แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ค้านเขื่อนแม่วงก์ ไม่ใช่แค่ความฟินของชนชั้นกลาง

ที่มา ประชาไท


ผมเป็นผู้ติดตาม (Follower) ในเฟซบุ๊กของอาจารย์ศศินฯ มาตลอด ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2555 เป็นแฟนถึงขนาด ตั้งค่าการแจ้งเตือนในเฟซฯของแกไว้ว่า Get Notifications เพื่อที่จะไม่พลาด ในการติดตามดูทุกรูป ทุกสเตตัส ระหว่างทาง "ตั้งแต่แม่วงก์ จนถึง ปทุมวัน" เพื่อให้เห็นว่าธรรมชาติมันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้แค่ไหน เป็น NGOs รับเงินมาเคลื่อนไหวหรือป่าว สิ่งที่แกพูด มันเป็นเรื่องจริงหรือแค่พูดเอามันส์
ข้อเท็จจริงคือสังคมและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ไม่ได้ขานรับแก เฉพาะเพียงแค่ในการเดินครั้งนี้ แต่มันเกิดขึ้นตั้งแต่ คลิปรายงานเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2555 ที่รัฐบาลบอกว่า “เอาอยู่” และการชุมนุมอย่างล้นหลามในวันที่ 22 กันยายน 2556 ไม่ใช่แค่การ “ตีปี๊บ” แต่มันคือ “เสียงสะท้อนกลับ” เพื่อพิสูจน์คุณค่าของสิ่งที่พลเมืองประเทศนี้ละเลยไป ซี่งแน่นอนว่า มันเหลือเชื่อ อย่างน้อยก็ในรอบ 20 ปี

ไม่ได้เกิดอะไรขึ้นกับการตื่น รู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของชนชั้นกลาง เพราะโลกทุกวันนี้แคบลง การตื่นตัวของพลเมืองในทุกชนชั้น เกิดขึ้นได้เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ ย่อสังคมให้สื่อสารกันได้ในพริบตาในทุกเรื่อง และเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แม้ลึกๆ หลายคนที่มารวมตัวกันในวันที่ 22 กันยาฯ อาจะเกลียดขี้หน้าพรรคการเมืองบางพรรค นักการเมืองบางคน แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าเหตุผลหลักคือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่ออนุรักษ์มรดกให้กับลูกหลาน และในฐานะสัตว์โลกที่ต้องใช้ O2 ในการหายใจ แผนของอาจารย์ศศินฯ คือการใช้ Facebook สื่อสาร “นิ้วต่อนิ้ว” แทนการขึ้นเวทีปลุกระดมให้เผาเมือง หรือการใช้มวลชนปิดสนามบิน "การเดินออนไลน์ครั้งนี้" ถือว่า “ได้ผลเกินคุ้ม”

"ไม่เอา เขื่อน ไม่ได้หมายความว่าไม่เอาน้ำ ไม่เอาเขื่อน ไม่ได้หมายความว่าไม่เอาระบบชลประทาน" ศศินฯ กำลังบอกเราว่า "ควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ และนำเสนอว่า เหตุใดเราจึงต้องเลือกที่เก็บน้ำช้่วชีวิต มากกว่าที่เก็บน้ำชั่วคราว"

เสียงอาจจะดังไม่เท่ากัน แต่ทุกเสียงมีคุณค่าเท่ากัน

ข้อ เท็จจริงคือ การเคลื่อนไหวต่อต้านการสร้างเขื่อนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เกิดขึ้นในสังคม ไทยมาตลอดตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา แต่ขบวนการเหล่านั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการรณรงค์สาธารณะเพื่อดึงชน ชั้นกลางให้มาสนใจ “เรื่องไกลตัว” น่าคิดเหลือเกินว่าเพราะเหตุใด

