21 ก.ย. 56 เวลา 16.00 น. ร้านหนังสือ Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่
ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “หนังสือการเมืองเล่มเล็ก ภายหลังการปฏิวัติ 2475”
โดยมีวิทยากรคือ ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ณัฐพล กล่าวว่าตนทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องประวัติศาสตร์หนังสือ
และทุนนิยมการพิมพ์ในสังคมไทยมาหลายปีแล้ว และยังไม่แล้วเสร็จ โดยทำๆ หยุดๆ
มาโดยตลอด เพราะหลักฐานในเรื่องนี้ยังหาค่อนข้างยาก
แต่เมื่อมีโอกาสได้มาพูดที่ร้านหนังสือ
จึงอยากจะพูดในเรื่องเกี่ยวกับหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือทางการเมือง
และการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง จึงเลือกที่จะพูดในเรื่องนี้
โดยคนทั่วไปเวลาพูดถึงการศึกษาหนังสือ มักนึกถึงการศึกษาหนังสือสำคัญ หรือ Great books เช่น พระราชนิพนธ์ พระราชพิจารณ์ หรือสนใจหนังสือเล่มสำคัญหลักๆ ที่จะเข้าใจความคิดทางการเมือง แต่สิ่งที่ตนสนใจคือหนังสือเล่มเล็กๆ มีราคาถูก ไม่ได้เขียนโดยนักเขียนชื่อดัง และขายในตลาดล่าง ซึ่งหนังสือเหล่านี้ในช่วงภายหลังการปฏิวัติปี 2475 มีการขยายตัวและเผยแพร่กว้างขวางในสังคมไทย
ณัฐพลกล่าวว่าหนังสือเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็น “หนังสือจิ๊บจ๊อย” ซึ่งเป็นหนังสือที่พยายามนำเสนอทิศทางที่พึงจะเป็น หรือนำเสนอความคิด-ความรู้ ต่อสังคมการอ่านในระดับกลางและล่างภายหลังการปฏิวัติของไทย ผลกระทบของหนังสือเหล่านี้จึงมิได้จิ๊บจ๊อยไปด้วย นอกจากนั้น หนังสือจิ๊บจ๊อยมักเป็นหนังสือที่หาได้ยาก ไม่ได้เก็บไว้ในห้องสมุดแห่งชาติ เพราะถูกคัดออกไปว่าไม่ได้มีความสำคัญ ทำให้หลักฐานหาได้ยาก แหล่งข้อมูลจึงมาจากการสะสมด้วยตนเองเป็นหลัก
การศึกษานี้ได้หยิบยืมความคิดมาจาก Ben Anderson ในเรื่องชุมชนในจินตกรรม และ Rebert Darnton ซึ่งศึกษาสภาวะหนังสือการเมืองก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ในกรณีของสังคมไทย หนังสือการเมืองไม่ได้มีมากในช่วงก่อนการปฏิวัติ แต่มีมากหลังการปฏิวัติ โดยเน้นการพิจารณาการเติบโตของทุนนิยมการพิมพ์ในสังคมไทย และหนังสือการเมือง ภายหลังการปฏิวัติเป็นเวลา 10 ปี และพยายามจำแนกกลุ่มหนังสือการเมืองที่น่าสนใจ
เริ่มแรก เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มเข้ามาในสยาม ก็ถูกยึดกุมโดยชาวต่างชาติและชนชั้นสูง โดยการขยายตัวของการพิมพ์ เริ่มจากชาวตะวันตกก่อน เช่น โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์, หมอสมิธ จนกระทั่งปลายทศวรรษ 2430 เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในการขยายตัวของทุนนิยมสิ่งพิมพ์มากขึ้น ในรูปของการมีสามัญชนเป็นเจ้าของโรงพิมพ์มากขึ้น และโรงพิมพ์เอกชนมีเพิ่มขึ้นในทศวรรษ 2450 โดยมีอย่างน้อย 20 แห่ง เป็นโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ประมาณ 9 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพิมพ์ทั่วไป ซึ่งมักจะรับจ้างพิมพ์สิ่งพิมพ์อย่างอื่นด้วย เช่น การ์ด ใบกฐินต่างๆ จนทศวรรษ 2470 โรงพิมพ์เอกชนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 60 แห่ง สะท้อนถึงการขยายตัวทุนนิยมการพิมพ์
