เปิดตัวโครงการ ‘อ่านนายผี’ ซีรี่ย์ประวัติศาสตร์รวมงานเขียนกวี
บทความ งานแปล เรื่องสั้น พร้อมเสวนาจาก เดือนวาด พิมวนา และสมศักดิ์
เจียมธีรสกุล โยงการเมืองยุคนายผีสู่ปัจจุบัน วิพากษ์แวดวงกวี ปัญญาชน
และเสื้อแดง
18 ก.ย.56 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนา ‘โซร่หลุดขาคู่อ้า ออกแล้ว เรายืน กวีของนายผี และการเมืองของอัศนี พลจันทร’ ในวาระครบอบชาติการ 95 ปีของนายผี อัศนี พลจัรทร พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการ ‘อ่านนายผี’ จัดโดยสำกนักพิมพ์อ่าน ร่วมกับโครงการปริญญาโท ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มธ.
ทั้งนี้ นายผี เป็นนามปากกาของ อัศนี พลจันทร กวี นักเขียน ปัญญาชนผู้มีเชื่อเสียงในยุคเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยครั้งสำคัญ และมีบทบาทสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายไฟ เขาเกิดเมื่อ 15 กันยายน 2461 และเสียชีวิตในปี 2530 ประเทศลาว รวมอายุ 69 ปี นำกลับประเทศไทยมาเพียงเถ้ากระดูก คนรุ่นใหม่รู้จักกันเขาในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน)
เนาวนิจ สิริผารัตน์ ผู้จัดทำโครงการ ‘อ่านนายผี’ กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นการรวบรวมและตีพิมพ์งานเขียนของอัศนีทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นกวี เรื่องสั้น บทความ งานแปล ที่อัศนีเขียนไว้ในช่วงปี 2484-2502 ก่อนจะเข้าป่า โดยสำนักพิมพ์อ่านและสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันได้จัดทำเป็นหมวดหมู่รวมแล้วราว 15 เล่ม โดยต้นฉบับจำนวนมากได้รับมาจากคุณวิมลมาลี พลจันทร บุตรสาวของอัศนี โดยเบื้องต้นคุณวิมลมาลีต้องการบริจาคต้นฉบับที่มีอยู่ 1 ลังให้หอจดหมายเหตุ ธรรมศาสตร์ และต้องการหาผู้จัดพิมพ์โดยมีเงื่อนไขว่าต้องพิมพ์ตามต้นฉบับเดิมทุกประการ โดยต้นฉบับดังกล่าวมีทั้งที่เป็นลายมือ รวมถึงเอกสารต้นร่างที่ ‘ป้าลม’ ภรรยาอัศนีได้รวบรวมงานของอัศนีมาไว้เตรียมจัดพิมพ์ แต่ท่านมาเสียชีวิตเสียก่อนจะมีการจัดพิมพ์ตามที่ตั้งใจวางแผนไว้ในปี 2546 ในวาระครบรอบ 85 ปีนายผี
ในเบื้องต้นสำนักพิมพ์อ่านจัดพิมพ์ออกมาแล้ว 2 เล่ม คือ ศิลปาการแห่งกาพย์กลอน และ กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์ สังคมและการเมืองสยาม (2484-2490) ในรูปเล่มขนาดเล็กกระทัดรัดตามเจตนารมณ์ของทายาทนายผีที่ต้องการให้ต้นฉบับ ดังกล่าวเขาถึงประชาชนให้มากที่สุด
เพราะมันจะไหลไปเรื่อยเพื่อเบี่ยงเบนจุดยืนที่เขาไม่มีอยู่จริง”
ในส่วนของการเสวนานั้น เริ่มต้นที่ เดือนวาด พิมวนา นัก เขียนรางวัลซีไรต์ปี 2546 กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งมากมายตั้งแต่อดีตงปัจจุบัน ไม่ว่าสถานการณ์จะทำให้คนตื่นขึ้นมาแค่ไหน แต่คนที่รู้สึกกับมันตราบนานเท่านานคือ คนที่เป็นพี่เป็นน้องของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ตายไป จะหวังให้คนอื่นขึ้นมาทำอะไรให้คนเหล่านั้น ไม่ว่ายิ่งใหญ่เหมือนายผีหรือศพข้างถนนก็ตาม คงไม่มีใคร นอกจากญาติๆ ของพวกเขา
สถานการณ์ทางสังคมของยุคซ้ายจัดหรือในยุคนายผีนั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา ไม่ต้องนั่งตีความ ‘ความเป็นซ้าย’ แบบในปัจจุบัน เมื่อพูดถึง ‘ซ้าย’ ในอีดตสภาพก็ชัดสำหรับสังคมยุคเปลี่ยนผ่านที่สิ่งต่างๆ ยังยุ่งเหยิง ไม่ลงตัว เมื่อพูดว่าประชาธิปไตยยังใช้ไม่ได้ก็เป็นอันเข้าใจได้ว่ายังมีเรื่องต้องทำ อีกเยอะมาก ขวาจัดคือขวาจัดจริงๆ ซ้ายจัดคือซ้ายจัดจริงๆ เป็นยุคสมัยที่เราจะไม่สงสัยกับถ้อยคำประเภท ‘ชนชั้น’ ‘ประชาชน’ เพราะเราเห็นอย่างชัดเจน
กลุ่มสังคมกวี นักเขียน อาจไม่ต่างกันมากนักระหว่างยุคนี้กับยุคนายผี เพราะนายผีก็มีวิจารณ์คนเขียนกวียุคนั้นเองว่า การเขียนในเชิงจิตนิยมมากไป ไม่ต่อสู้ ไม่ชัดเจนว่าอยู่ข้างประชาชน ทำตัวเป็นผู้มีมนุษยธรรมแบบกลางๆ นั้นไม่ถูกต้อง แม้นายผีจะไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจรังงอนมากนัก แต่ก็ตัดสินลงไประดับหนึ่งว่าไม่ควรทำ ไม่มีประโยชน์ แม้แต่จะเขียนในทัศนะว่าเรามองสังคมอย่างมีมนุษยธรรม สำหรับนายผีแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เป็นเพียงทัศนะจิตนิยมธรรมดาของคนที่ไม่อยากเปลืองตัว
อย่างไรก็ตาม สภาพการณ์ตอนนั้นเป็นเรื่องน่าอิจฉา เพราะหากนายผีจะต่อสู้กับรัฐบาล ความไม่เป็นธรรม หรือชนชั้น มันมีความตรงไปตรงมาอย่างยิ่งและชัดเจนมากในสังคมยุคนั้น
“จุดยืนของนายผีจึงพลอยมั่นคงไปด้วย พูดแล้วน่าอิจฉาสำหรับสภาพสังคมที่ซื่อตรงและชัดเจนนั้น...ทุกคนจะเห็นว่า เขาเป็นคนที่มีทัศนะที่ตั้งมั่น ปักลงไป มีจุดยืนแล้วเดินตรงไป ไม่เลี้ยวไปในทิศใดทั้งสิ้น เขามีจุดหมายและไปจนกระทั่งท้ายที่สุด นี่คือผู้ที่นับถือตนเองได้ถึงที่สุด”
ที่ผ่านมาแม้มีการวิพากษ์ว่าแนวคิดซ้ายจัดอย่างนายผีเป็นทัศนะที่คับแคบ แต่ก็เป็นทัศนะที่กวีในยุคนี้รับเป็นดอกผลทางความคิด เป็นต้นแบบตลอดมา
“คุณไม่มีทางเป็นอย่างนายผีได้ ด้วยความซับซ้อนในความเป็นมนุษย์ของคุณที่ไม่เคยมีจุดยืนที่แท้จริงและไม่สามารถนับถือตนเองได้”
