แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาธิปไตยดีตรงไหน???

ที่มา ประชาไท


"ผมไม่เคยเห็นว่าระบบประชาธิปไตยจะดีตรงไหนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เช่น ถ้าคุณเป็นคนดีของจังหวัด แต่ไม่มีเงินลงสมัคร ส.ส. ก็ไม่ได้รับเลือก แล้วมันจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ลองอธิบายหน่อย พอรูปแบบมันเป็นอย่างนี้ก็คิดฉ้อฉลเอาเงินงบประมาณไปใช้กันอย่างไม่โปร่งใส ออกนโยบายเพื่อประโยชน์เพื่อคนชอบ แต่ว่าบ้านเมืองเสียหายเท่าไหร่ไม่รู้ ไม่สน ขอให้ตัวเองชนะ"
จากจุดเปลี่ยน, มติชนรายวัน, 19 พ.ย.2555

คำถามที่เกิดจากประโยคด้านบนเกิดขึ้นหลังจากอ่านซ้ำไปซ้ำมาไม่ต่ำกว่า 3-4 รอบ คือระบอบประชาธิปไตยดีหรือไม่ดีอย่างที่ เสธ.อ้าย ว่า หากจะหาคำตอบคงต้องนึกย้อนไปในหลายยุคหลายสมัยที่เหล่ามนุษย์พยายามหาระบอบการปกครองมนุษย์ด้วยกันด้วยระบอบที่คิดว่าดีที่สุด เหล่ามนุษย์ได้ลองมาหลายวิธี เช่น การยกอำนาจสิทธิขาดให้แก่คนเพียงผู้เดียว ซึ่งต่อมาถูกแทรกแซงด้วยความศักดิ์สิทธิประหนึ่งเทพเจ้าทำให้ได้การตรวจสอบนำไปสู่การกดขี่ข่มเหงมนุษย์ด้วยกัน หรือระบอบที่ทุกคนเท่าเทียมกันทรัพยากรทุกสิ่งเป็นของรัฐ แต่ด้วยกิเลสแห่งมนุษย์ท ำให้ไม่สามารถไปถึงอุดมคติแห่งระบอบนั้น และระบอบการปกครองที่ถูกยอมรับจากมนุษย์ทั่วโลกจำนวนมากว่า เป็นระบอบที่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างมนุษย์ผู้ปกครองกับมนุษย์ผู้อยู่ใต้ปกครองได้ดีที่สุด ระบอบนั้นเรียกว่า ประชาธิปไตย
มีผู้ให้นิยามระบอบประชาธิปไตยไว้หลากหลาย  คำว่า democracy ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ดีมอคระเทีย" ซึ่งหมายถึง "การปกครองโดยประชาชน" (popular government)[15] อันเป็นคำประสมระหว่างคำว่า "ดีมอส" หมายถึง ประชาชน และ "คราทอส" (หมายถึง การปกครอง หรือ พละกำลัง
ส่วนในภาษาไทย คำว่า ประชาธิปไตย ประกอบด้วยคำว่า "ประชา" ซึ่งหมายถึง "ปวงชน" และ "อธิปไตย" ซึ่งหมายถึง "ความเป็นใหญ่" เมื่อรวมกันจึงหมายถึง "ความเป็นใหญ่ของปวงชน" ส่วนพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า "แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่"อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น มีคำกล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็น การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ในประเทศไทยนับแต่การอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร โดยการให้อำนาจอันแท้จริงตกเป็นของราษฎรทั้งหลาย การปกครองของไทยหลังการเปลี่ยนแปลงก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่การเปลี่ยนแปลงผันผวน ตามกระแสแห่งโลก บางยุคเป็นเผด็จการชาตินิยม บางยุคเป็นเผด็จการอำนาจนิยม บางยุคเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนมีประชาชนในประเทศบาดเจ็บล้มตาย ประเทศไทยเรียนรู้จากการเดินทางของระบอบประชาธิปไตยเป็นเวลากว่า 80 ปี มีนักการเมืองผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าสู่อำนาจ ความคิดทางการเมืองของประชาชนถูกพัฒนาไปโดยตัวประชาชนเองนั้น รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง ถูกทางบ้างผิดทางบ้าง อยู่ที่ใครจะมองและตีความ ในภาวะความขัดแย้งทางการเมืองความคิดทางการเมืองของคนไทยเปลี่ยนไปอย่างสลับซับซ้อนแต่ไม่เคยหยุดนิ่ง
อย่างไรก็ดีระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ผ่านการออกแบบมาสำหรับการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจและการใช้อำนาจ นักการเมืองภายใต้ระบอบนี้จะทำอะไรต้องถูกจับตามองจากประชาชนอยู่เสมอ การวิพากษ์วิจารณ์กระทำได้อย่างเสรี ในทางกลับกัน ระบอบที่มีการเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังยึดแย่งอำนาจจากประชาชน แล้วยัดเยียดคนที่อ้างว่าเป็นคนดีให้มาบริหารประเทศโดยไร้การตรวจสอบ ประหนึ่งหญิงสาวไร้เดียงสาถูกจิ้งจอกสังคมที่ฉาบหน้ามาด้วยความเป็นผู้ดีหลอกพาเธอไปย่ำยีในทางเปลี่ยว และที่เจ็บปวดกว่านั้นคือคนที่ข่มขืนเธอนั้นคือคนที่พ่อแม่เธอการันตีว่าเป็นคนดีแถมบางทีอาจเปิดโอกาศให้ด้วยซ้ำ
จากคำให้สัมภาษท์ของเสธอ้ายข้างต้นผู้เขียนเองขอประกาศเช่นกันว่า
“ผมไม่เห็นว่าการรัฐประหารจะดีตรงไหนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เช่น ถ้าคุณเกิดอารมณ์อยากมีอำนาจและคุณมีรถถังมีกำลังทหารคุณก็เป็นได้แล้วมันจะต่างอะไรกับการไปปล้นเค้ากิน ลองอธิบายหน่อย พอไร้การตรวจสอบก็คิดฉ้อฉลเงินภาษีประชาชนเอาไปใช้กัน รวยขึ้นไม่รู้เท่าไร ใครออกมาไม่เห็นด้วยก็ใส่ร้ายใส่ความเค้า เอาปืนออกมาไล่ยิงหัวกบาลเค้า ประชาชนตายห่าเท่าไรไม่สน ขอให้ตัวเองชนะ”
                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น