แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

หลวงตาศิริ อินทสิริ เรื่องคุณสมบัติอุบาสก อุบาสิกา 1 กันยายน 56

ที่มา ชมรมสารธรรมล้านนา เชียงใหม่



หลวงตาศิริ อินทสิริ วัดถ้ำผาแดง ผานิมิตรบ้านดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
เมตตาแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง"คุณสมบัติอุบ
­าสก อุบาสิกา"
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐น.
ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ บ้านจิตสบาย 4 ส.ค. 56 full HD

ที่มา watsuansantidham sriracha



หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ บ้านจิตสบาย‏ วันที่ 4 ส.ค. 2556
สามารถดูรายละเอียดต่างๆและดาวน์โหลดเสียง
­พระธรรมเทศนาได้ที่ http://www.wimutti.net/

เปิดตัว"คนฉลาด" กับโลโก้-โลก๊อบ

ที่มา ข่าวสด

 ข่าวทะลุคน

 

 แม้ระดับรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรณ์ จาติกวณิช จะเห็นว่า "ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด" ที่โลโก้ของโครงการสร้างอนาคตไทย เข้มแข็ง 2020 ที่ประชาธิปัตย์ภูมิใจเสนอ จะคล้ายยิ่งกว่าคล้ายกับโลโก้โครงการสร้างอนาคตไทย 2020 ของกระทรวง คมนาคม



โดยเฉพาะตัวเลข 2020 ซึ่งมีสีธงชาติ ที่ราวจะซีร็อกซ์กันมา



ชาวบ้านส่งเสียงฮากันกระหึ่ม



เมื่อระดับนำพรรคประชาธิปัตย์ตั้งโต๊ะแถลงโครงการสร้างอนาคตไทยเข้มแข็ง 2020



พลันนั้นหลายสายตาชี้ชวนกันชมโลโก้โครงการ



พร้อมเสียงแซด ลอกกระทั่งโลโก้



คนที่โต้มาคือ พัสณช เหาตะวานิช หนึ่งในทีมงานนายกรณ์



อ้าง ว่าเป็นคนคิดโลโก้เอง สาเหตุที่จงใจใช้โลโก้คล้ายกัน เพื่อสะท้อนว่าแผนของรัฐบาลในโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นแผนที่คิดโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นไทยเข้มแข็งภาค 2 ก็ว่าได้ และโครงการเกือบทั้งหมดของรัฐบาล ปชป.เป็นคนคิด



อ้างดื้อๆ ว่า "โลโก้ที่ออกมาไม่ได้ลอก เขาลอกเราด้วยซ้ำ"



ขณะที่ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ก็ระบุว่า "เรื่องตัวเลขไม่ใช่ว่าใครเป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์"



"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับครบหน้าแกนนำปชป.



พาดปก "กิจกรรม "คนฉลาด" SMART GENTLEMAN"



เป็นคนฉลาดที่มาในช่วงเวลาวาทกรรม "อีโง่"



ยิ่งเมื่อบวกเข้ากับไอเดียที่เมื้อน...เหมือนกับของชาวบ้านเขาที่ออกมาก่อน



เสียงคิกคักขบขันในความเป็น "คนฉลาด" ยิ่งดัง

การเมือง ยุคใหม่ การปกครอง โดยระบบ "ศาลรัฐธรรมนูญ"

ที่มา ข่าวสด

 

 พลันที่ตุลาการเสียงข้างมากของศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณ รับร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไว้พิจารณา



ภาวะ "อึมครึม" ทางการเมืองก็เริ่มก่อตัว



ปรากฏการณ์ นี้ไม่เพียงแต่เป็นการขยายผลในการตีความให้มาตรา 68 ส่งตรงไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น



หากแต่ยังทำให้บทบาท "องค์กรอิสระ" เพิ่มความโดดเด่น



การรับเอาร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยตีความไม่สลับซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นเรื่องอันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ



เข้าใจได้ไม่ยากในการของศาลรัฐธรรมนูญ



แต่การรับเอาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณารายจ่ายประจำปีมาเพื่อวินิจฉัยและตีความ อาจเป็นเรื่องแปลกซึ่งมากด้วยความแปร่งในบทบาท



บทบาท "ศาลรัฐธรรมนูญ"



กระนั้น หากคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่ก่อนหน้านี้ศาลธรรมนูญเคยวินิจฉัยและให้คำชี้แนะในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าสามารถทำได้



แต่ทำโดยการแก้ไขเป็น "รายมาตรา"



น่า สนใจที่เมื่อสมาชิกรัฐสภาจำนวนมากกว่า 300 คนเชื่อตามคำชี้แนะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญเป็นรายมาตรา



โดยเริ่มจากประเด็นอันเกี่ยวกับที่มาของส.ว.



น่า สนใจก็ตรงที่เมื่อส.ส.และส.ว.อันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามได้ยื่นเรื่องให้ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ ศาลรัฐธรรมนูญก็รับเรื่องแต่มิได้มีคำสั่งห้ามมิให้ชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3



ยิ่งทำให้ "วาระ 3" มากด้วยความละเอียดอ่อน



ต่อร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีเด่นชัดยิ่งว่า โดยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญทำให้ร่างพ.ร.บ.นี้ไม่สามารถประกาศและบังคับใช้ได้



ทั้งๆ ที่ควรจะต้องใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม



นี่เท่ากับสะท้อนให้เห็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่มีเหนืออำนาจบริหาร ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องหยุดชะงัก



ไม่อาจเบิกจ่ายเงิน ทุกอย่างต้องเป็นอัมพาต



นี่ ย่อมเป็นเรื่องผิดปกติอย่างแน่นอน หากไม่ผิดปกติที่ตัวรัฐธรรมนูญก็ต้องผิดปกติที่กระบวนการจัดทำร่างพ.ร.บ.งบ ประมาณของรัฐบาล หรือไม่ก็กระบวนการต่อต้านของฝ่ายค้าน



อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ



ยิ่งเห็นบทบาทของฝ่ายค้านที่ใช้ช่องทางควบคุมรัฐบาลผ่านองค์การอิสระยิ่งทำให้ได้คิด



ได้ คิดว่าแท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีเป้าหมายแท้จริงอยู่ที่ใด ต้องการให้รัฐบาลเดินหน้าต่อไป แต่ต้องเป็นรัฐบาลในแบบที่คณะรัฐประหารต้องการเท่านั้นหรือไม่



ประติมากรรมแห่งรัฐธรรมนูญนี้จึงสำคัญ

"สุรนันทน์"มั่นใจ รบ.ทำถูกต้องไม่สนศาล รธน. โหวตผ่านวาระ 3 ทูลเกล้าฯ ทันที

ที่มา มติชน


เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 27 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเรียกทีมกฎหมาย เพื่อหารือหาทางออกต่อการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมติรับคำร้องไว้พิจารณาว่า ไม่ได้มีการเรียกทีมกฎหมายมาหารือแต่อย่างไร เพราะฝ่ายกฎหมายเขามีการหารือและศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ ตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ต้องยอมรับว่า ในเชิงข้อกฎหมายมีหลากหลายความคิดเห็น ขณะเดียวกัน หากเรายึดตามหลักประชาธิปไตยที่มี 3 เสาหลักคือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัตินั้นอำนาจชัดเจนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ดังนั้น เมื่อรัฐสภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่าน 3 วาระ มีการลงคะแนนเรียบร้อย ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (7) บัญญัติไว้ว่า เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและให้นำบท บัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

นายสุรนันทน์กล่าวว่า ดังนั้น ต้องรอดูว่าในวันที่ 28 กันยายนนี้ สภาจะมีมติออกมาอย่างไร ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการถ่วงเวลา เพราะการดำเนินการถูกบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องมีการทูลเกล้าฯ ดังนั้น หากการโหวตลงมติใน วันที่ 28 กันยายน ทุกอย่างผ่านตามกระบวนการ นายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะทำงานตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถขัดรัฐธรรมนูญได้ และในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าต้องรอเวลาให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยก่อน

"ดังนั้น เมื่อนายกรัฐมนตรีปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แล้วมีผู้เห็นแย้งอย่างไร หรือศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินออกมาอย่างไร ก็เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลต้องทำตามรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติไว้ แต่เมื่อมีการวินิจฉัยหรือตีความออกมาอย่างไร เราก็พร้อมปฏิบัติตาม แต่วันนี้ทิศทางของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีก็ต้องทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291(7) ส่วนการตีความของรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัย" เลขาธิการนายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่า กรณีที่นายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯไปแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ จะเกิดอะไรขึ้น นายสุรนันทน์กล่าวว่า รัฐบาลถือว่าเราทำตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญทุกประการ เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องตีความว่า สิ่งไหนทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยเสมอในกรณีที่มีความเห็นไม่ลงรอย กันระหว่างอำนาจต่างๆ และเมื่อมีการตีความทางกฎหมายรัฐบาลก็พร้อมปฏิบัติ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในมาตรา 154 บัญญัติไว้ว่า หากเรื่องยังอยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีควรระงับการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากวันที่ 28 กันยายน กระบวนการของรัฐสภาแล้วเสร็จ โดยตัดสินมาแล้วโดยผ่านความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งในรัฐธรรมนูญมาตรา 291(7) บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน เพราะฉะนั้น นายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิบัติตาม และหากมีคนเห็นต่าง ก็มีการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการวินิจฉัยออกมาก็ต้องมาดูว่าจะแก้ไขกันอย่างไร สมมุติวินิจฉัยว่า ทำถูกต้องทั้งหมด ก็จบ แต่ถ้าวินิจฉัยว่าไม่ได้มีขั้นตอนขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ต้องมาดูกัน วันนี้อย่าเพิ่งไปตัดสินล่วงหน้า

