updated: 23 ก.ย. 2556 เวลา 15:57:06 น.
ด่านต่อไปของร่าง
พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
และขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ตามปฏิทินที่รัฐบาล
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพรรคเพื่อไทยวางไว้ว่า
หลังได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา (ส.ว.) โดยให้เวลา ส.ว.ปรับแก้บวก-ลบไม่เกิน
60 วัน หรือไม่เกิน 2 เดือน
เป็น
การคาดหมายในมุมบวกว่า หาก ส.ว.ไม่ได้แก้ไขเนื้อในร่าง พ.ร.บ. 2
ล้านล้านมากจนเกินไป การผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จทั้งกระบวนการ
และสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน
นี้ แต่หากแก้ไขหลายมาตราก็จะบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม ปชป.เอาแน่ยื่นศาล รธน.ตีความ
แต่ สมมติฐานข้างต้น รัฐบาลมิได้นำปัจจัยที่ฝ่ายตรงข้ามอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" เตรียมนำร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ เนื่อง จากฝ่ายค้านตั้งธงไว้แต่ต้นว่า หากร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านกระบวนการรัฐสภา ขั้นต่อไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญทันที เพราะมองว่าโครงการ 2 ล้านล้าน สามารถใช้จ่ายได้ตาม งบประมาณปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินผ่าน พ.ร.บ.เงินกู้
ดัง เช่น "กรณ์ จาติกวณิช" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ไม่ควรทำอะไรล่อแหลมต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ รัฐบาลควรหันกลับไปใช้เงินงบประมาณ โดยรัฐบาลสามารถเสนองบประมาณกลางปีเข้ามา ตามวงเงินที่จำเป็นต้องใช้ในปีงบประมาณ 2557 อาจ จะของบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปีอีก 1.2 แสนล้านบาท รัฐบาลมีเสียงท่วมท้นในสภา วิธีนี้สามารถมีเงินให้คมนาคมเบิกจ่ายได้ตามแผนงานเมื่อถึงปี 2558 ก็ยังสามารถกู้ยืมระบบงบประมาณได้อีก พูดง่าย ๆ ทุกโครงการเดินหน้าได้
พ.ร.บ. 2 ล้านล้านต้องลุ้นอีกยาว
สอดคล้องกับหัวขบวน 40 ส.ว.อย่าง "คำนูณ สิทธิสมาน" ส.ว.สรรหา ที่มองว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 แน่นอน เพราะในรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ระบุว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบ ประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ กรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอน เงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย
"การ จ่ายเงินแผ่นดินออกไปจะจ่ายโดยกฎหมายฉบับอื่นไม่ได้เลย ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย 4 ฉบับนี้เท่านั้น กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับอย่างไรก็ขัด"
ทั้ง ปฏิกิริยาจากพรรคประชาธิปัตย์ และปฏิกิริยาจาก ส.ว.สรรหา สอดคล้องกัน ดังนั้น แม้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะผ่านรัฐสภา รัฐบาลยังต้องลุ้นอีกยาวว่าจะฝ่าด่านศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
โฟกัสด่านหินศาล รธน.
หากมองในองคาพยพของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่ชี้ขาดว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นใน เวลานี้ แม้การลาออกของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" จากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยหายใจหายคอโล่งขึ้นบ้าง เพราะ "วสันต์" ถูกพรรคเพื่อไทยโจมตีตลอดว่าเป็นฝ่ายปฏิปักษ์กับรัฐบาล แต่ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีองค์ประชุมประกอบด้วย 1.นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหา 2.นายหัสวุฒิ วิ ฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครอง 3.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา 4.นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ 5.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นกรรมการสรรหาได้ มีมติ 4 ต่อ 1 เลือก "ศ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ" ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ อาจทำให้รัฐบาล ต้องลุ้นหนักกว่ายุคที่ศาลรัฐธรรมนูญมี "วสันต์" เป็น 1 ใน 9 องค์คณะตุลาการ
เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" เป็นหนึ่งในสมาชิก "กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์" อันประกอบด้วย อาจารย์ 5 สถาบัน คือ 1.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2.ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 3.ม.ธรรมศาสตร์ 4.ม.รังสิต และ 5.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งถูกมองว่าเป็นการรวมกลุ่มของนักวิชาการที่ยืน อยู่ฝ่ายตรงข้าม "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
นัก วิชาการรัฐศาสตร์บางคนจึงวิเคราะห์ว่า การที่ ศ.ทวีเกียรติ ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" มีแนวคิดคนละฟากกับรัฐบาล ต่างจากนายวสันต์แม้จะถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล แต่การลงมติของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา หลายครั้งนายวสันต์เป็นเสียงข้างน้อยที่เห็นตรงกับพรรคเพื่อไทย
ชี้ช่องโหว่ปมข้อกฎหมาย
ล่า สุด "วสันต์" ชี้จุดโหว่-ส่งสัญญาณเตือน ผ่านเวทีสัมมนา "ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย" โดยฟันธงว่า การเดินหน้าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน สุ่มเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169
"โครงการ รถไฟความเร็วสูงที่จะกู้เงินตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ถามว่าจะทำรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ต้องขุดลงใต้ดินผ่านอุทยานฯ ป่าสงวนฯ ชุมชนไหนบ้าง รัฐก็ตอบไม่ได้ พูดอย่างเดียวจะเอาเงินกู้โดยการกู้เงินเอามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐระบุเป็นโครงการ 7 ปี เฉลี่ยรายปีต้องใช้งบฯ ปีละ 3 แสนล้านบาท ทำไมไม่กู้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ คำตอบคือ ถ้าทำตาม พ.ร.บ.งบประมาณฯ การยื่นคำขอในแต่ละปีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ถูกตรวจสอบได้ง่าย จึงเลี่ยงจะถูกตรวจสอบ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ถ้าเรื่องนี้ผ่านไปได้ ต่อไปรัฐบาลจะไม่เลือกใช้การกู้ผ่านวิธีการงบประมาณแล้ว"
นับจากนี้ ไม่ว่ารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และพรรคเพื่อไทยจะอ้างว่า การเบิกจ่ายและใช้เงินกู้ตามร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท
ไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 เพราะเงินกู้ดังกล่าวแยกจากกฎหมายเงินคงคลังและงบประมาณ ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน 4 ฉบับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ ในอดีตก็มีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกู้เงินเพื่อใช้เฉพาะด้าน มีนิติวิธีการบัญญัติอนุญาตให้ไม่ต้องนำเงินที่ได้มาจากการกู้นี้ส่งคลังก็ ตาม แต่บรรทัดสุดท้ายร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ต้องลุ้นกันยาว ๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น