แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

TDRI กับนโยบายจำนำข้าว

ที่มา ประชาไท



บทความของ TDRI ที่ตอบข้อเสนอของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่องนโยบายจำนำข้าว ผมไม่ใช่นักวิชาการเรื่องข้าว แต่อยากเสนอความคิดไว้ประกอบการอภิปรายของสังคมไว้บางประเด็น
1. เรื่องนโยบายต่างๆของรัฐบาล เรามีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ได้เสมอ เพียงแต่ว่าเราไม่จำเป็นต้องเอาความเห็นที่เรามีแตกต่าง มาเป็นเครื่องมือในการล้มรัฐบาลก่อนครบกำหนดวาระ หากใครไม่เห็นด้วยกับนโยบายใด ก็สามารถรอไปจนครบวาระรัฐบาลเพื่อเสนอความคิดของตัวเองให้ประชาชนเลือกอีก พรรคหนึ่งที่มีนโยบายตรงกับที่ตนเองเชื่อได้

2. บทความบอกว่ามีจำนำข้าวแล้วผู้คนจะหันมาประกอบอาชีพชาวนามากขึ้น อันนี้เป็นการคาดคะเนแน่นอน เพราะพูดถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้เกิด แต่คิดว่าจะเกิด อาจมีปัจจัยอื่นที่จูงใจคนหลายคน ไม่ให้หวนกลับมาเป็นชาวนาอย่างเดิม ก็ได้ แม้ว่าจะมีการจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาทก็ตาม เช่นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และอื่นๆเช่นการปฏิรูปการศึกษา (ที่รัฐบาลไม่ค่อยจะเริ่มทำเท่าไรนัก แต่เริ่มได้แล้ว)

3. ถึงแม้ว่าจะเชื่อ TDRI ว่าจะมีคนหันมากลายเป็นชาวนามากขึ้น รัฐบาลก็อาจออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นก็ ได้ เช่นจำกัดจำนวนชาวนาที่จะมีสิทธิจำนำ ไม่ใช่ว่าต้องล้มนโยบายไปทั้งหมด

4. TDRI บอกว่าการจำนำข้าวเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ข้อนี้ผมเห็นด้วย TDRI บอกว่าเมื่อมีการจำนำข้าว ชาวนาจะเร่งปลูกข้าวโดยไม่สนคุณภาพ หรือไปซื้อข้าวต่างประเทศถูกๆมาจำนำ แต่ข้อนี้แก้ได้ง่ายๆด้วยระบบกลไกตลาดเอง ด้วยการรับจำนำข้าวตามคุณภาพข้าว ข้าวดีก็จำนำให้ราคาดี ข้าวไม่ดีก็จำนำราคาไม่ค่อยดี เรื่องซื้อข้าวต่างประเทศก็ต้องอาศัยการตรวจสอบที่ด่านนำเข้าส่งออก ซึ่งทำเป็นประจำอยู่แล้ว เวลาเราไปร้านจำนำ เขาก็รับจำนำตามคุณภาพของอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าเอาของห่วยๆไปจำนำ แล้วได้ราคาเดียวกันหมด ถ้ารัฐบาลทำแบบนี้ ก็ควรเปลี่ยนแนวคิดได้แล้ว

5. TDRI มีข้อมูลที่น่ารับฟังเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของการไม่ใช่กลไกตลาดในการรับซื้อข้าว รัฐบาลต้องตอบประเด็นพวกนี้

6. แนวคิดระบบตลาดก็ปรากฏอยู่ในข้อเสนอที่วิพากษ์วิจารณ์การใช้เงินของรัฐไปรับ ซื้อหรือรับจำนำข้าวของชาวนา โดยบอกว่าความเข้มแข็งของชาวนาจากการได้เงินจำนำสูงๆ ตั้งอยู่บนความอ่อนแอทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการบิดเบือนกลไกตลาด ข้อวิจารณ์ก็คือว่า มันจะอ่อนแอจริงหรือ หากชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้น จะไม่เป็นการเพิ่มอุปสงค์ในตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจหรอกหรือ? เราสามารถรักษาระบบกลไกตลาดไว้ได้ จากการที่รัฐต้องรีบหาทางเพิ่ม productivity ของแรงงานไทยโดยเร็ว และเริ่มคิดหาแนวทางในการเพิ่มภาษีจากคนในเมืองเพื่อไม่ให้รัฐเองรับภาระ จำนำข้าวมากเกินไป มาตรการพวกนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องยกเลิกนโยบายไปทั้งหมด ทำอย่างนั้นมันตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า To throw the baby with the bath water.


ที่มา: เฟซบุ๊กโสรัจจ์  หงส์ลดารมภ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น