แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เลือกตั้งสหรัฐ 2012: สื่อสหรัฐระบุเครื่องลงคะแนนอิเล็คทรอนิคอาจมีปัญหา

ที่มา ประชาไท


ทีมงานพรรครีพับลิกันตรวจสอบเครื่องเลือกตั้งอิเล็กโทรนิคขัดข้องที่ รัฐโคโรลาโด ด้าน จนท. แจงว่าเทคโนโลยีทัชสกรีนอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่าวางนิ้วลงบนที่หนึ่งแต่ จริงๆ แล้วไปแตะโดนอีกที่หนึ่งได้ ส่วน CNN เผยคำฮิตในเฟซบุคสหรัฐ ได้แก่คำว่าไปเลือกตั้ง - โอบาม่า - การเลือกตั้ง/วันเลือกตั้ง - รอมนีย์ ไปจนถึงอันดับที่ 10 คือชื่อรัฐโอไฮโอ
วานนี้ (6 พ.ย.) ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา จะออกไปเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะไปเลือกประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกทีหนึ่ง โดยเป็นการชิงชัยกันระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคเดโมแครต บารัก โอบามา และผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน มิตต์ รอมนีย์นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 12 และ 3)
ล่าสุด เมื่อเวลา 12.20 น. ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา CNN รายงานว่ามีการหาเสียงเน้นย้ำให้จับตามองบัตรลงคะแนนชั่วคราว (provisional ballots) ในรัฐโอไฮโอ เนื่องจากหากผลการนับคะแนนของทั้งสองฝ่ายใกล้เคียงกัน จะมีการนับคะแนนใหม่อีกครั้งในโอไฮโอ หรือไม่ก็ต้องถูกตัดสินในชั้นศาล
ลินน์ เชอร์ นักวิเคราะห์การเมืองและนักเขียนอิสระ ผู้เคยทำงานข่าวให้กับ ABCNews มาก่อน เขียนถึงสิ่งที่ควรคาดหวังจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ครั้งนี้
1. สถิติของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง การที่ชนกลุ่มน้อยและสตรีเลือกเดโมแครต กับการที่คนผิวขาวโดยเฉพาะผู้ชายเลือกข้างริพับริกัน สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีการแบ่งฝ่ายในการเลือกตั้งมาหลายครั้งแล้ว และผู้สมัครฯ ก็ใช้จุดนี้เป็นฐานเสียงสู่ชัยชนะ
2. การลงคะแนนของคนหนุ่มสาว คือผู้ทีมีอายุ 18-29 ปี ในปี 2008 มีมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ไปใช้สิทธิ และเลือกโอบาม่ามากถึงร้อยละ 18 น่าสนใจว่าในตอนนี้โอบาม่ายังเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่อยู่หรือไม่
3. กลุ่มคนไม่เลือกฝ่ายใด ซึ่งคิดว่าเป็นกลุ่มที่มามากขึ้น จากการสำรวจโพลล์ในตอนนี้ดูเหมือนพวกเขาจะสนใจรอมนีย์มากขึ้น โดยเฉพาะในย่านชานเมืองใหญ่ๆ
12.20 น. เทเลกราฟรายงาน ว่า ในนิวยอร์กซิตี้ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งดูราบรื่นดี แม้จะเพิ่งผ่านพ้นภัยจากพายุแซนดี้ทำให้เกิดปัญหากับระบบไฟและการคมนาคม
แต่สถานการณ์นอกเมืองไม่ค่อยดีนัก บาร์บาร่า อาร์นไวน์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการนักกฏหมายเพื่อสิทธิพลเมืองภายใต้กฏหมาย ได้ไปที่รัฐนิวเจอร์ซีและรายงานว่ามีการให้ผู้มาใช้สิทธิแสดงรูปภาพในบัตร ประจำตัว ทั้งที่ในกฏหมายไม่ได้ระบุว่าจำเป็นต้องแสดง นอกจากนี้ยังมีปัญหาสถานีเลือกตั้งเปิดช้า และบัตรเลือกตั้งไม่เพียงพอ

ปัญหาติดขัดในการเลือกตั้ง
(24) สำนักข่าว NBC ยืนยันวีดิโอแสดงความผิดพลาดของเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิคเป็นวีดิโอจริง ไม่ผ่านการดัดแปลง ภาพในวีดิโอแสดงให้เห็นว่าผู้ลงคะแนนด้วยเครื่องพยายามกดชื่อผู้สมัครโอบา ม่า แต่ชื่อของรอมนีย์ขึ้นไฟแทน แม้ว่าจะพยายามกดเลือกโอบาม่าใหม่อย่างระมัดระวังแล้ว ไฟก็ยังขึ้นที่รอมนีย์ และแม้ว่าจะพยายามกดเลือกจิลล์ สไตน์ เพราะคิดว่าไฟจะขึ้นที่โอบาม่า แต่ไฟก็ขึ้นที่ผู้สมัครจิลล์ สไตน์ เป็นปกติ (จากข้อมูลใต้วีดิโอ)
มาร์ค ฮิวจ์ ผู้สื่อข่าวเทเลกราฟ สัมภาษณ์พอล คราเปอร์ อายุ 67 ปี ผู้ที่เคยเลือกตั้งมาแล้วตั้งแต่ปี 1968 กับ พอลบอกว่าคราวที่แล้วเขาโหวตให้โอบาม่า และคราวนี้เขาก็จะโหวตให้โอบาม่าอีก ปัญหาของประเทศอเมริกาไม่ใช่เรื่องสีผิวขาวหรือสีผิวดำอีกแล้ว มันเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนในรัฐเวอร์จิเนียกล่าวกับกับไอส์ อะลีเบโยกลู นักข่าวอัลจาซีร่าถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานีเลือกตั้ง "มันแย่มาก ต้องรอนานถึงสองชั่วโมง และมีเครื่องลงคะแนนเพียง 3 เครื่อง ปกติแล้วในเวอร์จิเนียมักจะทำได้ค่อนข้างดีในเรื่องการเลือกตั้ง"