มาถึงวันนี้นึกถึงคำตำหนิของนายผีเรื่องคนมีทัศนะทางจิตนิยม ซึ่งสะท้อนถึงอะไรบางอย่างที่หลายคนสงสัยในกวีและปัญญาชนยุคนี้ นั่นคือ ความไม่ชัดเจน ความสับสน การไม่มีราก สร้างวาทกรรมที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปสู่ปัญหาที่แท้จริง
“คุณอยากจะด่านายทุน แต่คุณก็ยังจะต้องมีผลไม้ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดของนายผีอยู่ด้วย ด่านายทุนเหมือนนายผีเลย แต่ปรากฏว่าไม่มียุคสมัยใดที่กวีจะเขียนด่าประชาชนได้เท่ายุคสมัยนี้...นี่ คือคำตอบว่าคู่ขัดแย้งในยุคสมัยของนายผีนั้นชัดเจนมาก พอมาถึงวันนี้เหมือนไม่รู้กวีจะยืนอยู่ตรงไหน ความสับสนนี้คือสภาพการณ์”
“ความสับสนนี่เองที่ทำให้รู้สึกอิจฉานายผีมาก อิจฉาความตรงไปตรงมา ความชัดเจน เรารู้ว่าเราสู้กับใคร ...มาถึงวันนี้คุณก็พูดกับคู่ขัดแย้งของคุณนั่นแหละ คุณก็พูดเรื่องประชาธิปไตย เขาก็พูดเรื่องประชาธิปไตย ปรากฏว่าไม่มีคู่ขัดแย้งที่ชัดเจนแล้ว”
เรื่องนี้ทำให้ย้อนกลับไปคิดเรื่องจิตนิยม แต่เป็นจิตนิยมในภาพกว้างของสังคมไทยโดยขอเปรียบเทียบวิธีคิดที่ว่า ประเทศมีหลักการประชาธิปไตยอยู่ แต่ปัญหาอยู่ที่คนคนเดียว เป็นวิธีคิดที่ไม่เอาหลักการ แต่คิดเรื่องคนดี คนเลว คนๆ เดียว เป็นทัศนะที่หลักการจะดีอย่างไรก็ตาม แต่เชื่อว่าถ้าคนเลวเข้าไปทำก็ใช้ไม่ได้ ประชาธิปไตยจึงไม่สำคัญ การรัฐประหารจึงทำได้ วิธีคิดนี้สอดคล้องกับทัศนะที่นายผีพูดไว้ในวันนั้น
“นี่เราถึงยุคสมัยที่คนทั้งประเทศเห็นด้วยกับทัศนะจิตนิยมที่จะไม่เอาหลักการ”
“ถึงวันนี้ประชาชนตื่นขึ้นมามาก เพื่อมาฟังเรื่องทางกาเรมือง แต่ฉับพลันทันทีก็รู้สึกโง่ลงไปถนัดใจ เพราะคิดว่าประชาธิปไตยเป็นอะไรที่ไม่ได้ยากจนเกินไป เรารู้สภาพการณ์ มันติดอะไรที่น่าจะอธิบายได้ง่ายๆ แต่นักวิชาการอธิบายมันเพื่อดึงให้ห่างจากที่มันเป็นอยู่จริง ดึงไปไกลจนกระทั่งถ้ามีคอรัปชั่นสักนิดหนึ่ง ประชาธิปไตยก็ไม่ดีแล้ว..เพื่ออธิบายว่ารัฐประหารทำได้ ถ้าคนที่กุมอำนาจนั้นเลว”
“นี่คือสภาวะจิตนิยมอย่างที่สุดที่จะเอามาล้มล้างระบอบการปกครองในลักษณะ ที่ไม่เอาหลักการ เอาเรื่องจิตนิยม จะเอาคนดี จะเอาเรื่องมนุษยธรรม หลายคนก็มีลักษณะที่พาดตัวเองขึ้นไปอยู่ในจุดที่ ทำทุกทวิถีทางที่จะไม่เอาตัวเองไปอยู่ในคู่ขัดแย้ง ขอเป็นคนขาวๆ ขอเป็นคนกลางๆ ฉันพูดเรื่องนี้ได้โดยไม่ใช่ผู้ขัดแย้ง แต่รู้ไหมว่า คู่ขัดแย้งที่เห็นหน้าเห็นตากันแล้วเกลียดกันในทุกวันนี้ ยังไม่ใช่ผู้ที่จะสามารถล้มล้างวิธีคิดที่เป็นหลักการที่เราจะอยู่ร่วมกัน ได้ เท่ากับคนที่มีมนุษยธรรม ยืนอยู่ข้างนอก แล้วเบี่ยงเบนความคิดด้วยความชาญฉลาดว่า ทุกอย่างละเมิดได้ กฎทุกอย่างผิดหมด และเรามีคำอธิบายที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง ชาวบ้านตื่นแค่ไหนก็ไปไม่ถึงคำอธิบายของปัญญาชนยุคนี้ เพราะมันจะไหลไปเรื่อยเพื่อเบี่ยงเบนจุดยืนที่เขาไม่มีอยู่จริง”
อย่างไรก็ตาม หากพูดเรื่องประชาชน ขอยกประสบการณ์ที่ได้สัมผัสประชาชนในยุคนี้ ช่วงตัดสินรางวัล ‘ฟรีไรท์ อะวอร์ด’ เป็นรางวัลที่คนทางฝั่งแดงทำขึ้นมา ไม่มีนักเขียนทั้งแดงหรือเหลืองส่งเข้ามาเลย แต่ปรากฏว่ามีชาวบ้านเขียนหนังสือ บทกวี ส่งเข้าเยอะมาก กลายเป็นความรู้สึกว่า ชาวบ้านที่ได้เผชิญกับสถานการณ์เองเขาไม่จำเป็นต้องไปนั่งอ่าน พึ่งพาบทกวีของนักเขียนต่างๆ นานา
“นี่คืออารยธรรม เป็นความตรงไปตรงมา เหมือนที่เราอ่านนายผีแล้วรู้สึกว่าเขาอยู่ในสถานการณ์ เป็นคนของสถานการณ์ และตรงไปตรงมา ชาวบ้านเขียนคำหยาบเยอะมาก เขียนผิดๆ ถูกๆ แต่สนุกมาก...ความเลวร้าย ความทุกข์เป็นแรงบันดาลใจ แรงขับดันจากความทุกข์ทำให้คุณต้องเลือกหลายอย่าง กลายเป็นความแค้น สุดท้ายประชาชนระบายเป็นกวี เป็นอารยธรรมใหม่ที่เกิดจากประชาชนที่เกิดจากแรงบันดาลใจที่บริสุทธิ์มาก”
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงนี้หมกมุ่นอยู่กับประเด็นที่ว่าวิกฤตในรอบหลายปีที่ผ่านมา มาถึงจุดที่บางคนเรียกว่า เกี๊ยเซียะกันแล้ว แต่ไม่อยากอธิบายแบบนั้นและเห็นว่าเป็นสภาวะที่อึมครึม บอกไม่ถูก จะเห็นได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีพลวัตรมาตลอดมาถึงจุดที่จำกัดแล้ว จุดเริ่มต้นของเสื้อแดงอาจมีคนเล็กคนน้อยรวมถึงเขาเองเป็นผู้ร่วมทาง แต่ส่วนใหญ่มาจากคนที่เชียร์ทักษิณและต้องการให้รัฐบาลทักษิณอยู่ในอำนาจ เป้าหมายนี้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยบางอย่าง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับเสื้อแดงก็ทำผิดพลาดหลายครั้ง ทั้งในช่วงปลายปี 2551 หรือปี 2553 ไม่คิดว่าก่อนตายจะได้เห็น ขณะที่ฝ่ายทักษิณและผู้สนัสนุนยิ่งสู้ยิ่งแข็ง เราจะเห็นว่า นปก.ระดมพลตอนแรกนั้นยากมาก ใช้เวลาไม่น้อยกว่านักวิชาการจะก้าวเข้ามาช่วยค่ายนี้ อย่างน้อยก็มีความเห็นอกเห็นใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2554 และเห็นชัดขึ้นในปีที่ผ่านมา คือ คนที่เป็นฐานเสื้อแดงมีเป้าหมายสูงสุดให้รัฐบาลของพวกเขาอยู่ในอำนาจ ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายนี้ผิด เขาเองก็สนับสนุนในแง่ว่ารัฐบาลนี้ถูกล้มไปโดยไม่ชอบธรรม พรรคนี้ชนะเลือกตั้งมาหลายครั้ง แต่หลักการนี้พอให้ความสำคัญสูงกว่าปัญหาอื่นๆ ก็จะกลายเป็นปัญหา ตัวอย่างประเด็นที่มีการดีเบตเร็วๆ นี้น่าตกใจมากคือ กลุ่มญาติผู้สูญเสียบรรจุกลุ่มทหารลงไปใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย คนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าถ้าใส่แล้วจะทำให้คนในคุกไม่ได้ออกจากคุก ซึ่งไม่ make sense เท่าไร เพราะนี่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ ปฏิกริยาตอบกลับที่รุนแรงมาก รวมถึงกรณี ‘ใบตองแห้ง’ ที่เห็นว่าถ้ารัฐบาลตกลงกับทหารไว้แล้วทหารจะยอมหรือ
