แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"สนธิ" เตือน "ถ้ามีการปฏิวัติ-ไทยจะเปลี่ยนครั้งใหญ่"

ที่มา go6tv



สัมภาษณ์พิเศษโดย พนัสชัย คงศิริขันต์, เบญจวรรณ คงกิจเจริญกุล (ที่มา:มติชนรายวัน 27พ.ย.55)

หมายเหตุ - "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" หรือ "บิ๊กบัง" ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งเคยรัฐประหารยึดอำนาจ "รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" หยุดสงคราม "มวลชน" กลางเมือง มองเงื่อนไขในการปลุก "ทหาร" ให้ออกมาหยุดความขัดแย้งการเมืองนอกสภา ภายหลังที่กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ประกาศยุติการชุมนุมในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 

"...การ ปฏิวัติเองทหารก็ต้องคิดหนัก วันเวลามันเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ฉะนั้นการที่จะทำอะไรสักอย่างก็ต้องคิดลึก คิดเยอะกว่าสมัยก่อน...

"องค์การพิทักษ์สยาม" (อพส.) ยกระดับการชุมนุมเพื่อ "แช่แข็งนักการเมือง" อย่างเข้มข้น ด้วยการกดดัน "รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

มองการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามขณะนี้เข้าเงื่อนไขเดียวกับการนำไปสู่เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 หรือไม่

คน ละเรื่องกัน เพราะเงื่อนไข 19 กันยายน 2549 ประชาชนรับได้หมด ประชาชนเห็นด้วยกับการกระทำทั้งหมด 90% ทั้งสวนดุสิตโพล และเอแบคโพลล์ ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย ฉะนั้นวันนั้นกับวันนี้อย่าเอามาเกี่ยวข้องกัน มันคนละเรื่อง ณ วันนี้ต้องมาคิดถึงว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง มันคนละมิติกัน องค์การพิทักษ์สยามก็มองเงื่อนไขที่ค่อนข้างชัดเจนอันหนึ่งคือ 

เขา ก็รักประเทศไทยเหมือนกัน ทั้งชาติ ศาสน์ พระมหากษัตริย์ รักเหมือนกัน แต่วิธีการของเขาก็เหมือนเรา ต้องการปรองดอง ณ วันนี้ทางฝ่ายนี้ก็เข้าไปทำในสภาไม่ได้ ก็เลยมาเล่นนอกสภา องค์การพิทักษ์สยามก็หาเงื่อนไข อย่างการคอร์รัปชั่น จาบจ้วงสถาบัน เว็บไซต์ก็หยิบเอามา

ในฐานะที่เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ห่วงการนำสถาบันมาโจมตีทางการเมืองหรือไม่ 

ผม ว่ามันเป็นสิ่งที่ ผบ.ทบ. (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เองก็พูดว่า อย่าเอาสถาบันดึงลงมา ท่านก็อยู่เฉยๆ ของท่านดีๆ อยู่แล้ว และท่านก็เป็นกลางในประชาชนทั้งชาติอยู่แล้ว ทีนี้ต้องถามว่าทำไมถึงดึงลงมา 

ผม ตอบไม่ได้ ตอบแทนใครไม่ได้ มันก็เป็นสิ่งที่ต้องคุยกัน ผมก็เห็นว่าไม่ควรจะดึงลงมา เราต้องเข้าใจว่ามีกระบวนการในการที่จะทำลายสถาบันอยู่แล้ว เราก็รู้กันอยู่ แม้กระทั่งฝ่ายค้านก็ชี้แจงในสภาว่า มีกระบวนการล้มเจ้า หรือทำลายสถาบัน ก็รู้อยู่ ถ้าเผื่อว่าเราทำอะไรเกินเลยไป มันก็เหมือนเป็นการซ้ำเติม สนับสนุน ผู้ที่ต้องการจะทำลายสถาบันอยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องบางเรื่องเราไม่ควรที่จะเอามาใช้ ผมเห็นด้วยว่า เรื่องพวกนี้ไปกระทบพระองค์ท่าน โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็น