"ส่วนที่มีบางฝ่ายมีความเห็นว่า อาจเกิดปัญหากับรัฐบาล เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 154 บัญญัติไว้ชัดเจนนั้น เราต้องแยกกัน ถ้ารัฐสภาบอกว่า ต้องรอคำวินิจฉัยก็เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ถ้ารัฐสภาบอกว่า มีอำนาจกระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากนำร่างฯขึ้นทูลเกล้าฯ ทุกคนต่างทำหน้าที่อย่าเอามาปนกันระหว่างอำนาจ 3 เสาหลัก ส่วนนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเมื่อไหร่ ก็ต้องมาพิจารณากันอีกครั้ง เพราะวันนี้ยังไม่ทราบว่าจะผ่านมติของสภาในรูปแบบไหน ต้องรอดูวันที่ 28 กันยายน ดูทั้งเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอน การทูลเกล้าฯ ก็ต้องอยู่ภายในระยะเวลา 20 วัน อาจจะเป็นวันรุ่งขึ้นหรือในวันที่ 19 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี"นายสุรนันทน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า นักกฎหมายบางคนมองว่า หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบและถึงอาจต้องติดคุก นายสุรนันทน์กล่าวย้อนถามว่า แล้วถ้านายกรัฐมนตรีไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน ดังนั้น นายกรัฐมนตรีก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ นายกรัฐมนตรีไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย วันนี้รับผิดชอบในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ม่ใช่ว่าต้องรับผิดชอบว่าผิดหรือไม่ผิด เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีหน้าที่ต้องวินิจฉัย

เมื่อถามว่า การดำเนินการควรทำให้ทันเวลาในการเลือกตั้งของ ส.ว.หรือไม่ นายสุรนันทน์กล่าวว่า กระบวนการจะทันหรือไม่เป็นเรื่องฝ่ายการเมืองต้องไปคิดกัน นายกรัฐมนตรีไม่สามารถกำหนดได้ว่าต้องเสร็จเมื่อไหร่

เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมสภาในวันที่ 28 กันยายน เพื่อไปร่วมโหวตลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ นายสุรนันทน์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนราษฎรก็คงไป แต่ช่วงเช้าวันที่ 28 กันยายน นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ปทุมธานีไปตรวจน้ำท่วมก่อน

เพื่อไทยเดินหน้าลงมติวาระ 3 ร่างแก้ไข รธน.เสาร์นี้

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ


updated: 26 ก.ย. 2556 เวลา 17:03:02 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า พรรคเพื่อไทยจะลงมติวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ประเด็นที่มา ส.ว.แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขัดรัฐ ธรรมนูญมาตรา 68 เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาที่ฝ่ายตุลาการไม่ควรเข้ามาก้าวล่วง ดังนั้นเมื่อประธานรัฐสภาได้บรรจุวาระดังกล่าวในการประชุมรัฐสภาวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 แล้ว พรรคเห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เมื่อครบ 15 วัน ก็ต้องลงมติ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะเป็นการแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 และระบุว่าสามารถแก้ไขได้
ส่วนกรณีที่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เอาผิดกับ ส.ส.และ ส.ว. 312 คน ที่ลงมติ และยื่นถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หากมีการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ นั้น โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากทำเช่นนั้นถือว่าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพยายามปกป้องอำนาจเผด็จการ

ส่วน กรณีที่นายสาธิ ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ท้าให้ลาออกจากตำแหน่งหากตรวจสอบแล้วพบว่าคลิปเสียบบัตรแทนกันเป็นเรื่อง จริง ไม่ใช่การตัดต่อ นั้น นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า คำท้าของนายสาธิตเป็นเพียงการกระทำแก้เกี้ยวเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการเสียบบัตรแทนกันจริงก็ถือเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ จะไม่ส่งผลให้กระบวนการพิจารณากฎหมายมีปัญหา เนื่องจากคะแนนเสียงเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยแตกต่างกันมาก

สำรวจพื้นที่รอบอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

ที่มา Voice TV



ทีมข่าววอยซ์ทีวี ลงพื้นที่ตำบลเเม่เล่ย์ตำบลปางมะค่า และตำบลปางตาไวสำรวจเส้นทางที่จะสร้างเป็นเเนวสันเขื่อนแม่วงก์ โดยตลอดเเนวเขาสบกและจกกบ เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและปลูกพืชไร่ของชาวบ้านทั้ง 3ตำบล อยู่ติดกับพื้นที่อุทยาน ฯ ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าไม่เคยเห็นเสือในเขตอุทยานฯ เพราะอยู่ใกล้แหล่งที่อยู่ ขณะที่แกนนำเรียกร้องเขื่อนวอนคนคัดค้านที่อยู่นอกพื้นที่เห็นใจ เพราะมีปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกทุกปี
27 กันยายน 2556 เวลา 11:51 น.

อัยการเลื่อนนัด9อดีตแกนพธม.คดีกบฏต่อแผ่นดิน

ที่มา Voice TV

 อัยการเลื่อนนัด9อดีตแกนพธม.คดีกบฏต่อแผ่นดิน


อัยการเลื่อนนัดสั่งคดี 9 อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คดีกบฏต่อแผ่นดิน นัดอีก 28 ตุลาคมนี้ เวลา 10.00 น.
 
นายจันทพงษ์ ซาบานาซีลา ทนายความกลุ่มอดีตพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) รับมอบอำนาจจากกลุ่มอดีตแกนนำพันธมิตรฯ เข้าพบพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เพื่อขอเลื่อนนัดฟังคำสั่งในคดีที่ พล.ต.จำลอง
ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำ และแนวร่วมพันธมิตรฯ รวม 9 คน ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏต่อแผ่นดิน กรณีสืบเนื่องจากที่มีการชุมนุมของพันธมิตรฯ เมื่อปี 2551
 
โดย นายจันทพงษ์ ระบุว่า สาเหตุที่เลื่อนนัด เนื่องจากผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ติดภารกิจจำเป็น ประกอบกับ ผู้ต้องหายังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาอีกหลายคดี ทั้งทางอัยการได้อนุญาตให้เลื่อนการนัดฟังคำสั่งออกไป เป็นวันที่ 28 ตุลาคม เวลา 10.00 น.
 
นอกจากนี้ นายจันทพงษ์ ยังคาดว่า ในนัดต่อไป ผู้ต้องหาจะขอเลื่อนฟังคำสั่งคดีไปจนกว่าผู้ต้องหาทั้ง 9 มีความพร้อมทั้งหมด
 
ภาพ : http://beta.truelife.com/detail/2193230/guru
 
27 กันยายน 2556 เวลา 11:50 น.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เขื่อนแม่วงก์กับคนเสื้อแดง