“เดี๋ยวนี้ปัญญาชนแอคติวิสต์จะต้องยอมรับการตกลงที่รัฐบาลไปตกลงกับทหาร ตั้งแต่เมื่อไร ผมสะดุ้งมาก นี่คือปัญหารวมศูนย์ของเสื้อแดง อะไรที่เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล อะไรจะไปรบกวนยุทธศาสตร์นี้ คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่ยอมรับ น่าสนใจว่าประเด็นทหารหายไปหมดเลย มูดทั้งหมดเปลี่ยนไปเลย...เราไม่ได้ยินเสียงระดับชาวบ้านนั้นพอเข้าใจ แต่ปัญญาชนเงียบ ปัญญาชนที่แอนตี้ทักษิณตอนนี้มาดีเฟนด์รัฐบาลหมด”
ประเด็นเรื่องการเมืองของนายผีนั้น หากเราจับนายผีเข้าไปอยู่ในบริบทของปัญญาชนไทย หลัง 2475 เป็นต้นมา อาจแบ่งได้เป็น 3 generation ใหญ่ๆ โดยนายผีนั้นอยู่ร่วมยุคกับปรีดีและเหตุการณ์ในช่วงนั้น นายผีเข้ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ตอนอายุ 20 ปี จอมพล ป.เป็นนายกฯ พอดี เป็นช่วงยุคเสื่อมของคณะราษฎร เกิดสงครามโลก เกิดกรณีสวรรคต และรัฐประหาร 8 พ.ย.2490 ซึ่งฟื้นอำนาจกลุ่มอนุรักษ์นิยม เกิดการปฏิวัติจีนและเริ่มต้นสงครามเย็น นี่เป็นสิ่งที่ form คนรุ่นนี้ขึ้นมา แม้กระทั่งจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นจูเนี่ยของรุ่นนี้ก็ยังเห็นหางเลขของปรากฏการณ์เหล่านี้
คำถามสำคัญคือ คนส่วนใหญ่ที่เป็นซ้ายในยุคนี้เริ่มต้นจากเชียร์ปรีดีก่อนแล้วมาลงเอยที่ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (พคท.) เป็นเรื่องน่าสนใจว่าทำไมในที่สุดแล้วมันไม่มีที่ยืนสำหรับผู้มีความคิดฝ่าย ซ้าย งานนายผีที่นำมาตีพิมพ์ทำให้เราเคลียร์ยิ่งขึ้นเรื่องการเปลี่ยนผ่านของนาย ผี จากปรีดีมาเป็นพคท. การรวมงานชิ้นนี้ทำให้เห็นว่านายผีเปลี่ยนเป็นซ้ายประมาณปี 2491 จะเห็นว่ากลอนช่วงปี 2489-2490 เป็นช่วงรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ซึ่เป็นนอมินีของปรีดี น่าแปลกใจว่านายผีเขียนด่ารัฐบาลหลวงธำรงฯ หลายชิ้น ทั้งๆ ที่นายผีรักปรีดีมาก และยังเห็นผลงานนายผีที่ยังอ้อยอิ่งอาลัยอาวรณ์กับวัฒนธรรมศักดินาอยู่บ้าง
อย่างไรก็ตามีบทความจำนวนหนึ่ง เช่น ใน นสพ.การเมือง นายผีเขียนบทความ ‘อุตตรกุรุทวีป’ มีเนื้อหาบางส่วนที่สะท้อนว่าเขาได้อ่านเลนิน และยังมีบทความหนึ่งที่ด่าพวกปรีดีว่าเป็นปฏิกิริยาไม่น้อยไปกว่าพวกเจ้าและ จอมพลป.
“แต่สุดท้ายมาลงเอยที่ พคท. ถึงที่สุดแล้วอาจเป็นเพราะปรีดีไม่ได้ผลิตงานที่สามารถดึงคนได้จริงๆ นี่เป็นคำพูดของผิน บัวอ่อน พอตื่นตัวแล้ว อ่านงานปรีดีแล้วมันตัน หาอ่านต่อไม่ได้ พออ่านงานมาร์คซิสม์แล้วตื่นขึ้นมาเลย”
เมื่อมองย้อนกลับมาที่เสื้อแดงจะพบว่า เสื้อแดงยังก้าวไม่ข้ามทักษิณ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ก้าวข้าม ขณะที่เมื่ออ่านงานนายผีจะเห็นว่าเขาก้าวข้ามปรีดีแล้ว อย่างน้อยก็ก้าวข้ามรัฐบาลปรีดี
ช่วงปี 2491-2493 เป็นช่วงเข้า พคท. ปี 2495-2496 เป็นช่วงที่นายผีทำงานพีคที่สุด คือเรื่องความเปลี่ยนแปลง ขณะที่เรื่องอีสานที่ว่าดังที่สุดนั้นเขากลับไม่เห็นว่าเป็นงานที่พีค เพราะอ่านยังไงก็ไม่ลงรอย ยังด่านักการเมืองซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด ในขณะที่วิธีคิดเขาเปลี่ยนไปแล้ว แต่หากอ่านเรื่องความเปลี่ยนแปลง นายผีอธิบายสภาวะ กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา ได้ดี
รุ่นนายผี นักศึกษาใน มธก.มาเป็น พคท.เยอะมากหรือไม่ก็เป็นแนวร่วม ตอนที่ พคท.ตัดสินใจสู้ด้วยอาวุธ ส่วนหนึ่งเพราะสฤษดิ์ปราบปรามอย่างหนักด้วย แต่มันทำให้สถานการณ์ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง
นายผีช่วงพีคนั้นไปเมืองจีนศึกษามาร์กเลนิน น่าเสียดายมาก จาก 2495-2525 ช่วง 30 ปีนี้แทบไม่เห็นงานนายผีเลย นายผีคงมองเห็นตัวเขาเป็นนักปฏิวัติมากกว่ากวี เอาเข้าจริงนายผียุ่งการเมืองในขบวนปฏิวัติมากกว่าจิตรเยอะ และผลจากการเข้าไปยุ่งนี้ทำให้การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในพรรคมีผลกำหนดงานของเขา ในช่วงความขัดแย้งแนวทางของพรรค ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เสนอว่าต่อสู้ในชนบทไม่ได้ต้องต่อสู้ทางการเมือง หลายคนเห็นด้วยกับประเสริฐรวมทั้งนายผีด้วย แต่สุดท้าย พคท.ก็หันไปสู้ด้วยอาวุธ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีเอกสารของการโต้เถียงของกลุ่มฝ่ายซ้ายในเรื่องนี้แล้ว
