แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โอบามาร่วมแถลงทวิภาคี มุ่งขยายความร่วมมือด้านศก.-การค้าเสรี

ที่มา ประชาไท


ในการแถลงหลังการหารือทวิภาคีไทย-สหรัฐ ปธน. โอบามา กล่าวถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐในการขยายความร่วมมือด้านการค้าเสรีและการลง ทุนในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงด้านความมั่นคง-การพัฒนา พร้อมกล่าวชื่นชมผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบปชต.
18 พ.ย. 55 - เวลา 19.10 ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการแถลงข่าวร่วมหลังการหารือทวิภาคีระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวาระที่ปธน. สหรัฐได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะเดินทางไปเยือนประเทศพม่าและกัมพูชาต่อในวันที่ 19- 20 พ.ย. นี้ โดยการแถลงข่าวดังกล่าว ผู้นำทั้งสองประเทศได้กล่าวถึงความร่วมมือที่จะขยายต่อไปในอนาคต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค หรือ ทีพีพี รวมถึงด้านความมั่นคงในภูมิภาค เช่น ความมั่นคงทางทะเล การค้ามนุษย์ และการก่อการร้าย
 
ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา กล่าวว่า เนื่องจากสหรัฐมีนโยบายที่หันเข้าหาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่จึงมีความสำคัญมาก โดยในปีนี้นับเป็นปีที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 180 ปีและความร่วมมือด้านการทหารเกือบ 60 ปี โดยเฉพาะการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะสร้างโอกาสและงานให้กับ ชาวอเมริกันและประชาชนในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่ง ในโลก 
 
"เมื่อเร็วๆ นี้ ประชาชนไทยได้ร่วมแรงเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย และเราชื่นชมกับความพยายามต่างๆ ที่ได้บรรลุขึ้น ก่อนหน้าในวันนี้ ผมได้เข้าพบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้นำแห่งปัญญาและศักดิ์ศรีซึ่งเป็นศูนย์รวมของเอกลักษณ์และเอกภาพของชาติ และวันนี้ ผมยินดีที่ได้มายืนเคียงข้างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการยึดถือในประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล นิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้ง" ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าว
 
ในด้านความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โอบามากล่าวถึงการร่วมฝึกทหารระหว่างทหารไทยและสหรัฐ ซึ่งจะทำให้กองทัพของไทยมีความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบต่อกิจการต่างๆ ในภูมิภาคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย การให้ความช่วยเหลือทางภัยพิบัติ การป้องกันอาวุธทำลายล้างขนาดใหญ่ (Weapon of Mass Destruction) และกล่าวชื่นชมที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมในความริเริ่มด้านความมั่นคงเกี่ยว กับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Proliferation Security Initiative) ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาพนี้ได้
 
ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ เขากล่าวถึงการขยายช่องทางและโอกาสในการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะช่องทางของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก (APEC) และความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค หรือ ทีพีพี (TPP) ซึ่งมุ่งผลักดันการค้าเสรี ลดการกีดกันทางการค้า
 
ในด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา และในวาระการครบรอบ 50 ปีของพีซคอร์ปในประเทศไทย ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวว่า จะมุ่งพัฒนาในประเด็นสุขภาพสาธารณะและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริเวณแถมลุ่ม แม่น้ำโขง เช่น การพัฒนาวีคซีนต้านเอชไอวี/เอดส์ การลักลอบค้ามนุษย์ และการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทยและชายแดนใกล้เคียง เขากล่าวต่อว่า ประเทศไทย ในฐานะการกลายเป็นประเทศผู้บริจาค จะสามารถทำงานร่วมกับสหรัฐอย่างใกล้ชิดในการแก้ปัญหาโรคมาลาเรียในบริเวณชาย แดนไทย-พม่า รวมถึงการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปในพม่า การให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เห็นต่างกับรัฐบาลพม่า และผู้ลี้ภัยด้วย 
 
และประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน โอบามากล่าวว่า หวังว่าประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศ กัมพูชา เพื่อพูดคุยถึงเรื่องประเด็นสำคัญๆ เช่นเรื่องความมั่นคงทางทะเล และขอขอบคุณประเทศไทยสำหรับการสนับสนุนสหรัฐในการะประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย ตะวันออกที่จะถึงนี้ด้วย 
 
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ยังคง มีนักโทษการเมือง และการปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่าพึงพอใจหรือไม่กับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ตอบว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องยึดลักษณ์ความเสถียรภาพของประชาธิปไตย และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงหลักนิติรัฐและสันติวิธี ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา 
 
"สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แต่เรา, ในฐานะพลเมือง, จำป็นต้องทำให้แน่ใจว่ามันครอบคลุมถึงทุกๆ คน และให้แน่ใจว่าเสรีภาพที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนาถูกยึดถือและนำไปปฏิบัติ ฉะนั้น งานของประชาธิปไตยไม่เคยจบสิ้น สำหรับประเทศไทย สิ่งที่คุณเห็นก็คือผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย เชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อและการชุมนุม" โอบามากล่าว
 
"แต่ก็ชัดว่า, ซึ่งก็จริงทั้งในไทยและในสหรัฐ, พลเมืองทุกคนต้องกระตือรือร้นและมันมักจะมีสิ่งที่ปรับปรุงได้เสมอๆ และกระผมขอแสดงความยินดีกับท่านนายกรัฐมนตรีต่อความตั้งใจของเธอที่มีต่อ ประชาธิปไตย และการปฏิรูปหลายๆ อย่างที่เธอจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งยิ่งขึ้น" 
 
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องความร่วมมือกับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค โอบามากล่าวว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับหนึ่งเนื่องจาก เป็นการสร้างโอกาสและสร้างงานให้กับชาวสหรัฐและประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมช่องทางในการลงทุนเพื่อเป็นโอกาสให้นักธุรกิจสามารถใช้ ประโยชน์จากโอกาสที่จะเกิดขึ้น
 
เขายังกล่าวถึงความร่วมมือด้านความมั่นคง อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคนี้ ที่ซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเขาหวังว่าความร่วมมือระหว่างสองประเทศจะทำให้การให้ความช่วยเหลือเป็นไป อย่างทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางด้านการพัฒนา จะมุ่งเน้นด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และทำงานร่วมกันในฐานะประเทศที่ให้บริจาค เพื่อพัฒนาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงให้ดีและมั่นคงยิ่งขึ้น 
 
 
 
 
ที่มาภาพทั้งหมด จาก เฟซบุ๊กทางการของนายกรัฐมนตรี Yingluck Shinawatra 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น