ที่มา ประชาไท


ข่าวเรื่องเขื่อนแม่วงก์ ได้กลายเป็นกระแสใหญ่อีกครั้ง เมื่อ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้เป็นผู้นำในการรณรงค์ โดยใช้วิธีการเดินเท้าจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ นครสวรรค์ โดยมีปลายทางที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มาบุญครอง การเดินรณรงค์นี้ เป็นระยะทาง 338 กิโลเมตร เริ่มเดินทางตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ใช้เวลา 13 วัน โดยมาถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 22 กันยายน เป้าหมายของการรณรงค์ครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนและคัดค้านขบวนการอีเอชไอเอ.(รายงานผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม)ของเขื่อนแม่วงก์ ประเด็นสำคัญของการคัดค้าน คือ การสร้างเขื่อนนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อผืนป่าอย่างมากมาย อีกทั้งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด เพราะเขื่อนที่สร้างแล้วก็ยังรับนำได้เป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากของน้ำที่ท่วม การสร้างเขื่อนจึงไม่มีความคุ้มค้าต่อการทำลายสภาพแวดล้อม
ข้อมูลจากคุณนณณ์ ผาณิตวงศ์ อธิบายว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนที่มีปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ค่าก่อสร้างปัจจุบัน อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท จะก่อให้เกิดน้ำท่วม 2 % ของป่าแม่วงก์ แต่บริเวณนี้เป็นป่าที่ราบริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและ ขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก การสร้างเขื่อนทำให้ป่าถูกทำลาย 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ 500,000 ต้น เป็นไม้สัก 50,000 ต้น ป่าแม่วงก์เป็นแหล่งสัตว์อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าราว 549 ชนิด ปลา 64 ชนิด ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน การต่อต้านการสร้างเขื่อน จึงเป็นการรักษาป่าไม้และสภาพธรรมชาติเอาไว้
ปรากฏว่า ในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน เวลาราว 15.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ เสื้อแดงกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(กวป.) ได้จัดงาน“เปิดโปง สนับสนุน ผลักดัน” ในโอกาส 7 ปี รัฐประหาร เพื่อต่อต้านองค์กรอิสระและสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 และผลักดันจัดตั้งสภาประชาชนแห่งประเทศไทย” ซึ่งไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ แต่สำนักข่าวทีนิวส์ ได้รายงานว่า ขณะที่กลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์เคลื่อนขบวนมานั้น “ได้มีกลุ่มเสื้อแดง ชูป้ายสนันสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ หวังความปั่นป่วนขึ้น ที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์  แต่ในเวลานี้ยังไม่มีเหตุการณ์ปะทะกันเกิดขึ้น พร้อมกับเสนอภาพกลุ่ม กวป. ที่ชุมนุมหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งที่เส้นทางเคลื่อนขบวนของกลุ่มต่อต้านเขื่อนก็ไม่ได้ผ่านเซนทรัลเวิร์ด หมายถึงว่า สำนักข่าวทีนิวส์เสนอข่าวโดยไม่ต้องมีข้อเท็จจริง ต่อมา จึงลบข่าวนี้ออกไป แต่ยังลงอีกข่าวว่า "สมศักดิ์ เจียมเฮี้ยนไม่เลิกฉะพวกค้านเขื่อนแม่วงก์อีเดียด ขณะเพจแดง ไล่ไปค้านยึดภูเขา ยึดสปก. พร้อมเย้ยถ้าไม่สร้างเขื่อน จะรักษาป่าได้ไหม” ทั้งที่ในเนื้อข่าว ก็ไม่มีสาระที่จะชี้ได้ว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลจะไปโจมตีพวกต่อต้านเขื่อนแต่อย่างใด เพียงแต่ยกเพจคนเสื้อแดงมาพียงกรณีเดียวมาอ้างว่าคนเสื้อแดงสนับสนุนการ สร้างเขื่อน
ต่อมา สำนักข่าวไทยโพสต์ได้นำข่าวคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ไปรายงานต่อโดยพาดหัวว่า  “สุดอุบาทว์ เสื้อแดงนำคนมาต้านพร้อมสนับสนุนให้สร้างนอกจากนี้ ยังลงอีกข่าวในพาดหัวว่า ภาพชัดๆ!! เนติวิทย์ เด็กติ่งแดง ร่วมค้านเขื่อนแม่วงก์” โดยอธิบายในเนื้อข่าวว่า นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล บุคคลที่เคยสนับสนุนให้ปฎิรูปการศึกษา และข้อเสนอให้ยกเลิกความเป็นไทย ล่าสุด ได้สร้างความฮือฮาด้วยการเข้าร่วมกับกลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนาย ศศิน ซึ่งแนวคิดต่างจากพวกเสื้อแดงและรัฐบาล
สรุปแล้วสื่อมวลชนฝ่ายขวาเหล่านี้ พยายามสร้างภาพให้ได้ว่า คนเสื้อแดงจะต้องหนุนการสร้างเขื่อน ถ้าใครที่มีแนวโน้มทางเสื้อแดงมาต่อต้านเขื่อนหมายถึงแหกคอก และการเสนอข่าวเหล่านี้ก็ไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่รอบด้านอะไร แต่ใช้วิธีการสื่อสารมวลชนที่เรียกว่า”เต้าข่าว”เป็นหลัก
ก่อนอื่นผู้เขียนเองในฐานะคนเสื้อแดงระดับ“กระบือแดง”คนหนึ่ง ต้องขอเรียนให้ทราบว่า กลุ่ม คนเสื้อแดงนั้นเป็นคนกลุ่มใหญ่ จึงมีความเห็นที่หลากหลายได้ ไม่มีความจำเป็นเลยที่คนเสื้อแดงทั้งหมดจะต้องเห็นด้วยกับเขื่อนแม่วงก์ ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ไม่เคยเอาเขื่อนเสมอมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บก.ลายจุด หรือแม้กระทั่งแกนนำ นปช.ก็ยังไม่มีใครสักคนที่ออกมาแถลงสนับสนุนเขื่อนแม่วงก์ แต่แน่นอน มีคนเสื้อแดงและ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลบางส่วน สนับสนุนการสร้างเขื่อน ซึ่งคงไม่อาจสรุปเป็นระเบียบวาระอันชัดเจนได้ว่า คนเสื้อแดงจะต้องเอาเขื่อนแม่วงก์ ความเชื่อที่ว่า คนเสื้อแดงจะต้องสนับสนุนรัฐบาลทุกเรื่องทุกนโยบาย เป็นเรื่องเข้าใจเอาเองของพวกสื่อฝ่ายขวาและกลุ่มสลิ่มหลากสี เพราะพวกนี้ไม่เคยสนใจว่า คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลในเรื่องคุมขังนักโทษการเมือง วางเฉยต่อเรื่องมาตรา 112 และปฏิรูปการเมืองล่าช้า และเรื่องคนเสื้อแดงติดคุกจะกลายเป็นประเด็นแตกหักระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อ แดงจำนวนมากเสียด้วยซ้ำ ที่เป็นดังนี้เพราะสื่อฝ่ายขวาและกลุ่มสลิ่มหลากสี ก็ไม่เคยจนในประเด็นสิทธิของประชาชนเช่นกัน
สำหรับเรื่องเขื่อนแม่วงก์ ขอให้ลองมาดูข้อมูลอีกด้านหนึ่ง จากรายงานข่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายนว่า นายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนา ได้นำกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.ลาดยาว อ.แม่วงก์ อ.ชุมตาบง อ.แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 50 คน ยื่นหนังสือสนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยนายประสาท กล่าวว่า จะมีการจัดการชุมนุมรวมพลคนรักเขื่อน บริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอแม่วงก์ ซึ่งตนคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมในหลักหมื่น และอยากเชิญให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี ไปพบกับประชาชนผู้ชุมนุมด้วย
สำหรับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ได้อธิบายข้อมูลว่า เขื่อนแม่วงก์เคยเสนอเมื่อ 15 ปีก่อน ในฐานเขื่อนชลประทาน โดยกรมชลประทานประเมินไว้ว่าจะสามารถส่งน้ำไปในพื้นที่เกษตรได้สามแสนไร่ เวลานั้นก็ถูกคัดค้านเพราะทำให้สูญเสียป่าหมื่นกว่าไร่ สัตว์ป่าก็ต้องหนีน้ำท่วมจึงไม่คุ้มกับการสร้างเขื่อน ในขณะนั้น คุณปลอดประสพเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ก็ไม่เชื่อว่าโครงการนี้จะเพิ่มพื้นที่ชล ประทานได้ เพราะพื้นที่ในจังหวัดอุทัยธานี นั้น เป็นพื้นที่ชัน ไม่มีพื้นที่ชลประทาน คุณปลอดประสพก็คัดค้านด้วย โครงการก็ล้มไป แต่มาวันนี้โครงการเขื่อนถูกรื้อฟื้น เพราะแม่น้ำแม่วงก์ไหลลงแม่น้ำสะแกกรัง และมาไหลลงเจ้าพระยา ในฤดูน้ำ จะมีน้ำทั้งจากแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน รวมทั้งแม่น้ำสะแกกรังมาลงแม่น้ำเจ้าพระยา จนแม่น้ำเจ้าพระยารับไม่ไหว การสร้างเขื่อนรับน้ำไว้ก่อน จะเป็นการช่วยภาระของเขื่อนชัยนาท เพื่อจะบรรเทาน้ำท่วมในที่ลุ่มแม่น้ำ คือ ปทุมธานี สิงห์บุรี อ่างทอง และ อยุธยา คุณปลอดประสพเห็นว่า การบรรเทาน้ำท่วมเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เพราะความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อ พ.ศ.2554 เป็นจำนวน 1.4 ล้านล้าน เป็นเรื่องมโหฬารมาก รัฐบาลจึงต้องวางแผนในการแก้ไข ส่วนที่ผู้คัดค้านเห็นว่า เขื่อนแม่วงก์กักเก็บน้ำได้น้อย คุณปลอดประสพอธิบายว่า “ไปคิดแบบนั้นไม่ได้ เพราะเขื่อนเล็กเขื่อนใหญ่ มารวมกัน ก็จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ทุกเขื่อนเล็กใหญ่มีความสำคัญเท่ากัน” ในกรณีที่ทำให้ป่าเสียหาย ก็สามารถทำโครงการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกทดแทน 3 เท่า ก็จะมีป่าที่สมบูรณ์ขึ้นได้
สรุปแล้ว เรื่องเขื่อนแม่วงก์คงจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงและรณรงค์กันต่อไป แต่อยากจะเสนอให้รณรงค์โดยพิจารณาคนที่เห็นต่างกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ การไม่เห็นด้วยกับคุณปลอดประสพคงไม่เป็นปัญหา แต่ไม่ควรใช้วิธีลดคุณค่าความเป็นมนุษย์(dehumanize)ทั้งคุณปลอดประสพและคน เสื้อแดง และต้องช่วยกันปฏิเสธสื่อเต้าข่าว สังคมไทยก็จะอุดมสติปัญญาขึ้นได้


ที่มา: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 431  28 กันยายน 2556

‘กระดูกของความลวง’ ของพับลิค สโคปปิ้ง จุดเริ่มต้นของ EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตร

ที่มา ประชาไท


บริษัท ทุ่งคำ จำกัด (‘ทุ่งคำ’) ทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตามหนังสือเลขที่ ทค.ลย(ว) 255/56 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 เพื่อ “แจ้งความประสงค์จะดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (ค.1) โครงการเหมืองแร่ทองคำ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด คำขอประทานบัตร 76/2539” หรือจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง
ต่อมาทุ่งคำได้ทำหนังสืออีกฉบับหนึ่งถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตามหนังสือเลขที่ ทค.ลย(ว) 278/56 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556 เพื่อจัดส่งและขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์เอกสาร “ราย ละเอียดโครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)” เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ  ซึ่งมีข้อระเบียบปฏิบัติที่ระบุว่าให้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อนวัน ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ (พับลิค สโคปปิ้ง) ต่อสาธารณชนให้รับทราบอย่างน้อย 15 วัน ก่อนวันจัดเวทีดังกล่าว
ซึ่งวัตถุประสงค์ชัดเจนได้แสดงอยู่ในหนังสือที่ทำถึง สช. ทั้งสองฉบับและเอกสารประกอบเวทีว่า จะจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง เฉพาะแปลงที่ 76/2539 เท่านั้น  แต่นั่นกลับเป็นความลวงที่ทุ่งคำสร้างขึ้นมา โดยไม่มีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA เฉลียวใจ มองเห็น หรือทักท้วง ตักเตือน เอาผิด แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ได้มีการส่งเอกสารประกอบเวทีมาก่อนหน้าวันจัดเวทีถึง 15 วัน  แต่กลับปล่อยให้ทุ่งคำดำเนินการจัดทำเวทีดังกล่าวต่อไปได้
และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความลวงซ้อนกันอยู่สองชั้น คือ

ความลวงที่หนึ่ง - เอกสารประกอบเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ที่ใช้เผยแพร่ บนหน้าปกระบุชื่อว่า “รายละเอียดโครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)” และในส่วนล่างสุดของหน้า 1-5 ของเอกสารดังกล่าว ระบุชื่อเอกสารว่า “ โครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 หมู่ที่ 13 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย”  ส่วนที่เหลือทั้งหมด ตั้งแต่หน้า 6-58 ในส่วนล่างสุดของเอกสาร กลับระบุชื่อเอกสารว่า “ โครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76 และ 77/2539 หมู่ที่ 13 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย”
ในสาระความเป็นมาและรายละเอียดโครงการ ที่ปรากฏอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของหน้า 1 ระบุว่า “ทั้งนี้เพื่อให้มีแหล่งแร่เพิ่มเติมเพื่อป้อนการดำเนินการผลิตของบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรที่ 76/2539 รวมแผนผังโครงการทำเหมืองเดียวกันกับคำขอประทานบัตรที่ 77/2539 เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตั้งอยู่ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 ลำดับชุด  L 7017 ระวาง 5343 IV ของกรมแผนที่ทหาร ระหว่างพิกัดฉากสากล (U.T.M.) แนวตั้งที่ 785000 E ถึง 786000 E และแนวนอนที่ 1927000 N ถึง 1929100 N  โดยประมาณ อยู่ในท้องที่ของ ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย”

ความลวงที่สอง – จากเอกสารประกอบเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ดังกล่าว การกำหนดพิกัดแนวตั้งที่ 785000 E ถึง 786000 E และแนวนอนที่ 1927000 N ถึง 1929100 N โดยประมาณ เป็นขอบเขตครอบคลุมพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และ 77/2539 และยังขยายพื้นที่เกินไปทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 77/2539 ซึ่งมีแปลงคำขอประทานบัตรที่ 203/2539 ร่วมเป็น ‘พื้นที่กลุ่มคำขอประทานบัตร’ ด้วยอีก 1 แปลง


(
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)
ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารแผนที่ธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้าง แปลงที่ 4 จังหวัดเลย ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด  มิถุนายน 2540  ที่ได้มีการกำหนดพื้นที่ในการทำเหมือง T-3 และ T-9  และซึ่งสอดคล้องกับเอกสารของฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย อีกทอดหนึ่งด้วย ที่ระบุไว้ในรายละเอียดคำขอประทานบัตร ประจำเดือนสิงหาคม 2553  ว่า โดยในพื้นที่บริเวณคำขอประทานบัตรรวม 3 แปลง พื้นที่ในการทำเหมือง T-3 ประกอบด้วย แปลงคำขอประทานบัตรที่ 76/2539  77/2539 และ 203/2539 รวมพื้นที่ 898-0-50 ไร่ และพื้นที่ในการทำเหมือง T-9  ประกอบด้วย แปลงคำขอประทานบัตรที่ 71/2539  72/2539 และ 73/2539 รวมพื้นที่ 900 ไร่ โดยมีพิกัดแต่ละแปลงดังนี้

(
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)

พื้นที่ในการทำเหมือง T-3
คำขอประทานบัตรที่ 76/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 785450 E แนวนอนที่  1929100 N  พื้นที่  299-0-25 ไร่
คำขอประทานบัตรที่ 77/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 785450 E แนวนอนที่  1928230 N  พื้นที่  299-0-25 ไร่
คำขอประทานบัตรที่ 203/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 786000 E แนวนอนที่  1928000 N  พื้นที่  300 ไร่
พื้นที่ในการทำเหมือง T-9
คำขอประทานบัตรที่ 71/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1928470 N  พื้นที่  300 ไร่
คำขอประทานบัตรที่ 72/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1927800 N  พื้นที่  300 ไร่
คำขอประทานบัตรที่ 73/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1927290 N  พื้นที่  300 ไร่

ดังนั้น ทุ่งคำมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะไม่ขอประทานบัตรเพียงแค่ แปลงที่ 76/2539 แปลงเดียว แต่จะขอเป็นพื้นที่กลุ่มคำขอประทานบัตรอย่างน้อย 3 แปลง คือ แปลงที่ 76/2539  77/2539 และ 203/2539  และอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความลวงชั้นที่สามด้วยการบิดเบือนเอกสาร ในภายหลัง (อาจจะเป็นในขั้นเสนอร่างรายงาน EHIA ในเวทีพับลิก รีวิว ซึ่งเป็นขั้นตอน/เวทีต่อจากพับลิค สโคปปิ้ง) ด้วยการขอประทานบัตร แปลงที่ 71/2539  72/2539 และ 73/2539 อีก 900 ไร่ ร่วมด้วย แต่สิ่งที่น่ารังเกียจก็คือ ทำไมถึงไม่พูดความจริง ทำไมถึงต้องสร้างความลวงเพื่อปิดบังและหลีกเลี่ยงอะไร
หรือเกรงว่าถ้าประกาศจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง เพื่อจัดทำรายงาน EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตรทั้ง 3 แปลง เนื้อที่รวมกัน 898-0-50 ไร่ (และอาจจะรวมแปลง 71-73/2539 อีก 900 ไร่ ด้วย) จะเกิดการคัดค้านต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ขึ้นได้ เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ทำเหมืองแปลงใหญ่เกินกว่าชุมชนในเขตตำบลนาโป่งจะ แบกรับภาระและปัญหาผลกระทบได้ จึงทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยความหลอกลวงว่าจะขอประทานบัตรแปลงเล็กประมาณ 300 ไร่ แปลงเดียวไปก่อน ต่อเมื่อผ่านเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ไปแล้ว จึงค่อยอธิบายว่าจะทำเหมืองแปลงใหญ่ในภายหลัง
เป็นเรื่องน่าเศร้าของกระบวนการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA ในสังคมไทย ที่พับลิค สโคปปิ้ง สามารถถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความลวงให้กับผู้ประกอบการได้โดยการ เมินเฉยของส่วนราชการ-รัฐ และองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้ง ๆ ที่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือพับลิค สโคปปิ้ง หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA ก็ระบุไว้ชัดอยู่แล้วให้ ‘กำหนดขอบเขต’ และ ‘แนวทาง’ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ในเมื่อสร้างความลวงด้วยการขอประทานบัตรแปลงเดียว คือ แปลงที่ 76/2539 เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ นั่นก็หมายถึงการจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ดังกล่าว จะเป็นการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใน พื้นที่เพียง 300 ไร่ เท่านั้น ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้นที่ปรากฏอยู่ในแปลงที่ 77/2539 และ 203/2539 (และอาจจะรวมแปลงที่ 71-73/2539 ด้วย) จะไม่ได้ถูกกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเอา ไว้ด้วย
ซึ่งจะส่งผลต่อมา โดยทำให้การวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่สอดคล้องกับพื้นที่ขอประทานบัตร จริง ก็เพราะวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์ผลกระทบในพื้นที่ทำเหมืองแปลงเดียว 300 ไร่ แต่ผลกระทบเกิดขึ้นกับพื้นที่ทำเหมืองทั้งสามแปลง ประมาณ 900 ไร่
ด้วยความลวงสองชั้นของพับลิค สโคปปิ้ง และอาจจะมีชั้นที่สามเกิดขึ้นได้ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว เป็นการใช้ความลวงซ้ำ ๆ ของนายทุนผู้มีอำนาจเงินที่สามารถใช้ข้าราชการ-รัฐให้ปิดล้อมเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ได้ด้วยกำลังตำรวจ 700 นาย เพื่อปิดกั้นประชาชนผู้เห็นต่างไม่ให้เข้าร่วมเวทีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา แม้จะไม่เหมือนทีเดียว แต่ก็ทำให้นึกถึงวรรณกรรมรวมเรื่องสั้น ‘กระดูกของความลวง’ ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์เทียบเคียง
ในเรื่องสั้นกระดูกของความลวงเล่าเรื่องจากสายตาของคนที่กำเนิดมาพร้อม กับความผิดปกติ จนถูกสังคมผลักไสให้เป็นคนชายขอบ แสดงให้เห็นอคติของสังคม รวมถึงด้านมืดของมนุษย์ที่ต้องการเห็นผู้อื่นด้อยกว่า เพื่อให้ตนเองรู้สึกสูงส่ง โดยตีแผ่จิตใจด้านมืดที่เต็มไปด้วยการฉกฉวยทำลาย  การเมินเฉยต่อความเลวร้ายเบื้องหน้า  การบิดเบือนความเป็นจริง  และความโง่เขลาต่อสรรพสิ่ง
ด้วยอคติเช่นนี้จนกลายเป็นความเคยชินของเรา เราจึงกลายเป็นผู้ทำให้ความลวงที่เป็นความเหลวไหลและเหลวแหลกของสังคมมีกระดูกขึ้นมา
และพับลิค สโคปปิ้ง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ EHIA และเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการขอประทานบัตรด้วยเช่นเดียวกัน จนเมื่อถึงปลายทางที่ EHIA ผ่านความเห็นชอบ และได้รับอนุญาตประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ได้ เมื่อนั้นเรา--ใครก็ตาม ที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำและให้ความเห็นชอบรายงาน EHIA ทั้งหน่วยงานรัฐ ราชการ องค์กรอิสระ นักวิชาการ และผู้ประกอบการ--เป็น ผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์มหึมาที่ประกอบด้วยความลวงของ EHIA และประทานบัตร โครงการเหมืองแร่ทองคำ ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย ขึ้นมา
เรา--ใครก็ตาม ที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำและให้ความเห็นชอบรายงาน EHIA ทั้งหน่วยงานรัฐ ราชการ องค์กรอิสระ นักวิชาการ และผู้ประกอบการ—ได้สร้างกระดูกให้ความลวงขึ้นมาแล้ว

