ทุกอย่างพร้อม เหลือแค่รัฐบาลชุดนี้กล้าตัดสินใจชี้ขาดในวันนี้เท่านั้น...คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่ง ก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซากศพ และความเสียสละอาจหาญ มีคนบาดเจ็บพิการสูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ และเมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าและผู้บงการเข้าไปอยู่ในคุกแทน?
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
เว็บไซต์ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม รายงานข่าวเรื่อง จดหมายเปิดผนึกเรื่องไอซีซีถึงรมว.ต่างประเทศจากนายอัมสเตอร์ดัมในนามคนเสื้อแดง ทั้งนี้เมื่อวัน ที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองเขตอำนาจ ศาลอาญาระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีสังหารประชาชนในปี 2553 โดยเร็ว โดยมีเนื้อความในจดหมายดังต่อไปนี้
ในขณะนี้
รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะแถลงคำประกาศยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
(ไอซีซี) ในกรณีอาชญากรรมมนุษยชาติที่เกิดในปี 2553 หรือไม่
มีความพยายามที่จะยับยั้งมิให้
รัฐบาลแถลงคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3 ของรัฐธรรมนูญไอซีซี
โดยนักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่าคำประกาศคือ “สนธิสัญญา”
ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์และรัฐสภาภายใต้มาตรา 190
ของรัฐธรรมนูญปี 2550
ข้อโต้แย้งของพวกเขาเป็นเรื่องไร้
สาระ ซึ่งไม่รับการยอมรับจากอัยการไอซีซีฟาทู
เบนซูดา เมื่อไม่นานมานี้อัยการได้เข้าพบกับรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ
รัฐบาลถามว่าคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3
ของรัฐธรรมนูญไอซีซีเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ อัยการตอบชัดเจนว่าคำประกาศมาตรา
12.3 มิใช่สนธิสัญญา
คำตอบของอัยการถูกต้องชัดเจน ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หลักการสำคัญของสนธิสัญญาคือข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย
ในทางตรงข้าม คำประกาศมาตรา
12.3คือคำแถลงฝ่ายเดียวโดยรัฐบาล
จึงไม่จำเป็นหรือต้องได้รับความเห็นพ้องจากไอซีซี
แต่การแถลงคำประกาศคือการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐบาลทางความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศต่างหาก ภายใต้รัฐธรรมนูญไอซีซี คำประกาศมีผลทางกฎหมายเมื่อรัฐบาล
ยื่นคำร้องต่อไอซีซี และไม่จำเป็นต้องได้รับการตอบรับจากไอซีซี
โดยเพียงแค่รัฐบาลลงนามเท่านั้น
โดยมีเอกสารเพียงอย่างเดียวคือคำประกาศของรัฐบาล
และไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อตอบกลับจากไอซีซี
ข้อโต้แย้งของอัยการเบนซูดายังได้
รับการยืนยันจากกรณีก่อนหน้านี้ เมื่อประเทศไอโวรีโคสต์แถลงคำประกาศมาตรา
12.3 โดยยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่อกรณี 3
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่างวาระ
โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญภายในประเทศว่าด้วยการยอม
รับสนธิสัญญา การยื่นคำร้องเป็นการประกาศฝ่ายเดียวและลงนามโดยรัฐมนตรี
คำประการศฝ่ายเดียวนี้ให้อำนาจพิจารณาคดีต่อไอซีซีในการพิจารณาสถานการณ์
เฉพาะในประเทศนั้น (ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การพิจารณาของไอซีซี)
สรุปคือ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำประกาศฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นสนธิสัญญา แต่นักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่า “สนธิสัญญา” มีคำนิยามที่ต่างออกไปภายใต้กฎหมายไทย นี่คือความดันทุรังอย่างเต็มที่ของพวกเขา สนธิ
สัญญาวางระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไม่สามารถที่จะมีคำนิยามอย่างหนึ่งในประเทศหนึ่ง
และมีคำนิยามอีกอย่างในอีกประเทศอื่น
ทั้งนี้เพราะทุกประเทศต้องพึ่งพาสนธิสัญญา จึงต้องมีคำนิยามเหมือนกันทุกที่
ดังนั้น “สนธิสัญญา” จึงถูกนิยามโดยกฎหมายระหว่างประเทศ
และภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำ
นิยามของสนธิสัญญาคือข้อตกลงจากสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย
ไม่ใช่คำประกาศฝ่ายเดียวโดยคณะรัฐบาลหนึ่ง
อย่างคำประกาศยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี
2553 ตามมาตรา 12.3
"สุรพงษ์"ยันลงนามไอซีซีไม่ใช่สนธิสัญญา
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:49 น.
