แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบอุปถัมภ์ : ความสัมพันธ์ในสายงานราชการการเมืองของคณะรัฐศาสตร์

ที่มา ประชาไท



 
“การเมืองไทยจะยังคงจมปลักต่ำตมไปเรื่อยๆ หากคณะรัฐศาสตร์ตามที่ต่างๆยังคงคำจำพวก สามัคคีประเพณีพี่น้อง
หรือยังต้องเป็นกาฝากพวกคำว่าในอุปถัมภ์แบบพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ดูง่อย ๆ
การ ผลิตนักศึกษาหรือนิสิตรัฐศาสตร์ไปรับใช้ประเทศชาติก็คงจะง่อยเช่นกัน หากกลุ่มนักศึกษายังเห็นพ้องกับ ห้องเชียร์ ระบบอาวุโส ประเพณี เปิดเพลงสรรเสริญท่านผู้นำ น้ำตาไหลพราก เป็นสิ่งอันพึงรักษา
อย่างว่ามรดกมีทั้งสิ่งที่ดีและเลวควบคู่กัน แต่มนุษย์นั้นเลือกที่จะรักษาได้ สุดแล้วแต่”
จากสถานะเฟซบุ๊ก Aum Neko ที่เป็นชนวนประเด็น

หลังจากที่ได้มีประเด็นปัญหาการวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการ-การเมือง ของกลุ่มสิงห์หรือที่รู้จักกันว่าเป็นกลุ่มของบุคคลที่จบการศึกษามาจากคณะ รัฐศาสตร์ตามสถาบันต่างๆ ที่คงมีบทบาทต่อปัจจัยทางการเมืองของสังคมมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นได้ถูกนำมาตั้งคำถามจนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ต่อระบบ อุปถัมภ์ดังกล่าวและได้เกิดกลุ่มที่ชี้ให้เห็นว่าระบบอุปถัมภ์นั้นมีปัญหา หรือส่งผลต่อระบบการเมืองไทยที่เป็นปัญหากันอยู่ทุกวันนี้จริงหรือไม่ ?แต่ขณะเดียวกันกลุ่มเด็กรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งก็ออกมาปกป้องศักดิ์ศรีและยืน หยัดในความบริสุทธิ์ของคณะรัฐศาสตร์ของกลุ่มตน หลังจากเกิดวิวาทะดังกล่าวนั้นผู้เขียนจึงย้อนกลับไปตั้งคำถามว่าเพราะเหตุ ใดที่สังคมไทยยังจำทนต่อระบบเหล่านี้ และหากกล่าวว่าปัญหาของระบบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมของกลุ่ม สายงานคณะรัฐศาสตร์นั้นจะผิดหรือไม่ ?

ซึ่งจากข้อถกเถียงดังกล่าวได้มีการนำเสนอประเด็นระบบอุปถัมภ์ในมิติความจำเป็นต่อระบบสังคมซึ่งคุณปานบุญได้กล่าวไว้ว่า
“ความคิดเห็นส่วนตัวผม ผมมองว่าเกือบทุกคน ย้ำว่าเกือบทุกคน ต้องการอภิสิทธิ์กันทั้งนั้น (ไม่ใช่เวชชาชีวะ)
ต้องการมีคนคอยช่วยเหลือค้ำจุน หรือได้สิทธิเหนือผู้อื่น ดังนั้นผมจึงมองว่า
มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกๆสังคมมนุษย์บนโลกนี้ ทุกประเทศ ทุกหน่วยของสังคม"
"อย่าโลกสวยมากเกินไปนักเลย ที่ว่าโลกนี้มีความยุติธรรม ไม่มีระบบอุปถัมป์พวกพ้อง ไม่มีสองมาตรฐาน
คนเราเกิดมารักกัน ความเท่าเทียมกันในสังคม โลกเราต้องคงไว้ซึ่งเสรีภาพ สันติภาพ ภราดรภาพ... ถุย จะอ้วก
แต่ ถ้าจะหาคนผิดในกรณีนี้ ผมว่าคงต้องโทษ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์แล้วหละครับ เพราะตามประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้ให้กำเนิด "ระบอบพ่อปกครองลูก" ซึ่งเป็นรากแก้วของระบบอุปถัมป์ในสังคมไทยนะ “
จากสถานะบนเฟซบุ๊กของ ปานบุญ พลบุตร
ผู้ช่วยรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการการกฎหมายฯ

แน่นอนว่า "การอุปถัมภ์" เป็นสิ่งที่สังคมสากลมีกันเป็นปรกติในการรับรู้ที่ว่าด้วย การช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในสิ่งที่ช่วยเหลือกันได้อย่างสมเหตุสมผล เช่น การช่วยยกของ ให้ยืมปากกา ช่วยทำแผล ฯลฯ แต่ในขณะเดียวในระบบสังคมมีสังคมที่ได้สร้างหรือสถาปนา (establish) "ระบบอุปถัมภ์" (The patron-client system) ที่มาพร้อมกับอำนาจแฝง (latent power) ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจในระบบต่างตอบแทนโดยหวังผลประโยชน์ที่ตามมา จากกระบวนการของระบบดังกล่าว สิ่งเหล่านี้นั้นได้สะท้อนถึงการ ดูถูก ดูแคลน ศักดิ์ศรีในตัวของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น ระบบ "เทิดทูน" อาวุโส ระบบจารีตนิยม การโยกย้ายตำแหน่ง วัฒนธรรม รวมถึงอำนาจของภาษา ฯลฯ อันเห็นได้กว่าการสร้างระบบอุปถัมภ์นั้นมีมิติของอำนาจที่มากกว่าการ อุปถัมภ์ช่วยเหลือที่เป็นการกระทำที่มาจากความเห็นอกเห็นใจปกติของเพื่อน มนุษย์อันซึ่งอาจไม่ต้องการผลประโยชน์จากการช่วยเหลือในสิ่ง ๆ นั้น

และ ภายใต้สภาวการณ์ที่เราได้รับรู้กันว่าในระบบบริหารราชการและการเมืองของไทย เรานั้นที่ยังคงโครงสร้างทางอำนาจที่ยังมีระบบอุปถัมภ์คอยค้ำชูอยู่ ซึ่งจะสามารถรับรู้ได้ผ่านวาทกรรมของกลุ่มตระกูล สิงห์ ไม่ว่าจะ สิงห์แดง ดำ ทอง ขาว ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนของระบบการบริหารรัฐหรือประเทศ และคำถามที่เป็นประเด็นหลักของดราม่าว่าทำไมการกล่าวถึงระบบนี้จึงต้องกลับ ย้อนไปตั้งคำถามของกระบวนการทางสังคมของคณะเหล่านี้

เราจะเห็นได้ว่า ระบบราชการ-การเมืองของระบบสิงห์ที่กล่าวถึงของไทยนั้นได้มีบทบาทในการโยก ย้ายตำแหน่งหรือหน่วยงานทางราชการตั้งแต่ใหญ่ๆอย่าง ปลัด กระทรวง กรม กอง ฯลฯ ซึ่งมักขึ้นกับปัจจัยของบุคลากรผู้บริหารรัฐ ณ ขณะนั้นๆซึ่งจะต้องโยกย้ายกลุ่มบุคคลให้มีประสิทธิภาพเข้ากับการบริหารงานใน แต่ละยุคสมัย แต่สิ่งที่เป็นไปในระบบสังคมอุปถัมภ์ คือ การโยกย้ายโดยยึดการใช้ระบบอุปถัมภ์ตามกลุ่มสี กลุ่มคณะที่กลุ่มตนเองจบมาหรือคุ้นเคยเป็นหลัก มากกว่ายึดปัจจัยการโยกย้ายตัวบุคลากรที่สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้อย่าง มีประสิทธิภาพจริง การเจาะกลุ่มของการคัดเลือกให้เป็นหมู่คณะที่ใกล้ชิดกับตนนี้ส่งผลที่ตามมา ก็คือผลประโยชน์ที่แบ่งกันรับกันไป ซึ่งนี่คือปัญหาหลักที่ว่าระบบต่างตอบแทนในระบบการเมืองไทยถึงยังคงฝัง รากอยู่ในสังคมเช่นนี้อย่างมิอาจแก้ไขได้

ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงสถานที่ ที่ผลิตบุคลากรป้อนสู่ระบบราชการสายงานบริหารและปกครองรัฐนั้นคงปฏิเสธไม่ ได้ว่ารากฐานส่วนใหญ่มักมาจาก กลุ่มคณะสายรัฐศาสตร์ ซึ่งเน้นสอนให้เข้าใจถึงวิธีการปรัชญาทางการเมือง งานบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ฯลฯ แต่ทว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ของคณะเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร อย่างในมหาวิทยาลัยอย่างธรรมศาสตร์ที่มีคำขวัญว่า “เสรีภาพทุกตารางนิ้ว” แต่ภายในคณะที่ผลิตบุคลากรไปรับใช้ประเทศในทางบริหารโดยตรงกลับยังคงมี การว้าก ระบบอาวุโส หลงเหลืออยู่ภายใต้คำขวัญที่น่าภูมิใจ “สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง” อันสะท้อนรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์อำนาจนิยมที่ยังคงอยู่ในระบบการศึกษาไทย

หลาย คนที่เรียนคณะนี้มาโดยตรงอาจเถียงเสียงแข็งว่าไม่จริงคุณไม่เคยสัมผัสเรียน มาจะรู้ได้เช่นไร ? แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นในวิวาทะดังกล่าวเด็กในคณะหลายคนที่มีประสบการณ์โดนรุ่นพี่ ว้ากก็ยอมรับว่ามีการว้ากในบางโต๊ะของรัฐศาสตร์อยู่จริง แต่ที่หนักถึงขนาดรับน้องนอกสถานที่ต้องมีการรายงานเลขประจำตัวตน 550….และมีการลงโทษเช่นสั่งลุกนั่งก็ยังเกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยที่เชื่อ ว่าเคารพรักสิทธิ เสรีภาพของทุกคน หากจะกล่าวว่ามันเป็นกิจกรรมทางเลือก (alternative activity) ก็อยากทราบเช่นกันว่า จำเป็นหรือที่เพื่อนนักศึกษาที่เพิ่งเข้ามาใหม่ๆที่ต้องการมาร่วมกิจกรรมใน คณะต้องเจอประสบการณ์กับกิจกรรมในบางโต๊ะที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่าง จำยอม ? หรือโต๊ะที่เพื่อนในคณะไม่มีกิจกรรมแบบนี้คุณกลับทนได้อย่างไรที่เห็นสภาพ ของสถานที่ที่มีความเป็นมาในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องซึ่งสิทธิ เสรีภาพ กลับกลายเป็นสถานที่ที่ให้รุ่นพี่หรือคนบางกลุ่มในคณะมาสืบทอดมรดกประเพณี ที่ตอกย้ำความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบเดิม ๆ อย่างใน argument ดังกล่าว