ชาว บ้านตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีกิจกรรมคัดค้านการโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จำนวนไม่รู้กี่ครั้งของการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาเกือบสามสิบปีก็ดี ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูน ที่ชุมนุมเป็นประจำแทบทุกปีทั้ง ๆ ที่เขื่อนสร้างเสร็จไปนานแล้วก็ดี หรือโครงการเขื่อนต่าง ๆ ไม่เพียงสร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสแก่ชาวบ้านในพื้นที่แต่ยังส่งผลกระทบ มหาศาลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประเมินค่ามิได้ก็ดี

เหตุ ใด การเคลื่อนไหวค้านเขื่อนของชาวบ้านที่ผ่านมาเรามักไม่ค่อยได้ยินเสียงตอบรับ จากชนชั้นกลางอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเหมือนกับกรณีเขื่อนแม่วงก์

“ยุทธวิธี ที่ใช้” น่าจะเป็นคำตอบให้กับสิ่งที่หลายคนตั้งคำถาม หากอาจารย์ศศินฯ ไม่มี Account Facebook เป็นของตัวเอง หากอาจารย์ศศินฯ ไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน เพราะไม่เคยออกมาตักเตือนให้ระมัดระวังกับคำว่า “เอาอยู่” ของรัฐบาล เมื่อปีที่แล้ว แคมเปญนี้ก็คงจะเป็นแค่ "การเดินแจกใบปลิวข้ามจังหวัด" เท่านั้น และก็อาจจะไม่ได้ครับความสนใจ

แม้ข้อเท็จจริงคือ จะใช้ Facebook สื่อสารแทบตลอดเวลา กระตุ้นเตือนสังคม และผู้ติดตามสักเพียงใด แต่สื่อกระแสหลักก็ยังคงนิ่งเฉยไม่ค่อยนำเสนอเท่าที่ควร สิ่งที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญยิ่งกว่า กลับกลายเป็น ข่าวดาราตบตีแย่งสามี ขอหวยจิ้งจกสองหัว บูชาวัวสามขา ฯลฯ

การรับรู้ได้ของสาธารณชน ในเรื่องราวของนักอนุรักษ์ไม่กี่คน ที่เดินเท้าเป็นปากเสียงแทนต้นไม้ใบหญ้าและสัตว์ป่าน้อยใหญ่ แทนที่จะเป็นประชาชนในพื้นที่ที่สนับสนุนและคัดค้านการสร้างเขื่อน ไม่ใช่ประเด็นของการเดินเท้าครั้งนี้ สิ่งที่นักรบจอมป่าพยายามที่จะนำเสนอไม่ใช่ชื่อเสียงของตัวเอง แต่วัตถุประสงค์มันคือ “การเป็นลำโพง” ให้กับประชาชนในพื้นที่เหล่านั้น และรวมไปถึงประชาชน พลเมืองในประเทศทั้งหมดที่เป็นเจ้าของทรัพยากรว่า

“พลเมืองทุกคน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจว่าจะ “เอา” หรือ “ไม่เอา” แล้วหรือยัง"

ใน การต่อสู้กับเรื่องที่ไม่เห็นด้วยในระบอบประชาธิปไตยนั้น ศศินฯ ทำให้ เหลือง-แดง ดูเป็นตัวอย่างว่า “สามารถทำได้” ประชาธิปไตยนับคนหนึ่งคน มีหนึ่งสิทธิ แต่ศศินฯ ทำให้เห็นว่า การใช้หนึ่งสิทธิที่สร้างสรรค์ และถูกต้องเป็นอย่างไร

"เดินเงียบ ๆ แต่เสียงฝีเท้ากึกก้องไปทั้งประเทศ"

“ผมเชื่อมาตลอดว่า การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เริ่มจากคนจำนวนมาก แต่เกิดจากคนเล็กๆ น้อยๆ ที่มีพลังครับ...”

