แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พุทธศาสนากับประชาธิปไตยในสังคมไทย (จบ): ว่าด้วยการควบคุมทิศทางการมองเห็นและความหวัง

ที่มา ประชาไท

 



ชาญณรงค์ บุญหนุน
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร
 
ในบทความตอนที่ 2 ผู้เขียนได้มาถึงบทสรุปที่ว่า พุทธศาสนา (ซึ่งได้นิยามไว้ตั้งแต่บทความแรกแล้วว่าหมายถึงสถาบันสงฆ์) นั้นมีส่วนสำคัญในการสถาปนาอำนาจศูนย์กลางของสังคมไทยไว้ที่สถาบันพระมหา กษัตริย์ โดยการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของกษัตริย์ไทยไว้ให้มีฐานะเป็น “อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์” เทียบเท่ากับพระโพธิสัตว์ หรือเป็นเชื้อหน่อของพระพุทธเจ้า (หน่อพุทธางกูร) ซึ่งเป็นเคารพสูงสุด
 
กล่าวได้ว่า สาเหตุหนึ่งที่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยไม่สามารถงอกงามได้ อย่างเต็มที่ก็เนื่องจากอำนาจของ “ประชาชน” ไม่ได้ถูกทำให้เป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในสังคมแต่เป็น “ข้ารองบาท” ที่ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ชาวพุทธไทยจะพยายามอ้างว่าพุทธศาสนามีหลักการที่เป็นประชาธิปไตยหรือสอด คล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่พุทธศาสนาก็มีพื้นที่น้อยมากสำหรับอำนาจของประชาชนซึ่งเป็นอำนาจศูนย์ กลางของระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ความยุติธรรมแก่สถาบันสงฆ์บ้าง ก็พอจะกล่าวได้ว่า มีเหตุผลสำคัญบางประการที่เราไม่อาจยกความผิดทั้งหมดไปไว้แก่พุทธศาสนาและ สถาบันสงฆ์ไทย เนื่องจากว่าพุทธศาสนาหรือสถาบันสงฆ์ในสังคมไทย ได้ถูกอำนาจศูนย์กลางที่ตนเองมีส่วนร่วมในการสถาปนาขึ้น กำกับ กำหนดไม่ให้มีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากยอมรับและเชิดชูอำนาจศักดิ์สิทธิ์ศูนย์กลางของสังคมเช่นนี้ 

เมื่อว่าด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมือง การยกสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อำนาจสูงสุดทางสังคมทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น ด้านหนึ่งก็เพื่อให้สามารถควบคุมอำนาจทางโลกของพระมหากษัตริย์ไว้ได้ด้วย อำนาจธรรมะ โดยกำหนดแนวปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับ “แนวทางการปกครอง” ของผู้ปกครองในอุดมคติพุทธศาสนา แต่ในด้านกลับ การยกพระมหากษัตริย์ไว้สูงไว้เทียบเท่ากับพระพุทธเจ้า ก็ทำให้พระมหากษัตริย์มีสิทธิอำนาจที่จะควบคุมสถาบันสงฆ์ไว้ในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง 

ตามทฤษฎีที่ปรากฏในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยปัจจุบัน พระมหากษัตริย์จะควบคุมพุทธศาสนาหรือพระสงฆ์ผ่านการจัดองค์กรสงฆ์โดยใช้พระ ราชอำนาจตรากฎพระสงฆ์ หรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงออก “พระราชกำหนดของพระเจ้ากรุงธนบุรีว่าด้วยศีลสิกขา” แม้มิได้ทรงกำหนดโทษการไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่เป็นรูปธรรมแต่ก็ อาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นเค้าที่แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์เข้ามามีบทบาทในการควบคุม พฤติกรรมพระสงฆ์โดยอ้างหลักพระธรรมวินัย ซึ่งเรื่องนี้ ชัดเจนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทำให้อำนาจของคณะสงฆ์ โดยเฉพาะประมุขสงฆ์คือ สมเด็จพระสังฆราช เป็นอำนาจพระราชทาน ซึ่งใคร ๆ มิอาจโต้แย้งหรือต่อต้านได้ การต่อต้านอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชที่พระมหากษัตริย์สถาปนาจะมีความหมาย เทียบเท่ากับการต่อต้านพระราชอำนาจ [1] พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ผ่านสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เนื่องจากสมัยนั้นว่างจากสมเด็จพระสังฆราช และมีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ 121 ซึ่งจัดระบบการควบคุมคณะสงฆ์ไว้ในอำนาจส่วนกลางอย่างเบ็ดเสร็จ