ในอดีต การอ่านในสังคมไทยยังไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ เวลารัฐบาลไปแจ้งข่าวในที่สาธารณะ ที่เรียกว่า “การตีฆ้องร้องเปล่า” ก็ทำโดยการถือประกาศไปอ่านให้ชาวบ้านในชุมชนฟัง การรับรู้ของประชาชนจึงเป็นการฟังมากกว่าอ่านด้วยตนเอง และหนังสือยังมีราคาแพง โดยในช่วง 2440 คนในสังคมชนบทไม่สามารถเข้าถึงการอ่านได้ การครอบครองหนังสือของคนมีน้อย จนเมื่อเริ่มมีการพิมพ์หนังสือมากขึ้น ทำให้จารีตของการส่งผ่านความรู้ในสังคมไทย เริ่มเปลี่ยนจากการพูด-การบอกเล่า ไปสู่การอ่านมากขึ้นอย่างช้าๆ และทำให้เกิดการขยายตัวของสำนึกของความร่วมกันว่าเราคือสังคม-ชุมชนเดียวกัน และวิธีการอ่านในอดีต คือการอ่านออกเสียง ซึ่งแตกต่างจากการอ่านในใจ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ ซึ่งน่าจะเริ่มพร้อมๆ กับการมีระบบราชการสมัยใหม่
เมื่อจำนวนพิมพ์หนังสือมากขึ้น ราคาก็ถูกลง เนื้อหาหนังสือก็เริ่มเปลี่ยนแปลง จากการเน้นตีพิมพ์โคลงกลอน มาสู่การพิมพ์ร้อยแก้วและความเรียงมากขึ้น และเมื่อหนังสือเป็นสิ่งที่มีค่า ก็เริ่มเกิดการสะสมหนังสือขึ้นมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมใหม่ในหมู่ชนชั้นนำ-สามัญชนบางส่วน และเริ่มเกิดการชื่นชมหรือเทิดทูนหนังสือ โดยมีหนังสือหลายเล่มให้คติพจน์เกี่ยวกับคุณค่าหนังสือไว้ เช่น “จะไปไหนๆ ก็เอาหนังสือไปเป็นเพื่อนได้” “ไม่มีเพื่อนที่ซื่อตรงเท่ากับหนังสือดีๆ” เป็นต้น
ในช่วงเวลานั้นยังเกิดห้องสมุดแห่งชาติ เกิดชมรมสะสมหนังสือ เกิดที่อ่านหนังสือสำหรับประชาชน เกิดร้านเช่าหนังสือ และเกิดร้านหนังสือขายหนังสือมือสอง โดยเฉพาะร้าน “เซ่งฮง” แถวเยาวราช ที่ปัญญาชนหลายคนในยุคนั้นมักไปเลือกซื้อหาหนังสือ ซึ่งทุกวันนี้ยังเปิดทำการอยู่ หากไม่ได้ขายหนังสือแล้ว แต่รับซ่อมหนังสือโบราณแทน นอกจากนั้นการหาหนังสือยังไปหาที่โรงรับจำนำได้ ซึ่งแสดงว่าหนังสือเป็นสิ่งที่มีค่า จึงสามารถนำไปจำนำได้ สิ่งเหล่านี้ ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่าน จากการอ่านแบบสมุดข่อยใบลาน ที่เป็นพับ ไปสู่การเปิดอ่านจากซ้ายไปขวาจากหนังสือ เทคโนโลยีจึงมีผลต่อพฤติกรรมการอ่าน
นอกจากนั้น ธุรกิจการพิมพ์หนังสือก็มีความขัดแย้งกันมาตั้งแต่สมัยก่อน เช่น กรณีหมอบรัดเลย์ และหมอสมิธ แย่งกันหาต้นฉบับ และทะเลาะกัน จนชนชั้นสูงต้องมาตัดสินความขัดแย้ง คือให้หมอสมิธพิมพ์กลอนไป ส่วนหมอบรัดเลย์ก็ให้พิมพ์หนังสือพวกร้อยแก้ว
ในช่วงท้ายทศวรรษ 2460 สังคมไทยก็ก้าวสู่สังคมที่บริโภคสิ่งพิมพ์มากขึ้น เริ่มต้นจากความนิยมการอ่านหนังสือเล่มเล็กๆ ที่เป็นเรื่องกลอน-หนังสืออ่านเล่น เห็นได้จากการก่อตั้งสำนักพิมพ์ที่ยุคนั้นเรียกว่า “คณะ” ที่เกิดขึ้นมาก รวมทั้งร้านชำหรือร้านตัดผม ก็ผันตัวเองมาจัดพิมพ์หนังสือขายด้วย และทำให้คนชนบทเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้น
