แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

9 ข้อกับภาพอันเปลือยเปล่าของบารัค โอบามา

ที่มา ประชาไท


บารัค โอบามาเมื่อปี 2008 นั้นเจิดจรัสเป็นดาวรุ่ง ส่องแสงแห่งความหวังของมวลมนุษยชาติทั้งคนอเมริกันที่ลงคะแนนเสียงเลือกเขา หรือคนชาติอื่นโดยเฉพาะโลกที่ 3 ว่าบุรุษผู้นี้ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งมีสมญานามว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก" จะนำดาวเคราะห์เบี้ยวๆ ใบนี้เข้าสู่สันติภาพและความเท่าเทียมกัน เมื่อเขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้พยายามทำตามคำขวัญ  “ความหวัง" (Hope)  ที่ได้ขายไว้กับชาวโลกโดยเฉพาะการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่ตรงกันข้าม กับบุชเช่นการยุติโครงการป้องกันขีปนาวุธที่บุชวางแผนจะติดตั้งไว้ใน สาธารณรัฐเช็ค และโปแลนด์ รวมไปถึงแผนการถอนทหารออกจากอิรักซึ่งลุล่วงไปเมื่อปีที่แล้วและจาก อัฟกานิสถานในปี 2014  หรือแม้แต่การกดดันอิสราเอลเพื่อให้เกิดสันติภาพในตะวันออกกลาง รวมไปถึงการทำสนธิสัญญา START เพื่อจำกัดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์กับรัสเซียในปี 2010  แต่แล้วในปี 2013  บารัค โอบามาคนเดิมในสมัยที่ 2 นั้นก็ได้แสดงภาพที่แท้จริงว่าเขาไม่แตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจอร์จ ดับเบิล บุชหรือริชาร์ด นิกสันเลยเท่าไรนักไม่ว่าประสิทธิภาพในการทำงานหรือความมีจริยธรรมดัง ตัวอย่าง 9  ข้อซึ่งเกิดจากนโยบายต่างประเทศของเขาต่อไปนี้
1.โอบามายังคงสืบทอดมรดกของบุชโดยการปฏิบัติต่ออิหร่านเยี่ยงศัตรู มีการคว่ำบาตร บีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อให้อิหร่านเลิกผลิตอาวุธนิวเคลียร์[i]   แถมยังมีการปล่อยหนอนคอมพิวเตอร์ (Worm Computer) ไว้ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของอิหร่านเพื่อสกัดไม่ให้สร้างอาวุธนิวเคลียร์ การแสดงความเป็นปรปักษ์ต่ออิหร่านทางการเมืองรวมไปถึงกำลังทางทหารแบบอ้อมๆ (เช่นไม่ตัดทางเลือกการใช้กำลังทางทหารออกไป) ทำให้รัสเซียหวาดระแวงว่าสหรัฐฯ จะใช้ข้ออ้างของอิหร่านคุกคามความมั่นคงของตนทางการเมืองและเศรษฐกิจโดย เฉพาะเรื่องพลังงานแม้จะตัดประเด็นของเช็คและโปแลนด์ออกไป รัสเซียจึงร่วมมือกับอิหร่านในการต้านการเข้ามีอิทธิพลในตะวันออกกลางของ สหรัฐฯ ความสัมพันธ์ของทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียเลวลงตามลำดับ อันอาจส่งผลต่อสนธิสัญญา START
2.ถึงแม้จะฆ่าบิน ลาเดนเพื่อสนองความสะใจของคนอเมริกันได้ แต่โอบามาก็สืบทอดมรดกของบุชในเรื่องเครื่องบินไร้คนขับ (Drone) ที่ไล่ล่าผู้ก่อการร้ายในปากีสถานอันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2,000-3,000 ศพซึ่งทางสหรัฐฯ มักอ้างว่ามีจำนวนร้อยละของผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวบ้านตาดำๆ เพียงน้อยนิดถ้าเทียบกับผู้ก่อการร้ายตัวจริง  แต่ก็มีคนโจมตีว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาสัดส่วนที่แท้จริงได้ นอกจากนี้ปฏิบัติการยังส่งผลเสียทางจิตใจแก่ชาวปากีสถานซึ่งหวาดระแวงว่าตัว เองอาจเป็นเหยื่อรายต่อไปของเครื่องบิน ทำให้ชาวปากีสถานจงเกลียดจงชังสหรัฐฯ มากในขณะที่ทั้งรัฐบาลและกองทัพของปากีสถานยังต้องพึ่งสหรัฐฯ ในเรื่องการช่วยเหลือทางการเงิน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามโอบามาถือได้ว่าเป็นประธานาธิบดีมือเปื้อนเลือดเช่น เดียวกับบุชแม้สัดส่วนจะเล็กกว่าก็ตาม