จะเห็นได้ว่า พุทธศาสนาหรือสถาบันพุทธศาสนาได้ถูกผู้ปกครองจัดการควบคุม ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่จะทรงแสดงออกซึ่งพระราชอำนาจ พระสงฆ์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการที่มีหน้าที่ตอบสนองต่อรัฐส่วน กลาง เช่น ทำหน้าที่การจัดการศึกษาแผนใหม่ของชาติตามความต้องการของรัฐในยุคเริ่มแรก ที่มีการรับเอาแบบแผนการศึกษาสมัยใหม่มาใช้ในสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ต่อมา บทบาทดังกล่าวก็ได้ถูกริบไปอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐซึ่งมีฆราวาสเป็นผู้ รับผิดชอบโดยตรง คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า ถึงยุคนี้รัฐมีอำนาจสมบูรณ์ในการควบคุมพุทธศาสนา กล่าวคือ ทำให้พระสงฆ์มีพื้นที่น้อยลงในการชี้นำกำกับอุดมการณ์ของรัฐผ่านการศึกษา ซึ่งเมื่อริบการศึกษาทั้งหมดของชาติมาไว้ในการกำกับของรัฐ รัฐก็ดำเนินการควบคุมประชากรได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยการจัดการศึกษาตามแบบแผน และอุดมคติที่รัฐส่วนกลางกำหนด อุดมการณ์ต่าง ๆ แทนที่จะแสดงผ่านบทบาทของพระสงฆ์เหมือนในอดีต ก็สามารถจะกระจายลงไปยังประชาชนผ่านระบบการศึกษาที่รัฐกำหนดขึ้นโดยตรง แน่นอนว่ายังคงเป็นอุดมการณ์มอบความศักดิ์สิทธิ์ไว้แก่อำนาจศูนย์กลางของรัฐ เหมือนเดิม  

พระสงฆ์ยังคงมีอำนาจจัดการศึกษาแต่ในขอบเขตอำนาจของสถาบันสงฆ์ อย่างไรก็ตาม แม้รัฐจะปล่อยให้พระสงฆ์มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของตน อยู่บ้าง แต่ก็ยังคงควบคุมพุทธศาสนาหรือสถาบันสงฆ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐต่อไป การควบคุมพุทธศาสนาให้อยู่ภายใต้อำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ไม่จำเป็นจะต้องควบคุมผ่านกฎหมายหรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เสมอไป ยังมีวิธีการควบคุมชนิดอื่นที่มาในนามการทำนุบำรุงพุทธศาสนาตามแบบอย่าง “ธรรมราชา” ที่ชาวพุทธเรียกร้องต้องการ แต่ก็มีประสิทธิภาพในการควบคุมอย่างที่พระสงฆ์เองและชาวพุทธอาจจะนึกไปไม่ ถึง นั่นคือการควบคุมด้วยพระราชกรณียกิจสำคัญที่กำหนดทิศทาง “การมองเห็น” ของพระสงฆ์ไม่ให้แปรผันไปจากอำนาจศูนย์กลาง โดยเฉพาะอำนาจของพระมหากษัตริย์ 

วิธีที่ได้ผลมากชนิดหนึ่งที่จะควบคุมพุทธศาสนาไว้ในอำนาจของพระมหา กษัตริย์ ก็คือสร้างหรือส่งเสริมกิจกรรม ทั้งสอดคล้องและมิได้สอดคล้องกับหลักการของพุทธศาสนาเสียทีเดียว แต่มิได้ขัดแย้งกับพระธรรมวินัย กิจกรรมสำคัญเกิดขึ้นมานานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการ ของรัฐ ต่อมาก็ได้กลายเป็นแบบแผนการส่งเสริมพุทธศาสนาที่ถูกต้องตามจารีตประเพณีของ พระมหากษัตริย์ และเป็นส่วนสำคัญของชีวิตพระสงฆ์ กิจกรรมดังกล่าวนี้แม้จะถูกผลิตสร้างและผลิตซ้ำขึ้นมาด้วยเจตนาอันดีงามแต่ มันก็มีผลทำให้ “พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร” ได้ตระหนักและมองเห็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในจุดเดียวกันคือ “อำนาจที่เป็นศูนย์กลาง” ของสังคมที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสถาบันสงฆ์นั่นเอง 