โอกาสสุดท้ายของมิตต์ รอมนีย์
ราว 13.40 น. มิตต์ รอมนีย์ หยุดพักที่ริชมอนต์ ไฮจท์ สำนักงานหาเสียงใน รัฐโอไฮโอ ก่อนที่จะไปทานอาหารในร้านอาหารฟาสท์ฟู้ด เขาได้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนของเขา
"ขอบคุณพวกคุณมากสำหรับวันนี้ที่ช่วยให้คนออกจากบ้านไปเลือกตั้ง มันเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่ามันเป็นวันแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ พวกเรากำลังเปลี่ยนแปลงอเมริกา พวกเรากำลังเปลี่ยนแปลงอเมริกาเพื่อช่วยเหลือประชาชนในแบบที่พวกเขาคิดไม่ ถึง ทั้งการให้เขาได้ทำงานดีๆ และได้รับค่าตอบแทนกลับบ้านที่ดีกว่า ประเทศเราไปผิดทิศทางเมื่อไม่กี่ปีมานี้ พวกเรากำลังผลักดันให้ประเทสกลับมาเข้าสู่ลู่ทางที่จะทำให้ประชาชน ชาวอเมริกันมีอนาคตที่สดใส"
อัลจาซีร่ารายงานอีกว่า รัฐโคโลราโดซึ่งก่อนหน้านี้เป็นรัฐที่สนับสนุนพรรคริพับริกันอย่างเหนียว แน่นจากประชากรที่เป็นคนผิวขาวและอนุรักษ์นิยม ในตอนนี้กลายเป็นรัฐเสียงแกว่งเป็นครั้งแรก จากการที่มีความหลากหลายทางแนวคิดจริยธรรมมากขึ้น และมีคนหนุ่มสาวที่มีแนวคิดเอียงทางเสรีนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มาร์ยานน์ ซักเกอร์ ครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งบอกว่าปัญหาสังคมยังเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเธอ
"ฉันคิดว่าการทำแทงค์เป็นทางเลือกที่แย่มาก และตัวฉันเองเคยทำแทงค์มาก่อนในตอนหนุ่มสาว แล้วก็ได้ศึกษาในเรื่องนี้มามากจนกระทั่งพบว่ามันเป็นเรื่องที่แย่มากที่จะ ทำ" ซักเกอร์กล่าว
15.20 น. รอมนีย์เดินทางมาถึงพิตต์เบอร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย โดยมีผู้สนับสนุนมารอรับอยู่ที่บนดาดฟ้าคึกของอาคารใกล้เคียง เพนซิลวาเนียเป็นรัฐที่มีข้อจำกัดในการลงคะแนนล่วงหน้ามาก ดังนั้นร้อยละ 90 ของคนในรัฐนี้จะมาใช้สิทธิในวันจริง ซึ่งมากกว่ารัฐอย่างเวอร์จิเนีย ทีมของโอบาม่าให้ความเห็นว่าการไปเยือนพิตต์เบอร์กของรอมนีย์เป็นความพยายาม วินาทีสุดท้ายเพราะเขารู้ว่าจะต้องพ่ายในสนามเลือกตั้งรัฐโอไฮโอแน่นอน ขณะที่ทีมของรอมนีย์บอกว่ามันเป็นโอกาสที่พวกเขาจะคว้าคะแนนเสียงรัฐเพนซิ ลวาเนียไว้
15.30 น. พรรคริพับริกันในรัฐโคโลราโด เริ่มตรวจสอบกรณีเครื่องเลือกตั้งอิเล็กโทรนิคขัดข้อง จากการที่เปลี่ยนผลโหวตจากมิตต์ รอมนีย์ เป็นโอบาม่า กิลเบิร์ท ออร์ทิส เสมียนและพนักงานทะเบียนเปิดเผยว่า เทคโนโลยีทัชสกรีนอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่าคุณวางนิ้วลงบนที่หนึ่งแต่ จริงๆ แล้วไปแตะโดนอีกที่หนึ่งได้