ศศิน เฉลิมลาภ “นักอนุรักษ์” ขับเน้นให้เห็นถึงวิธีคิดที่ “เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ” การเดินของ ศศินฯ "เงียบ จนแสบแก้วหู" ทำให้คนที่ไม่เคยสนใจ กลับมาสนใจ

การเคลื่อนไหวของชาวบ้านในประเด็นสิ่งแวดล้อม ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากชนชั้นกลาง อาจไม่ใช่เพราะชนชั้นกลางไม่สนใจ หรือไม่คิดที่จะสนใจ น่าคิดหรือไม่ว่าเป็นเพราะ “ยุทธวิธีและการสื่อสาร ไม่ได้รับการตอบสนอง” ชาวบ้านอยู่กับจอมเสียม หัวเผือกหัวมัน ชาวบ้านไม่ได้อยู่กับ Facebook Line หรือ Twitter ยิ่งสื่อกระแสหลักนำเสนอแต่ข่าวดารา และสิ่งบันเทิงเริงรมย์จนเกินพอดี จนไม่เหลือพื้นที่ปากเสียงให้กับพลเมืองที่เดือดร้อน การเคลื่อนไหวจึงเป็นเหมือนเทียนที่ถูกเป่าให้ดับเสียสนิท

หาก จะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา การต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เป็นของชนชั้นกลาง ไม่ใช่โดยชนชั้นกลาง และไม่ใช่เพื่อชนชั้นกลางเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันคือการต่อสู้เพื่อต่อลมหายใจของทั้งประเทศ และทั้งโลก

ฝันที่อยากให้เป็นจริง

การ เคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แบบที่ ศศินฯ ทำนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องที่ชนชั้นกลางอยากจะกระโจนเข้าไปมีส่วนร่วม เท่านั้น “ความบริสุทธิ์ ไร้มลทิน” เป็นเรื่องที่ พลเมืองทุกชนชั้นในประเทศนี้ กำลังโหยหาต้องการ และกำลังเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เพราะมันดูสวย และสง่างาม มากกว่าความน่าเบื่อหน่ายจากการอ้าง "เสียงของประชาชน" อยู่ร่ำไป

นี่ไม่ใช่เป็นเพียงการคิดเอาเล่น ๆ

ขบวน การแบบที่ ศศินฯ ทำ ผลลัพธ์มันได้ออกมาน่ากลัวเหลือเกิน น่ากลัวสำหรับอำนาจรัฐที่ต้องการปิดหูปิดตาพลเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่เป็นเรื่องการเมือง พลเมืองเดินตกท่อ พลเมืองเหยียบขี้หมา กลิ่นถังขยะสาธารณะเน่าเหม็น โดยธรรมชาติแล้วเรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องการเมืองทั้งหมด แต่อยู่ที่ว่าเราจะมองมันให้เป็นการเมืองหรือไม่ เพราะการเมืองมันอยู่กับพลเมืองทุกลมหายใจเข้าออก

ขบวนการแบบที่ ศศินฯ ทำ ไม่ใช่การตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจในการแสดงออกซึ่งสิทธิเสียง ระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นล่าง แต่มันคือตัวอย่างของการใช้ 1 เสียงที่มีอย่างถูกต้อง และมีคุณภาพ และการใช้ 1 เสียงที่มีอย่างถูกต้องและมีคุณภาพไม่ใช่ทำได้โดยวัดกันอย่างฉาบด้วยฐานะทาง เศรษฐกิจและระดับการศึกษา แต่มันอยู่ที่ “วิธีคิด และวิธีการแสดงออก”

ใน สังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าใครจะมี “จิตสำนึก” ในเรื่องใดๆ จริงหรือไม่ เท่าไหร่ และอย่างไร “วิธีคิด และวิธีการแสดงออก” เป็นเรื่องที่พลเมืองต้องคำนึงถึง หาก 1 เสียงรู้จัก “กลยุทธ และวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม”

"1 เสียงที่มีนั้น สามารถตะโกนได้ชั่วชีวิตตราบเท่าที่ต้องการ โดยที่ไม่แสบคอ"