กิจกรรมหรือพิธีกรรมที่กำหนดทิศทาง “การมองเห็น” ของพระสงฆ์ที่สำคัญอย่างยิ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ การพระราชทานสมณศักดิ์หรือการแต่งตั้งพระสงฆ์ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ  อีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจก็คือ การยกสถานะของวัดต่าง ๆ ทั่วไปราชอาณาจักรให้มีสถานะสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน นั่นคือ การสถาปนาพระอารามหลวง ซึ่งตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีการแบ่งวัดทั่วราชอาณาจักรเป็น 2 ประเภทคือ วัดพระอารามหลวง และวัดราษฎร์ เฉพาะวัดหลวงหรือพระอารามหลวงนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่  (1) พระอารามหลวงชั้นเอก (2) พระอารามหลวงชั้นโท (3) พระอารามหลวงชั้นตรี 
พระอารามหลวงชั้นเอกแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ (1) ชนิดราชวรมหาวิหาร  (2) ชนิดราชวรวิหาร และ(3) ชนิดวรมหาวิหาร  พระอารามหลวงชั้นโทแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ (1) ชนิดราชวรมหาวิหาร (2) ชนิดราชวรวิหาร (3) ชนิดวรมหาวิหาร (4) ชนิดวรวิหาร  ส่วนพระอารามหลวงชั้นตรีแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ (1) ชนิดราชวรวิหาร (2) วรวิหาร (3) ชนิดสามัญ 

การจัดประเภทวัดทำนองนี้ดูเหมือนจะไม่ได้มีความหมายอะไร แต่เราจะเห็นว่าการจัดประเภทของพระอารามหลวงนั้น เป็นการจัดลำดับชั้นของวัดในแบบที่มีจุดศูนย์กลางและขอบรอบลดหลั่นตามลำดับ แต่ละลำดับย่อมบ่งชี้สิทธิ อำนาจและความสำคัญของวัดนั้น ๆ  พระอารามหลวงชั้นเอกย่อมมีสถานภาพพิเศษที่พระมหากษัตริย์จะทรงห่วงใยเป็น พิเศษ พระอารามหลวงชั้นโทและตรีก็ย่อมมีสถานะความสำคัญลดหลั่นลงมาตามลำดับ เราจึงได้เห็นความซับซ้อนของพระอารามหลวง ซึ่งด้านหนึ่งก็สะท้อนวิธีคิดของสังคมไทยที่มีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ใน ฐานะประมุขของรัฐนั่นเอง โดยอาศัยการเลียนแบบอย่างการแผ่อำนาจพระบารมีของพระมหากษัตริย์ จากศูนย์กลางของอำนาจหรือประเทศไปยังรายรอบขอบชิดที่เข้มข้นและเจือจางไปตาม ลำดับ 

รูปแบบของวัดได้ถูกกำหนดขึ้นด้วยอำนาจเชิงจารีตประเพณี และพัฒนาขึ้นตามลำดับเวลาในประวัติศาสตร์ให้มีรูปแบบที่สอดรับกับความคิดที่ สังคมมีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่น่าสนใจคือพระอารามหลวงจะมีความซับซ้อน มีหลายประเภท มีหลายชนิด มีลำดับสูงต่ำ ขณะที่วัดทั่วไปซึ่งเรียกว่าวัดราษฎร์นั้น กลับมีพียงสถานะเดียว คือเป็นวัดของชาวบ้านทั่วไป เป็นวัดที่มีลำดับชั้นอยู่ล่างสุดของระดับชั้นที่มีอำนาจศูนย์กลางเป็นผู้ กำหนดจัดวาง เช่นเดียวกับพลเมืองไพร่ที่ไม่ได้มีสถานะพิเศษใด
พระราชอำนาจของกษัตริย์ ไม่เพียงแต่จะมีบทบาทในการกำหนดให้พื้นที่ของวัดกลายเป็นพื้นที่ที่มีความ พิเศษเท่านั้น ความพิเศษของพื้นที่วัดหรือพระอารามหลวงยังส่งผลให้บุคคล (พระสงฆ์) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของวัดที่ต่างสถานะกันมีสถานะพิเศษแตกต่างกันไปด้วย เมื่อมันได้กลายเป็นเงื่อนไขผูกพันให้การพระราชทานสมณศักดิ์และการมีตำแหน่ง บริหารกิจการคณะสงฆ์ ต้องคำนึงถึงสถานะของบุคคลผู้ซึ่งอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว หมายความว่า สมณศักดิ์นั้นผูกพันกับสถานะอันพิเศษของวัดที่อาศัย ดังคำพูดของพระธรรมคุณาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค 7 และเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ที่กล่าวถึงกรณีการขอสมณศักดิ์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึกว่า “เป็นเรื่องยากที่ท่านจะได้สมณศักดิ์ เมื่อท่านออกจากสำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม. ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะได้สมณศักดิ์ โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของพระที่ได้สมณศักดิ์ คือเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์อย่างน้อย 55 ปี ถ้าเป็นผู้ช่วยพระอารามหลวงอย่างน้อย 1 ปี ถึงจะมีคุณสมบัติขอสมณศักดิ์ได้ แต่ ณ วันนี้ ว.วชิรเมธี ไม่มีคุณสมบัติใดๆ ตามเกณฑ์ของมหาเถรสมาคม” [2] จากคำสัมภาษณ์นี้เห็นได้ชัดว่าการอยู่ในพระอารารามหลวงย่อมมีสิทธิอำนาจ พิเศษกว่าการสังกัดวัดราษฎร์

นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่ถูกแผ่ลงไปจากอำนาจพระบารมี เช่น กฐินพระราชทาน เป็นต้น ย่อมไม่อาจเดินทางไปถึงวัดธรรมดาสามัญอันเป็นของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งไม่ยึดโยงเป็นพิเศษกับอำนาจศูนย์กลาง การกำหนดช่วงเทศกาลให้พระราชกรณียกิจหรือพระราชอำนาจ ได้แสดงออกผ่านกิจกรรมสำคัญที่สอดรับกับพระธรรมวินัยของสงฆ์ นี่คือการตอกย้ำสถานภาพพิเศษของวัดและผู้อาศัยในวัดนั้น ๆ ซึ่งผลในเชิงจิตวิทยาก็คือ นี่คือการควบคุม กำหนดให้ “สายตา” ของสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรได้มุ่งมองไปยังพื้นที่พิเศษที่อำนาจศูนย์กลางกระทบ ถึง และตระหนักถึงต้นธารของอำนาจที่ทำให้พื้นที่ บุคคลดังกล่าวกลายเป็นของพิเศษ
การสร้างสถานภาพพิเศษให้กับวัดต่าง ๆ ตามลำดับลงไปเช่นนี้ รวมทั้งกิจกรรมสำคัญ เช่น การพระราชทานสมณศักดิ์แด่พระสงฆ์ซึ่งก็กำหนดให้มีลำดับชั้นซับซ้อนเช่นเดียว กับสถานะของวัด มันไม่ได้ทำหน้าที่เพียงการแสดงให้เห็น “ทศพิธราชธรรม” ของพระมหากษัตริย์ตามอุดมคติของพุทธศาสนาเท่านั้น หากมันได้ทำหน้าที่จัดวางตำแหน่งแห่งที่สำหรับผู้มอง อำนาจศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกกำหนดไว้ตรงศูนย์กลางของพื้นที่ทั้งหมดและยกให้อยู่ ในระดับสูงสุดเพื่อที่จะได้ไม่มีสิ่งใดบดบังสายตา ทุก “การมองเห็น” ของพระสงฆ์ถูกกำหนดให้มีทิศทางเดียวกันคือ “ตระหนัก” และมุ่งตรงไปยังอำนาจศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์กลางความดีงามทั้งหลายในสังคม วิธีการนี้อาจไม่ได้แตกต่างกันนักกับพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ที่ได้กลายเป็นเครื่องมือกำหนดการมองเห็นและการตระหนักรู้ในอำนาจ ศักดิ์สิทธิ์เหนือชีวิตบัณฑิตทั้งหลาย โดยอาศัยการกำหนดทิศทางการมองเห็นเช่นนี้ด้วยกิจกรรมเหล่านี้ พระราชอำนาจและสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมดำรงอยู่ในสายตาตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่ในซอกลืบใดของสังคมก็ยังจะมองเห็นอำนาจนั้นโดดเด่นและ น่าเกรงขามเสมอ

