แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

20เรื่องสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยปฏิเสธ รวมทั้งแก้112-กฎหมายความมั่นคง ไม่ให้สัตยาบรรณICC

ที่มา Voice TV





โดย สมัชชาสังคมก้าวหน้า
                สมัชชาสังคมก้าวหน้า ในฐานะผู้ร่วมเสนอประเด็น เสรีภาพในการแสดงออกผ่านรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประเทศไทยของ มูลนิธิศักยภาพชุมชน รัฐบาลไทยได้ตอบรับและปฏิเสธข้อเสนอแนะของประเทศสมาชิก ซึ่งมีประเด็นที่สาธารณะควรรับรู้ต่อท่าทีของรัฐบาลไทยในด้านสิทธิมนุษยชน

                เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 เป็นรอบการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ต่อมนตรีสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ ในการรายงานนี้ ประกอบด้วยรายงานของรัฐบาลไทย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาคประชาสังคม และความเห็นของประเทศสมาชิกของมนตรีคณะนี้

                ประเด็นที่มีการวิจารณ์กันคือ สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ที่สำคัญคือ มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา หรือข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 กระบวนการปรองดอง และโทษประหาร

                ในด้านความเห็นของประเทศสมาชิก ได้เสนอความเห็นกับประเทศ 172 ความเห็น รัฐบาลไทยตอบรับ 134 ความเห็น ปฏิเสธ 38 ความเห็น

                กระทรวงการต่างประเทศได้อธิบายการตอบรับในเอกสารชื่อ ข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ได้จัดแบ่งหัวข้อเป็น

ž         การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ž         การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
ž         การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและแผนสิทธิมนุษยชน
ž         การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม
ž         การเชิญกลไกพิเศษของมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเยือนประเทศไทย
ž         การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
ž         การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ž         การส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มต่างๆ ในสังคม
ž         การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง
ž         ปัญหาการค้ามนุษย์
ž         สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ž         การอำนวยความยุติธรรม
ž         กระบวนการยุติธรรม
ž         กระบวนการปรองดอง
ž         การติดตามผลของกระบวนการ Universal Periodic Report
รัฐบาลได้ปฏิเสธเรื่องโทษประหารทุกความเห็น และตอบรับกระบวนการปรองดองทุกความเห็น ความเห็น

เหล่านี้เป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุน คอป. แต่รายงานของ คอป. ที่ปรากฏออกมากลับไม่แสดงให้เห็นว่าจะนำไปสู่การปรองดองอย่างมีหลักประกันว่า จะไม่มีการใช้ความรุนแรงเหมือนเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 อีกต่อไป

ในหัวข้อ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก รัฐบาลตอบรับเป็นเพียงการอนุญาตให้ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติมาเยือนประเทศ ประกันการดำเนินคดีตามกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แต่ได้ปฏิเสธความเห็น การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับ

รัฐบาลได้ปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายด้านความมั่นคงในทุกความเห็นของประเทศสมาชิก
ถึงแม้ว่า รัฐบาลไทยจะอนุญาตให้ผู้ตรวจพิเศษสหประชาชาติเยือนประเทศได้ แต่ 3 คนแรกคือ ผู้ตรวจพิเศษสหประชาชาติด้านน้ำ ผู้ตรวจพิเศษสหประชาชาติด้านเด็กและสตรี และผู้ตรวจพิเศษสหประชาชาติด้านการซ้อมทรมาน ส่วนผู้ตรวจพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิเสรีภาพและการแสดงออก ยังไม่มีกำหนดการเยือน

เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดในการรับข้อเสนอแนะบนเว็บไซต์ของกระทรวง พวกเราจึงนำรายละเอียดความเห็นของประเทศสมาชิกที่รัฐบาลไทยตอบรับและปฏิเสธของหัวข้อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
การตอบรับในหัวข้อ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก

(1)     พิจารณาคำขอเยือนของถืออาณัติอื่นๆ ด้วยดี รวมถึงผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (นอร์เวย์)
(2)     เชิญผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเยือนประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์)
(3)     เชิญผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเยือนประเทศ ซึ่งอาจจะสามารถส่งเสริมข้อบทของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการบังคับใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ฮังการี)
(4)     ประกันให้กฎหมายของไทยสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในส่วนเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก (นิวซีแลนด์)
(5)     ประกันให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นไปอย่างเปิดเผยและโปร่งใส
(6)     เพิ่มความพยายามในการประกันให้ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้รับคำปรึกษาด้านที่เพียงพอ (นอร์เวย์)
การปฏิเสธในหัวข้อ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก

(1)     พิจารณาการภาคยานุวัติพิธีสารเลือกรับ 2 ฉบับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ฮังการี)
(2)     ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับ 2 ฉบับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (สวิตเซอร์แลนด์)
(3)     ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (ออสเตรเลีย)
(4)     ยกเลิกมาตรา 17 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (สวิตเซอร์แลนด์)
(5)     ยกเลิกข้อบทในพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และมาตรา 17 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งยกเว้นการดำเนินคดีแพ่งและอาญาต่อเจ้าหน้าที่รัฐ (แคนาดา)
(6)     พิจารณาทบทวนกฎหมายความมั่นคงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (บราซิล)
(7)     ยกเลิกข้อบทของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อยุติการจับกุมคุมขังที่ยาวนานเกินกว่าเหตุและไม่ชอบธรรมโดยปราศจากการ ตั้งข้อหาที่น่าเชื่อถือและไม่มีการนำตัวผู้ถูกจับกุมขึ้นสู่ศาลตามมาตรฐาน การพิจารณาคดีที่เป็นธรรมระหว่างประเทศ (สโลวาเกีย)
(8)     ทบทวนกฎหมายความมั่นคงเพื่อประกันให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเด็ก (ที่ถูกกล่าวหา) ที่เป็นผู้กระทำผิด (สโลวีเนีย)
(9)     พิจารณายกเลิกโทษอาญาเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก โดยใช้กฎหมายแพ่งที่เหมาะสมแทน เพื่อสอดคล้องกับ มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (บราซิล)
(10) ทำ งานร่วมกับผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้าน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเพื่อทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อประกันไม่ให้กฎหมายเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด (สหราชอาณาจักร)
(11) พิจารณาทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในบริบทการหารือสาธารณะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนและโปร่งใส เพื่อทำให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับข้อบทของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ฝรั่งเศส)
(12) พิจารณาทบทวนการตัดสินทางอาญาที่เกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่เป็นธรรมและเท่าเทียมตามที่ระบุในกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ฝรั่งเศส)
(13) ดำเนินการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดเพื่อป้องกันสิทธิขั้นพื้นฐานด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (นอร์เวย์)
(14) พิจารณาการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อขยายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก โดยให้รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย (สโลวีเนีย)
(15) แก้ไขประเด็นการละเมิดที่เป็นไปได้ของสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก โดยการประเมินกฎหมายในปัจจุบันและผลของกฎหมายดังกล่าวในรูปแบบของคดีความจำนวนมาก (สวีเดน)
(16) ยกเลิกข้อจำกัดสื่อทุกประเภทที่ขัดต่อสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออกตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และกำหนดปฏิทินการทบทวนกฎหมายต่างๆ เช่น พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งผูกโยงความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับแนวคิดเรื่องความมั่นคงของประเทศ (สเปน)
(17) ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อทบทวนและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม เพื่อประกันการบรรลุถึงสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และสิทธิในการชุมนุมโดยสันติ ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี (อินโดนีเซีย)
(18) ทบทวนการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม (เช่น มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) (สวิตเซอร์แลนด์)
(19) ดำเนินการทบทวนกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งจำกัดหรือปฏิเสธเสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่มและการชุมนุมอย่างสันติ ซึ่งไม่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึง พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ และข้อบทเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (แคนาดา)
(20) ปฏิรูปกฎหมายเพื่อประกันการคุ้มครองและส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติ และการรวมกลุ่มของประชาชนทุกคนในประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น