“นี่ แหละคะที่สะท้อนถึงการเป็นกลุ่ม ignorance เพิกเฉยต่อปัญหา พวกคุณซึ่งรู้ซึ่งทราบว่ามันมีระบบทางเลือกแบบนี้ แต่ถามหน่อยว่ารุ่นพี่ได้อธิบายหรือไม่ว่าเราจะมีกิจกรรมอะไรที่ลดทอนคุณค่า แบบนี้ ทั้งว้าก เล่นเกมอุบาวท์ สั่งลุกนั่ง มาก่อนหรือไม่ ? (เกิดขึ้นในบางโต๊ะของสิงห์แดง) และเด็กที่อยากร่วมกิจกรรมคณะทุกคนต้องการกระบวนการพวกนี้ทุกคนหรือไม่ ?
และ หากยังเชื่อในพวกคำขวัญปลอมๆของธรรมศาสตร์ เช่น เสรีภาพทุกตารางนิ้ว เพื่อนใหม่ ฯลฯ หรือศึกษาการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของวีรชนที่ผ่านมาที่กำจัดระบบนี้ทิ้งไป ในอดีตสมัย 14-6 ตุลา แต่นักศึกษาปัจจุบันกลับกลายเป็นกลุ่มที่เห็นปัญหา แต่คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดาสามัญ เหมือนกับเห็นคนฆ่ากันตาย แล้วบอกว่านี่คือทางเลือกของคุณว่า จะไปม็อปให้โดนยิงตาย หรือจะอยู่บ้านเฉยๆ ถ้าเรายังเป็นแบบนี้เราก็ควรลองมาคิดพิจารณาหลายๆสิ่งพร้อมๆกันใหม่แล้วละ คะ” จากคอมเมนท์ของ Aum Neko ระหว่างการถกเถียง

และนักศึกษาที่เรียน ศาสตร์เหล่านี้นี้ทั้งหลายที่เห็นด้วยกับการด่า วิพากษ์วิจารณ์ว่า ระบบการเมือง ราชการ นักการเมืองมันเลว คอรัปชั่น ต่าง ๆ นานา กลับไม่ย้อนดูสถานภาพของกลุ่มคณะตนที่ปากบอกว่าต่อสู้เพื่อกำจัดสิ่งเหล่า นี้ ระบบเลว ระบบเผด็จการ แต่ในขณะเดียวกันตนเองกลับกลายเป็นหนึ่งในส่วนของการผลิตซ้ำระบบความคิดที่ ยังเห็น ความรุนแรงทางอำนาจอย่างระบบจำพวก SOTUS เป็นสิ่งที่ปรกติ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เลวร้ายอะไร ทั้งที่พื้นฐานของระบบเหล่านี้คือรากแก้วของการเติบโตไปสู่ระบบอุปถัมภ์ที่ มาพร้อมกับการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตนเอง แต่นักศึกษาเหล่านี้กลับกลายเป็นกลุ่ม “hypocrite” หรือปากว่าตาขยิบ

และ ไม่เพียงเท่านั้นนักศึกษาที่เรียนรู้ถึงปรัชญาการเมืองนั้นกลับยังคงปล่อย ให้ระบบนี้คงอยู่ต่อไปโดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้คือการลดทอนคุณค่าความเป็น ปัจเจกชนของเพื่อนมนุษย์ที่การตัดสินใจของตนเองกลับถูกครอบงำโดยกลุ่มชนชั้น รุ่นพี่ รุ่นอาวุโส ทั้งที่มนุษย์มีความสามารถที่จะขึ้นสู่จุดๆหนึ่งได้อย่างเท่าเทียมกัน หากจะกล่าวว่าการเรียกร้องว่า การแสวงหาเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องโลกสวย โลกจินตนาการ ไม่มีอยู่จริง ใช่ มันไม่มีอยู่จริงและโลกที่เป็นปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ใช่โลกที่สวยงามแต่อย่างใด แต่คุณจะปล่อยให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันตกอยู่ภายใต้ชีวิตที่ไม่มีสิทธิตัดสิน ใจได้เองและยังถูกคิดแทนโดยระบบอาวุโสอำนาจนิยม แล้วเราจะเรียนรู้ซึ่งการสอนให้คนคิดไปทำไม เพราะนี่คือระบบสอนให้เชื่อฟัง ไม่ใช่สอนให้คิดตามด้วยความเป็นปัจเจกของตนเอง

