แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จดหมายเปิดผนึกจาก โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม ถึง รมต.ต่างประเทศ เรื่องการรับเขตอำนาจศาลโลก

ที่มา uddred

 ทีมข่าว นปช.

28 พฤศจิกายน 2555





ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองเขตอำนาจ ศาลอาญาระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีสังหารประชาชนในปี 2553 โดยเร็ว โดยมีเนื้อความในจดหมายดังต่อไปนี้

.................


27 พฤศจิกายน 2555

เรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะแถลงคำประกาศยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในกรณีอาชญากรรมมนุษยชาติที่เกิดในปี 2553 หรือไม่ มีความพยายามที่จะยับยั้งมิให้รัฐบาลแถลงคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3 ของรัฐธรรมนูญไอซีซี โดยนักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่าคำประกาศคือ “สนธิสัญญา” ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์และรัฐสภาภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550

ข้อโต้แย้งของพวกเขาเป็นเรื่องไร้สาระ ซึ่งไม่รับการยอมรับจากอัยการไอซีซีฟาทู เบนซูดา เมื่อไม่นานมานี้อัยการได้เข้าพบกับรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ รัฐบาลถามว่าคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3 ของรัฐธรรมนูญไอซีซีเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ อัยการตอบชัดเจนว่าคำประกาศมาตรา 12.3 มิใช่สนธิสัญญา

คำตอบของอัยการถูกต้องชัดเจน ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หลักการสำคัญของสนธิสัญญาคือข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ในทางตรงข้าม คำประกาศมาตรา 12.3คือคำแถลงฝ่ายเดียวโดยรัฐบาล จึงไม่จำเป็นหรือต้องได้รับความเห็นพ้องจากไอซีซี แต่การแถลงคำประกาศคือการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐบาลทางความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศต่างหาก ภายใต้รัฐธรรมนูญไอซีซี คำประกาศมีผลทางกฎหมายเมื่อรัฐบาลยื่นคำร้องต่อไอซีซี และไม่จำเป็นต้องได้รับการตอบรับจากไอซีซี โดยเพียงแค่รัฐบาลลงนามเท่านั้น โดยมีเอกสารเพียงอย่างเดียวคือคำประกาศของรัฐบาล และไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อตอบกลับจากไอซีซี

ข้อโต้แย้งของอัยการเบนซูดายังได้รับการยืนยันจากกรณีก่อนหน้านี้ เมื่อประเทศไอโวรีโคสต์แถลงคำประกาศมาตรา 12.3 โดยยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่อกรณี 3 สถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่างวาระ โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญภายในประเทศว่าด้วยการยอม รับสนธิสัญญา การยื่นคำร้องเป็นการประกาศฝ่ายเดียวและลงนามโดยรัฐมนตรี คำประการศฝ่ายเดียวนี้ให้อำนาจพิจารณาคดีต่อไอซีซีในการพิจารณาสถานการณ์ เฉพาะในประเทศนั้น (ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การพิจารณาของไอซีซี)

สรุปคือ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำประกาศฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นสนธิสัญญา แต่นักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่า “สนธิสัญญา” มีคำนิยามที่ต่างออกไปภายใต้กฎหมายไทย นี่คือความดันทุรังอย่างเต็มที่ของพวกเขา สนธิสัญญาวางระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่สามารถที่จะมีคำนิยามอย่างหนึ่งในประเทศหนึ่ง และมีคำนิยามอีกอย่างในอีกประเทศอื่น ทั้งนี้เพราะทุกประเทศต้องพึ่งพาสนธิสัญญา จึงต้องมีคำนิยามเหมือนกันทุกที่ ดังนั้น “สนธิสัญญา” จึงถูกนิยามโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

และภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำนิยามของสนธิสัญญาคือข้อตกลงจากสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ไม่ใช่คำประกาศฝ่ายเดียวโดยคณะรัฐบาลหนึ่ง อย่างคำประกาศยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี 2553 ตามมาตรา 12.3


ด้วยความเคารพอย่างสูง


โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม
ทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ณ​ ศาลอาญาระหว่าประเทศ

.................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น