แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

'โอบามา' เยือนพม่าในทริปครั้งประวัติศาสตร์

ที่มา ประชาไท


นับเป็นการเยือนพม่าครั้งแรกของปธน.สหรัฐ โดยได้เข้าพบกับปธน. เต็ง เส่ง และนางออง ซาน ซูจี ก่อนที่จะกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ชี้การปฏิรูปในพม่าเป็นก้าวแรกของการเดินทางอีกยาวไกล ขณะที่มีรายงานว่าวันนี้ทางการพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองอีก 66 คน
19 พ.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์วันนี้ โดยได้เข้าพบกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า และผู้นำฝ่ายค้าน นางออง ซาน ซูจี และได้กล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศกัมพูชา โดยใช้เวลาเยือนพม่าทั้งหมดเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ขณะที่มีรายงานว่าในวันเดียวกัน ทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองอีก 66 คน ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา พม่าได้ปล่อยตัวนักโทษจำนวน 518 คน แต่ไม่มีใครเป็นนักโทษการเมือง

ประชาชนพม่ารอต้อนรับประธานาธิบดีบารัก โอบามา (ที่มา: The Myanmar Age)
โอบามาชี้ การปฏิรูปในพม่าเป็นก้าวแรกของการเดินทางที่ยาวนาน
 
ในการแถลงข่าวร่วมระหว่างประธานาธิบดีโอบามาและเต็ง เส่ง ที่อดีตรัฐสภาในเมืองย่างกุ้ง ปธน. สหรัฐกล่าวถึงการปฏิรูปในพม่าว่า เป็นเพียงก้าวแรกของสิ่งที่จะเป็นการเดินทางที่ยาวนาน แต่การปฏิรูปทางประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่ได้ริเริ่มขึ้น จะสามารถนำไปสู่โอกาสด้านการพัฒนาอีกมากมาย ทั้งนี้ สำนักข่าวหลายแห่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า โอบามาใช้คำเรียกประเทศพม่าว่า "เมียนมาร์" ซึ่งเป็นชื่อที่ผู้นำประเทศพม่าและอดีตผู้นำทหารเลือกใช้ แทนที่จะใช้คำว่า "เบอร์ม่า" ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสหรัฐอเมริกา 
 
ด้านประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวด้วยภาษาพม่าและแปลผ่านล่ามว่า ทั้งสองประเทศจะทำงานร่วมกัน "ด้วยความไว้วางใจ ความเคารพและความเข้าใจ" เขากล่าวต่อว่า "ในระหว่างการพูดคุย เราได้บรรลุข้อตกลงสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล" 
 
 

ออ ง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) กับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างแถลงข่าวหน้าบ้านพักริมทะเลสาบอินยา ของนางออง ซาน ซูจี วันนี้ (19 พ.ย.)
(ที่มา:
The Myanmar Age
 
หลังจากนั้น โอบามา ร่วมกับรมต. กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี คลินตัน ได้เดินทางเข้าพบนางออง ซาน ซูจีที่บ้านของเธอบริเวณริมทะเลสาบ ซูจีได้กล่าวขอบคุณโอบามาสำหรับความสนับสนุนต่อกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตย และกล่าวเตือนให้ระวังถึง "ภาพลวงตาของความสำเร็จ" โดยย้ำว่าจำเป็นต้องทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับประชาชน 
 
ในขณะที่โอบามากล่าวว่า นางอองซานซูจีเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก และชี้ว่า การมาเยือนของทางการสหรัฐในครั้งนี้ นับเป็นก้าวต่อไปในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและพม่า โดยก่อนที่ปธน. สหรัฐจะเดินทางต่อไปกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ทั้งสองได้กอดกัน และโอบามาได้จุมพิตนางซูจีบริเวณแก้ม 
ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเพิ่มอีก 66 คน 
 
ในขณะที่วันเดียวกัน เว็บไซต์อิระวดี รายงานว่า ทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง 66 คน ในฐานะการนิรโทษกรรมที่จารึกการมาเยือนของปธน. สหรัฐ นักโทษการเมืองดังกล่าวประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) กองทัพรัฐฉาน และแนวหน้านักศึกษาประชาธิปไตยพม่าทั้งมวล (ABFSD) เป็นต้น โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา มีรายงานว่าทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษ 452 คน แต่ไม่มีใครเป็นนักโทษการเมือง 
 
 
นักโทษการ เมืองพม่าที่ได้รับการปล่อยตัววันนี้ (19 พ.ย.) ซึ่งเป็นช่วงที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกาเดินทางเยือนพม่า นับเป็นประธานาธิบดีพม่าคนแรกที่มาเยือนพม่า (ที่มา: The Myanmar Age)
 
เลทยาร์ ทูน อดีตนักเคลื่อนไหวนักศึกษา หนึ่งในผู้ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำวันนี้ ให้สัมภาษณ์กับอิระวดีว่า เขารู้สึกว่ารัฐบาลพม่ากำลังใช้นักโทษการเมืองเป็นเบี้ยหมากทางการเมือง เพื่อการต่อรอง ในขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างฮิวแมนไรท์วอทช์ ตำหนิการกระทำดังกล่าว และเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดโดยทันที   
 
การเดินทางมาเยือนพม่าของปธน. โอบามา เกิดขึ้นท่ามกลางคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ซึ่งชี้ว่าเป็นการมาเยือนที่เร็วเกินไป และเป็นการให้รางวัลแก่รัฐบาลพม่าที่ยังประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนักโทษการเมือง ความขัดแย้งทางชาติพันธ์ุ โดยเฉพาะความรุนแรงในรัฐยะไข่ แต่ในระหว่างการแถลงข่าวร่วมระหว่างโอบามาและยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเมื่อค่ำวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โอบามากล่าวว่า การเดินทางเยือนพม่ามิได้เป็น "การรับรอง" รัฐบาลพม่า หากแต่เป็นการให้ความสำคัญกับความคืบหน้าด้านการปฏิรูปที่ได้บรรลุ และเพื่อย้ำถึงการปฏิรูปอีกมากที่จำเป็นต้องมีอีกในอนาคต  
 
 
ที่มาภาพปก: The Myanmar Age

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น