ส่วนการกระจายหนังสือในสังคม โรงพิมพ์ทำหน้าที่แจกกระจายหนังสือด้วยตนเอง เพราะยังไม่มีร้านขายมาก จนทศวรรษ 2450-60 ร้านหนังสือเริ่มเยอะขึ้น แต่ในยุคนั้น ร้านหนังสือไม่ค่อยมีร้านไหนที่อยู่ด้วยการขายหนังสือเพียงอย่างเดียวได้ แต่จะทำหรือขายอย่างอื่นด้วย เช่น ทำโฆษณา ตัดผม ขายยา ขายเครื่องเขียน เป็นต้น
ในสมัยก่อนมีการใช้รถม้าในการขนไปส่งตามร้าน หรือใช้จักรยาน-รถยนต์ไปส่งตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ แต่ด้วยการขยายตัวของทุนนิยม ทำให้คนนำหนังสือไปส่งที่ไกลๆ ได้ หรือใช้การส่งไปรษณีย์ รวมทั้งมีบางร้านหนังสือใช้ระบบการอ่านก่อน แล้วจ่ายทีหลังด้วย ส่วนร้านค้าหนังสือตามภูมิภาคในทศวรรษ 2470 เริ่มมีมากขึ้น แต่ต้องขายของอย่างอื่นๆ ด้วยเช่นกันจึงจะอยู่ได้
ช่วงทศวรรษ 2470 สิ่งพิมพ์เริ่มเปลี่ยนจากเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ มาเป็นเรื่องสมจริงมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเรื่องอ่านเล่นอยู่ โดยก่อนหน้า 2475 โรงพิมพ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ประกาศว่าจะไม่พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ “การเมือง” แต่พิมพ์เรื่องความรู้ทั่วไป ทั้งนี้คำว่า “การเมือง” ในช่วงก่อน 2475 ไม่มี่ความหมายในปทานุกรมไทย จนหลัง 2475 มีการแปลว่าวิชาความรู้ในการปกครองบ้านเมือง
ณัฐพลนิยามว่า “หนังสือการเมืองเล่มเล็ก” ภายหลัง 2475 นั้น คือเอกสารขนาดสั้น ที่มีเป้าหมายในการสร้างข้อโต้แย้งหรือมุ่งสร้างอิทธิพลต่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทางศาสนาหรือการเมือง โดยหนังสือเหล่านี้มีราคาถูกและจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก ราว 5 พันเล่มขึ้นไป โดยมากหนาประมาณ 100 กว่าหน้า เพื่อให้มีราคาถูก โดยราคาอยู่ระหว่าง 30 สตางค์-1 บาท โดยสามารถแบ่งหนังสือเป็นสามกลุ่ม คือหนังสือที่ผลิตและเขียนโดยหน่วยงานรัฐบาล เน้นการแจกหรือขายในมหาลัย, หนังสือที่ผลิตโดยปัญญาชนกึ่งราชการ, หนังสือที่ผลิตโดยกลุ่มปัญญาชนในสังคม ที่ใช้ชื่อว่า “คณะ” ต่างๆ หรือใช้นามแฝง
และยังสามารถจัดกลุ่มหนังสือหลังการปฏิบัติได้เป็นหลายช่วง เช่น ช่วง 2475-77 มุ่งสร้างความเข้าใจต่อการปกครองในระบอบใหม่และปกป้องระบอบใหม่, 2475-79 มีงานเขียนกลุ่มรอยัลลิสต์ โจมตีระบบใหม่, ช่วง 2477-84 เริ่มมีหนังสือมุ่งแสวงหารูปแบบทิศทาง ภาวะผู้นำ และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกกับการดำรงอยู่ของไทย และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงกลับมาของงานเขียนกลุ่มรอยัลลิสต์
“เราไม่เคยพบหนังสือในช่วงก่อน 2475 ที่มีการพูดถึงผู้นำในต่างประเทศ เพราะช่วงนั้นเราปกครองแบบราชาธิปไตย ดังนั้นรูปแบบผู้นำเดียวของไทยในอุดมคติ ก็คือแบบพระราชาเท่านั้น ไม่ต้องคิดถึงรูปแบบที่สอง สาม สี่ มีแบบเดียว แต่หลังการปฏิวัติ มีหลายแบบ หลังการปฏิวัติจึงเป็นการเปิดพื้นที่ทางความรู้ ความคิดมากยิ่งขึ้น มีการพิมพ์ประวัติฮิตเลอร์ มุสโสลินี นโปเลียน สตาลิน ซุนยัตเซน เจียงไคเช็ค” ณัฐพล กล่าว