                            




[1] ขอขอบคุณ ดาวัลย์ จันทรหัสดี เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ผู้มองเห็นความลวงในพับลิค สโคปปิ้ง จุดเริ่มต้นของ EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตร แปลงที่ 76/2539 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย เป็นคนแรก  และได้ส่งข้อมูลให้ผู้เขียนเพื่อเขียนเป็นบทความชิ้นนี้ขึ้นมา

เขื่อนกับ “พระราชอำนาจ”

ที่มา ประชาไท


<--break->
เสียดายกรณีค้านเขื่อนแม่วงก์ทำท่าจะจบลงง่ายดายไปหน่อย แต่ที่ยังคาใจผมอยู่เช่นเดิมคือ ทำไมค้านแค่บางเขื่อน? ทำไมเขื่อนบางเขื่อนมีการตรวจสอบจากภาคประชาสังคมน้อยกว่าปรกติ? เป็นเรื่อง “บังเอิญ” หรือที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา บรรดาเขื่อนที่มีสร้อยต่อท้ายชื่อว่า “โครงการตามพระราชดำริ” เท่านั้นสามารถก่อสร้างได้ แต่โครงการอื่นที่คล้ายคลึงกันกลับถูกต่อต้าน?  
ผมไม่ได้ท้าทายต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอยู่หัวในการริเริ่มโครงการ เหล่านี้ แต่บางคนเข้ามาเถียงว่าการมีพระราชดำรัสไม่ได้มีผลอะไรต่อโอกาสที่จะสร้าง เขื่อนได้ ก็ต้องเถียงว่าไม่จริง ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างสามเขื่อนเป็นอย่างน้อย ตั้งแต่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนคลองท่าด่าน และเขื่อนห้วยโสมง ซึ่งล้วนเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ส่งผลกระทบตั้งแต่การโยกย้ายประชาชนหลายหมื่นคน ไปจนถึงผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าป่าที่อุทยาน แห่งชาติแม่วงก์ แต่สามารถก่อสร้างได้
ถามว่าพระราชดำรัสได้ถูกเปลี่ยนเป็นผลในเชิงปฏิบัติหรือไม่? มีแน่นอน นอกจากสร้อยต่อท้ายโครงการแล้ว ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับและปฏิบัติให้พระราชดำรัสดังกล่าวเป็นผล อย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.) เป็นต้น
ถามว่าการตั้งหน่วยราชการขึ้นมาโดยอ้างพระราชดำรัสก็ดี พระราชดำริก็ดี การใช้พระราชทินนาม หรือนามพระราชทานเป็นชื่อโครงการเขื่อน สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดหลักการ Constitutional Monarchy หรือไม่ ? สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” หรือที่เรียกว่าหลักการละเมิดมิได้ (Inviolability) หรือไม่ กรณีที่โครงการเหล่านี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือเกิดการปฏิบัติมิชอบขึ้นมา หรือมีเรื่องอื้อฉาวขึ้นมา?  
ที่สำคัญกว่านั้นคือ การอ้างพระบรมราชวินิจฉัยเช่นนั้นจะกระทบ ต่อหลักธรรมภิบาลของหน่วยงานพัฒนาโครงการ กำกับดูแล อนุมัติ และปฏิบัติตามโครงการหรือไม่ จะกระทบต่อหลักการตรวจสอบได้ (accountability) ความโปร่งใส (transparency) และความไม่ลำเอียง (impartiality) ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อ “คุณภาพ” ของการสำรวจผลกระทบด้านต่าง ๆ ก่อนการอนุมัติโครงการ รวมทั้งการสำรวจผลกระทบเพิ่มเติมภายหลังการดำเนินโครงการแล้วหรือไม่
ผมไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่อยากเสนอว่าว่าเป็นประเด็นที่สังคมควรถกเถียงกัน
ส่วนกรณี “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนและโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ในไทยและใน ภูมิภาค เป็นไปตามหลักฐานที่ผมแสดง อย่าง "โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้า พระยา" ("โครงการ ธ ประสงค์ใด") ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้จัดทำ และเป็นที่มาของโครงการเขื่อนใหญ่อย่างแม่วงก์ โครงการผันน้ำ (เขื่อนแก่งเสือเต้น) ฯลฯ และทำไมครม.ต้องอนุมัติเมื่อ 30 ตุลาคม 2544 ให้สำนักงานทรัพย์สินฯ? เป็นผู้จัดทำโครงการนี้ หน่วยงานนี้เข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร?
และผมบอกว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ได้สนับสนุนการสร้างเขื่อนเฉพาะเมืองไทย แต่เคยมีหุ้นถึง 10% อยู่ในบริษัท MDX มีคนแย้งว่า “แค่ถือหุ้นไม่ได้หมายถึงว่ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัท” อันนั้นผมเข้าใจ แต่ข้อความที่ว่า “บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ ลาว จำกัด ขึ้นในปี 2537 โดยร่วมทุนกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอกชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว (ลาว)” มาจากรายงานประจำปีของบริษัท MDX เอง
MDX มีส่วนในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งในลาว อย่างโครงการเทิน-หินบูน (210 เมกะวัตต์) โครงการน้ำงึม 3 (400 เมกะวัตต์) และในจีน อย่างโครงการจินหง (3,000 เมกะวัตต์) รวมทั้ง MDX ยังเกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนในไทยหลายโครงการ (ดูรายงานที่อ้างแล้ว หน้า 7-10)
ส่วนรายงานข่าวต่างประเทศก็ระบุเรื่องนี้อย่างมีนัยสำคัญว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน ทั้งในรูปการถือหุ้นในบริษัทที่สร้างเขื่อนและหุ้นในธนาคารที่ปล่อยกู้ให้ โครงการเขื่อน (คงไม่ต้องพูดถึงการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทขายปูนด้วยกระมัง)
การที่หน่วยงานใหญ่ อย่างสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการตรวจสอบจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชนใด ๆ และยังมีส่วนยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์ (การใช้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพย์สินฯ และการใช้ประโยชน์จากรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ “ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ”) เข้ามาพัวพันกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผล กระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมมากเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรตรวจสอบหรือไม่?  
การที่หน่วยงานใหญ่ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นภาคการธนาคาร ปูนซีเมนต์ ประกันภัย และอื่น ๆ ทำหน้าที่เสนอและกำหนดนโยบายในกิจการที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการลงทุน อย่างเช่น การสร้างเขื่อนและโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ จะถือว่าเป็น “ผลประโยชน์ทับซ้อน” (Conflict of Interest) หรือไม่?
ผมย้ำว่าไม่มีคำตอบสำเร็จรูปในเรื่องนี้ แต่อยากถามว่าเป็นสิ่งที่สังคมควรถกเถียงหรือไม่ และถ้าจะมีการถกเถียงก็ควรทำอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาจริงหรือไม่?

อ้างอิง

*รายงานประจำปี 2549 บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) หน้า 7

โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก
โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
เปิดเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ วางแผน3ระยะ สั้น-กลาง-ยาว แก้ปัญหาน้ำ
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479

มาตรา 4 ตรี   "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้ จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน”

มาตรา 6 “...รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ”
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX สร้างเขื่อนเทินหุนบุนในลาว
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX เพื่อสร้างเขื่อนในกัมพูชา


หมายเหตุ: ภาพจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.)

