แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญของการหารืออย่างเป็นทางการระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

ทีี่มา Thai Free News

 สรุปสาระสำคัญของการหารืออย่างเป็นทางการระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

1. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555  นาง Fatou Bensouda อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมประชุมสมาคมอัยการระหว่างประเทศ (International Association of Prosecutors –IAP)   ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือความร่วมมือทั่วไประหว่างไทยกับ ICC รวมถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ มีกลุ่มบุคคลบางฝ่ายจากไทยไปยื่นคำร้องต่อ ICC ให้พิจารณาเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย

2.  นาง Bensouda ได้ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC
ตามข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ สำหรับประเทศที่ยังไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมฯ ดังนี้ ICC มีเขตอำนาจพิจารณาการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมร้ายแรง
4 ประเภท ได้แก่ (1) อาชญากรรมสงคราม (2) อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (3) อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์  และ (4) อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน

ทั้งนี้ สำหรับกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงในไทยนั้น นาง Bensouda เห็นว่า
อาจจะพิจารณาว่าเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่ทั้งนี้ ต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวหรือไม่ อาทิ เป็นการกระทำอย่างกว้างขวาง หรืออย่างเป็นระบบ

2.2  ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC เฉพาะกรณี สามารถระบุยอมรับ
เขตอำนาจ ICC โดยกำหนดกรอบ (scope) ไว้ในคำประกาศได้ เช่น ช่วงเวลา  เหตุการณ์  และพื้นที่ เป็นต้น แต่จะต้องยึดหลักความเป็นกลางและไม่เลือกประติบัติ(objectivity) ทั้งนี้ หลักสำคัญ
ในการพิจารณาของ ICC จะมุ่งดำเนินคดีกับผู้สั่งการโดยตรง (giving direct order) และ/หรือผู้รับผิดชอบที่แท้จริง (bearing the ultimate responsibility)  

2.3  การประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC เป็นขั้นตอนแรกที่เปิดโอกาสให้ ICC ได้เข้ามาทำการตรวจสอบในเบื้องต้น (preliminary examination) ว่า ICC จะมีอำนาจพิจารณา
กรณีนั้นๆ หรือไม่

2.4 การประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC ไม่ได้บ่งชี้ว่าประเทศที่ประกาศยอมรับนั้น ไม่สามารถดำเนินกระบวนการยุติธรรมภายในของตนได้ โดย ICC มีบทบาทเพียงเสริม(complementarity) ศาลภายในประเทศเท่านั้น  กระบวนการยุติธรรมของ ICC จะเข้ามาดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ากระบวนการยุติธรรมภายในประเทศไม่ สามารถ (unable) ดำเนินการ หรือไม่สมัครใจ (unwilling) ที่จะดำเนินการ หรือไม่ได้ดำเนินการอย่างแท้จริง (ingenuine)                        

ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC จะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับ ICC อย่างไรก็ดี หากประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC โดยที่ประเทศนั้นยังไม่มีกฎหมายรองรับธรรมนูญกรุงโรมฯ (กฎหมายที่ให้อำนาจแก่หน่วยงานด้านอาญาให้สามารถให้ความร่วมมือแก่ ICC) ประเทศนั้นก็สามารถระบุในคำประกาศได้ว่า อาจยังไม่มีกฎหมายรองรับครบถ้วน และหากมีความจำเป็น ก็จะดำเนินการให้มีกฎหมายรองรับต่อไป

นอกจากนี้ หลังการประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC แล้ว ICC จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (preliminary examination) โดยปกติจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ก่อนที่ศาลฯ จะเริ่ม การสืบสวนสอบสวน (open an investigation) ซึ่งถือว่าเข้าสู่ขั้นตอนที่ประเทศที่ประกาศยอมรับจะต้องให้ความร่วมมือกับ สำนักงานอัยการ ICC  ดังนั้น ประเทศที่ประกาศยอมรับจะมีเวลามากพอสมควรที่จะเตรียมการแก้ไขกฎหมายรองรับ ดังกล่าว

นาง Bensouda มีความเห็นว่า การจัดทำประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC ตามข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมฯ มีขอบเขตจำกัด จึงไม่ใช่สนธิสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนาของรัฐนั้นที่ทำให้อัยการ ICC มีอำนาจวิเคราะห์กรณีที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นการเปิดประตูให้แก่ ICC และอัยการ ICC พิจารณาคดี ซึ่งจะจำกัดเฉพาะบางสถานการณ์เท่านั้น ทั้งนี้ ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC อาจถอนคำประกาศในภายหลังได้ เพราะไม่ใช่สนธิสัญญา แต่เป็นการประกาศฝ่ายเดียว (แต่ไม่ใช่การถอนคำประกาศระหว่างที่ ICC กำลังพิจารณาคดีของประเทศนั้นๆ อยู่)  ที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเทศใดที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC แล้วถอนคำประกาศภายหลัง ในส่วนของไทยนั้น การจะประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC หรือไม่ และการประกาศฯ จะมีขั้นตอนอย่างไร เป็นเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น