ณัฐพลเห็นว่าหนังสือการเมืองในช่วงหลัง 2475 ก็คือผลผลิตทางภูมิปัญญา ที่ต้องการนำเสนอภาพและทางเลือกให้กับระบอบใหม่ บางทีก็เป็นเวทีทางความคิดในการต่อสู้ทางการเมือง และนำเสนอภาพให้กับสังคมไทยที่กระหายใคร่รู้ ดังนั้นกระแสความเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังการปฏิวัติ จึงไม่ได้ถูกกำหนดโดยรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว ตามที่เคยเข้าใจ เช่น เรามักเข้าใจว่ารัฐบาลจอมพลป.เป็นผู้ปลุกกระแสชาตินิยม แต่กระแสชาตินิยมมีอยู่แล้ว และถูกปลุกเร้าโดยหนังสือเหล่านี้อยู่ก่อนแล้วด้วย
กลุ่มหนังสือการเมืองหลังการปฏิวัติสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เช่น ตำราอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ, หนังสือต่อต้านระบอบใหม่ของพวกรอยัลลิสต์, ตำราประเภท “คู่มือ” เช่น การเป็นพลเมือง การเมืองในระบอบใหม่ ระบอบใหม่ในคำกลอน ศาสตร์ของการเลือกผู้ปกครอง ประวัติการปกครองของไทย, หนังสือความสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศ, หนังสือความคิดเศรษฐกิจการเมือง, หนังสือความคิดปรัชญาทางการเมือง, สิ่งพิมพ์หาเสียงของส.ส., หนังสือการปฏิวัติฝรั่งเศส, หนังสือปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ, หนังสือไทยในบริบทการเมืองโลก และหนังสือแบบการปกครอง-ผู้นำ เป็นต้น
ตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆ หลัง 2475
ณัฐพลสรุปว่าหลังการปฏิวัติ ในช่วง 2475-2490
เป็นยุคของการประชันขันแข่งของความคิดทางการเมือง
มีการนำเสนอความคิดทางการเมืองสู่สังคมไทยจากหลากหลายสำนักมาก
ผ่านหนังสือการเมืองเล่มเล็กเหล่านี้ ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป
ในเรื่องประวัติศาสตร์ความคิด
ภูมิปัญญาโลกทรรศน์ของชนชั้นนำและพลเมืองไทยในระบอบใหม่
หรือศึกษาประวัติศาสตร์สังคม ประวัติศาสตร์หนังสือ
การพิมพ์และการอ่านในสังคมไทย
ในช่วงถามตอบ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ถามว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส ก่อนหน้าการปฏิวัติมันมีการเผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือความรู้มาก่อน และมีการพูดถึงตัวแบบต่างๆ ทำให้การปฏิวัติมีเชื่อมูลมาก่อน พูดง่ายๆ ว่าประชาชนพร้อมแล้ว แต่ฟังดูเหมือนกับว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสังคมสยามก่อนหน้า 2475 คนธรรมดาไม่ได้อ่านหรือเสพความรู้แบบนี้มาก่อนเลย ทำให้คนคิดไปได้ว่าประชาชนไม่ได้มีความพร้อมกับการปฏิวัติ คำถามคือสำหรับสังคมไทย การปฏิวัติ 2475 มันมีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
ณัฐพล ได้กล่าวตอบว่า ตนไม่ได้บอกว่าสังคมไทยไม่พร้อมกับการปฏิวัติ แต่เชื่อว่าสังคมไทยพร้อมกับการปฏิวัติแล้ว สิ่งที่ตนนำเสนอนั้นจำกัดเฉพาะหนังสือการเมืองเล่มเล็ก โดยการตื่นตัวทางการเมืองในสังคมไทยมีมาก่อนการปฏิวัติ ผ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งในช่วงรัชกาลที่ 6-7 มีการล้อเลียนรัฐบาลอย่างมาก โดยที่หนังสือพิมพ์เหล่านี้เขียนและพิมพ์ได้ ก็เพราะบรรณาธิการเป็นคนในบังคับของต่างประเทศ รัฐบาลจึงทำอะไรไม่ได้ คนไทยจำนวนหนึ่งได้อ่านสิ่งเหล่านี้และมีความตื่นตัวพอสมควรแล้ว แต่หลังการปฏิวัติจึงจะเริ่มมีหนังสือการเมือง พูดถึงความคิดทางการเมืองต่างๆ และถูกเขียนโดยคนไทยเอง เพราะบรรยากาศทางการเมืองเปิดมากขึ้น