การ ตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนของเรา เรามีรัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างเป็นประชาธิปไตย ปัญหาชั้นแรกคือพลเมือง(ชั้นล่าง)คิดไปแล้ว คิดไปเอง ว่า “ตัวเองไม่มีสิทธิ” ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เปิดรัฐธรรมนูญอ่านแม้แต่ 1 มาตรา และปัญหาชั้นสองคือ แม้เปิดรัฐธรรมนูญอ่านและรับรู้ในสิทธิที่พึงมี แต่อำนาจรัฐก็ยังหมกเม็ดในทางเนื้อหา เช่น ความไม่ชอบทางเทคนิค ของ EHIA ที่พลเมืองในพื้นที่ขัดแย้งควรรับรู้ แต่กลับไม่ได้รับรู้

งานเลี้ยงยังไม่เลิกรา

มอง เลยเรื่องความสำเร็จของประเด็นที่คัดค้าน ว่า “เอา” หรือ “ไม่เอา” เขื่อนแม่วงก์ และแม้จะมีโครงการอื่นของรัฐเกิดขึ้นมาอีกร้อยพันโครงการก็ตาม จากประสบการณ์ที่พลเมืองได้เรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการต่อต้านอำนาจรัฐ อย่างสงบ และถูกต้อง ไม่ว่าในรัฐบาลไหนก็ตาม

การเคลื่อนไหวของ ศศินฯ ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จ และทำให้พลเมืองทุกสี ทุกแนวความคิด เรียนรู้ถึงการต่อสู้ที่ สะอาดและสมควรเอาเป็นแบบอย่าง ซึ่งได้ข้อสรุปอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. การเติบโตของประชาสังคมที่ประชาชนต่างพากันกระตือรือร้น ที่จะตรวจสอบกระบวนการทำงานของรัฐ และเรียกร้องสิทธิในการมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศได้อย่างมีพลัง "แม้สื่อกระแสหลัก จะไม่นำพา"

2.“มีคนบอกว่าโครงการพระราช ดำริแตะต้องไม่ได้ ข้อนี้เป็นความคิดที่ผิด หรือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ เมืองไทยไม่เจริญ พระราชดำรินั้น ก็เป็นความคิดของพระราชา ถ้าความคิดของพระราชาแก้ไขไม่ได้ ก็หมายความว่าเมืองไทยมีความก้าวหน้าไม่ได้”

(พระราชดำรัส พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2536)

มีคนบางกลุ่ม พยายามจะดับความชอบธรรมของ การคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลโดยมีเจตนาร้าย และผมไม่เข้าใจว่า “ทุนที่ไม่อาจกล่าวถึง” ในความหมายของ คุณไม่มีชื่อ ที่ได้เขียนบทความเรื่อง “ค้านเขื่อนแม่วงก์ ความฟินของชนชั้นกลาง” คืออะไร !!!! และ คุณ “ไม่มีชื่อ” เข้าใจในประเด็นข้อกฎหมายเรื่อง “พระราชอำนาจตามจารีต” หรือไม่ อย่างไร ???!!!

ผม เคยรับทราบเพียงแค่ว่า "ในหลวงทรงทำงานหนัก" แต่เมื่อมีคนบางกลุ่ม อ้างถึงพระราชดำริ โดยมีเจตนาร้าย ทำให้ผมยิ่งทราบมากขึ้นว่า "ในหลวงทรง ผลักดันเรื่องน้ำ และระบบชลประทาน" ยิ่งกว่าที่พลเมืองแบบผมเคยได้รับทราบ มากมายหลายเท่านัก

3. โครงการเขื่อนแม่วงก์ ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ซึ่ง ศศินฯ ได้ทำการเปิดโปงความไม่โปร่งใส และบอกว่า “ประชาชนไม่ต้องกลัวรัฐบาล รัฐบาลต่างหากที่ต้องกลัวประชาชน”