เมื่อนายผีกลับมาในปี 2500 ปี 2504 ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางในสมัขชา 5 ของ พคท. จากตรงนี้ถึง 2520 นายผีมีบทบาทสูง อุดม ศรีสุวรรณ บอกว่านายผีไปเข้ากับพวกที่เชื่อในการปฏิวัติวัฒนธรรมและต้องการโค่นศูนย์ การนำ หนังสือ “ดาวเหนือ” ออกมา 11 ฉบับแล้วหายไป พอเกิดกรณีพิพาทนายผีเป็นบก. ของหนังสือพิมพ์เล่มใหม่ชื่อ “ชาวคอมมิวนิสต์” โดยเปิดฉากวิจารณ์สหายนำอย่างเผ็ดร้อน สรุปแล้วนายผีมีบทบาทเยอะมากในการผลิตเอกสารในการสู้กันในป่า แต่เราไม่เหลือหลักฐานอะไร ซึ่งการสู้กันนั้นมีผลสำคัญมากกับชีวิตเขา สุดท้ายกลุ่มนี้แพ้เพราะมีลักษณะซ้ายจัด พอแพ้ก็ไปจีน เวียดนาม แล้วไปลงเอยที่ลาว อย่างไรก็ตาม งานการเมืองนายผีมีลักษณะซ้ายมาก แต่หากเป็นเรื่องวรรณกรรมงานจะมีลักษณะผ่อนปรนมากกว่า
“เราจะเห็นว่า เรายังรู้จักนายผีน้อยในแง่งานของเขาจริงๆ แม้กระทั่งงานวรรณกรรมในป่า บทความในป่า 30 ปี หลังจาก 2495 เราไม่เหลือเลยทั้งที่เขามีบทบาทสูง ...นายผีเป็นตัวอย่างให้เห็นเลยว่า พอมีปัญหาเรื่องการเมืองแล้วทำงานไม่ได้”
ความจริงควรมีปัญญาชนอีกรุ่นหนึ่งในช่วง 20-30 ปีหลัง พคท.พัง แต่บทบาทกลับน้อยลงมาก โดยมีปัญหาใหญ่ 2 ข้อคือ ปัญญาชนรุ่น 14 ตุลาที่ผ่านประสบการณ์ตรงนั้น นอกจากล้มเหลวจากพคท.มาแล้วยังล้มเหลวในการสร้างงานด้วย ปัญญาชนในยุคปัจจุบันที่อายุ 30 เศษถึง 40 ต้นๆ ก็ควรที่จะมีมากกว่านี้ แต่ทำไมมันจึงไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งก็เพราะพวกเขาเคารพรุ่นผู้ใหญ่มากเกินไป
“พอรุ่นผู้ใหญ่ทำห่วยแตก พอไม่กล้าเบรคก็ห่วยตามไปด้วย ผมเรียกว่ารุ่น lost generation ตลอด 30 ปีหลังพคท.พังมันมีปัญหาเรื่องอุดมการณ์”
ปัญหาเรื่องอุดมการณ์ดังกล่าวสืบเนื่องมากจากการขยายคอนเซ็ปท์เรื่องการ เมือง ซึ่งมีบางอย่างได้ บางอย่างเสีย คนรุ่นใหม่ไปทาง cultural politics (การเมืองวัฒนธรรม) การเมืองขยายอาณาเขตไปไกลเป็นการเมืองวัฒนธรรม และเป็นปัญหาหัวใจใหญ่ที่แชร์ร่วมกันของบรรยากาศปัญญาชนหลัง พคท. นั่นคือ ความไม่เป็นการเมืองของการเมืองวัฒนธรรม ซึ่งต่อให้ขยายความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเพียงใด แต่มันไม่มีเรื่องอำนาจรัฐ และรูปแบบอำนาจรัฐ
อีกตัวอย่างคือ การมองปัญหาผ่านสังคมเศรษฐกิจ แก้ปัญหาที่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงซึ่งมีปัญญาชนหลายคนนำเสนอในแนวนั้นโดยตลอด ถ้าอย่างนั้นชาตินี้ก็ไม่ต้องแก้ปัญหาแล้ว เพราะทุกที่มีความเหลือ่ล้ำต่ำสูง แม้แต่สหรัฐอเมริกา แสดงว่าการเมืองประชาธิไตยไม่ได้ขึ้นต่อความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจ ขณะที่วิธีคิดฝ่ายซ้าย พคท.อธิบายบนฐานเศรษฐกิจ และยังพูดถึงรูปแบบพรรคการเมืองด้วย เพราะต้องการเปลี่ยนอำนาจรัฐ
“สิ่งที่เป็นหัวใจ จุด่ออนที่ใหญ่ที่สุดของรุ่นหลังพคท. คือ ความไม่เป็นการเมืองของการเมือง พูดง่ายๆ ว่าขาดด้านการเมือง ในแง่ที่คิดถึงอำนาจรัฐและรูปแบบอำนาจรัฐ ตรงนี้ขาดมาก แต่ไปอธิบายเรื่อง culture บ้าง เศรษฐกิจบ้าง และอันนี้ยังกำกับความคิดของคน ถึงที่สุด ปัญญาชนปัจจุบันไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องการอะไร จะเปลี่ยนรูปแบบอำนาจรัฐที่เป็นอยู่อย่างไร”
นิติราษฏร์เป็นข้อยกเว้น แม้ว่าพวกเขาส่วนใหญ่ไม่มีแบคกราวน์ฝ่ายซ้ายหรือมีน้อยก็น้อย แต่อาจเพราะคนกลุ่มนี้ถูกเทรนด์มาทางนิติศาสตร์และคิดเรื่องอำนาจรัฐ รูปแบบอำนาจรัฐมาตลอด แต่กระนั้น นิติราษฎร์ก็ยังจำกัดตัวเองมาก อะไรที่ข้ามเขตแดนกฎหมายก็จะไม่ออกมา
นอกจากนี้ปัญญาชนที่ศึกษาการเมืองวัฒนธรรมก็ยังไม่แตะปัญหาวัฒนธรรมกษัตริย์นิยมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในทางวัฒนธรรมด้วย
ถ้าแบ่งเฉดสังคมไทย จะเห็นว่ามีแนวคิด สังคมนิยม เสรีนิยม กษัตริย์นิยม ซึ่งเสรีนิยมที่อยู่ตรงกลางนั้นจะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดอยู่แล้ว และในประวัติศาสตร์สังคมไทยฝ่ายเสรีนิยมจะเจอคำถามเรื่องความหน้าไว้หลัง หลอก หรือสามารถทำงานกับฝ่ายเผด็จการได้ตลอด หนังสือ Liberalism a Counter-History รวบรวมความขัดแย้งเหล่านี้ เช่น หลายคนอาจไม่รู้ว่าจอน ล็อค เจ้าพ่อลิเบอรัลนั้นสนับสนุนการมีทาส หนังสือนี้อธิบายว่า คนที่ได้ชื่อว่าเป็นเสรีนิยมนั้นมักมีลักษณะลักลั่นเช่นนี้ตลอด ผู้เขียนหนังสือเสนอว่า สิ่งที่เป็น emancipation และ de-emancipation คือ การปลดปล่อยและการต่อต้านการปลดปล่อย ซึ่งมาคู่กันในวิธีคิดเสรีนิยม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เสนอว่า enlightenment มี 2 tradition แบบประนีประนอม กับ แบบ radical ประเด็นที่จะตั้งเป็นข้อคิดคือ บางทีเสรีนิยมโดยตัวมันเอง อยู่โดยตัวมันเองไม่ได้ จะเต็มไปด้วยการหน้าไหว้หลังหลอก ต้องมีอะไรบางอย่างที่มากกว่ามัน จึงจะเป็นเสรีนิยม
“การเกิด civilize ในอเมริกาเพราะมันมีโซเวียตอยู่ อันนี้อาจจะจริง ตอนนี้พอสังคมนิยมหายไป มันก็เละตุ้มเป๊ะ”
“ปัญญาชนไทยหันไปดีกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพราะมันพอหมดอะไรที่ดีกว่า คุณก็คิดได้แค่นี้ อย่างมากก็ได้แค่นี้”
18 ก.ย.56 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนา ‘โซร่หลุดขาคู่อ้า ออกแล้ว เรายืน กวีของนายผี และการเมืองของอัศนี พลจันทร’ ในวาระครบอบชาติการ 95 ปีของนายผี อัศนี พลจัรทร พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการ ‘อ่านนายผี’ จัดโดยสำกนักพิมพ์อ่าน ร่วมกับโครงการปริญญาโท ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มธ.
