แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นักวิชาการมอง ชนบทไทยเปลี่ยนไปแล้ว

ที่มา Voice TV




นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ชนบทไทยและการเลือกตั้ง มองสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง หลังนโยบายและระบบพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาท และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองในชนบทมากขึ้น

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน  จัดงานเสวนาวิชาการ ในโอกาสเปิดตัวหนังสือ "การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง : วาทกรรม อำนาจ และพลวัตรชนบทไทย"

โดยมีการอภิปรายในหัวข้อ "พลวัตองค์ความรู้และมายาคติ ว่าด้วยการเลือกตั้งและชนบทไทย" และมีผู้ร่วมเสวนาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภาส ปิ่นตบแต่ง รองศาสตราจารย์สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และอาจารย์จักรกริช สังขมณี

รองศาสตราจารย์สิริพรรณ มองว่าในอดีตชนบทไทย มีแนวโน้มที่จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ ที่ทำให้ได้นักการเมือง และการเมืองขาดคุณภาพ และนำไปสู่วาทกรรม คนชนบท  คือกลุ่มคนที่ "โง่ จน เจ็บ"

เเต่ในระยะหลัง การซื้อเสียงในชนบท ไม่ใช่ปัจจัยแห่งชัยชนะของนักการเมืองอีกต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มาจาก ระบบการเลือกตั้ง ที่กำหนดให้มีสัดส่วนของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่ต้องใช้นโยบายมาเป็นเครื่องมือหลักในการหาเสียง มากกว่าการใช้อิทธิพลของผู้สมัคร จนท้ายที่สุดเกิดการแข่งขัน

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาส มองว่า สาเหตุที่องค์ความรู้เกี่ยวกับชนบทไทย ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก มาจากการครอบงำทางอำนาจ เพราะนักวิชาการจำนวนมาก ก็ยังคงใช้แนวคิด "โง่ จน เจ็บ" มองชนบทไทย

นอกจากนี้ กลไกรัฐหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็ตอกย้ำ และผลิตซ้ำวาทกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

สำหรับหนังสือ "การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง" เป็นการนำเสนอบทความทางวิชาการ ที่แปลจากงานเขียนของนักวิชาการต่างประเทศ ด้านไทยคดีศึกษา จำนวนมาก ที่ลงพื้นที่ทำงานวิจัยภาคสนามในชนบทไทย เพื่อทำให้เห็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และสะท้อนภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนในชนบท ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
19 พฤศจิกายน 2555 เวลา 20:53 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น