข้อเสนอในด้านต่างๆ ครบถ้วนทั้ง 10 โหมดหรือไม่ โดยจะมีการคัดเลือกให้เหลือ 3 บริษัทต่อโหมด รวมเป็น 30 บริษัท ทั้งนี้จะเน้นบริษัทที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการ และการใช้เทคโนโลยีเป็นสำคัญ
ซึ่งการคัดเลือกบริษัทที่จะมาดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำครั้งนี้ นายปลอดประสพ ยอมรับว่า ได้มีการแก้ไขระเบียบให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกขึ้นจริง แต่ก็เป็นการแก้ไขระเบียบโดยเปิดเผยมาตั้งแต่ก่อนจะมีการรับสมัครผู้เสนอ โครงการ โดยสามารถตรวจสอบได้ และมีการประกาศให้ทราบกันโดยทั่วไป ซึ่งบริษัทที่เข้าเสนอโครงการทุกบริษัท ต่างก็ยังไม่มีข้อร้องเรียนต่อว่าใดๆ จนถึงบัดนี้
โดยนายปลอดประสพยังได้กล่าวด้วยว่า ที่พาสื่อมวลชนมาดูการทำงานของคณะกรรมการในวันนี้ (30 พ.ย.55) ก็เพื่อให้สื่อมวลชนและประชาชน ได้เห็นว่าทางคณะกรรมการ ได้มีการลงมือทำงานอย่างจริงจัง มีรายละเอียดขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ โดยมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ โดยได้ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญ เพราะโครงการนี้ คือโครงการเพื่ออนาคตของชาติอย่างแท้จริง และยังขอร้อง ให้กลุ่มคนที่ออกมาคัดค้าน ซึ่งต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญน้ำในรุ่นเดียวกับตน ได้ให้โอกาสคนรุ่นใหม่นำเสนอความคิดบ้าง
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ยังคาดว่าโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ น่าจะสามารถเริ่มต้นได้ทันทีภายหลังการคัดเลือกบริษัทที่จะมาดำเนินโครงการ เสร็จสิ้นลงในช่วงเดือนเมษายน 2556 โดยมีความมั่นใจว่า เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้น จะสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งได้อย่างถาวร อีกทั้งจะสามารถทำให้ประชาชนไทยทุกคน สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้อย่างเสมอภาคกัน
by
Anuthee
30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16:46 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น