ทั้งนี้ นายผี เป็นนามปากกาของ อัศนี พลจันทร กวี นักเขียน ปัญญาชนผู้มีเชื่อเสียงในยุคเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยครั้งสำคัญ และมีบทบาทสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายไฟ เขาเกิดเมื่อ 15 กันยายน 2461 และเสียชีวิตในปี 2530 ประเทศลาว รวมอายุ 69 ปี นำกลับประเทศไทยมาเพียงเถ้ากระดูก คนรุ่นใหม่รู้จักกันเขาในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน)
เนาวนิจ สิริผารัตน์ ผู้จัดทำโครงการ ‘อ่านนายผี’ กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นการรวบรวมและตีพิมพ์งานเขียนของอัศนีทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นกวี เรื่องสั้น บทความ งานแปล ที่อัศนีเขียนไว้ในช่วงปี 2484-2502 ก่อนจะเข้าป่า โดยสำนักพิมพ์อ่านและสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันได้จัดทำเป็นหมวดหมู่รวมแล้วราว 15 เล่ม โดยต้นฉบับจำนวนมากได้รับมาจากคุณวิมลมาลี พลจันทร บุตรสาวของอัศนี โดยเบื้องต้นคุณวิมลมาลีต้องการบริจาคต้นฉบับที่มีอยู่ 1 ลังให้หอจดหมายเหตุ ธรรมศาสตร์ และต้องการหาผู้จัดพิมพ์โดยมีเงื่อนไขว่าต้องพิมพ์ตามต้นฉบับเดิมทุกประการ โดยต้นฉบับดังกล่าวมีทั้งที่เป็นลายมือ รวมถึงเอกสารต้นร่างที่ ‘ป้าลม’ ภรรยาอัศนีได้รวบรวมงานของอัศนีมาไว้เตรียมจัดพิมพ์ แต่ท่านมาเสียชีวิตเสียก่อนจะมีการจัดพิมพ์ตามที่ตั้งใจวางแผนไว้ในปี 2546 ในวาระครบรอบ 85 ปีนายผี
ในเบื้องต้นสำนักพิมพ์อ่านจัดพิมพ์ออกมาแล้ว 2 เล่ม คือ ศิลปาการแห่งกาพย์กลอน และ กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์ สังคมและการเมืองสยาม (2484-2490) ในรูปเล่มขนาดเล็กกระทัดรัดตามเจตนารมณ์ของทายาทนายผีที่ต้องการให้ต้นฉบับ ดังกล่าวเขาถึงประชาชนให้มากที่สุด
“นี่คือสภาวะจิตนิยมอย่างที่สุดที่จะเอามาล้มล้างระบอบการปกครอง
ในลักษณะที่ไม่เอาหลักการ
เอาเรื่องจิตนิยม จะเอาคนดี จะเอาเรื่องมนุษยธรรม
หลายคนก็มีลักษณะที่พาตัวเองขึ้นไปอยู่ในจุดที่ทำทุกทวิถีทาง
ที่จะไม่เอาตัวเองไปอยู่ในคู่ขัดแย้ง
ขอเป็นคนขาวๆ ขอเป็นคนกลางๆ ฉันพูดเรื่องนี้ได้โดยไม่ใช่ผู้ขัดแย้ง
แต่รู้ไหมว่า คู่ขัดแย้งที่เห็นหน้าเห็นตากันแล้วเกลียดกันในทุกวันนี้
ยังไม่ใช่ผู้ที่จะสามารถล้มล้างวิธีคิดที่เป็นหลักการที่เราจะอยู่ร่วมกันได้
เท่ากับคนที่มีมนุษยธรรม ยืนอยู่ข้างนอก ....
ชาวบ้านตื่นแค่ไหนก็ไปไม่ถึงคำอธิบายของปัญญาชนยุคนี้
เพราะมันจะไหลไปเรื่อยเพื่อเบี่ยงเบนจุดยืนที่เขาไม่มีอยู่จริง”
ในส่วนของการเสวนานั้น เริ่มต้นที่ เดือนวาด พิมวนา นัก เขียนรางวัลซีไรต์ปี 2546 กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งมากมายตั้งแต่อดีตงปัจจุบัน ไม่ว่าสถานการณ์จะทำให้คนตื่นขึ้นมาแค่ไหน แต่คนที่รู้สึกกับมันตราบนานเท่านานคือ คนที่เป็นพี่เป็นน้องของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ตายไป จะหวังให้คนอื่นขึ้นมาทำอะไรให้คนเหล่านั้น ไม่ว่ายิ่งใหญ่เหมือนายผีหรือศพข้างถนนก็ตาม คงไม่มีใคร นอกจากญาติๆ ของพวกเขา
สถานการณ์ทางสังคมของยุคซ้ายจัดหรือในยุคนายผีนั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา ไม่ต้องนั่งตีความ ‘ความเป็นซ้าย’ แบบในปัจจุบัน เมื่อพูดถึง ‘ซ้าย’ ในอีดตสภาพก็ชัดสำหรับสังคมยุคเปลี่ยนผ่านที่สิ่งต่างๆ ยังยุ่งเหยิง ไม่ลงตัว เมื่อพูดว่าประชาธิปไตยยังใช้ไม่ได้ก็เป็นอันเข้าใจได้ว่ายังมีเรื่องต้องทำ อีกเยอะมาก ขวาจัดคือขวาจัดจริงๆ ซ้ายจัดคือซ้ายจัดจริงๆ เป็นยุคสมัยที่เราจะไม่สงสัยกับถ้อยคำประเภท ‘ชนชั้น’ ‘ประชาชน’ เพราะเราเห็นอย่างชัดเจน
กลุ่มสังคมกวี นักเขียน อาจไม่ต่างกันมากนักระหว่างยุคนี้กับยุคนายผี เพราะนายผีก็มีวิจารณ์คนเขียนกวียุคนั้นเองว่า การเขียนในเชิงจิตนิยมมากไป ไม่ต่อสู้ ไม่ชัดเจนว่าอยู่ข้างประชาชน ทำตัวเป็นผู้มีมนุษยธรรมแบบกลางๆ นั้นไม่ถูกต้อง แม้นายผีจะไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจรังงอนมากนัก แต่ก็ตัดสินลงไประดับหนึ่งว่าไม่ควรทำ ไม่มีประโยชน์ แม้แต่จะเขียนในทัศนะว่าเรามองสังคมอย่างมีมนุษยธรรม สำหรับนายผีแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เป็นเพียงทัศนะจิตนิยมธรรมดาของคนที่ไม่อยากเปลืองตัว
อย่างไรก็ตาม สภาพการณ์ตอนนั้นเป็นเรื่องน่าอิจฉา เพราะหากนายผีจะต่อสู้กับรัฐบาล ความไม่เป็นธรรม หรือชนชั้น มันมีความตรงไปตรงมาอย่างยิ่งและชัดเจนมากในสังคมยุคนั้น
