แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายญาติ ,นักสิทธิ ยื่นหนังสือถึงโอบามาวอนผลักดันไทยให้ปล่อยนักโทษการเมือง

ที่มา ประชาไท


เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา112 อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กสม. และ กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ร่วมกันทำจดหมายยื่นผ่าน สถานทูตสหรัฐอเมริกา ถึง นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีเนื่องในโอกาสเยือนประเทศไทย โดยในจดหมายได้เรียกร้องให้ นายบารัค โอบามา สนับสนุนให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษจาก กม.อาญา ม.112 เนื่องจากขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน โดยระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นการกระทำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน

ในรายละเอียดส่วนหนึ่งของจดหมายดังกล่าวได้ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังมีผู้ต้องขังจาก กม.อาญา ม.112 อยู่ทั้งสิ้น 7 คน และมีผู้ต้องขังจากคดีการเมืองอยู่อีกประมาณ 30 คน  โดยข้อเรียกร้องในจดหมายนอกจากที่จะให้มีการล่อยตัวผู้ต้องขังทั้งหมดแล้ว ยังเรียกร้องให้  ให้รัฐบาลชดเชยความเสียหายหรือคืนสิทธิให้แก่นักโทษการเมืองที่ถูกคุมขัง อยู่โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณา และผู้ที่ถูกตัดสินแล้วและภายหลังได้รับการปลดปล่อย ให้ได้รับสิทธิเสมือนไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อนด้วย

นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำคนเสื้อแดงกลุ่ม 24มิถุนาระชาธิปไตย และ บรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ผู้ต้องขังคดี 112 ได้กล่าวกับประชาไทว่าทางเครือข่ายได้ติดต่อผ่านสถานทูตสหรัฐขอเข้าพบ นายบารัค โอบามา แต่นายเอกกมล จรัลชวนะเพท ผู้ชำนาญการฝ่ายการเมือง สถานทูตสหรัฐได้แจ้งว่า นายโอบามา มีกำหนดนัดหมายเต็มหมดแล้ว และได้ขอให้ยื่นจดหมาย เมื่อทางคณะได้ยื่นจดหมาย นายเอกกมลได้ตอบกลับมาว่า จะได้นำส่งเจ้าหน้าที่การเมืองเพื่อพิจารณานำเรียนเอกอัครราชทูตสหรัฐ ฯ และคณะผู้มาเยือนโดยเร็ว
นางสุกัญญาได้กล่าวต่อว่า ทางกลุ่มยังไม่หมดความพยายามที่จะนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวันจันทร์ที่จะถึงทางกลุ่มจะทำการติดตามความคืบหน้าจากสถานทูตและขอเข้า พบเอกอัคราชทูตเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง

*********************************

เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา ๑๑๒
The Network of Family Members and People Affected by Article 112




16  พฤศจิกายน 2555 


เรื่อง                  ขอความสนับสนุนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักโทษการเมืองในประเทศไทย

กราบเรียน          ฯพณฯ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

ผ่าน นาง Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย



ใน โอกาสที่ ฯพณฯ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งถือเป็นมิตรประเทศที่ดีระหว่างกันมานานกว่าร้อยปี ข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนของเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112  องค์กรและประชาชนไทยผู้มีรายชื่อท้ายจดหมายนี้ ขอส่งความปรารถนาดีมายัง ฯพณฯและประชาชนแห่งสหรัฐอเมริกา และขอแสดงความคิดเห็น ตลอดจนขอความสนับสนุนจาก ฯพณฯ ต่อการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปลดปล่อยนักโทษการเมืองในประเทศไทย ปรากฏรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1.นับแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชนที่ชุมนุมกันตามวิถีทางประชาธิปไตย เมื่อเดือนเมษา-พฤษภาคม 2553 สถานการณ์ทางการเมืองในสังคมไทยมีความสับสน วุ่นวายมาโดยตลอด เพราะกลุ่มประชาชนที่สนับสนุนและชื่นชอบพรรคไทยรักไทยและพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ต่างไม่พอใจที่เกิดการรัฐประหารขึ้น โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น ถึงสาเหตุของการรัฐประหาร ด้วยการตั้งกลุ่มรวมตัวกันชุมนุมสาธารณะคัดค้านการรัฐประหาร การจัดเวทีอภิปรายสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และออกแถลงการณ์หลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งการแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์สาเหตุของการรัฐประหาร ดังกล่าวบางครั้งพาดพิงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งผลให้มีการแจ้งความดำเนินคดีต่อประชาชน ทั้งประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ในความผิดตามมาตรา 112 เพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงก่อนการรัฐประหาร เช่น ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ผู้ดูแลเว็บของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (น.ป.ช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง (ปัจจุบันได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว)นายสมยศ พฤกษาเกษมสุขบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Voice of Thaksin และเป็นผู้นำกลุ่ม  น.ป.ช. คนหนึ่ง และนาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง ทหารช่างสังกัดกรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ จนกระทั่ง องค์การระหว่างประเทศ เช่น Article 19 ,International Commission of Jurists, Human Rights Watch etc.ได้ออกแถลงการณ์แสดงความวิตกกังวลต่อการบังคับใช้ มาตรา 112 หรือนายแฟรงค์ ลารู (Frank La Rue) ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพในการแสดงความ เห็นและการแสดงออกและมาร์กาเร็ต เซแคกยา (Margaret Sekaggya) ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ร่วมกันเขียน จดหมายถึงรัฐบาลไทยลงวันที่ 10 มิถุนายน 2554[1] แสดงความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรา 112 ในประเทศไทย โดยระบุถึงบุคคล 4 คนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยกล่าวว่าคดีทั้งสี่คดีนี้มิได้ไม่เกี่ยวเนื่องกัน และมีบุคคลที่ถูกดำเนินดคีด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นในไทย ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความคิด และการที่บุคคลเหล่านี้ถูกข่มขู่และอาจต้องถูกจำคุกนานหากถูกศาลตัดสินว่า กระทำผิดทำให้สังคมไทยทั้งมวลตกอยู่ภายใต้ความสะพึงกลัว และว่ากลไกพิเศษในอาณัติอื่นๆ (Special Procedures mandate holders) ก็ได้แสดงความกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลไทยในโอกาสต่างๆก่อนหน้านี้เช่นกัน

2.ความ ผิดตาม มาตรา 112 ไม่เข้าเกณฑ์ข้อจำกัดสิทธิที่สามารถกระทำได้ตามที่บัญญัติไว้ในกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความว่าการกระทำอย่างไรจึงเข้าข่าย “หมิ่นประมาท” หรือ “ดูหมิ่น” ตามมาตรานี้ นอกจากให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการ “ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ” หรือ  “หมิ่นประมาท” บุคคลธรรมดา มาใช้ในการตีความแทน กฎหมายไม่มีความชัดเจนและกำกวมทำให้สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกอาจถูกจำกัด ได้ตามอำเภอใจหรือโดยไม่มีเหตุอันควร และทำให้บุคคลต้อง ตกอยู่ในความหวาดกลัวหากจะต้องกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ในทางใดทางหนึ่ง และต้องเซ็นเซอร์ตนเอง

นอกจากนี้ กฎหมายอาญามาตรา 112 ยังบัญญัติให้มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปีซึ่งถือว่าไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด  และต้องถือว่าการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลสาธารณะ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ให้กระทำได้ภายในขอบเขตค่อนข้างกว้าง บุคคลสาธารณะนี้ รวมถึงประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลชอบที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ในฐานะประมุขของรัฐก็อยู่ในขอบข่ายนี้

3.การส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกด้วยการเสนอให้ยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 จึงสมควรได้รับการสนับสนุน แม้รัฐบาลไทยพยายามชี้แจงต่อประชาคมโลกในเวที UPR หรือ การตอบหนังสือของผู้รายงานพิเศษทั้งสองของสหประชาชาติว่า คดีที่ผู้รายงานพิเศษทั้งสองคนกล่าวถึงในจดหมายนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก แต่หากเป็นการกระทำที่ตั้งใจให้สถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการ เมือง และใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกในทางที่มิชอบเพื่อความมุ่ง หมายทางการเมืองและแบ่งแยกสังคมไทย  จึงทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องดำเนินการตามกฎหมายไทย  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อปี 2553 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลที่น่าเศร้าจากการใช้สื่อและสิทธิในเสรีภาพใน การแสดงความเห็นและการแสดงออกในทางที่ผิด ในเรื่องที่อ่อนไหวซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อปลุกปั่นความเกลียดชังและความรุนแรงในหมู่ประชาชน ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวายทางสังคมและการเมือง

4.ปัจจุบันมีผู้ถูกคุม ขังในความผิดตามมาตรา 112 และความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันเกี่ยวเนื่องมาจาก มาตรา 112 จำนวน 7 คน และ ผู้ที่ถูกคุมขังในความผิดทางการเมืองอันเนื่องมาจากการชุมนุมเมื่อเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 จำนวนประมาณ 30 คน บุคคลดังกล่าวต้องถือว่าเป็นนักโทษการเมือง เพราะเป็นผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองในการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ หรือถูกดำเนินคดีในข้อหาเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงมิใช่อาชญากร

ขณะ เดียวกันผู้ต้องหาในคดีความผิด 112 มักไม่ได้รับการประกันตัวอันขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักการที่ว่า ผู้ต้องหาต้องได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด จนกว่าจะพิสูจน์ว่ามีความผิด โดยศาลที่เป็นอิสระ - Presumption of Innocence beyond a reasonable doubt”

5.ข้าพเจ้าจึงขอความสนับสนุนจาก ฯพณฯในการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณา ดำเนินมาตรการอย่างใดๆ  ดังต่อไปนี้

5.1    ให้รัฐบาลไทยปลดปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน ที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 รวมถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองและหรือความผิด ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง เมื่อเดือนเมษา-พฤษภา 2553

5.2    ให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาทุกคนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล

5.3    ให้รัฐบาลชดเชยความเสียหายหรือคืนสิทธิให้แก่นักโทษการเมืองที่ถูกคุมขัง อยู่โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณา และผู้ที่ถูกตัดสินแล้วและภายหลังได้รับการปลดปล่อย ให้ได้รับสิทธิเสมือนไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน



ทั้งนี้  เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างมิตรประเทศที่ใกล้ชิด และเป็น

การ ยืนยันหลักการแบ่งแยกไม่ได้ของสิทธิมนุษยชน (Indivisibility) พวกข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ ฯพณฯ และขอให้ประสบความสำเร็จในการเยือนเอเชียในครั้งนี้

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง



นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข

ตัวแทนเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยมาตรา 112



นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

ประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


นายศราวุฒิ ประทุมราช

สถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน



ดร.สุดา รังกุพันธุ์

ตัวแทนกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล





[1] UA G/SO 214 (67-17) G/SO 214 (107-9)  THA 5/2011





The Network of Family Members and People Affected by the Article 112

16 November 2012


Subject: Your support to raise our concern to Thai government to release all Thai political prisoners

Dear President Obama,

On behalf of The Network of Family Members and People Affected by the Article 112 (called the 112 Family Network) and other joint organizations, I would like to welcome you to Thailand and would like to hand this letter to you and allow us to express comments as well as to support us to raise our concerns to Thai government. I have hereby attached a letter in Thai to you and  have summarized the key points as follows:

1.There are many Thai citizens charged, arrested and detained in prisons from the coup on 19 Sep 2006. Some were arrested and detained because of gathering in the public, speech, publishing the articles which interpreted as insulting the king or royal families. There were many of them charged under the article 112 (Less Majeste Law) for example: Mr.Somyot Prueksakasemsuk, Dr.Somsak Jiamtherasakul, Mr.Thanthawut Thaweewarodomkul, Lt. commander Chanin Klayklaeng.

2.The article 112 has been widely used to charge Thais because its definition of “insulting’ or defaming” is unclear and ambiguous. This has limited the right to express opinion and suppress Thai under fearfulness and have to self-censor.

3.Thai government ignored the UPR and responded that the charges of Thais under this law are nothing related to Thai politics.

4.At the moment, there are 7 persons charged and detained or imprisoned under the article 112 and computer crime act and about 30 persons detained under the emergency decree. All of them should be considered political prisoners. In addition, they have not received the bails despite several application submissions to the court.
5.Therefore, I would like to pass our following recommendations to you to raise to Thai government :
5.1  Release all political prisoners that were charged under the article 112, computer crime act and all charges related to the emergency decree as well as public gathering to express political opinions.

5.2  Grant bail to all prisoners undergoing the trials

5.3  Thai government compensate to the former prisoners who were charges and end trial with acquittance.

Respectfully your,



Sukanya Prueksakasemsuk, Representative of the 112 Family Network

Dr.Niran Phitakwatchara, National Human Right Commission

Mr.Sarawut Patoomraj, Human Rights Advocate/Educator Institute for the Rule of Law and Human Rights

Suda Rangkupan, Representative of the Declaration of street justice

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น