โดยคนทั่วไปเวลาพูดถึงการศึกษาหนังสือ มักนึกถึงการศึกษาหนังสือสำคัญ หรือ Great books เช่น พระราชนิพนธ์ พระราชพิจารณ์ หรือสนใจหนังสือเล่มสำคัญหลักๆ ที่จะเข้าใจความคิดทางการเมือง แต่สิ่งที่ตนสนใจคือหนังสือเล่มเล็กๆ มีราคาถูก ไม่ได้เขียนโดยนักเขียนชื่อดัง และขายในตลาดล่าง ซึ่งหนังสือเหล่านี้ในช่วงภายหลังการปฏิวัติปี 2475 มีการขยายตัวและเผยแพร่กว้างขวางในสังคมไทย
ณัฐพลกล่าวว่าหนังสือเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็น “หนังสือจิ๊บจ๊อย” ซึ่งเป็นหนังสือที่พยายามนำเสนอทิศทางที่พึงจะเป็น หรือนำเสนอความคิด-ความรู้ ต่อสังคมการอ่านในระดับกลางและล่างภายหลังการปฏิวัติของไทย ผลกระทบของหนังสือเหล่านี้จึงมิได้จิ๊บจ๊อยไปด้วย นอกจากนั้น หนังสือจิ๊บจ๊อยมักเป็นหนังสือที่หาได้ยาก ไม่ได้เก็บไว้ในห้องสมุดแห่งชาติ เพราะถูกคัดออกไปว่าไม่ได้มีความสำคัญ ทำให้หลักฐานหาได้ยาก แหล่งข้อมูลจึงมาจากการสะสมด้วยตนเองเป็นหลัก
การศึกษานี้ได้หยิบยืมความคิดมาจาก Ben Anderson ในเรื่องชุมชนในจินตกรรม และ Rebert Darnton ซึ่งศึกษาสภาวะหนังสือการเมืองก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ในกรณีของสังคมไทย หนังสือการเมืองไม่ได้มีมากในช่วงก่อนการปฏิวัติ แต่มีมากหลังการปฏิวัติ โดยเน้นการพิจารณาการเติบโตของทุนนิยมการพิมพ์ในสังคมไทย และหนังสือการเมือง ภายหลังการปฏิวัติเป็นเวลา 10 ปี และพยายามจำแนกกลุ่มหนังสือการเมืองที่น่าสนใจ
เริ่มแรก เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มเข้ามาในสยาม ก็ถูกยึดกุมโดยชาวต่างชาติและชนชั้นสูง โดยการขยายตัวของการพิมพ์ เริ่มจากชาวตะวันตกก่อน เช่น โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์, หมอสมิธ จนกระทั่งปลายทศวรรษ 2430 เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในการขยายตัวของทุนนิยมสิ่งพิมพ์มากขึ้น ในรูปของการมีสามัญชนเป็นเจ้าของโรงพิมพ์มากขึ้น และโรงพิมพ์เอกชนมีเพิ่มขึ้นในทศวรรษ 2450 โดยมีอย่างน้อย 20 แห่ง เป็นโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ประมาณ 9 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพิมพ์ทั่วไป ซึ่งมักจะรับจ้างพิมพ์สิ่งพิมพ์อย่างอื่นด้วย เช่น การ์ด ใบกฐินต่างๆ จนทศวรรษ 2470 โรงพิมพ์เอกชนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 60 แห่ง สะท้อนถึงการขยายตัวทุนนิยมการพิมพ์