การควบคุมสถาบันพุทธศาสนาไว้ภายในอำนาจรัฐ หรืออำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้อย่างยาวนานและได้ผลเช่นนี้ ย่อมทำให้ข้อตำหนิที่เราจะพึงมีต่อสถาบันสงฆ์ ในฐานะหุ้นส่วนหรือผู้มีส่วนร่วมในการลดทอนความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยไทย ลดความเข้มข้นลงได้บ้าง  เพราะการเข้าใจว่าพระสงฆ์หรือพุทธศาสนามีอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมไทยด้าน ต่าง ๆ นั้นไม่ว่าด้านสังคมการเมืองหรือเพศสถานะนั้น อาจสืบเนื่องมาจากการไม่ตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า พระสงฆ์หรือสถาบันพุทธศาสนาถูกแยกออกจากสังคมและควบคุมโดยรัฐ ไม่ยอมให้มีอำนาจหรือบทบาทใด ๆ ในเชิงสังคมมานานแล้ว การควบคุมพระสงฆ์ไม่ได้ล่วงเข้าไปในเขตแดนทางสังคมการเมืองชนิดที่ศูนย์กลาง อำนาจ หรือที่รัฐไม่ต้องการนั้นดำรงอยู่อย่างเข้มข้นในสังคมไทย เช่น การที่พระสงฆ์จะเข้าร่วมกระบวนการเคลื่อนไวเพื่อปากท้องของประชาชนก็จะถูก ห้ามโดยเจ้าอาวาส ซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ ข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายฆราวาสเองก็ไม่ประสงค์จะให้พระสงฆ์เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับประเด็นทางสังคมหรือการเมือง หรือข้อเท็จจริงที่ว่าการควบคุมจากฝ่ายพระสงฆ์ผู้ปกครองและแม้กระทั่งจาก ฝ่ายฆราวาสนั่นเองได้ทำให้พระสงฆ์ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับประเด็นทาง สังคม เช่น ปัญหาโสเภณี รวมทั้งปัญหาการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมประชาธิปไตยนั้นก็มีงานวิจัยรอง รับอยู่[3] มีหลายกรณีที่สะท้อนให้เห็นความปรารถนาที่จะกีดกันพระสงฆ์ออกจากประเด็นทาง การเมือง และให้กลับไปอยู่ในวัด “มุ่งพระนิพพาน” ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสังคมที่พระสงฆ์ดำรงอยู่ทั้งที่จริง ๆ ท่านก็มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะสังคมแท้ ๆ ล่าสุดมหาเถรสมาคมได้มีมติรับรองวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 401 สถานีทั่วประเทศ แต่ห้ามสถานีเหล่านี้พูดเรื่องการเมือง [4]

บริบททางสังคมที่รายล้อมพุทธศาสนาหรือสถาบันสงฆ์อยู่ ย่อมมีส่วนสำคัญในการกำหนดท่าทีการมีส่วนร่วมทางสังคมของพุทธศาสนาและคณะ สงฆ์ไทย การพยายามจัดกัดบทบาทตัวเองในเรื่องนี้น่าจะถูกมองได้ว่าเป็นการเพิกเฉยต่อ ความทุกข์ความเดือดร้อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง   แท้จริงแล้ว เรื่องนี้ก็สะท้อนจิตสำนึกเกี่ยวกับอำนาจนำในสังคมแบบที่สืบทอดกันมาตาม จารีตเดิมของสถาบันสงฆ์ไทย ทั้งในแง่การตีความคำสอนในเชิงปัจเจกไปเสียทุกเรื่อง การที่ไม่ยอมปะทะกับอำนาจรัฐหรือโครงสร้างทางสังคมไม่ว่าจะอำนาจหรือโครง สร้างที่ชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม เพราะตระหนักแต่เพียงว่า “ศูนย์กลางอำนาจ” ซึ่งรวมอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะมีพลังและบทบาทอย่างสูงในการกำหนดชะตา กรรมของสังคม

มาถึงตรงนี้ การจะคาดหวังให้พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ไทยมีบทบาทนำในประชาธิปไตยนั้นคง เป็นเรื่องยาก พุทธศาสนาไทยหรือสถาบันสงฆ์ไทยจะยังคงให้ความสนใจเรื่องการเป็นคนดีตามหลัก ศาสนาต่อไป  ทั้งนี้เนื่องจากพระสงฆ์ยังยึดถือคติที่ให้ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคลมากกว่า สังคมโดยรวม ให้ความสำคัญต่อการขัดเกลากิเลสตัณหาการชำระจิตใจ มากกว่าการจัดโครงสร้างทางสังคมที่เอื้อให้เกิดความผาสุกร่วมกันภายในสังคม ด้านเกี่ยวกับหลักการปกครอง พระสงฆ์ยังคงให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า พุทธศาสนาไม่ได้ให้น้ำหนักต่อระบอบการปกครองรูปแบบใดแบบหนึ่งเป็นพิเศษ  แต่ยึดสาระสำคัญที่เป็นพื้นฐานของระบบการปกครองมากกว่าตัวระบอบ การเมืองแบบราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยก็ไม่มีความแตกต่างกัน สาระสำคัญคือธรรมาธิปไตยต่างหาก