แต่เรื่องสถาบันมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติเสมอ

เรา ต้องมองให้ดี การปฏิวัติ ทหารจะทำหรือไม่ทำก็ต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ ไม่ใช่ว่าการหมิ่นเหม่ต่อการทำลายสถาบัน หรืออะไรพวกนี้ ไม่ใช่เพิ่งเกิด ก็เกิดเป็นระยะต่อเนื่องมา ทหารลงมาก็ไม่สามารถเข้าไปทำกระบวนการแบบนี้ได้ และการปฏิวัติเองทหารก็ต้องคิดหนัก 

วันเวลา มันเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ฉะนั้นการที่จะทำอะไรสักอย่างก็ต้องคิดลึก คิดเยอะกว่าสมัยก่อน

การที่องค์การพิทักษ์สยามเสนอให้แช่แข็งประเทศและนักการเมือง แล้วตั้งคนดีขึ้นมาบริหารประเทศจะตอบโจทย์ประชาธิปไตยได้หรือไม่

ต้อง ยอมรับความจริงว่า เรื่องของการแช่แข็ง มันไม่มีที่ไหนในโลก นอกจากเขาปิดประเทศ ความจริงพม่าเขาปิดประเทศ แต่การขับเคลื่อนภายในเขาขับเคลื่อน ฉะนั้น สถานการณ์อย่างนี้ต้องยอมรับว่า มันหมิ่นเหม่ ต้องดูตะวันออกกลางรบกันอยู่หลายประเทศ วันนี้คนไทยมี 2 ฝั่ง แดงกับเหลือง แต่ความคิดของคนทั้งประเทศ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีก มันไม่ใช่นักการเมืองแบ่งเป็น 2 ซีก การที่จะมาปิดกั้นนักการเมือง ถามว่าจะปิดกั้นความคิดของประชาชนที่ไม่เหมือนกันได้หรือไม่ ต้องมองไปที่ประชาชนอย่าไปมองที่นักการเมือง ถึงแม้เราจะแช่แข็งนักการเมือง แต่เราแช่แข็งประชาธิปไตยไม่ได้

วันนี้ทราบข่าวถึงความเคลื่อนไหวของทหารที่คิดจะปฏิวัติหรือไม่

วันนี้ มีทหารแตงโมเต็มไปหมด อย่าไปคิด แค่คิดก็รู้แล้ว ตำรวจมะเขือเทศ ผู้ว่าฯชาเย็น (หัวเราะ) ทำอะไรไม่ง่าย เขารู้ เพียงแต่ว่าจะไปฝืนหรือเปล่า ดังนั้น วันนี้จะเกิดความรุนแรงก็คือสร้างให้เกิดความรุนแรงเพื่อที่จะให้เกิดวิกฤต ถ้ารัฐบาลฉลาดก็จะไม่สนใจ ทำไปแล้วประคองสถานการณ์ไป หาข้อมูล ถ่ายวิดีโอไว้ ดูกันไว้ ใครเป็นยังไง พวกนี้บางทีก็มาด้วยใจมาด้วยผลประโยชน์บ้าง ลูกน้องผมอยู่ใน กทม. แดงมาฉันก็ไป เหลืองมาฉันก็ไป ไปทั้ง 2 ข้าง รับเงินดีกว่าอยู่บ้าน บ้านเมืองเป็นอย่างนี้เพราะทหารปฏิวัติหรือเปล่า หรือเพราะนักการเมือง ทุกครั้งที่จะปฏิวัติการเมืองมันทำทุกครั้ง คอร์รัปชั่น อยู่ดีๆ ทหารจะออกมาปฏิวัติได้อย่างไร มูลเหตุปฏิวัติ ทหารจะทำเมื่อการเมืองไปจุดชนวน ถ้าทหารทำแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยทหารก็ไม่ทำ ปัญหาเรื่องปฏิวัติเพราะการเมืองเป็นมูลเหตุ

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคิดว่าสังคมก้าวพ้นชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯหรือยัง

ทุก คนไปมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนสำคัญ มันก็เลยทำให้ติดอยู่ตรงจุดนี้ ฉะนั้น ถ้าเผื่อทุกคนไม่มองไปที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเขาเป็นคนคนหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสังคมไทย แต่แน่นอนว่าอาจจะมีบทบาทกับทางพรรค ก็อย่าไปสนใจมัน สนใจว่าจะทำให้สภาเดินไปของมัน พรรคฝ่ายค้านมีหน้าที่ก็ทำหน้าที่ไป มันก็เดินได้ ไม่ต้องไปมอง เอาว่ามองระบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามครรลองของรัฐสภาที่มีอยู่ มันสามารถจะไปได้ไหม ณ วันนี้เราไปติดอยู่ที่เรามองแค่คนคนหนึ่ง มันเลยกลายเป็น พรรคบางพรรคอาจจะกลัวคนคนนี้ก็ได้

การเคลื่อนไหวของมวลชนนอกสภาเป็นการวางเกมของชนชั้นนำ

ผม ไม่เชื่อว่ามีชนชั้นนำที่ไหนมาต่อสู้ เป็นการต่อสู้ของคน ผมไม่อยากจะบอกว่าชนชั้นนำ เราไปเรียกมันเพื่อให้ไปเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการสู้กันระหว่างฝ่ายการเมือง รัฐบาล และฝ่ายค้าน เพราะเขามีคนของเขา เราอย่าไปเรียกว่าชนชั้นนำ เพราะชนชั้นนำไม่มีอะไรเลยตอนนี้ แต่เราไปเรียกอำมาตย์บ้าง

ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณโฟนอินมายังเวทีเสื้อแดงในทำนองอำมาตย์อยู่เบื้องหลังการโค่นล้มรัฐบาล

มัน เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมมากกว่า เป็นวาทกรรมในการหาเสียง ถามว่าอย่างผม สมัยก่อนก็เป็นลูกชาวไร่ ชาวนา แต่พอมาเป็นผู้ใหญ่ในกองทัพ ผมก็เป็นอำมาตย์ จะไปโทษเขาหรือจะโทษใคร ฉะนั้น คำว่าอำมาตย์มันเป็นวาทกรรมอันหนึ่งในการที่จะทำให้เกิดประโยชน์ทางการเมือง คนที่ไม่รู้ คนจนมากเรียนรู้น้อย ก็คิดว่าอำมาตย์คือบุคคลที่พยายามเข้ามาแอบแฝงทำให้เกิดเงื่อนไข มันก็เป็นเหยื่อของคนอีกกลุ่ม ก็จะมองอำมาตย์ไปอีกทางหนึ่ง ไปสอดคล้องกับกระบวนการล้มเจ้าบ้างอะไรบ้าง แต่เป็นวาทกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้สูงมาก ใครก็อยากใช้

การเดินไปตามครรลองประชาธิปไตยน่าจะถูกต้องกว่าการใช้เงื่อนไขนอกระบบมาจัดการใช่หรือไม่

ถ้า พูดถึงวันนี้ มันไม่เหมือนวันนั้นนะ วันนั้นมันไม่มีฝ่ายตรงข้ามของกองกำลัง ถูกไหม เห็นไหมเราทำ 19 กันยายน 2549 เสร็จ ทุกคนแฮปปี้ มีดอกไม้ แต่วันนี้มันไม่ใช่ ถ้าเผื่อมีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนองค์การพิทักษ์สยามเสร็จแล้ว วิกฤตของความรุนแรงที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ ต้องใช้ความรุนแรง เสร็จแล้วนำไปสู่การใช้กำลังของทหาร แต่ที่สำคัญคือ นักการเมืองขณะนี้เขามีคนในมือมหาศาล 500 คน 350 คน มาจาก ส.ส.เขต พวกนี้เขาอยู่กับประชาชนทั้งนั้น ถามว่านักการเมืองผู้นี้เขาเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงหรือไม่ เขาอาจจะไม่เห็นด้วย ซึ่งไม่เห็นด้วยถามว่า เขาคือผู้นำความคิดของคน จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นความรุนแรงจะตามมามันจะไม่จบ

ตกลงวงจรปฏิวัติยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีกหรือไม่

ผมบอกแล้วไง การเกิด เกิดได้ เกิดแล้วจะเป็นยังไง ผมยังมีความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีการปฏิวัติแล้วประเทศไทยจะเปลี่ยนครั้งใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น