ในอดีต การอ่านในสังคมไทยยังไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ เวลารัฐบาลไปแจ้งข่าวในที่สาธารณะ ที่เรียกว่า “การตีฆ้องร้องเปล่า” ก็ทำโดยการถือประกาศไปอ่านให้ชาวบ้านในชุมชนฟัง การรับรู้ของประชาชนจึงเป็นการฟังมากกว่าอ่านด้วยตนเอง และหนังสือยังมีราคาแพง โดยในช่วง 2440 คนในสังคมชนบทไม่สามารถเข้าถึงการอ่านได้ การครอบครองหนังสือของคนมีน้อย จนเมื่อเริ่มมีการพิมพ์หนังสือมากขึ้น ทำให้จารีตของการส่งผ่านความรู้ในสังคมไทย เริ่มเปลี่ยนจากการพูด-การบอกเล่า ไปสู่การอ่านมากขึ้นอย่างช้าๆ และทำให้เกิดการขยายตัวของสำนึกของความร่วมกันว่าเราคือสังคม-ชุมชนเดียวกัน และวิธีการอ่านในอดีต คือการอ่านออกเสียง ซึ่งแตกต่างจากการอ่านในใจ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ ซึ่งน่าจะเริ่มพร้อมๆ กับการมีระบบราชการสมัยใหม่
เมื่อจำนวนพิมพ์หนังสือมากขึ้น ราคาก็ถูกลง เนื้อหาหนังสือก็เริ่มเปลี่ยนแปลง จากการเน้นตีพิมพ์โคลงกลอน มาสู่การพิมพ์ร้อยแก้วและความเรียงมากขึ้น และเมื่อหนังสือเป็นสิ่งที่มีค่า ก็เริ่มเกิดการสะสมหนังสือขึ้นมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมใหม่ในหมู่ชนชั้นนำ-สามัญชนบางส่วน และเริ่มเกิดการชื่นชมหรือเทิดทูนหนังสือ โดยมีหนังสือหลายเล่มให้คติพจน์เกี่ยวกับคุณค่าหนังสือไว้ เช่น “จะไปไหนๆ ก็เอาหนังสือไปเป็นเพื่อนได้” “ไม่มีเพื่อนที่ซื่อตรงเท่ากับหนังสือดีๆ” เป็นต้น
ในช่วงเวลานั้นยังเกิดห้องสมุดแห่งชาติ เกิดชมรมสะสมหนังสือ เกิดที่อ่านหนังสือสำหรับประชาชน เกิดร้านเช่าหนังสือ และเกิดร้านหนังสือขายหนังสือมือสอง โดยเฉพาะร้าน “เซ่งฮง” แถวเยาวราช ที่ปัญญาชนหลายคนในยุคนั้นมักไปเลือกซื้อหาหนังสือ ซึ่งทุกวันนี้ยังเปิดทำการอยู่ หากไม่ได้ขายหนังสือแล้ว แต่รับซ่อมหนังสือโบราณแทน นอกจากนั้นการหาหนังสือยังไปหาที่โรงรับจำนำได้ ซึ่งแสดงว่าหนังสือเป็นสิ่งที่มีค่า จึงสามารถนำไปจำนำได้ สิ่งเหล่านี้ ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่าน จากการอ่านแบบสมุดข่อยใบลาน ที่เป็นพับ ไปสู่การเปิดอ่านจากซ้ายไปขวาจากหนังสือ เทคโนโลยีจึงมีผลต่อพฤติกรรมการอ่าน
นอกจากนั้น ธุรกิจการพิมพ์หนังสือก็มีความขัดแย้งกันมาตั้งแต่สมัยก่อน เช่น กรณีหมอบรัดเลย์ และหมอสมิธ แย่งกันหาต้นฉบับ และทะเลาะกัน จนชนชั้นสูงต้องมาตัดสินความขัดแย้ง คือให้หมอสมิธพิมพ์กลอนไป ส่วนหมอบรัดเลย์ก็ให้พิมพ์หนังสือพวกร้อยแก้ว
ในช่วงท้ายทศวรรษ 2460 สังคมไทยก็ก้าวสู่สังคมที่บริโภคสิ่งพิมพ์มากขึ้น เริ่มต้นจากความนิยมการอ่านหนังสือเล่มเล็กๆ ที่เป็นเรื่องกลอน-หนังสืออ่านเล่น เห็นได้จากการก่อตั้งสำนักพิมพ์ที่ยุคนั้นเรียกว่า “คณะ” ที่เกิดขึ้นมาก รวมทั้งร้านชำหรือร้านตัดผม ก็ผันตัวเองมาจัดพิมพ์หนังสือขายด้วย และทำให้คนชนบทเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้น
ส่วนการกระจายหนังสือในสังคม โรงพิมพ์ทำหน้าที่แจกกระจายหนังสือด้วยตนเอง เพราะยังไม่มีร้านขายมาก จนทศวรรษ 2450-60 ร้านหนังสือเริ่มเยอะขึ้น แต่ในยุคนั้น ร้านหนังสือไม่ค่อยมีร้านไหนที่อยู่ด้วยการขายหนังสือเพียงอย่างเดียวได้ แต่จะทำหรือขายอย่างอื่นด้วย เช่น ทำโฆษณา ตัดผม ขายยา ขายเครื่องเขียน เป็นต้น