จะว่าไปแล้ว นอกเหนือจากอคติบางอย่างที่ครอบงำการตีความธรรมเพื่อรับใช้สังคม พุทธศาสนาไทยไม่คุ้นเคยหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยมากนัก มโนทัศน์เรื่องอำนาจศูนย์กลางของสังคมไทยที่กษัตริย์และพระสงฆ์ในอดีตสร้าง สรรค์ขึ้น ก็จะยังคงได้รับการเน้นย้ำต่อไปโดยมีมโนทัศน์เรื่อง “ธรรมราชา” และ “ทศพิธราชธรรม” เป็นศูนย์กลาง ระบบการปกครองของสงฆ์และและกิจกรรมอื่นใดแทบทั้งหมดที่คณะสงฆ์เกี่ยวข้องและ ยอมรับอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ยังคงทำหน้าที่ควบคุมกำหนดการมองเห็นของพระสงฆ์ให้พุ่งตรงยังสถาบันกษัตริย์ ในฐานะอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ณ ศูนย์กลางของสังคมอย่างยากที่จะแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ในระยะอันใกล้นี้    

ข้อเสนอแนะก็คงทำได้แค่เพียงบอกว่า ถ้าชาวพุทธเล็งเห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยและต้องการมีส่วนร่วมในการ สร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย จำเป็นจะต้องหาทางจัดวางอำนาจในสังคมไทยเสียใหม่ให้สอดคล้องกับระบอบ ประชาธิปไตยมากขึ้น โดยพัฒนาระบบความคิดทางปรัชญาการเมืองหรือสังคมที่เปิดพื้นที่ให้แก่อำนาจ ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่การคาดหวังว่าพุทธศาสนาหรือสถาบันสงฆ์จะเป็นเสาหลักหนึ่งในการพัฒนาสังคม สู่ระบอบประชาธิปไตยไทยนั้น อาจเป็นความฝันอยู่สักหน่อยอย่างน้อยก็ในระยะอันใกล้นี้ แม้ในกลุ่มพระสงฆ์ที่ดูเหมือนจะมีความก้าวหน้า เคยแสดงว่าตนเองพร้อมที่จะต่อสู้ร่วมกับผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2553 ก็ยังไม่อาจยอมรับสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการเป็นสังคมประชาธิปไตยตามอุดมคติจริง ๆ นั้น อาจจะทำให้พุทธศาสนาสูญเสียสถานะพิเศษทางสังคมการเมืองในประเทศไทยไปในที่ สุด 

เมื่อตระหนักว่า ในรัฐประชาธิปไตย ทุกศาสนามีสถานภาพเท่าเทียมกัน ความเชื่อทางศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจกบุคคลที่รัฐไม่อาจแทรกแซงได้ รัฐประชาธิปไตยไม่อาจจะสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้มีสถานะพิเศษเหนือศาสนา อื่นในสังคมเดียวกัน ประชาชนทุกคนทุกศาสนามีสิทธิที่จะได้รับบริการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันใน ฐานะ“พลเมือง”ของรัฐในระบอบประชาธิปไตย พระสงฆ์และชาวพุทธจะกล้ายอมรับวิถีสังคมประชาธิปไตยอย่างเต็มที่หรือไม่ก็ น่าสงสัยอยู่
 
รายการอ้างอิง
 
[1] ชาญณรงค์ บุญหนุน. 2546. “รัฐกับพุทธศาสนา: ศึกษาจาก “กฎพระสงฆ” ในกฎหมายตราสามดวง” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 23,3 : 11-149.
[2] หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/detail/20121121/145293/ว.วชิรเมธีวืดสมณศักดิ์ อีกปี.html#.UKy_wmgsrzJ  ออนไลน์เมื่อ 23/11/55
[3] วารณี โภคาพานิชวงษ์. 2548. “พุทธศาสนาและมิติเรื่องเพศในสังคมไทยวังวนวิชาการกับความพยายามทบทวนใหม่” ใน อมรา พงศาพิชญ์.(บรรณาธิการ). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 85-163.
[4] หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/education/168168 ออนไลน์ เมื่อ 23 /11/55
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น