“จุดยืนของนายผีจึงพลอยมั่นคงไปด้วย พูดแล้วน่าอิจฉาสำหรับสภาพสังคมที่ซื่อตรงและชัดเจนนั้น...ทุกคนจะเห็นว่า เขาเป็นคนที่มีทัศนะที่ตั้งมั่น ปักลงไป มีจุดยืนแล้วเดินตรงไป ไม่เลี้ยวไปในทิศใดทั้งสิ้น เขามีจุดหมายและไปจนกระทั่งท้ายที่สุด นี่คือผู้ที่นับถือตนเองได้ถึงที่สุด”
ที่ผ่านมาแม้มีการวิพากษ์ว่าแนวคิดซ้ายจัดอย่างนายผีเป็นทัศนะที่คับแคบ แต่ก็เป็นทัศนะที่กวีในยุคนี้รับเป็นดอกผลทางความคิด เป็นต้นแบบตลอดมา
“คุณไม่มีทางเป็นอย่างนายผีได้ ด้วยความซับซ้อนในความเป็นมนุษย์ของคุณที่ไม่เคยมีจุดยืนที่แท้จริงและไม่สามารถนับถือตนเองได้”
มาถึงวันนี้นึกถึงคำตำหนิของนายผีเรื่องคนมีทัศนะทางจิตนิยม ซึ่งสะท้อนถึงอะไรบางอย่างที่หลายคนสงสัยในกวีและปัญญาชนยุคนี้ นั่นคือ ความไม่ชัดเจน ความสับสน การไม่มีราก สร้างวาทกรรมที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปสู่ปัญหาที่แท้จริง
“คุณอยากจะด่านายทุน แต่คุณก็ยังจะต้องมีผลไม้ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดของนายผีอยู่ด้วย ด่านายทุนเหมือนนายผีเลย แต่ปรากฏว่าไม่มียุคสมัยใดที่กวีจะเขียนด่าประชาชนได้เท่ายุคสมัยนี้...นี่ คือคำตอบว่าคู่ขัดแย้งในยุคสมัยของนายผีนั้นชัดเจนมาก พอมาถึงวันนี้เหมือนไม่รู้กวีจะยืนอยู่ตรงไหน ความสับสนนี้คือสภาพการณ์”
“ความสับสนนี่เองที่ทำให้รู้สึกอิจฉานายผีมาก อิจฉาความตรงไปตรงมา ความชัดเจน เรารู้ว่าเราสู้กับใคร ...มาถึงวันนี้คุณก็พูดกับคู่ขัดแย้งของคุณนั่นแหละ คุณก็พูดเรื่องประชาธิปไตย เขาก็พูดเรื่องประชาธิปไตย ปรากฏว่าไม่มีคู่ขัดแย้งที่ชัดเจนแล้ว”
เรื่องนี้ทำให้ย้อนกลับไปคิดเรื่องจิตนิยม แต่เป็นจิตนิยมในภาพกว้างของสังคมไทยโดยขอเปรียบเทียบวิธีคิดที่ว่า ประเทศมีหลักการประชาธิปไตยอยู่ แต่ปัญหาอยู่ที่คนคนเดียว เป็นวิธีคิดที่ไม่เอาหลักการ แต่คิดเรื่องคนดี คนเลว คนๆ เดียว เป็นทัศนะที่หลักการจะดีอย่างไรก็ตาม แต่เชื่อว่าถ้าคนเลวเข้าไปทำก็ใช้ไม่ได้ ประชาธิปไตยจึงไม่สำคัญ การรัฐประหารจึงทำได้ วิธีคิดนี้สอดคล้องกับทัศนะที่นายผีพูดไว้ในวันนั้น
“นี่เราถึงยุคสมัยที่คนทั้งประเทศเห็นด้วยกับทัศนะจิตนิยมที่จะไม่เอาหลักการ”
“ถึงวันนี้ประชาชนตื่นขึ้นมามาก เพื่อมาฟังเรื่องทางกาเรมือง แต่ฉับพลันทันทีก็รู้สึกโง่ลงไปถนัดใจ เพราะคิดว่าประชาธิปไตยเป็นอะไรที่ไม่ได้ยากจนเกินไป เรารู้สภาพการณ์ มันติดอะไรที่น่าจะอธิบายได้ง่ายๆ แต่นักวิชาการอธิบายมันเพื่อดึงให้ห่างจากที่มันเป็นอยู่จริง ดึงไปไกลจนกระทั่งถ้ามีคอรัปชั่นสักนิดหนึ่ง ประชาธิปไตยก็ไม่ดีแล้ว..เพื่ออธิบายว่ารัฐประหารทำได้ ถ้าคนที่กุมอำนาจนั้นเลว”
“นี่คือสภาวะจิตนิยมอย่างที่สุดที่จะเอามาล้มล้างระบอบการปกครองในลักษณะ ที่ไม่เอาหลักการ เอาเรื่องจิตนิยม จะเอาคนดี จะเอาเรื่องมนุษยธรรม หลายคนก็มีลักษณะที่พาดตัวเองขึ้นไปอยู่ในจุดที่ ทำทุกทวิถีทางที่จะไม่เอาตัวเองไปอยู่ในคู่ขัดแย้ง ขอเป็นคนขาวๆ ขอเป็นคนกลางๆ ฉันพูดเรื่องนี้ได้โดยไม่ใช่ผู้ขัดแย้ง แต่รู้ไหมว่า คู่ขัดแย้งที่เห็นหน้าเห็นตากันแล้วเกลียดกันในทุกวันนี้ ยังไม่ใช่ผู้ที่จะสามารถล้มล้างวิธีคิดที่เป็นหลักการที่เราจะอยู่ร่วมกัน ได้ เท่ากับคนที่มีมนุษยธรรม ยืนอยู่ข้างนอก แล้วเบี่ยงเบนความคิดด้วยความชาญฉลาดว่า ทุกอย่างละเมิดได้ กฎทุกอย่างผิดหมด และเรามีคำอธิบายที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง ชาวบ้านตื่นแค่ไหนก็ไปไม่ถึงคำอธิบายของปัญญาชนยุคนี้ เพราะมันจะไหลไปเรื่อยเพื่อเบี่ยงเบนจุดยืนที่เขาไม่มีอยู่จริง”
อย่างไรก็ตาม หากพูดเรื่องประชาชน ขอยกประสบการณ์ที่ได้สัมผัสประชาชนในยุคนี้ ช่วงตัดสินรางวัล ‘ฟรีไรท์ อะวอร์ด’ เป็นรางวัลที่คนทางฝั่งแดงทำขึ้นมา ไม่มีนักเขียนทั้งแดงหรือเหลืองส่งเข้ามาเลย แต่ปรากฏว่ามีชาวบ้านเขียนหนังสือ บทกวี ส่งเข้าเยอะมาก กลายเป็นความรู้สึกว่า ชาวบ้านที่ได้เผชิญกับสถานการณ์เองเขาไม่จำเป็นต้องไปนั่งอ่าน พึ่งพาบทกวีของนักเขียนต่างๆ นานา
“นี่คืออารยธรรม เป็นความตรงไปตรงมา เหมือนที่เราอ่านนายผีแล้วรู้สึกว่าเขาอยู่ในสถานการณ์ เป็นคนของสถานการณ์ และตรงไปตรงมา ชาวบ้านเขียนคำหยาบเยอะมาก เขียนผิดๆ ถูกๆ แต่สนุกมาก...ความเลวร้าย ความทุกข์เป็นแรงบันดาลใจ แรงขับดันจากความทุกข์ทำให้คุณต้องเลือกหลายอย่าง กลายเป็นความแค้น สุดท้ายประชาชนระบายเป็นกวี เป็นอารยธรรมใหม่ที่เกิดจากประชาชนที่เกิดจากแรงบันดาลใจที่บริสุทธิ์มาก”
สิ่งที่เป็นหัวใจ จุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของรุ่นหลังพคท.