สิทธิในการปกครองตนเอง (Self-Determination) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย

ที่มา ประชาไท


เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์เรื่องการปกครองท้องถิ่นไทยพบว่า ประเทศไทยเริ่มมีการปกครองท้องถิ่นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีแนวคิดในการปฏิรูปทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การปกครองและระบบศาล ในส่วนของการปฏิรูปด้านการบริหารราชการแผ่นดินทรงเห็นว่าบ้านเมืองยังไม่ เจริญ ราษฎรส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา กอปรกับห่วงใยในหลาย ๆ เรื่องของราษฎร จึงมีการให้ความรู้กับประชาชนพอที่จะปกครองตนเองได้ก่อน โดยการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ในชื่อที่ว่า พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พุทธศักราช 2441) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นในสมัยต่อมา นั่นคือ สุขาภิบาลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ร.ศ. 124 (พุทธศักราช 2448) เป็นระยะเวลา 7 ปีภายหลังเกิดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามการจัดตั้งสุขาภิบาลในช่วงเวลาดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นการ ปกครองตนเอง (Self-Determination) หรือการกำหนดเจตจำนงของตนเอง เนื่องจากบุคคลที่ประจำอยู่นั้นล้วนมาจากส่วนกลางทั้งสิ้น
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการนำหลักกฎหมายทั่วไปทางมหาชนมาบัญญัติหรือแทรกซึมไว้ในรัฐธรรมนูญอัน เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ หลักกฎหมายทั่วไปที่สำคัญ เช่น หลักประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความเสมอภาค หลักความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจ (The Seperation of Power) ซึ่งมีการแบ่งแยกอำนาจทางการเมืองอย่างไม่เด็ดขาดโดยองค์กรหลักสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในแง่การแบ่งแยกอำนาจในทางปกครอง มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ประเภท[2] ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา
คง ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีบทบาทในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่เคยได้ยินถ้อยคำ ว่า “ปกครองตนเอง” หรือ “จังหวัดจัดการตนเอง” ที่เกิดจากประชาชนในท้องถิ่นระดับฐานล่าง (ระดับชุมชน) และผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดเช่นว่านี้ได้ผลักดันเรียกร้องสิทธิในการปกครอง ตนเอง (Right Self-Determination) หรือมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง (Need for Antonomy) หรือจะเรียกว่าการกำหนดเจตจำนงด้วยตนเองก็ได้เช่นเดียวกัน
ณ จุดนี้ ผู้เขียนเกิดใครรู้และครุ่นคิดกับคำว่า Self-Determination จึงได้พยายามสำรวจเอกสารทางวิชาการ ทำให้ทราบว่า Self หมายถึง ตนเอง ส่วน Determination เป็นคำนามของกริยาของDetermine ที่แปลว่า กำหนด เพราะฉะนั้นทำให้เข้าได้ว่า Self-Determination จึงมีความหมายตรงกันข้ามกับ Self-Centered (ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง) โดยสิ้นเชิง ดังนั้น ในมิติของการบริหารราชการแผ่นดินระดับท้องถิ่น Self-Determination จึงหมายถึง การที่ท้องถิ่นกำหนดอนาคตของตนเองในรูปแบบการปกครองตนเอง
อย่างไรก็ดี Self-Determination ยังปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภาค 1 ข้อ 1 ที่กำหนดว่า “ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง”[3] นอกจากนี้ยังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (3) ที่กำหนดว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของ ท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”[4]และมาตรา 281 วรรคสอง ที่กำหนดว่า “ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”[5]  โดยผู้เขียนใคร่ขออธิบายดังนี้
หากพิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา 78 (3) จะพบว่า เป็นเรื่องแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องการกระจายอำนาจและ พัฒนาจังหวัดให้เป็นองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนด้วย โดยอาจพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เป็นสาระสำคัญได้ 2 ประการ คือ ประการแรก ศักยภาพของท้องถิ่น ประการที่สอง เจตนารมณ์ของประชาชนท้องถิ่นในจังหวัดนั้นๆ และเมื่อพลิกดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา 281 วรรคสอง จะพบว่า ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่น่าสนใจมีอยู่ว่า ถ้อย คำที่ปรากฏทั้งสองมาตราข้างต้นนี้จะถือได้หรือไม่ว่าเป็นการกำหนดเจตจำนงของ ประชาชนที่จะจัดตั้งท้องถิ่นปกครองตนเองได้โดยที่มีสาระสำคัญต่างจากการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน
ในทรรศนะของผู้เขียนมีความเห็นว่า มาตรา 78 (3) และมาตรา 281 วรรคสอง มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอาจถึงขนาดเป็นเรื่องเดียวกัน อันเกิดจากความต้องการ (need) ของประชาชนเป็นพื้นฐาน มีเจตจำนงร่วมกันเป็นอำนาจบังคับ (Coercive Power) ในทางสภาพข้อเท็จจริงที่ต้องการมีอิสระในการปกครองตนเอง (Self-Determination) โดยมีฐานของกฎหมายรองรับ การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่หรือจังหวัดจัดการตนเอง จึงมิใช่เรื่องที่กระทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ท้าทาย (challenging) และชวนให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสังคมได้ติดตาม ทั้งนี้การปกครองตนเองของท้องถิ่นมิใช่เพียงแค่การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครง สร้างการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น หากแต่ยังต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมและอุบัติขึ้นใหม่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของท้องถิ่น สำคัญที่สุดประชาชนในท้องถิ่นต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น








[1] เลิศศักดิ์ ต้นโต ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย.
[2] พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, มาตรา 7
[3]  International Covenant on Civil and Political Rights, PART 1 Article 1 “All peoples have the right of Self-Determination…”
[4] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 (3)
[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281วรรคสอง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 27/09/56 ผลงานชั่วๆ นี้..ฝีมือล้วนๆ ไม่ต้องก้อบปี้ใคร

ที่มา blablabla



มีแต่คน ต่ำช้า บ้าวิปริต
ที่คอยคิด แต่เรื่องชั่ว ให้มัวหมอง
เรื่องดี ๆ กลับเพิกเฉย ไม่เคยหมอง
แถมจดจ้อง แต่จะล้ม ให้จมดิน....

สารพัด ม็อบถ่อย ไว้คอยหนุน
ให้คุกรุ่น ดั่งเปลวไฟ ไปทั่วถิ่น
ใช้วาทกรรม คำบัดสี หวังตีกิน
สร้างมลทิน หลักการเถื่อน อย่างเลื่อนลอย....

สร้างมือตีน คอยแทรกแซง ตะแบงเบี่ยง
หวังหลบเลี่ยง แล้วย่ำยี ไม่มีถอย
ทุกหย่อมหญ้า ชาวประชาำ น้ำตาปรอย
ยังซ้ำรอย ความหมองหม่น ทนทำใจ....

จะลืมตา อ้าปาก ก็ยากแท้
พวกขี้แพ้ มันตีรวน ชวนยำใหญ่
คอยเตะถ่วง ทุกท่วงทาง พลางสุมไฟ
เกมจัญไร พวกอัปรีย์ ไม่มีจาง....

๓ บลา / ๒๗ ก.ย.๕๖

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 26/09/56 ทั้งพรรค..คิดได้เท่านี้จริงๆ

ที่มา blablabla



เห็นทาสแท้ พวกงั่ง แล้วนั่งขำ
ไม่คิดทำ ชอบกลิ้งกลอก เพื่อลอกเขา
บทสุดท้าย ที่ได้เห็น เป็นแค่เงา
ปัญญาเบา ไร้สมอง จ้องลอกเลียน....

แถลงข่าว เล่าความ ตามกระแส
พรรคขี้แพ้ นั่งตีหน้า พาคลื่นเหียน
สมองชั่ว คิดแต่ระยำ แล้วทำเนียน
ช่างวิปริต สะอิดสะเอียน ไม่เปลี่ยนแปลง....

รัฐเดินหน้า สร้างอนาคต สุขสดใส
นำชาติไทย ให้งดงาม ตามแถลง
รูปธรรม ย้ำเด่นชัด รีบจัดแจง
ไทยเข้มแข็ง เลยโผล่มา ตีหน้าตาย....

คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น เห็นกันทั่ว
ผลงานชั่ว เคยมุบมิบ สร้างฉิบหาย
รัฐบาลเงา เฝ้าย้อนยอก เพื่อหลอกฟาย
เรื่องยางอาย อย่าถามเลย..ไม่เคยมี....