เดลินิวส์รายงาน
ว่า ที่รัฐสภา วานนี้( 28 พ.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีข่าวว่าทาง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.
แสดงความเป็นห่วงเรื่องที่รัฐบาลลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
(ไอซีซี) ว่า กระทรวงการต่างประเทศจะประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในวันที่ 29 พ.ย. ว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร ทั้งนี้
ผบ.ทบ.ก็อาจจะเป็นห่วง แต่ยืนยันว่าเราจะพิจารณาอย่างรอบคอบ
เมื่อหารือในที่ประชุมเรียบร้อยแล้วก็จะต้องชี้แจงว่าการพิจารณาดังกล่าวไม่
ใช่สนธิสัญญาที่มีข้อผูกพันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190
หากเห็นตรงกันว่าจะลงนามก็จะต้องมีการร่างเอกสารขึ้นมา
โดยจะมีเนื้อรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ตามที่เราเป็นผู้กำหนด เช่น
จะให้ไอซีซีเข้ามาตรวจสอบในพื้นที่ใดได้บ้าง และมีกำหนดระยะเวลานานเท่าไหร่
ยกตัวอย่างอาจจะให้ตรวจสอบเฉพาะแค่เหตุการณ์ช่วงสลายการชุมนุมเพียงเท่านั้น
ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเราจะกำหนด
อย่างไรก็ตามถ้าลงนามแล้วทางไอซีซีก็สามารถที่จะเข้ามาดำเนินการได้
ศาลชี้ชัดทหารสังหารผู้ชุมนุมภายใต้คำสั่งศอฉ.
เมื่อวัน
ที่ 26 พ.ย.ที่ศาลอาญา รัชดา เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 707
ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดฟังคำสั่งคดีไต่สวน กรณีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์
พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์
ถนนราชปรารภ เมื่อบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53
ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จากการกระชับวงล้อมของเจ้าหน้าที่ทหาร
โดย
ศาลได้ระบุว่าการเสียชีวิตเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารขณะ
ควบคุมสถานการณ์การชุมนุม ตามคําสั่งของ ศอฉ. ที่บริเวณถนนราชปรารภ
ด้วยกระสุนปืนเล็กกลขนาด. 223
แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารคนใดหรือสังกัดใดที่ทำให้นายชาญณรงค์เสีย
ชีวิต
เปิดคำฟ้องต่อICCชี้ชัดมาร์ฺครับผิดชอบสังหารหมู่
นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้เปิดเผยคำฟ้องต่อICCระบุถึงความผิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างชัดแจ้ง ดังเอกสารนี้
เรียน อัยการ ศาลอาญาระหว่างประเทศ..อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบในการก่อ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ผู้เสียชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือนมือเปล่า เกิดจากนโยบายที่อนุมัติโดยนายกรัฐมนตรีโดยตรง การคุมขังและริดรอนเสรีภาพอย่างร้ายแรงโดยการรับรู้แลัการอนุมัติผ่านทางศอ ฉ. ซึ่งโฆษกของศอฉ.ให้การว่าทุกสิ่งที่ศอฉ.ทำเป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาล*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น