คือ ความไม่เป็นการเมืองของการเมืองวัฒนธรรม
พูดง่ายๆ ว่าขาดด้านการเมือง
ในแง่ที่คิดถึงอำนาจรัฐและรูปแบบอำนาจรัฐ ตรงนี้ขาดมาก
แต่ไปอธิบายเรื่อง culture บ้าง เศรษฐกิจบ้าง
ถึงที่สุด ปัญญาชนปัจจุบันไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องการอะไร
จะเปลี่ยนรูปแบบอำนาจรัฐที่เป็นอยู่อย่างไร
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงนี้หมกมุ่นอยู่กับประเด็นที่ว่าวิกฤตในรอบหลายปีที่ผ่านมา มาถึงจุดที่บางคนเรียกว่า เกี๊ยเซียะกันแล้ว แต่ไม่อยากอธิบายแบบนั้นและเห็นว่าเป็นสภาวะที่อึมครึม บอกไม่ถูก จะเห็นได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีพลวัตรมาตลอดมาถึงจุดที่จำกัดแล้ว จุดเริ่มต้นของเสื้อแดงอาจมีคนเล็กคนน้อยรวมถึงเขาเองเป็นผู้ร่วมทาง แต่ส่วนใหญ่มาจากคนที่เชียร์ทักษิณและต้องการให้รัฐบาลทักษิณอยู่ในอำนาจ เป้าหมายนี้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยบางอย่าง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับเสื้อแดงก็ทำผิดพลาดหลายครั้ง ทั้งในช่วงปลายปี 2551 หรือปี 2553 ไม่คิดว่าก่อนตายจะได้เห็น ขณะที่ฝ่ายทักษิณและผู้สนัสนุนยิ่งสู้ยิ่งแข็ง เราจะเห็นว่า นปก.ระดมพลตอนแรกนั้นยากมาก ใช้เวลาไม่น้อยกว่านักวิชาการจะก้าวเข้ามาช่วยค่ายนี้ อย่างน้อยก็มีความเห็นอกเห็นใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2554 และเห็นชัดขึ้นในปีที่ผ่านมา คือ คนที่เป็นฐานเสื้อแดงมีเป้าหมายสูงสุดให้รัฐบาลของพวกเขาอยู่ในอำนาจ ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายนี้ผิด เขาเองก็สนับสนุนในแง่ว่ารัฐบาลนี้ถูกล้มไปโดยไม่ชอบธรรม พรรคนี้ชนะเลือกตั้งมาหลายครั้ง แต่หลักการนี้พอให้ความสำคัญสูงกว่าปัญหาอื่นๆ ก็จะกลายเป็นปัญหา ตัวอย่างประเด็นที่มีการดีเบตเร็วๆ นี้น่าตกใจมากคือ กลุ่มญาติผู้สูญเสียบรรจุกลุ่มทหารลงไปใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย คนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าถ้าใส่แล้วจะทำให้คนในคุกไม่ได้ออกจากคุก ซึ่งไม่ make sense เท่าไร เพราะนี่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ ปฏิกริยาตอบกลับที่รุนแรงมาก รวมถึงกรณี ‘ใบตองแห้ง’ ที่เห็นว่าถ้ารัฐบาลตกลงกับทหารไว้แล้วทหารจะยอมหรือ
“เดี๋ยวนี้ปัญญาชนแอคติวิสต์จะต้องยอมรับการตกลงที่รัฐบาลไปตกลงกับทหาร ตั้งแต่เมื่อไร ผมสะดุ้งมาก นี่คือปัญหารวมศูนย์ของเสื้อแดง อะไรที่เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล อะไรจะไปรบกวนยุทธศาสตร์นี้ คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่ยอมรับ น่าสนใจว่าประเด็นทหารหายไปหมดเลย มูดทั้งหมดเปลี่ยนไปเลย...เราไม่ได้ยินเสียงระดับชาวบ้านนั้นพอเข้าใจ แต่ปัญญาชนเงียบ ปัญญาชนที่แอนตี้ทักษิณตอนนี้มาดีเฟนด์รัฐบาลหมด”
ประเด็นเรื่องการเมืองของนายผีนั้น หากเราจับนายผีเข้าไปอยู่ในบริบทของปัญญาชนไทย หลัง 2475 เป็นต้นมา อาจแบ่งได้เป็น 3 generation ใหญ่ๆ โดยนายผีนั้นอยู่ร่วมยุคกับปรีดีและเหตุการณ์ในช่วงนั้น นายผีเข้ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ตอนอายุ 20 ปี จอมพล ป.เป็นนายกฯ พอดี เป็นช่วงยุคเสื่อมของคณะราษฎร เกิดสงครามโลก เกิดกรณีสวรรคต และรัฐประหาร 8 พ.ย.2490 ซึ่งฟื้นอำนาจกลุ่มอนุรักษ์นิยม เกิดการปฏิวัติจีนและเริ่มต้นสงครามเย็น นี่เป็นสิ่งที่ form คนรุ่นนี้ขึ้นมา แม้กระทั่งจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นจูเนี่ยของรุ่นนี้ก็ยังเห็นหางเลขของปรากฏการณ์เหล่านี้
คำถามสำคัญคือ คนส่วนใหญ่ที่เป็นซ้ายในยุคนี้เริ่มต้นจากเชียร์ปรีดีก่อนแล้วมาลงเอยที่ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (พคท.) เป็นเรื่องน่าสนใจว่าทำไมในที่สุดแล้วมันไม่มีที่ยืนสำหรับผู้มีความคิดฝ่าย ซ้าย งานนายผีที่นำมาตีพิมพ์ทำให้เราเคลียร์ยิ่งขึ้นเรื่องการเปลี่ยนผ่านของนาย ผี จากปรีดีมาเป็นพคท. การรวมงานชิ้นนี้ทำให้เห็นว่านายผีเปลี่ยนเป็นซ้ายประมาณปี 2491 จะเห็นว่ากลอนช่วงปี 2489-2490 เป็นช่วงรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ซึ่เป็นนอมินีของปรีดี น่าแปลกใจว่านายผีเขียนด่ารัฐบาลหลวงธำรงฯ หลายชิ้น ทั้งๆ ที่นายผีรักปรีดีมาก และยังเห็นผลงานนายผีที่ยังอ้อยอิ่งอาลัยอาวรณ์กับวัฒนธรรมศักดินาอยู่บ้าง
อย่างไรก็ตามีบทความจำนวนหนึ่ง เช่น ใน นสพ.การเมือง นายผีเขียนบทความ ‘อุตตรกุรุทวีป’ มีเนื้อหาบางส่วนที่สะท้อนว่าเขาได้อ่านเลนิน และยังมีบทความหนึ่งที่ด่าพวกปรีดีว่าเป็นปฏิกิริยาไม่น้อยไปกว่าพวกเจ้าและ จอมพลป.
“แต่สุดท้ายมาลงเอยที่ พคท. ถึงที่สุดแล้วอาจเป็นเพราะปรีดีไม่ได้ผลิตงานที่สามารถดึงคนได้จริงๆ นี่เป็นคำพูดของผิน บัวอ่อน พอตื่นตัวแล้ว อ่านงานปรีดีแล้วมันตัน หาอ่านต่อไม่ได้ พออ่านงานมาร์คซิสม์แล้วตื่นขึ้นมาเลย”
เมื่อมองย้อนกลับมาที่เสื้อแดงจะพบว่า เสื้อแดงยังก้าวไม่ข้ามทักษิณ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ก้าวข้าม ขณะที่เมื่ออ่านงานนายผีจะเห็นว่าเขาก้าวข้ามปรีดีแล้ว อย่างน้อยก็ก้าวข้ามรัฐบาลปรีดี
ช่วงปี 2491-2493 เป็นช่วงเข้า พคท. ปี 2495-2496 เป็นช่วงที่นายผีทำงานพีคที่สุด คือเรื่องความเปลี่ยนแปลง ขณะที่เรื่องอีสานที่ว่าดังที่สุดนั้นเขากลับไม่เห็นว่าเป็นงานที่พีค เพราะอ่านยังไงก็ไม่ลงรอย ยังด่านักการเมืองซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด ในขณะที่วิธีคิดเขาเปลี่ยนไปแล้ว แต่หากอ่านเรื่องความเปลี่ยนแปลง นายผีอธิบายสภาวะ กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา ได้ดี
รุ่นนายผี นักศึกษาใน มธก.มาเป็น พคท.เยอะมากหรือไม่ก็เป็นแนวร่วม ตอนที่ พคท.ตัดสินใจสู้ด้วยอาวุธ ส่วนหนึ่งเพราะสฤษดิ์ปราบปรามอย่างหนักด้วย แต่มันทำให้สถานการณ์ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง
นายผีช่วงพีคนั้นไปเมืองจีนศึกษามาร์กเลนิน น่าเสียดายมาก จาก 2495-2525 ช่วง 30 ปีนี้แทบไม่เห็นงานนายผีเลย นายผีคงมองเห็นตัวเขาเป็นนักปฏิวัติมากกว่ากวี เอาเข้าจริงนายผียุ่งการเมืองในขบวนปฏิวัติมากกว่าจิตรเยอะ และผลจากการเข้าไปยุ่งนี้ทำให้การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในพรรคมีผลกำหนดงานของเขา ในช่วงความขัดแย้งแนวทางของพรรค ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เสนอว่าต่อสู้ในชนบทไม่ได้ต้องต่อสู้ทางการเมือง หลายคนเห็นด้วยกับประเสริฐรวมทั้งนายผีด้วย แต่สุดท้าย พคท.ก็หันไปสู้ด้วยอาวุธ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีเอกสารของการโต้เถียงของกลุ่มฝ่ายซ้ายในเรื่องนี้แล้ว
เมื่อนายผีกลับมาในปี 2500 ปี 2504 ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางในสมัขชา 5 ของ พคท. จากตรงนี้ถึง 2520 นายผีมีบทบาทสูง อุดม ศรีสุวรรณ บอกว่านายผีไปเข้ากับพวกที่เชื่อในการปฏิวัติวัฒนธรรมและต้องการโค่นศูนย์ การนำ หนังสือ “ดาวเหนือ” ออกมา 11 ฉบับแล้วหายไป พอเกิดกรณีพิพาทนายผีเป็นบก. ของหนังสือพิมพ์เล่มใหม่ชื่อ “ชาวคอมมิวนิสต์” โดยเปิดฉากวิจารณ์สหายนำอย่างเผ็ดร้อน สรุปแล้วนายผีมีบทบาทเยอะมากในการผลิตเอกสารในการสู้กันในป่า แต่เราไม่เหลือหลักฐานอะไร ซึ่งการสู้กันนั้นมีผลสำคัญมากกับชีวิตเขา สุดท้ายกลุ่มนี้แพ้เพราะมีลักษณะซ้ายจัด พอแพ้ก็ไปจีน เวียดนาม แล้วไปลงเอยที่ลาว อย่างไรก็ตาม งานการเมืองนายผีมีลักษณะซ้ายมาก แต่หากเป็นเรื่องวรรณกรรมงานจะมีลักษณะผ่อนปรนมากกว่า
“เราจะเห็นว่า เรายังรู้จักนายผีน้อยในแง่งานของเขาจริงๆ แม้กระทั่งงานวรรณกรรมในป่า บทความในป่า 30 ปี หลังจาก 2495 เราไม่เหลือเลยทั้งที่เขามีบทบาทสูง ...นายผีเป็นตัวอย่างให้เห็นเลยว่า พอมีปัญหาเรื่องการเมืองแล้วทำงานไม่ได้”
ความจริงควรมีปัญญาชนอีกรุ่นหนึ่งในช่วง 20-30 ปีหลัง พคท.พัง แต่บทบาทกลับน้อยลงมาก โดยมีปัญหาใหญ่ 2 ข้อคือ ปัญญาชนรุ่น 14 ตุลาที่ผ่านประสบการณ์ตรงนั้น นอกจากล้มเหลวจากพคท.มาแล้วยังล้มเหลวในการสร้างงานด้วย ปัญญาชนในยุคปัจจุบันที่อายุ 30 เศษถึง 40 ต้นๆ ก็ควรที่จะมีมากกว่านี้ แต่ทำไมมันจึงไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งก็เพราะพวกเขาเคารพรุ่นผู้ใหญ่มากเกินไป
“พอรุ่นผู้ใหญ่ทำห่วยแตก พอไม่กล้าเบรคก็ห่วยตามไปด้วย ผมเรียกว่ารุ่น lost generation ตลอด 30 ปีหลังพคท.พังมันมีปัญหาเรื่องอุดมการณ์”
ปัญหาเรื่องอุดมการณ์ดังกล่าวสืบเนื่องมากจากการขยายคอนเซ็ปท์เรื่องการ เมือง ซึ่งมีบางอย่างได้ บางอย่างเสีย คนรุ่นใหม่ไปทาง cultural politics (การเมืองวัฒนธรรม) การเมืองขยายอาณาเขตไปไกลเป็นการเมืองวัฒนธรรม และเป็นปัญหาหัวใจใหญ่ที่แชร์ร่วมกันของบรรยากาศปัญญาชนหลัง พคท. นั่นคือ ความไม่เป็นการเมืองของการเมืองวัฒนธรรม ซึ่งต่อให้ขยายความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเพียงใด แต่มันไม่มีเรื่องอำนาจรัฐ และรูปแบบอำนาจรัฐ
อีกตัวอย่างคือ การมองปัญหาผ่านสังคมเศรษฐกิจ แก้ปัญหาที่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงซึ่งมีปัญญาชนหลายคนนำเสนอในแนวนั้นโดยตลอด ถ้าอย่างนั้นชาตินี้ก็ไม่ต้องแก้ปัญหาแล้ว เพราะทุกที่มีความเหลือ่ล้ำต่ำสูง แม้แต่สหรัฐอเมริกา แสดงว่าการเมืองประชาธิไตยไม่ได้ขึ้นต่อความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจ ขณะที่วิธีคิดฝ่ายซ้าย พคท.อธิบายบนฐานเศรษฐกิจ และยังพูดถึงรูปแบบพรรคการเมืองด้วย เพราะต้องการเปลี่ยนอำนาจรัฐ
“สิ่งที่เป็นหัวใจ จุด่ออนที่ใหญ่ที่สุดของรุ่นหลังพคท. คือ ความไม่เป็นการเมืองของการเมือง พูดง่ายๆ ว่าขาดด้านการเมือง ในแง่ที่คิดถึงอำนาจรัฐและรูปแบบอำนาจรัฐ ตรงนี้ขาดมาก แต่ไปอธิบายเรื่อง culture บ้าง เศรษฐกิจบ้าง และอันนี้ยังกำกับความคิดของคน ถึงที่สุด ปัญญาชนปัจจุบันไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องการอะไร จะเปลี่ยนรูปแบบอำนาจรัฐที่เป็นอยู่อย่างไร”
นิติราษฏร์เป็นข้อยกเว้น แม้ว่าพวกเขาส่วนใหญ่ไม่มีแบคกราวน์ฝ่ายซ้ายหรือมีน้อยก็น้อย แต่อาจเพราะคนกลุ่มนี้ถูกเทรนด์มาทางนิติศาสตร์และคิดเรื่องอำนาจรัฐ รูปแบบอำนาจรัฐมาตลอด แต่กระนั้น นิติราษฎร์ก็ยังจำกัดตัวเองมาก อะไรที่ข้ามเขตแดนกฎหมายก็จะไม่ออกมา
นอกจากนี้ปัญญาชนที่ศึกษาการเมืองวัฒนธรรมก็ยังไม่แตะปัญหาวัฒนธรรมกษัตริย์นิยมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในทางวัฒนธรรมด้วย
ถ้าแบ่งเฉดสังคมไทย จะเห็นว่ามีแนวคิด สังคมนิยม เสรีนิยม กษัตริย์นิยม ซึ่งเสรีนิยมที่อยู่ตรงกลางนั้นจะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดอยู่แล้ว และในประวัติศาสตร์สังคมไทยฝ่ายเสรีนิยมจะเจอคำถามเรื่องความหน้าไว้หลัง หลอก หรือสามารถทำงานกับฝ่ายเผด็จการได้ตลอด หนังสือ Liberalism a Counter-History รวบรวมความขัดแย้งเหล่านี้ เช่น หลายคนอาจไม่รู้ว่าจอน ล็อค เจ้าพ่อลิเบอรัลนั้นสนับสนุนการมีทาส หนังสือนี้อธิบายว่า คนที่ได้ชื่อว่าเป็นเสรีนิยมนั้นมักมีลักษณะลักลั่นเช่นนี้ตลอด ผู้เขียนหนังสือเสนอว่า สิ่งที่เป็น emancipation และ de-emancipation คือ การปลดปล่อยและการต่อต้านการปลดปล่อย ซึ่งมาคู่กันในวิธีคิดเสรีนิยม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เสนอว่า enlightenment มี 2 tradition แบบประนีประนอม กับ แบบ radical ประเด็นที่จะตั้งเป็นข้อคิดคือ บางทีเสรีนิยมโดยตัวมันเอง อยู่โดยตัวมันเองไม่ได้ จะเต็มไปด้วยการหน้าไหว้หลังหลอก ต้องมีอะไรบางอย่างที่มากกว่ามัน จึงจะเป็นเสรีนิยม
“การเกิด civilize ในอเมริกาเพราะมันมีโซเวียตอยู่ อันนี้อาจจะจริง ตอนนี้พอสังคมนิยมหายไป มันก็เละตุ้มเป๊ะ”
“ปัญญาชนไทยหันไปดีกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพราะมันพอหมดอะไรที่ดีกว่า คุณก็คิดได้แค่นี้ อย่างมากก็ได้แค่นี้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น