และความสามัคคี จำเป็นหรือไม่ที่สังคมสมัยใหม่จำเป็นต้องมีความสามัคคี ผู้เขียนเชื่อว่าความหลากหลายทางความคิด ความแตกต่าง ขัดแย้ง คือสีสันอย่างหนึ่งของโลกประชาธิปไตย คำว่าสามัคคีจึงไม่ควรมาอยู่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ที่ผ่านยุคสงครามหรือ กระบวนการสร้างรัฐชาติขึ้นมาแล้ว เพราะเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างในวิธีคิดและวิถีชีวิต และประเพณีก็มิใช่สิ่งที่จำเป็นต้องยึดมั่นจนลืมไปว่าอะไรคือคุณค่าที่แท้ จริงและประเพณีควรเป็นสิ่งที่ดีงามมากกว่าการให้รุ่นพี่ในคณะที่จบไปมากกว่า 10 ปี มาให้โอวาทสั่งสอนระบบอุปถัมภ์แบบนี้แก่เพื่อนที่เข้ามาใหม่ ซึ่งสะท้อนภาพการเมืองปัจจุบันได้ชัดที่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการจะต้อง ไปปรึกษากลุ่มนายทหารใหญ่ ผู้มีอิทธิพลในสังคมเสียก่อน แต่สิ่งเหล่านี้กลับเกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยเสียเอง

และใน มหาวิทยาลัยที่ชูประเด็น เสรีภาพ รับเพื่อนใหม่ก็ยังมีการผลิตซ้ำอำนาจทางภาษาที่ยังครอบงำสังคมไทยการเรียก การทำคำขวัญ  มันสะท้อนวาทกรรมทางอำนาจที่มีภาษาเป็นสื่อกลางในการคงอำนาจของความอาวุโส อันสร้างการรับรู้ในแบบที่ว่า ผู้น้อยควรเดินตามผู้ใหญ่ เด็กดีต้องไม่พูดมาก ว่านอนสอนง่าย ฯลฯ ทำให้เห็นว่าการใช้ภาษาในสังคมยังสะท้อนภาพของการรักษาสถานะทางอำนาจอย่าง ไม่เท่าเทียมกัน หรือมีเพียงแค่ชาติไทยที่จะต้องเรียกยศเรียกอย่างแทนสรรพนามของคนผู้นั้น เป็น ท่านปลัด ท่านรัฐมนตรี ท่านนายก อาจารย์ คุณหมอ ฯลฯ ทั้งที่เขาก็เป็นบุคคลธรรมดาเฉกเช่นเดียวกับเรา

กระนั้นก็ตาม บรรดากลุ่มนิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์ไม่ว่าจะสีใดก็ตาม ที่ส่วนมากจะมีระบบคล้ายๆกันคือค่อนไปทาง SOTUS (แม้สิงห์แดงจะมีระบบทางเลือกก็ตามแต่ก็ยังหลงเหลือระบบนี้ไว้ในการรับน้อง บางโต๊ะ) กลับยังคิดว่าปัญหาหาความล้มเหลวของระบบ ราชการ-การเมือง ของไทยไม่ได้ง่อยเพราะมาจากกระบวนการทางสังคมของกลุ่มคณะตนที่คงระบบเหล่า นี้ไว้เพียงคณะเดียว แต่กลับลืมไปว่างานสายบริหารปกครองรัฐนั้นได้ถูกป้อนโดยคณะของตนเป็นจำนวน มากจนสังคมได้รับรองการเข้ามาของกลุ่มสิงห์ทางการเมืองเข้าไปด้วย โดยมีการผสมกับสีเขียวบ้างกากีบ้างตามระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากไว้มานาน ซึ่งหากคณะอื่นมีบทบาทในการบริหารรัฐมากบ้างคงอาจจะมีการอ้างคำพวกนี้ในระบบ เช่น อักษรจามจุรี อักษรสนามจันทร์ สินสาดรังสิต มนุษย์บางเขน แต่คณะเหล่านี้มีบทบาทน้อยมากจึงไม่สามารถมาโยนได้ว่ากลุ่มคณะตนนั้นไม่ใช่ หนึ่งในปัจจัยที่เป็นปัญหาของระบบเหล่านี้