ในสมัยก่อนมีการใช้รถม้าในการขนไปส่งตามร้าน หรือใช้จักรยาน-รถยนต์ไปส่งตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ แต่ด้วยการขยายตัวของทุนนิยม ทำให้คนนำหนังสือไปส่งที่ไกลๆ ได้ หรือใช้การส่งไปรษณีย์ รวมทั้งมีบางร้านหนังสือใช้ระบบการอ่านก่อน แล้วจ่ายทีหลังด้วย ส่วนร้านค้าหนังสือตามภูมิภาคในทศวรรษ 2470 เริ่มมีมากขึ้น แต่ต้องขายของอย่างอื่นๆ ด้วยเช่นกันจึงจะอยู่ได้
ร้านหนังสือกรุงเทพบรรณคาร บริเวณเจริญกรุง แถบสี่กั๊กพระยาศรี
ปัญหาของโรงพิมพ์สมัยแรกๆ คือไม่มีช่างเรียงพิมพ์
เป็นงานที่หนักจากการเรียงตัวตะกั่ว ซึ่งต้องใช้ทักษะมาก
ช่วงแรกหมอบรัดเลย์ต้องทำเองทั้งหมด ทั้งเรียงพิมพ์ พิสูจน์อักษรและพิมพ์
และพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์หลวง
หมอสมิธแก้ปัญหานี้ โดยตั้ง Siam University เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็ก
แต่เป็นไปเพื่อฝึกช่างพิมพ์ป้อนให้โรงพิมพ์มากกว่า
จนมีการตั้งโรงพิมพ์วัดสังเวชขึ้นในปี 2476
ทำให้มีการฝึกช่างพิมพ์เป็นระบบมากขึ้นช่วงทศวรรษ 2470 สิ่งพิมพ์เริ่มเปลี่ยนจากเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ มาเป็นเรื่องสมจริงมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเรื่องอ่านเล่นอยู่ โดยก่อนหน้า 2475 โรงพิมพ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ประกาศว่าจะไม่พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ “การเมือง” แต่พิมพ์เรื่องความรู้ทั่วไป ทั้งนี้คำว่า “การเมือง” ในช่วงก่อน 2475 ไม่มี่ความหมายในปทานุกรมไทย จนหลัง 2475 มีการแปลว่าวิชาความรู้ในการปกครองบ้านเมือง
ณัฐพลนิยามว่า “หนังสือการเมืองเล่มเล็ก” ภายหลัง 2475 นั้น คือเอกสารขนาดสั้น ที่มีเป้าหมายในการสร้างข้อโต้แย้งหรือมุ่งสร้างอิทธิพลต่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทางศาสนาหรือการเมือง โดยหนังสือเหล่านี้มีราคาถูกและจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก ราว 5 พันเล่มขึ้นไป โดยมากหนาประมาณ 100 กว่าหน้า เพื่อให้มีราคาถูก โดยราคาอยู่ระหว่าง 30 สตางค์-1 บาท โดยสามารถแบ่งหนังสือเป็นสามกลุ่ม คือหนังสือที่ผลิตและเขียนโดยหน่วยงานรัฐบาล เน้นการแจกหรือขายในมหาลัย, หนังสือที่ผลิตโดยปัญญาชนกึ่งราชการ, หนังสือที่ผลิตโดยกลุ่มปัญญาชนในสังคม ที่ใช้ชื่อว่า “คณะ” ต่างๆ หรือใช้นามแฝง
และยังสามารถจัดกลุ่มหนังสือหลังการปฏิบัติได้เป็นหลายช่วง เช่น ช่วง 2475-77 มุ่งสร้างความเข้าใจต่อการปกครองในระบอบใหม่และปกป้องระบอบใหม่, 2475-79 มีงานเขียนกลุ่มรอยัลลิสต์ โจมตีระบบใหม่, ช่วง 2477-84 เริ่มมีหนังสือมุ่งแสวงหารูปแบบทิศทาง ภาวะผู้นำ และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกกับการดำรงอยู่ของไทย และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงกลับมาของงานเขียนกลุ่มรอยัลลิสต์
“เราไม่เคยพบหนังสือในช่วงก่อน 2475 ที่มีการพูดถึงผู้นำในต่างประเทศ เพราะช่วงนั้นเราปกครองแบบราชาธิปไตย ดังนั้นรูปแบบผู้นำเดียวของไทยในอุดมคติ ก็คือแบบพระราชาเท่านั้น ไม่ต้องคิดถึงรูปแบบที่สอง สาม สี่ มีแบบเดียว แต่หลังการปฏิวัติ มีหลายแบบ หลังการปฏิวัติจึงเป็นการเปิดพื้นที่ทางความรู้ ความคิดมากยิ่งขึ้น มีการพิมพ์ประวัติฮิตเลอร์ มุสโสลินี นโปเลียน สตาลิน ซุนยัตเซน เจียงไคเช็ค” ณัฐพล กล่าว
