วุฒิสภา พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161
ต่อจากวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
โดยมีคณะรัฐมนตรีรับฟังการอภิปรายอย่างพร้อมเพียง ขณะที่นายกรัฐมนตรี
ยืนยันโครงการรับจำนำข้าว
เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรโดยตรงและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต
การประชุมวุฒิสภา เป็นพิเศษวันนี้ หลังการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นไปเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 จำนวน 2 ญัตติ คือ กรณีการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของนายไพบูลย์ นิติตะวัน และขอให้คณะรัฐมนตรี ชี้แจงปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ส่อว่าจะเกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ซึ่งการอภิปรายของ ส.ว.ส่วนใหญ่ ยังเน้นการอภิปรายปัญหาการทุจริต ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว และยังอ้างอิงถึงบุคคลที่ฝ่ายค้าน อภิปรายว่ามีส่วนได้ประโยชน์จากโครงการนี้ รวมทั้งแนวทางการบริหารประเทศที่ไม่สร้างบรรยากาศให้เกิดความปรองดอง
ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลมีความตั้งใจ ที่จะบริหารบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความปรองดอง มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ส่วนข้อห่วงใยของสมาชิกเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ยืนยันว่า เป็นการสร้างความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรโดยตรง และทำให้ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในขณะนี้ไทยส่งออกข้าวเชิงปริมาณ ได้เป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนาม และในอนาคตจะพยายามให้ไทยเป็นอันดับ 1 เรื่องปริมาณการส่งออก
ส่วนข้อห่วงใย เรื่องการทุจริต ได้มีมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตั้งแต่จุดรับซื้อข้าว และมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบและวางมาตรการป้องกันการทุจริตอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ พัฒนาระบบดูแลการค้าข้าว เพื่อให้ราคาข้าวสูงขึ้นด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ยินดีรับข้อห่วงใยของสมาชิกวุฒิสภาไปตรวจสอบและพัฒนาโครงการ
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ ส.ส. , ส.ว. ประชาชน ที่ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และย้ำว่ารัฐบาลจะมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาต่อไป และจะรับข้อห่วงใยต่างๆ ไว้พิจารณา และหากมีข้อมูลการทุจริต ก็พร้อมที่จะตรวจสอบ
ส่วนการชี้แจงของรัฐมนตรี ที่มองว่ายังไม่ชัดเจนนั้น นายกรัฐมนตรี ได้ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงไปทำรายละเอียด เพื่อชี้แจงผ่านสื่อมวลชนต่อไป
ส่วนความกังวลเรื่องผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคมนี้ ที่จะมีต่อภาคเอกชนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือแล้ว
ขณะที่ภาคอุตสหกรรม ก็เปิดเผยว่า หากมีการจ้างงานสูง ผลผลิตที่ได้ก็จะสูงขึ้นตาม พร้อมยืนยันว่าภาพรวมของนโยบายนี้ จะไม่ส่งผลให้มีปัญหาการเลิกจ้างงาน
การประชุมวุฒิสภา เป็นพิเศษวันนี้ หลังการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นไปเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 จำนวน 2 ญัตติ คือ กรณีการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของนายไพบูลย์ นิติตะวัน และขอให้คณะรัฐมนตรี ชี้แจงปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ส่อว่าจะเกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ซึ่งการอภิปรายของ ส.ว.ส่วนใหญ่ ยังเน้นการอภิปรายปัญหาการทุจริต ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว และยังอ้างอิงถึงบุคคลที่ฝ่ายค้าน อภิปรายว่ามีส่วนได้ประโยชน์จากโครงการนี้ รวมทั้งแนวทางการบริหารประเทศที่ไม่สร้างบรรยากาศให้เกิดความปรองดอง
ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลมีความตั้งใจ ที่จะบริหารบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความปรองดอง มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ส่วนข้อห่วงใยของสมาชิกเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ยืนยันว่า เป็นการสร้างความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรโดยตรง และทำให้ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในขณะนี้ไทยส่งออกข้าวเชิงปริมาณ ได้เป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนาม และในอนาคตจะพยายามให้ไทยเป็นอันดับ 1 เรื่องปริมาณการส่งออก
ส่วนข้อห่วงใย เรื่องการทุจริต ได้มีมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตั้งแต่จุดรับซื้อข้าว และมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบและวางมาตรการป้องกันการทุจริตอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ พัฒนาระบบดูแลการค้าข้าว เพื่อให้ราคาข้าวสูงขึ้นด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ยินดีรับข้อห่วงใยของสมาชิกวุฒิสภาไปตรวจสอบและพัฒนาโครงการ
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ ส.ส. , ส.ว. ประชาชน ที่ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และย้ำว่ารัฐบาลจะมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาต่อไป และจะรับข้อห่วงใยต่างๆ ไว้พิจารณา และหากมีข้อมูลการทุจริต ก็พร้อมที่จะตรวจสอบ
ส่วนการชี้แจงของรัฐมนตรี ที่มองว่ายังไม่ชัดเจนนั้น นายกรัฐมนตรี ได้ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงไปทำรายละเอียด เพื่อชี้แจงผ่านสื่อมวลชนต่อไป
ส่วนความกังวลเรื่องผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคมนี้ ที่จะมีต่อภาคเอกชนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือแล้ว
ขณะที่ภาคอุตสหกรรม ก็เปิดเผยว่า หากมีการจ้างงานสูง ผลผลิตที่ได้ก็จะสูงขึ้นตาม พร้อมยืนยันว่าภาพรวมของนโยบายนี้ จะไม่ส่งผลให้มีปัญหาการเลิกจ้างงาน
by
Banchar
28 พฤศจิกายน 2555 เวลา 21:30 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น