แต่นักศึกษากลุ่มรัฐ ศาสตร์ไม่เข้าใจถึง scope ของประเด็นนี้แต่แรกนั้นอยู่ในเรื่องปัญหาระบบราชการการเมือง แต่นักศึกษาหลายคนกลับไม่ย้อนไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นกลับไปหาพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง ว่าเป็นรากฐานระบบอุปถัมภ์พ่อปกครองลูกเป็นสิ่งที่สืบทอดมาสู่สังคมไทย ซึ่งสะท้อนว่านักศึกษาไทยนั้นขาดความรู้ในมิติทางประวัติศาสตร์อย่างมากเลย ทีเดียวว่ารัฐอาณาจักรสมัยก่อน กับความเกี่ยวโยงในเรื่องของการปกครองในรัฐชาติสมัยใหม่มันไม่ได้เหมือนกัน เลยทีเดียว และบางกลุ่มยังหนักถึงขั้นขู่ใช้ระบบอุปถัมภ์พาพวกมา”ข่มขู่”ผู้เห็นต่าง ทั้งที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมันคือเรื่องปรกติในสังคมประชาธิปไตย แต่ในสังคมไทย ความรัก ที่กลายเป็นความคลั่ง ได้บังตาไว้

และสุดท้าย หากยังย้ำว่าถ้าไม่ชอบก็เลือกที่จะไม่ทำได้ แต่อยากทราบว่าหากเรายังยืนอยู่สังคมท่ามกลางความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจริง ในสังคมที่ผู้คนต่างออกมาต่อสู้กันมาเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมที่ไม่มี จริงที่พวกคุณบอก ให้เกิดขึ้นให้แก่เขา เหล่าประชาชนคนธรรมดารวมทั้งกลุ่มนักศึกษาที่รวมใจกันต่อสู้จนเสียเลือดเสีย เนื้อเพื่อเป็นธรรม ความไม่มีอะไรที่พวกคุณกล่าวมาเป็นสิ่งไร้สาระ น่าอ้วก แล้วสิ่งที่คุณจำยอมอยู่ในสภาพแบบนี้มันสวยงามมากนักหรือ ? หรือความสวยงามของคุณคือการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีตอนจบค่ายเปิดถ้ำสิงห์ ของคณะคุณ ? นี่คือความสวยงามที่มาพร้อมกับภาพแทนของอำนาจ

ความสวย งามที่มากับการที่ปัญญาชนหันมาผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำของสังคมผ่านระบบ อุปถัมภ์ระบบพวกพ้องและเห็นมันเป็นเรื่องปกติทางอำนาจที่ใคร ๆ ก็อยากได้ไม่เสียหาย ก็ไม่ต่างจากการเห็นคนฆ่ากันตายกลางเมืองแล้วบอกว่ามันคือทางเลือกว่าจะไป ชุมนุมให้โดนยิงตาย หรือไม่ไป แต่คุณมีความกล้าหาญทางคุณธรรม moral courage แบบที่คุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกล่าวไว้หรือไม่ การที่คนเห็นความไม่เป็นธรรม การฆ่ากันตาย การจับคนติดคุกโดยไม่เป็นธรรม และการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยกันในสังคมเป็นเรื่องปรกติ สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าการนั่งเพ้อพรรณาถึงปัญหาไป วันๆ หากตนเองด่าระบบ แต่ไม่ย้อนพินิจตนและ reform ตนเองแต่กลับผลิตซ้ำระบบเดิมวิธีคิดเดิม แล้วนี่หรือจะเรียกได้ว่าปัญญาชนคือพลวัตรในการขับเคลื่อนต่อสังคมอีกต่อไป ?

ภาพประกอบจาก : Voice of Siam
                               : วิวาทะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น