แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

เสียงสันติภาพของเครือข่ายผู้หญิง“การนิ่งเฉยคือยอมจำนนต่อความรุนแรง”

ที่มา ประชาไท


“เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ We Voice ตามหาสันติภาพ” รายการวิทยุเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคม อีกหนึ่งผู้ขับเคลื่อนด้านการสื่อสารที่ผู้หญิง (ผู้สูญเสีย) ทำเองทุกอย่าง ย้ำ“การนิ่งเฉยคือการยอมจำนนต่อความรุนแรง”
อัสรา รัฐการัณย์
นางอัสรา รัฐการัณย์ นักจัดรายการวิทยุ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้านการสื่อสารในรายการวิทยุเครือข่ายผู้หญิง ภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ ที่ผลิตรายการวิทยุเน้นการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพในมุมของกลุ่มผู้หญิง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผู้หญิงต้องเป็นเหยื่อและต้องการการช่วยเหลือเยียวยา
อัสรา ระบุว่า เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้มีการผลิตรายการออกอากาศทางวิทยุทุก ปี แบ่งเป็น 2 ช่วง ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นการออกอากาศช่วงที่ 2 โดยเครือข่ายผู้หญิงฯจะผลิตรายการวิทยุเป็นตอนๆ แล้วจัดส่งไปออกอากาศทางสถานีวิทยุในเครือข่าย
อัสราระบุว่า ขณะนี้มีสถานีวิทยุในเครือข่ายทั้งหมด 13 สถานี ส่วนใหญ่เป็นวิทยุชุมชน
“ตอนนี้เราผลิตรายการวิทยุชื่อ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ We Voice ตามหาสันติภาพ” มีทั้งหมด 20 ตอน ที่เราออกอากาศทางสถานีเครือข่าย และเรายังออกอากาศผ่านเว็บไซต์ด้วย เพื่อให้คนนอกพื้นที่ได้รับฟัง”
สำหรับเป้าหมายคนฟังก็คือเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ

สันติภาพต้องมาจากคนในและนอกพื้นที่
อัสรา บอกว่า เหตุใช้ชื่อรายการ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ We Voice ตามหาสันติภาพ” เนื่องจากทุกวันนี้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้กำลังเรียกร้องถึงสันติภาพ และมีกระบวนการพูดคุยสันติภาพเกิดขึ้นแล้ว หากแต่สันติภาพจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องใช้ระยะเวลา เป็นกระบวนการที่กินเวลาพอสมควร
“เราจึงอยากให้เห็นว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการ สันติภาพ”

คือผู้สูญเสียที่ส่งเสียงผ่านสื่อเพื่อสันติภาพ
อัสรา ระบุว่า ขณะนี้ในเครือข่ายผู้หญิงฯมีผู้ร่วมจัดรายการประมาณ 30 คน ทั้งจากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเองและจากผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่ สงบในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ก้าวข้ามความเจ็บปวดมาแล้ว
“เราชวนคนเหล่านี้ลุกขึ้นมาสื่อสารและส่งเสียงผ่านสื่อวิทยุ ให้เขามาเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดสันติภาพ”

เนื้อหามุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชน
อัสรา บอกว่า เนื้อหาในการนำเสนอขึ้นอยู่กับแต่ละตอน ซึ่งมีหลากหลายตามสถานการณ์ แต่ที่เน้นคือการช่วยเหลือเยียวยาผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ รุนแรงทุกเรื่อง ทุกแง่มุม เช่น ความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรในพื้นที่ ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพุทธ –มุสลิม ผลกระทบที่เกิดจากภาครัฐ เรื่องสื่อทางเลือก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนในพื้นที่

ผู้หญิงทำรายการเอง ผลิตเองทุกขั้นตอน
อัสรา เล่าว่า ในการผลิตรายการวิทยุ มีทั้งการสัมภาษณ์และการรายงานสถานการณ์ต่างๆ เช่น เวทีการเสวนาของเครือข่ายผู้หญิง หรือการถ่ายทอดบันทึกเสียงตามเวทีสมัชชาต่างๆ มีการสัมภาษณ์ทั้งคนไทยพุทธและมุสลิมที่จะนำมาผลิตรายการ เป็นต้น
“เราไม่เน้นการทำรายการสด แต่จะเก็บเสียงสัมภาษณ์ตามเวทีต่างๆ มาผลิตเป็นรายการวิทยุ ทั้งนี้การสัมภาษณ์และการบันทึกเสียงจะเน้นความหลากหลายครอบคลุมเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพ”
“ส่วนกระบวนการผลิตและการตัดต่อทางเทคนิคเราทำเองทั้งหมด กระบวนการทำงานเป็นการทำงานของกลุ่มผู้หญิงทุกขั้นตอน”

สื่อสาร 2 ภาษา ไทย – มลายู
อัสรา บอกว่า เสียงตอบรับจากผู้ฟังดีมาก เนื่องจากมีการจัดรายการทั้งภาษาไทยและภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร แต่รายการที่ออกอากาศที่ผ่านมาเป็นรายการภาษามลายูทั้งหมด 47 ตอน เพราะเป็นภาษาที่คนในพื้นที่สื่อสารกันอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ผู้จัดรายการที่เป็นภาคภาษามลายูหลายคนจึงได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถทำงานแบบเข้าถึงและเจาะลึกประเด็นได้ดี

มุมมองต่อสันติภาพ การนิ่งเฉยคือยอมจำนนต่อความรุนแรง
อัสรา บอกว่า สันติภาพในมุมมองส่วนตัว คือคนในทุกคนต้องลุกขึ้นมาพูดแนวทางสันติภาพที่ตนเองต้องการ หากทุกคนยังนิ่งเฉยด้วยความชินชากับเสียงปืนและเสียงระเบิด ก็คือ การยอมจำนนต่อเหตุการณ์ทุกอย่างเกิดขึ้น
“ในความเป็นจริง พลังการสนับสนุนจากคนนอกพื้นที่ก็มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนกระบวนการ สันติภาพ เราต้องการให้คนนอกมองคนในพื้นที่อย่างเข้าใจ และใจกว้างในการส่งพลังให้เราก็เพียงพอแล้ว”
อัสราทิ้งท้ายว่า การทำงานของสื่อมวลชนก็เช่นกัน โดยเฉพาะสื่อในท้องถิ่น สื่อชุมชนต้องช่วยกันนำเสนอข่าวของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมที่อยู่ท่ามกลาง ปัญหาด้วย อย่านำเสนอเพียงประเด็นความรุนแรง การบาดเจ็บล้มตาย เพราะไม่ได้ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น