แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

MIO: สื่อไทยในสายตา UN Women

ที่มา ประชาไท


องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเพิ่มพลังของ ผู้หญิง แห่งสหประชาชาติ (UN Women) วิจารณ์สื่อไทยไม่ให้ความสำคัญกับมิติทางเพศ เรียกร้องให้สื่อในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย เพิ่มพื้นที่ข่าวที่สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างหญิง ชาย และเพศอื่นๆ ที่หลากหลาย อีก 15 % 
 
มณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร ยูเอ็นวีเมน เอเชียแปซิฟิก (UN Women Regional Office for Asia and the Pacific) เปิดเผยระหว่างจัดอบรมผู้สื่อข่าวในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ในประเด็นว่าด้วยสิทธิสตรี สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และประเด็นการพัฒนาของโลกที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ว่าสื่อในประเทศไทยยังคงมีบทบาทในการร่วมสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน ทางเพศน้อย เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
 
“คิดว่าสื่อไทยยังตามไม่ทันกระแสสังคมที่มีการเคลื่อนไหวเรื่อง gender ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้หญิง แต่รวมถึงความหลากหลายทางเพศ ซึ่งสื่อไทยมีความจำกัดมากในการเข้าถึงมิติทางเพศ การนำเสนอทางสื่อจะมีการใช้ศัพท์ว่า เกย์ ตุ๊ด กะเทย ทอม ดี้ แสดงให้เห็นถึงการเอาเพศมาเป็นตัวกำหนดมากกว่าการดูที่คุณสมบัติหรือความ สามารถของบุคคล หรือพอมีข่าวผู้หญิงทำแท้งสื่อพาดหัวทันที “แม่ใจร้าย” โดยไม่ได้มองเลยว่าก่อนหน้านั้นมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผู้ชายมีบทบาทอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ผู้หญิงไม่ได้ตั้งท้องได้เองโดยอัตโนมัติ” มณฑิรา กล่าว
 
                                         
 
มณฑิรา นาควิเชียร
 
ทั้งนี้มณฑิราเปิดเผยว่า ในต่างประเทศมีการศึกษาเรื่องความหลากหลายทางเพศและสรุปว่าประชากร    บนโลกใบนี้ประกอบด้วยบุคคลที่มีเพศที่หลากหลายถึง 9 เพศ เช่น ชาย หญิง ชายรักชาย หญิงรักหญิง     ชายรักชายและหญิง เป็นต้น ซึ่งบุคคลในทุกเพศ ล้วนไม่ต้องการการถูกสังคมมองอย่างแปลกแยก
 
UN Women และ United Nations Population Funds (UNFPA) ได้ร่วมมือกันจัดงานฝึกอบรมให้กับผู้สื่อข่าวในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกในช่วง กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่ประเทศไทย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้สื่อที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในมิติความ หลากหลายทางเพศ ที่่ทำงานในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
 
“นักข่าวจากหลายประเทศที่มาเรียกได้ว่าเป็น gender reporters เลย ถามว่าจะให้ identify สื่อเป็นการเฉพาะแบบนี้ในประเทศไทยได้ไหม หาแทบไม่ได้เลย ดิฉันอยากให้ประเทศไทยมีโต๊ะข่าวที่เรียกว่า Gender Desk ขึ้นมาเพื่อพัฒนาคนด้านนี้เลย ขณะเดียวกันก็อยากเรียกร้องสื่อในทั้งหมด 24 ประเทศ ที่เข้าร่วมอบรมกับเราในครั้งนี้ว่าขอให้เพิ่มพื้นที่ข่าวด้าน gender อีก 15 % จากนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2015 เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย สร้างให้ตระหนักถึงความรุนแรงในครอบครัว และสิทธิของเพศที่หลากหลาย” มณฑิรากล่าว
 
ด้านประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสจากหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับมณฑิราว่าสื่อในสังคมไทยยังให้ความสำคัญกับการนำ เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับสิทธิผู้หญิง และมิติทางเพศในด้านอื่นๆ น้อย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสัดส่วนข่าว “ไร้สาร” ที่มีลักษณะของการเป็นข่าว “ปิงปอง” คือ สัมภาษณ์ฝ่ายนั้นครั้งหนึ่งฝ่ายนี้ครั้งหนึ่ง ประวิตรบอกเล่าประสบการณ์รูปธรรม ที่แสดงให้เห็นว่าสื่อในสังคมไทยให้ความสำคัญกับเรื่องราวของ Gender น้อยกว่าที่ควรจะเป็นว่าเมื่อครั้งที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จัดเวทีระดมความเห็นระดับภูมิภาค ที่จังหวัดภูเก็ตและเชียงราย  เพื่อผลักดันร่างพระพระราชบัญญัติความเสมอภาคทางเพศ เขาเป็นเพียงนักข่าวคนเดียวที่เข้าร่วมรับฟังเพื่อรายงานข่าว
 
 
                                           ประวิตร (นั่งกลาง) ระหว่างร่วมการอบรมของ UN Women
 
“แสดงให้เห็นว่าสื่อยังไม่ตระหนักถึงบทบาทตัวเองในการสร้างให้เกิดความ เท่าเทียมกันในสังคม แต่ผมก็ไม่คิดว่าเราควรจะต้องมีการตั้งโต๊ะข่าวผู้หญิง หรือโต๊ะ gender ขึ้นมา ผมว่าแค่สื่อให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องราวตรงนี้   และสร้างนักข่าวให้มีความเชี่ยวชาญประเด็น gender ก็พอ เมื่อกอง บก. ให้ความสำคัญ สนับสนุนงานด้านนี้โดยธรรมชาติเราจะมีนักข่าวที่เก่งทางนี้ขึ้นมาเอง”  ประวิตรกล่าว
 
ประวิตรมีความเห็นว่า ปัจจุบันสื่อในสังคมไทยยังมีการใช้วาทกรรมที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติทางเพศ ที่ล้าหลัง เช่น  “ไม่ใช่ลูกผู้ชาย” หรือ “ไปเอาโสร่งมานุ่ง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดชายเป็นใหญ่
 
อย่างไรก็ดีเขามองว่าไม่ใช่เฉพาะสื่อเท่านั้นที่ขาดความตระหนักหรือขาด ความละเอียดอ่อนทางเพศ เพราะหลายปรากฏการณ์ในสังคม สะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่ผู้หญิงที่พยายามขับเคลื่อนเพื่อสิทธิของผู้หญิงเอง ก็ขาดความตระหนักตรงนี้
 
“การที่ สส. หญิงเอาโสร่งไปให้คุณอภิสิทธิ์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการไม่กล้าแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของคุณ อภิสิทธิ์เอง มันแปลว่าผู้หญิงเองก็ตอกย้ำความเชื่อว่าเพศหญิงไม่มีความกล้าหาญพอที่จะยอม รับผิดชอบในความผิดที่ตนเองได้กระทำ”  
 
 
ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ http://www.mediainsideout.net/local/2013/09/149

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น