๓ บลา / ๒๖ ก.ย.๕๖

โลกโซเชียลฮือฮาเฟซบุ๊คAndrewปูดตุลาอาถรรพ์

ที่มา Thai E-News





เฟซบุ๊คของ Andrew MacGregor Marshall อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ได้นำเสนอเรื่อง หมอดูได้เตือนว่า ประเทศไทยจะเกิดตุลาอาถรรพ์อีกรอบ (Astrologers warn of another Black October in Thailand)

เป็นที่น่าสังเกตว่ามีคนเข้าไปติดตามดูข่าวดังกล่้าวเป็นจำนวนมากอย่างล้น หลาม จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์คในเวลานี้ นับแต่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าว

ข่าวดังกล่าว อ้างว่า บรรดาหมอดูได้พยากรณ์ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะประสบหายนะและคว่ำลงในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ผู้เข้าไปชมรายงานข่าวดังกล่าวในเฟซบุ๊คของ Andrew MacGregor Marshall ได้พากันวิจารณ์กันไปต่างๆนานา

เฟซบุ๊ึคAndrew Marshallร้อนแห่ดูข่าวตุลาอาถรรพ์

ที่มา Thai E-News





เฟซบุ๊คของ Andrew MacGregor Marshall อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ได้นำเสนอเรื่อง หมอดูได้เตือนว่า ประเทศไทยจะเกิดตุลาอาถรรพ์อีกรอบ (Astrologers warn of another Black October in Thailand)

เป็นที่น่าสังเกตว่ามีคนเข้าไปติดตามดูข่าวดังกล่้าวเป็นจำนวนมากอย่างล้น หลาม จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์คในเวลานี้ นับแต่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าว

มหกรรมสืบสานอุดมการณ์เดือนตุลา@รามฯ และเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์40ปี14ตุลา@สถาบันปรีดีฯ

ที่มา Thai E-News




26-28กันยายน2556 ณ ลานสวป.มหาวิทยาลัยรามคำแหง

26กันยายน2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาคเช้า 09.20-12.30น. -เสวนาวิชาการ"6ปีรัฐธรรมนูญ7ปีรัฐประหาร8ทศวรรษประชาธิปไตยไทย
พบกับวิทยากร 

อ.คณิน บุญสุวรรณ
อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
อ.พนัส ทัศนียานนท์


ภาคบ่าย 14.00-17.00น. ---เสวนาวิชาการ"19กันยาคนตัวเล็กต้านรัฐประหาร"


พบกับวิทยากร
อ.อุเชนทร์ เชียงแสน
วัฒน วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ


27กันยายน2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง


ภาคเช้า08.30-12.00น.


สัมนานิสิตนักศึกษาเชิงวิเคราะห์สถานการณ์โลกสู่บริบทประเทศไทยหัวข้อ"สงคราม/ทุนนิยม/สถานการณ์โลกสู่สถารการณ์ประเทศไทย(ฝ่ายประชาธิปไตยVSอำมาตยาธิปไตย) บรรยายพิเศษโดย อ.พิชิต บูรพาพล


12.00-13.00น. รับประทานอาหารร่วมกัน


13.00-16.00น.บรรยายภาคบ่ายต่อ
หัวข้อ"สงคราม/ทุนนิยม/สถานการณ์โลกสู่สถารการณ์ประเทศไทย(ฝ่ายประชาธิปไตยVSอำมาตยาธิปไตย) บรรยายพิเศษโดย อ.พิชิต บูรพาพล


16.00-17.00น.สรุปขบวนการนิสิตนักศึกษาทิศทางการเคลื่อนไหวปฏิบัติการทางสังคม-ออกแบบปฎิบัติการณ์ทางสังคมร่วมกัน1กิจกรรม
18.00-19.00น.รับประทานอาหารร่วมกัน
19.00-20.00น.วงคุยธรรมชาติ"นิสิตนักศึกษานักปฎิรูปนักปฎิวัติ ปัจจุบันกับการต่อสู้ทางการเมืองประวัติศาสตร์40ปี14ตุลาที่ไปไม่ถึง"


28กันยายน2556 ห้องสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง


ภาคเช้า 09.20-12.30น
-เสวนาวิชาการ"ประวัติศาสตร์รามคำแหงการต่อสู้ที่ถูกลืมพบกับวิทยากร


อ.วัฒน์ วรรลยางกูร
อ.วิสา คัญทัพ
จตุพร พรหมพันธุ์


ภาคบ่าย13.30-16.00น


-เสวนาวิชาการ"ประมวลกฎหมายอาญาม.112เสรีภาพในการจองจำกับการปรับตัวสถาบันกษัตริย์หลังรัฐประหารปี49"
พบกับวิทยากร


อ.ธิการต์ ศรีนารา
อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล
อ.ปราการ กลิ่นฟุ้ง


17.30-18.30น.
บรรยายพิเศษ"คุณูประการประวัติศาสตร์40ปี14ตุลา อุดมการณ์ประชาธิปไตยประชาช
โดย อ.เกรียงกมล เลาหไพโรจน์


เวทีปาร์ตี้ผีตุลารำลึก ร่วมประกวดแต่งกายแฟนซีหลุดโลกเดือนตุลาใว้อาลัยรำลึกวีรชนตุลา
18.00-24.00น ณ ลานสวป.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


เวทีวัฒนธรรม/อภิปราย/กวีการเมือง


-ดนตรี ไฟเย็น/วงสะเลเต/วงของเรา/วงดำ จรูญภาค/วงกำปั้น/วงดินเลนฯลฯ
-กวี ปานจิตร/วาด รวี/เทคประชาชูชัย/กลุ่มกวีราษฏร์/ฯลฯ


หมายเหตุ วิทยากร/วงดนตรี/นักกวี/ผู้อภิปราย อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


-ภายในงาน ท่านสามารถร่วมเขียนข้อความ/กวีรำลึก เหตุการณ์ดังกล่าวและกล่าวในงานเวทีวัฒนธรรมมีการประมูลภาพถ่ายเก่าใหม่ทั้งงาน มีเสื้อรำลึกครบรอบ40ปี14ตุลา37ปี6ตุลา เสื้อรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ50/เสื้อสนนท.ต้านรัฐประหาร/เข็มกลัดรณรงค์ ภายในงาน มีหนังสือรำลึกแจกในงานจัดทำโดยกลุ่มนักศึกษา/แจกโปสเตอร์รำลึกงาน


องค์กรร่วมจัดงาน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภานักศึกษามหาวิทยาลัย รามคำแหง
คณะจัดงานรำลึก40ปี14ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ องค์กรนักศึกษาแนวร่วมและองค์กรอื่นๆ

ประสานงานติดต่อ 085-9977-490 ฟุ้ง เลขาฯสนนท.
email.sftthai2555@gmail.com


ศิลปกับสังคม ครั้งที่ ๑๘ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ๖ : ๔๐ ปี ๑๔ ตุลา เพื่อความสันติสุขของมนุษยชาติ

พบกันวันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๖
ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป


สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความยินดีขอเชิญร่วมงาน ศิลปกับสังคม ครั้งที่ ๑๘ 
เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ๖ : ๔๐ ปี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
วันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๖ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ 


ตื่นตาตื่นใจกับการเขี
ยนภาพสด ๔๐ ปี ๑๔ ตุลา โดย ศิลปินเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ พิทักษ์ ปิยะพงษ์ สุรพล ปัญญาวชิระ สมชาย วัชระสมบัติ ไมตรี หอมทอง 


เวลา ๑๕.๐๐ น. ลงทะเบียน • ชมภาพยนตร์เรื่อง “เงาประวัติศาสตร์” โดย ภาณุ อารี • พิธีประกาศเชิดชูเกียรติและมอบรางวัลปีติศิลป์สันติภาพ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ • การแสดงปาฐกถาศิลปกับสังคม ๒๕๕๖ เรื่อง “กรรมกรวรรณกรรม” โดย ศรีดาวเรือง • ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ดุจดั่งจะคายคืน” / “มัทรี” โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร • พิธีเปิดงานศิลปกับสังคม ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ๖ : ๔๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๒๐ ปี สายใยมิตรภาพ (เปิดใช้สถาบันอย่างไม่เป็นทางการ) การแสดงสด-ร่ายบทกวี • ชมการแสดงสิ่งละอันพันละน้อย โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร บลูด้า-ต่อเวตาล่า แม่จำปา แสนพรม เบบี้ไมม์โชว์ บีฟลอร์เธียเตอร์ ฯลฯ


พิธีกร : ดุจดาว วัฒนปกรณ์ บุญใหญ่ เกรียงไกร ฟูเกษม สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย 


• ๒๕-๒๘ ก.ย. ๒๕๕๖ เขียนภาพสดโดย ศิลปินเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ ณ โถงนิทรรศการสถาบันปรีดี พนมยงค์ • ๒๙ ก.ย. ๒๕๕๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. การแสดงละครเรื่อง “Fireflies in the garbage room” โดย คานธี วสุวิชย์กิต • ๒๙ ก.ย.-๑ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ น. อ่านบทละคร ดนตรี ลีลา : ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง โดย กลุ่มละครกุหลาบแดง • ๕ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง “สันติประชาธิปไตย” โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มศิลปินเพื่อสันติภาพ 

รูปภาพ : Rice now ในเทศการศิลปะนานาพันธุ์ • ๕-๖ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ น. แสดงละครเวทีเรื่อง “ผีแมวดำ” โดย กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร (๖ ต.ค. เพิ่มรอบ ๑๔.๐๐ น.) 