ความเห็นของชาวละติน ผู้เลือกโอบาม่า
มีความเห็นของชาวละตินชื่อ แดนนี่ โซลิส จากรัฐชิคาโก บอกว่าเขามาร่วมเป็นพลังให้โอบาม่า เขาบอกว่าเคยทำงานเป็นผู้ช่วยจัดตั้งชุมชนร่วมกับโอบาม่าในช่วงปี 1980s มาก่อน เขาบอกว่าประเด็นเรื่องงาน, การศึกษา และความปลอดภัยในชุมชนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้มาใช้สิทธิชาวละติน และเรื่องผู้อพยพก็ยังเป็นประเด็นที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับชุมชน โซลิสย้ำว่าการเลือกตั้งจะช่วยให้มิตต์ รอมนีย์ และพรรคริพับริกันรู้ว่า การปฏิรูปผู้อพยพควรเป็นประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคัญ

เกร็ดชาวยิวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ
บิล ชไนเดอร์ ศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัยจอร์จ เบนสัน ผู้เป็นสมาชิกของ Third Way องค์กรมันสมองของสหรัฐฯ ให้ความเห็นเกี่ยวกับชาวยิวกับการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เขาบอกว่ามีชาวยิวที่มีสิทธิเลือกตั้งเพียงร้อยละ 2 ของประชากรสหรัฐฯ ครึ่งหนึ่งอยู่ในนิวยอร์ก, นิวเจอร์ซี และ แคลิฟอเนีย ซึ่งไม่ใช่สนามชิงชัยสำคัญ
บิลกล่าวว่า แม้ชาวยิวจะมีจำนวนน้อย แต่ชาวยิวก็อยู่ในตำแหน่งสำคัญที่มีอิทธิพลทางการเงินต่อพรรคการเมืองทั้ง สองพรรค ชาวยิวมักจะเลือกพรรคเดโมแครตอยู่เสมอ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นเพราะชาวยิวเลือกตั้งโดยคำนึงเรื่องคุณค่ามากกว่าเรื่องผลประโยชน์ เพราะจริงๆ แล้วพรรคริพับริกันให้ประโยชน์เขามากกว่า จากการที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลให้สัญญาณสนับสนุนมิตต์ รอมนีย์ และพรรคเดโมแครตก็สัญญาว่าจะเพิ่มภาษีกับคนที่มีรายได้สูง ซึ่งชาวยิวโดยเฉลี่ยเป็นผู้มีรายได้สูง แต่เนื่องจากยิวให้คุณค่ากับแนวคิดแบบเสรีนิยม จึงทำให้มีโอกาสเลือกเดโมแครตมากกว่า
บิลประเมินว่าโอบาม่าจะไม่ได้รับคะแนนจากชาวยิวมากเท่าปี 2008 ที่ได้รับร้อยละ 78 แต่เขาน่าจะได้รับคะแนนจากชาวยิวร้อยละ 60
บิลวิเคราะห์ว่า ขณะเดียวกันกลุ่มชาวยิวรายได้ต่ำกว่าที่เคร่งศาสนามีโอกาสปักหลักกับการ โหวตรีพับริกันมากกว่า เนื่องจากพรรคริพับริกันเคยมีประธานาธิบดีชื่อ ดไวท์ ไอเซนฮาวเออร์ อดีตนายพลสหรัฐฯ ผู้ช่วยโค่นล้มนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
CNN เปิดเผยคำที่มีการพูดถึงมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้เฟสบุ๊คชาวสหรัฐฯ ช่วงวันเลือกตั้ง เริ่มวัดผลช่วงเวลาราว 13.00 น.  อันดับ 1 ได้แก่คำว่าไปเลือกตั้ง (VOTE/VOTED/GO VOTED) อันดับ 2 คือโอบาม่า (OBAMA) ตามมาด้วย 3. การเลือกตั้ง/วันเลือกตั้ง (ELECTION/ELECTION DAY)  อันดับที่ 4 คือรอมนีย์ (ROMNEY) ...ไปจนถึงอันดับที่ 10 คือชื่อรัฐโอไฮโอ (OHIO)

Exit Poll จาก CNN
ผลเอ็กซิทโพลลืล่าสุดจาก CNN เปิดเผยว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 60 บอกว่าเศรษฐกิจเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด ร้อยละ 59 คิดว่าการทำแท็งค์ควรเป็นเรื่องถูกกฏหมาย ร้อยละ 50 คิดว่าอยากให้ยกเลิกการปฏิรูประบบสุขภาพ ขณะที่ร้อยละ 43 เห็นว่าควรคงการปฏิรูประบบสุขภาพหรือมีการขยายผล
เชื้อชาติของผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 73 เป็นคนผิวขาว ร้อยละ 13 เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ร้อยละ 10 เป็นชาวละติน ร้อยละ 3 เป็นชาวเอเชีย ผลโพลล์ก่อนการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่ารอมนีย์น่าจะได้คะแนนเสียงจากกลุ่ม ประชากรที่เป็นชายผิวขาว ขณะที่โอบาม่าน่าจะได้จากกลุ่มผู้หญิงผิวขาว ขณะเดียวกันโอบาม่าก็ได้การสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากคนชายขอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น