แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" ยันไทยพร้อมต่อยอดความร่วมมือ 3 เสา ก่อนผลักดันสู่ประชาคมอาเซียน

ที่มา มติชนออนไลน์






วันที่ 18 พ.ย. ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 แบบเต็มคณะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการผลักดันสู่การเป็นประชาคมอา เซียน มีสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรี แสดงความขอบคุณแก่นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และขอแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ โดยในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรี ได้ยกย่องความเป็นผู้นำและคำมั่นของกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนที่จะสานต่อ ข้อริเริ่มต่างๆ ในการกระชับความร่วมมือที่เข้มแข็งของอาเซียน และการเตรียมความพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015


ประการแรก ในปีนี้อาเซียนประสบความสำเร็จในการพัฒนาร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้ม ครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศไทยรอคอยให้การนำ AHRD ไปใช้ให้เกิดผลอย่างสมบูรณ์ การส่งเสริมและการปกป้องสิทธิมนุษยชนกำลังเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยหวังว่า AHRD จะปูทางให้เกิดการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ทั้งนี้ไทยยังได้มีการทำงานอย่างแข็งขันในการส่งเสริมสิทธิของเด็กและสตรี กำจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การสร้างอำนาจแก่สตรี การสร้างความเท่าเทียมกัน และการพัฒนาเด็ก

ประการที่สอง การต่อยอดความร่วมมือทั้งสามเสาเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่แข็งแกร่ง สำหรับเสาเศรษฐกิจต้องขจัดอุปสรรคทางการค้าด้านภาษี การอำนวยความสะดวกในการค้าการลงทุนได้อย่างเสรี การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเอื้อประโยชน์ และการสร้างกลไกและสถาบันของอาเซียนให้ตอบสนองต่อการรวมกลุ่มเศรษฐกิจได้ดี ยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การบูรณาการด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC รวมถึงเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ประเทศไทยยินดีที่ได้มีการพัฒนาต่อยอดความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับ ภูมิภาค RCEP  และรอคอยการประกาศเจรจาความตกลง RCEP ในอีกสองวันข้างหน้า และเห็นว่าควรมอบหมายให้เจ้าหน้าที่เริ่มต้นการเจรจาช่วงต้นปี 2556

สำหรับเสาด้านการเมือง-ความมั่นคง นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรให้ความสำคัญในการต่อสู่กับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และการฟอกเงิน ในด้านยาเสพติดนั้นควรผลักดันผลสำเร็จจากการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัย พิเศษด้านยาเสพติดซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ และขยายความร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติดระหว่างพรมแดน ส่วนปัญหาด้านการค้ามนุษย์ ไทยเห็นว่าควรเร่งรัดอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ และผลักดันให้มีการจัดทำแผน Regional Plan Action to Combat Trafficking in Persons

เสาด้านสังคม-วัฒนธรรม ควรขยายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ไทยยินดีที่ศูนย์ประสานงานอาเซียนสำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการ จัดการภัยพิบัติได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ และเห็นว่าควรมีการประสานงานและทำงานร่วมกับศูนย์ภัยพิบัติอื่นๆ ในภูมิภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องข้าว ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางสนับสนุนในด้านข้าว นอกจากนี้ไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อจัดการฝึกซ้อมตามแผน ARF Disaster Relief Exercise 2013 เพื่อให้รับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านภัยพิบัติทางน้ำ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับจีนใน ปีหน้า เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำ

ประการที่สาม การลดการช่องว่างด้านการพัฒนา ไทยยืนยันที่จะให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน CLMV โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสาธารณูปโภค ทั้งในกรอบระดับทวิภาคี กรอบอนุภูมิภาคและกรอบอาเซียน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะไตรภาคี เพื่อเร่งให้การลดช่องว่างด้านการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านประสบผลสำเร็จโดย เร็ว

ประการที่สี่ การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญสูงสุดอย่างหนึ่งของอาเซียน ในการสร้างความเชื่อมโยงนั้นสิ่งสำคัญคือการระดมเงินทุนเพื่อสร้างเครือข่าย สาธารณูปโภค อำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่และการค้าการลงทุนระหว่างกัน ขณะนี้ประเทศไทยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเมียนมาร์ ในโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายเพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงเอเชียตะวันออก เฉียงใต้กับเอเชียใต้ ซึ่งจะส่งเสริมให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาค สำหรับด้านการศึกษา ได้มีโครงการเคลื่อนย้ายนักศึกษาในภูมิภาค การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน

ประการที่ห้า การทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องมีความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างใกล้ชิด แสวงหาแนวทางและวิธีการเพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอ ทั้งในกรอบทวิภาคี อนุภูมิภาค และอาเซียน+3 โดยไทยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ข้าว ยางพารา

นอกจากนี้ ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความขอบคุณแก่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ที่ได้มีบทบาทในการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแข็งขันมาตลอดระยะเวลาห้าปี และไทยยินดีสนับสนุนเลขาธิการคนต่อไปคือ นายเลอ เลือง มินห์ ซึ่งเป็นชาวเวียดนาม และเชื่อมั่นว่าด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของนายเลอ เลือง มินห์ จะนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2015 อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น