• ๗ -๘ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ น. แสดงละครเวทีเรื่อง “โรโมรุส ออนเดอะร็อค” โดย คณะละครมรดกใหม่และกลุ่มละครกุหลาบแดง 

• ๑๒ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. รายการผลิบานในม่านควัน โดย สิทธิธรรม โรหิตะสุข / แนะนำหนังสือ “แผ่นดินเดียวกัน”/ เสวนาวรรณกรรม : แก้วหยดเดียว และ ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง /อ่านบทกวีนำโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี และนักกวีกว่า ๒๐ คน / เวลา ๑๗.๐๐ น. มินิคอนเสิร์ต “ดนตรี กวี ภาพ” โดย สันติภาพ นาโค 

• ๑๒-๑๔ ต.ค. ๒๕๕๖ เวลา ๒๐.๐๐ น. แสดงละครเวทีเรื่อง “ไต้ฝุ่น” โดย สาขาวิชาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มบี-ฟลอร์ เธียร์เตอร์

นิทรรศการภาพศิลปะเปิดให้ชม ๒๘ กันยายน – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ มีการแสดงละครเวที เสวนาวรรณกรรม อ่านบทกวี ดนตรี ภาพยนตร์ ฯลฯ 


สำนักงานเลขานุการสถาบันปรีดี พนมยงค์ โทรศัพท์ ๐-๒๓๘๑-๓๘๖๐-๑ www.pridiinstitute.com https://www.facebook.com/pridibanomyong.inst

ช็อตเด็ดวันนี้:น้ามตาจะไหล

ที่มา Thai E-News





ถูกใจหน้านี้ · 4 ชั่วโมงที่แล้ว 

ใจเย็นลูก... ถ้าลูกรู้ว่าเป็นใคร ลูกจะไม่พูดแบบนี้

สมาคมสื่อมวลชนนครศรีฯ แถลงการณ์ประณาม “ม็อบยางพาราคุกคาม ทำลายทรัพย์สินสื่อมวลชน”

ที่มา go6tv



วัน ที่ 27 กันยายน 2556 (go6TV) - สมาคมผู้สื่อข่าวนครศรีธรรมราช ออกประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1 วันที่ 22 กันยายน 2556 ประณามการชุมนุมเคลื่อนไหวม็อบยางพารา อำเภอชะอวด นครศรีธรรมราชว่าผู้ชุมนุม ก้าวร้าว คุกคาม ทำลายทรัพย์สินอุปกรณ์การทำข่าวของสื่อมวลชน  ม็อบสวนยางมีพฤติกรรมปลุกปั่นยุยงและคุกคามสื่อฯกันเองด้วยการบันทึกภาพและ นำไปสร้างกระแสข่าวผิดๆทำนองว่าเป็นคนของทางการ  จึงออกแถลงการณ์ดังนี้

1.      สมาคมผู้สื่อข่าวนครศรีธรรมราช เสียใจเป็นอย่างยิ่งกับพฤติกรรมของกลุ่มสื่อสารมวลชนในพื้นที่ ที่มีพฤติกรรมยุยง ปลุกปั่น สร้างความหวาดระแวงให้กับผู้ชุมนุมจนไม่มีท่าทีเป็นมิตรกับผู้สื่อข่าวหลาย สำนักในขณะปฏิบัติหน้าที่

2.      สมาคมฯ ขอยืนยันว่าผู้สื่อข่าวทุกสำนักนั้นต่างมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่าง เต็มที่เพื่อเสนอข่าวสาร ภาพข่าวให้ดีที่สุด และรอบด้านเพื่อความเป็นธรรม

ทั้ง นี้ ภายหลังจากออกแถลงการณ์ดังกล่าวเผยแพร่กับกลุ่มผู้ชุมนุม ได้เกิดปฏิกิริยาด้านลบ จากเพจม็อบสวนยางในทันทีด่ากราดด้วยถ้อยคำหยาบคายต่อต้านการแถลงการณ์ใน ครั้งนี้ด้วย

ตัดต่อเป็นอาชีพ! "ทีมกรณ์" ตัดต่อภาพนักร้องดัง Justin Bieber ใส่ข้อความประท้วงเขื่อน

ที่มา go6tv



วันที่ 26 กันยายน 2556(go6TV) ตัดต่อก็อปปี้อีกแล้ว "ทีมกรณ์" Team-Korn Chatikavanij English ได้เผยแพร่ภาพนักร้องวัยรุ่นชื่อดังที่กำลังเปิดคอนเสิร์ตบ้านเรา Justin Bieber  โดยนำภาพจากอินสตาแกรมของนักร้องชื่อดัง มาตัดต่อแล้วใส่ข้อความในภาพว่า  "Justin Bieber NO DAM แม่วงก์"

โดยในภาพดังกล่าว ทีมกรณ์ ได้เขียนข้อความภาษาอังกฤษ กำกับด้วยว่า  "Wow, even the Bieber is following Thai politics"  แปลได้ว่า  "ว้าวววว! บีเบอร์ก็ติดตามการเมืองไทยด้วยเว้ยยย"

"แม่น้องเกด" เผชิญหน้า "อภิสิทธิ์" ประชุมร่างนิรโทษ คืบหน้าพอสมควรแล้ว

ที่มา go6tv


เมื่อ เวลา 13.30 น. วันที่ 26 กันยายน ที่รัฐสภา มีการประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทาง การเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... โดยมี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานคณะ กมธ. กมธ.ได้เชิญนายคารม พลพรกลาง และนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เข้าชี้แจง

ทั้ง นี้ กลุ่มญาติวีรชน เมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 นำโดย นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในวัดปทุมนารามในเหตุสลายการชุมนุมในปี 2553 พร้อมด้วย นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดานายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ น้องเฌอ เยาวชนนักกิจกรรมที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม และนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานกลุ่มญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ขอเข้าร่วมรับฟังการประชุมด้วย


ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดการประชุมทาง กมธ. สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้มีการซักถามและขอเอกสารทางคดีกับนายคารม ซึ่งนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ปชป. กล่าวว่า ในการทำคดีที่ผ่านมา คดีใดที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้มีการประกันตัวชั่วคราว ขอให้นำคำสั่งนี้มาให้ กมธ.ด้วย เพื่อที่จะนำมาเป็นกรอบให้กับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า ความผิดใดที่ศาลเห็นว่าไม่ควรได้รับการประกันตัวชั่วคราว อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ค่อนข้างที่ตึงเครียดขึ้นเป็นระยะๆ เนื่องจาก นายสามารถได้พยายามจะตัดบทการซักถาม เพราะเห็นว่า การเชิญนายคารมและนายวิญญัติมาเพื่อเป็นการถามความเห็นในการออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่ใช่เชิญมาเพื่อให้ไต่สวน หากอยากได้เอกสารให้มาบอกจะได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปขอมาให้ แต่ กมธ.พรรค ปชป.หลายคนทักท้วงเพราะเห็นว่า ที่ประชุมควรเปิดให้มีการสอบถามนายคารม และนายวิญญัติได้อย่างเต็มที่

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมเสร็จ นางพะเยาว์ พร้อมทั้งกลุ่มญาติ และนายอดุลย์ ได้รอ กมธ. ที่กำลังทยอยกันเดินออกจากห้องประชุมที่บริเวณด้านหลังห้องประชุมเพื่อขอสอบ ถามความคืบหน้าของการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นไปด้วยความล่าช้า ทั้งที่มีการประชุมไปแล้วถึง 5 ครั้ง โดยเห็นว่า ส.ส.สัดส่วนรัฐบาลไม่ใส่ใจอย่างเต็มที่เพื่อต้องการให้เดินหน้าร่างฉบับนี้ ให้แล้วเสร็จ อีกทั้งยังเห็นว่า คณะ กมธ.ควรนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชนมาพิจารณาควบคู่ด้วย เนื่องจากเห็น่ว่าประชาชนที่อยู่ในเรือนจำเดือนร้อนมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว

ทั้ง นี้ ระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ในฐานะ กมธ. กำลังเดินออกไป นางพะเยาว์ได้เข้าสอบถามถึงสาเหตุที่การพิจารณาของคณะ กมธ.ล่าช้า ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า ด้วยการประชุมสภาฯที่มีวาระสำคัญหลายเรื่อง จึงทำให้ กมธ.เดินหน้าช้า ทั้งนี้ ตนไม่สามารถตอบแทน กมธ.สัดส่วนของ พท.ได้ว่า เหตุใดจึงไม่ตื่นตัวในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.เท่าที่ควร ทั้งนี้ ตนมีเห็นด้วยกับแนวคิดร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนของกลุ่มญาติวีรชนอยู่แล้วว่า ไม่ควรนิรโทษกรรมให้แก่ผู้มีเจตนาประทุษร้าย โดยขณะนี้ เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯที่พิจารณาอยู่ในขณะนี้มีประเด็นอยู่ที่เนื้อหาว่าจะนิรโทษ ครอบคลุมใครบ้าง
                
ต่อ มา นายสามารถ ได้เข้ามาชี้แจงต่อนางพะเยาว์ว่า เหตุที่ไม่สามารถเดินหน้าได้เร็วเพราะต้องรับฟังความเห็นจาก กมธ.ทุกคน เพราะหากเร่งรีบจะโดนครหาว่ารัฐบาลใช้เสียงข้างมากในการเร่งรัด เร่งรีบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยขณะนี้ กมธ.ได้พิจารณาจนได้ความชัดเจนในเบื้องต้นแล้วว่า จะไม่นิรโทษฯ ให้แกนนำเป็นหลัก ไม่รวมแกนนำผู้สั่งการ และนักโทษคดี ม.112 แต่ยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ คาดว่าการประชุม กมธ.จะพิจารณาลงรายละเอียดในรายมาตราได้

ขอขอบคุณมติชนออนไลน์