แม้กิจกรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่าน มา จะเกิดขึ้นอีกกับโครงการสิ่งแวดล้อมอื่นของรัฐบาล หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างน้อย ศศินฯ และทีมงาน ก็ได้สอนวิชา สปช. นอกตำรา ให้กับเด็ก ๆ นับร้อยคน รวมถึงพลเมืองที่ใช้ และอ้างประชาธิปไตย โดยอาศัยปริมาณ มากกว่าคุณภาพ สิ่งที่กึกก้องไม่ใช่เพียงแค่ “บทกวีและดนตรีเพื่อชีวิต” แต่มันคือความสวยงามของประชาธิปไตย

ผมหวังว่า ประชาชนทุกสี ทุกฝ่าย จะใช้ฉกฉวยโอกาสนี้ แสดงพลังอำนาจของตัวเองในการตรวจสอบโครงการบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลกำลัง เดินหน้าอย่างเข้มขันจริงจัง งบประมาณสร้างเขื่อน 1.3 หมื่นล้าน ต้องโปร่งใส และงบประมาณ บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ก็ยิ่งต้องโปร่งใส

“การ ที่รัฐบาลได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของรัฐบาลประชาธิปไตย แต่การที่รัฐบาลได้รับการเลือกตั้งเข้ามา และรัฐบาลนั้นถูกตรวจสอบการทำงานโดยประชาชนอย่างโปร่งใสต่างหาก ถึงจะเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย”

แม้ชนชั้นกลางที่มาร่วมกิจกรรม จะพากันปัดตูดขับพรีอุสกลับบ้าน นอนผึ่งแอร์ ก็ตาม แต่อย่างน้อย รถที่ขับก็ยังเป็น “ไฮบริด” แอร์ที่ผึ่งก็ยังเป็น "เบอร์ 5" ก่อนนอนก็ยังได้สอนลูกว่า

“ที่พ่อพามาเรียนวิชา สปช. ที่หอศิลป์ฯ วันนี้ มันไม่มีสอนในตำราเรียนนะลูก”

ชนชั้นบน ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า “มีแค่เงิน” แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง “สมอง และแรงงาน”

ชนชั้นกลาง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า “มีแค่ความคิด” แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง “ความมุ่งมั่น และการลงมือทำ”

ชนชั้นล่าง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า “มีแค่แรง” แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง “ยุทธวิธี และการวางแผน”

ความ เป็นธรรมในสังคมทุกวันนี้ “อาจจะ” ไม่มีอยู่จริง สาเหตุอาจจะเป็นเพราะโลกและสังคม ที่คนในรุ่นเราอาศัยอยู่มันกว้างเกินไป นอกจากนั้น แต่ละคน แต่ละฝ่าย แต่ละแนวคิด ต่างเลือกเสพ "สิ่งที่ตัวเองต้องการ" มากกว่า "สิ่งที่ถูกต้อง"

เทคโนโลยี กับ ธรรมชาติ ไม่ได้สวนทางกัน แต่มีเงื่อนไขว่า “เราต้องใช้มันอย่างถูกวิธี”

วัน นั้น หลายสีอาจจะมาร่วมกิจกรรมด้วยกัน “อย่างไม่สนิทใจ” แต่อย่างน้อย เราก็ยังสามารถฝากความหวังไว้กับเด็ก ๆ ที่เราพาเค้าไปเห็นโลกกว้าง ที่ไม่มีในตำราเรียน

ปลูกฝังเค้าด้วยธรรมชาติ และสิ่งที่ ศศินฯ ได้สอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และเค้าจะโตมาโดยมีพื้นฐานความคิดที่ว่า “เราต้องอยู่กับธรรมชาติ ไม่ใช่เราอยู่เหนือธรรมชาติ” และเด็ก ๆ ในวันนี้ ก็จะโตมากับความคิดเรื่องประชาธิปไตย ที่ถูกปลูกฝังอย่างถูกต้อง

เพราะว่า "การสร้างเด็กที่แข็งแรงนั้น "ง่ายกว่า" การซ่อมแซมผู้ใหญ่ที่ผุพัง" ครับ

____________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น