ณัฐพลเห็นว่าหนังสือการเมืองในช่วงหลัง 2475 ก็คือผลผลิตทางภูมิปัญญา ที่ต้องการนำเสนอภาพและทางเลือกให้กับระบอบใหม่ บางทีก็เป็นเวทีทางความคิดในการต่อสู้ทางการเมือง และนำเสนอภาพให้กับสังคมไทยที่กระหายใคร่รู้ ดังนั้นกระแสความเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังการปฏิวัติ จึงไม่ได้ถูกกำหนดโดยรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว ตามที่เคยเข้าใจ เช่น เรามักเข้าใจว่ารัฐบาลจอมพลป.เป็นผู้ปลุกกระแสชาตินิยม แต่กระแสชาตินิยมมีอยู่แล้ว และถูกปลุกเร้าโดยหนังสือเหล่านี้อยู่ก่อนแล้วด้วย
กลุ่มหนังสือการเมืองหลังการปฏิวัติสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เช่น ตำราอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ, หนังสือต่อต้านระบอบใหม่ของพวกรอยัลลิสต์, ตำราประเภท “คู่มือ” เช่น การเป็นพลเมือง การเมืองในระบอบใหม่ ระบอบใหม่ในคำกลอน ศาสตร์ของการเลือกผู้ปกครอง ประวัติการปกครองของไทย, หนังสือความสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศ, หนังสือความคิดเศรษฐกิจการเมือง, หนังสือความคิดปรัชญาทางการเมือง, สิ่งพิมพ์หาเสียงของส.ส., หนังสือการปฏิวัติฝรั่งเศส, หนังสือปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ, หนังสือไทยในบริบทการเมืองโลก และหนังสือแบบการปกครอง-ผู้นำ เป็นต้น
ตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆ หลัง 2475
ในช่วงถามตอบ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ถามว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส ก่อนหน้าการปฏิวัติมันมีการเผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือความรู้มาก่อน และมีการพูดถึงตัวแบบต่างๆ ทำให้การปฏิวัติมีเชื่อมูลมาก่อน พูดง่ายๆ ว่าประชาชนพร้อมแล้ว แต่ฟังดูเหมือนกับว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสังคมสยามก่อนหน้า 2475 คนธรรมดาไม่ได้อ่านหรือเสพความรู้แบบนี้มาก่อนเลย ทำให้คนคิดไปได้ว่าประชาชนไม่ได้มีความพร้อมกับการปฏิวัติ คำถามคือสำหรับสังคมไทย การปฏิวัติ 2475 มันมีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
ณัฐพล ได้กล่าวตอบว่า ตนไม่ได้บอกว่าสังคมไทยไม่พร้อมกับการปฏิวัติ แต่เชื่อว่าสังคมไทยพร้อมกับการปฏิวัติแล้ว สิ่งที่ตนนำเสนอนั้นจำกัดเฉพาะหนังสือการเมืองเล่มเล็ก โดยการตื่นตัวทางการเมืองในสังคมไทยมีมาก่อนการปฏิวัติ ผ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งในช่วงรัชกาลที่ 6-7 มีการล้อเลียนรัฐบาลอย่างมาก โดยที่หนังสือพิมพ์เหล่านี้เขียนและพิมพ์ได้ ก็เพราะบรรณาธิการเป็นคนในบังคับของต่างประเทศ รัฐบาลจึงทำอะไรไม่ได้ คนไทยจำนวนหนึ่งได้อ่านสิ่งเหล่านี้และมีความตื่นตัวพอสมควรแล้ว แต่หลังการปฏิวัติจึงจะเริ่มมีหนังสือการเมือง พูดถึงความคิดทางการเมืองต่างๆ และถูกเขียนโดยคนไทยเอง เพราะบรรยากาศทางการเมืองเปิดมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น