3.โอบามาออกมายืนยันความถูกต้องชอบธรรมของโครงการ Prism ของสภาความมั่นคงของชาติที่สอดส่อง สอดแนมพฤติกรรมของชาวอเมริกันรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปที่ประจำอยู่ ในสหรัฐฯ หรือแม้แต่ในกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียมทำให้ประเทศซึ่งจัดว่าเป็นพันธมิตรไม่ว่าเยอรมัน ฝรั่งเศส ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งอันส่งผลกระทบต่อการเจรจาการค้าเสรีของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้สหรัฐ ฯ ยังเสียความชอบธรรมไปอย่างมากในการใช้ประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิความ เป็นส่วนตัว (Right to Privacy) ในการกดดันประเทศอื่นๆ    โอบามายังถูกมองว่าให้ความสำคัญของการไล่ล่าเอดวาร์ด สโนว์เดนมากเกินไปจนนักเปิดโปงผู้นี้ต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากฮ่องกงไปติด ค้างอยู่ในสนามบินของกรุงมอสโคว์จนถึงปัจจุบันและทางรัฐบาลรัสเซียอาจยอมรับ การลี้ภัยของนายสโนว์เดนอันกลายเป็นตัวจุดประกายความขัดแย้งครั้งใหม่ของ 2 ประเทศ
4.โอบามาไม่สามารถทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในละตินอเมริกาหลายประเทศชื่นชอบ ได้อย่างแท้จริง ต่างจากตอนเขาขึ้นดำรงตำแหน่งช่วงต้น ๆ ที่แม้แต่นายฮูโก ชาเวชอดีตประธาธิบดีเวเนซูเอลาผู้ล่วงลับซึ่งเป็นนักต้านสหรัฐฯ ตัวยงยังขอไปจับมือด้วย แต่ในเวลาต่อมา ประเทศเหล่านั้นก็เหมือนกับ "ตาสว่าง" ว่า  โอบามาเหมือนเป็นนักล่าอาณานิคมใหม่ไม่ต่างอะไรกับบุชเลย อย่างเช่นบัดนี้ประเทศโบลิเวีย เวเนซูเอลาและนิการากัวเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อนแสดงเจตจำนงให้นายสโนว์เดนเข้า ไปลี้ภัยได้
5.โอบามาค่อนข้างถูกมองว่าล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาระหว่างอิสราเอลกับ ปาเลสไตน์ สำหรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลนั้นถึงแม้โอบามาพยายามทำให้แตกต่างจากรัฐบาล บุชโดยลดระดับความเป็นมิตรกับอิสราเอลลง เช่นตัวประธานาธิบดีมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลคือ นายเบนจามิน เนทันยาฮู ในการประชุมพบปะกันแต่ละครั้งเพื่อเล่นสงครามจิตวิทยา โอบามายังแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมรวมถึงเอกอัครราชทูตประจำสหประชา ชาติที่มีทัศนคติด้านลบกับอิสราเอล   จนเขาถูกตราหน้าว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ฯที่เกลียดยิวมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์  ในทางกลับกันโอบามาหันมาญาติดีกับผู้นำของปาเลสไตน์ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถชนะใจชาวปาเลสไตน์ เพราะ    โอบามาก็เหมือนบุชที่ต้องการให้ปาเลสไตน์ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล แต่ไม่สามารถกดดันอิสราเอลให้ยอมรับการมีอยู่ของรัฐปาเลสไตน์ได้ดังนโยบายสองรัฐเคียงกัน (Two-State Solution) เช่นไม่ยอมหยุดยั้งให้ชาวอิสราเอลเข้ามาตั้งรกรากในเขตของปาเลสไตน์  นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังร่วมกับอิสราเอลคัดค้านกับการที่สหประชาชาติมีมติให้สถานะของปาเลสไตน์ เป็นรัฐผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิกเมื่อปลายปี 2012   สรุปคือโอบามาไม่สามารถชนะใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เลยถึงแม้จะเดินทางไปเยือน ทั้ง  2   แห่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม
6.โอบามาประกาศนโยบายโอบล้อมเอเชียทำให้มีความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นมหา อำนาจที่กำลังจรัสแสง (Rising Power) เลวร้ายลง ตัวอย่างได้แก่สงครามการค้าเช่นสหรัฐฯ สกัดกั้นบางบริษัทของจีนไม่ให้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ โดยข้ออ้างว่าเพื่อความมั่นคงหรือ สงครามโลกไซเบอร์ที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังสาดกระสุนเข้าหากันอย่างเมามัน รวมไปถึงสงครามเย็นครั้งใหม่กับจีนโดยมีเอเชียเป็นสมรภูมิดังต่อไปนี้
            6.1 เอเชียตะวันออกซึ่งโอบามาพยายามกดดันเกาหลีเหนืออย่างหนักไม่ว่าทางเศรษฐกิจ      การทูตหรือแม้แต่การทหารเช่นเดียวกับการเป็นพันธมิตรกับเกาหลีใต้และ ญี่ปุ่นอันนำไปสู่การร่วมกันสร้างเครือข่ายป้องกันขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือ ถูกมองจากจีนว่าเป็นการคุมคามต่อตน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จีนเร่งเสริมสร้างอำนาจทางการทหารครั้งใหญ่ จนปัจจุบันจีนมีงบประมาณกองทัพสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ
        6.2 กลุ่มประเทศในอาเซียนกับจีนมีความขัดแย้งกันโดยเฉพาะเรื่องหมู่เกาะจนมีคน กลัวว่าในอนาคตกลุ่มประเทศที่กำลังซึ่งกำลังเคลิบเคลิ้มกับเวทย์มนต์ที่ชื่อ ประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาจแตกกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือกลุ่มสนับสนุนจีนเช่นกัมพูชา ลาว  พม่า (ที่เริ่มเอียงข้างมาทางสหรัฐฯ ) กับกลุ่มขัดแย้งกับจีนในเรื่องหมู่เกาะคือฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมไปถึงสิงคโปร์ โอบามาได้เข้ามาเพิ่มความตึงเครียดเช่นนี้มากขึ้นไปอีกโดยการมาเชื่อมความ สัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในอาเซียนทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นจนเห็นได้ชัด
7.โอบามาแสดงความนิ่งเฉยเมื่อเกิดการลุกฮือที่อาหรับ (Arab Spring) เพราะกลัวดุลแห่งอำนาจจะเสียมากกว่าสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สหรัฐ ฯ ยังแสดงการเป็น"ตาอยู่" ที่ดี คือใครขึ้นเป็นใหญ่แล้วอยู่พวกตนก็พร้อมสนับสนุน ส่วนผู้นำคนก่อนที่เคยเชิดชูสนับสนุนก็ไม่ใส่ใจเพราะหมดผลประโยชน์เหมือน ช่วงตอนสงครามเย็น  ส่วนประเทศที่เป็นพันธมิตรเช่นบาห์เรน หรือซาอุดิอาระเบีย ที่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการปราบปรามผู้ประท้วง โอบามาก็ยิ่งเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ล่าสุดก็ได้แก่ตุรกีซึ่งนายกรัฐมนตรีคือนายทายิป แอร์โดแกนได้ปราบปรามประชาชนโดยใช้ความรุนแรง แต่โอบามาดูเหมือนต้องการจะโทรศัพท์คุยกับแอร์โดแกนในเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย เป็นประเด็นหลักมากกว่า ทั้งนี้ไม่นับสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย โอบามาก็หยุดนิ่งอีกเช่นกันได้แต่แสดงวาทศิลป์ไปวันๆ เพราะความกลัวสารพัด ไม่รู้จะทำอะไรดี กว่าจะช่วยเหลือฝ่ายขบถ เหตุการณ์ก็ดำเนินไปเป็นปี
8.สถานทูตของสหรัฐฯ ที่เมืองบังกาชีของลิเบียถูกบุกเผาทำลายและอันเป็นเหตุให้คนอเมริกัน 4 คนรวมไปถึงเอกอัครราชทูตเสียชีวิตเมื่อปลายปี 2012 ได้พยายามถูกเบี่ยงประเด็นโดยรัฐบาลของโอบามาในช่วงต้นๆ  ว่าเกิดจากการประท้วงของชาวมุสลิมที่ไม่พอใจภาพยนตร์สั้นในยูทูบเรื่อง Innocence of Muslims จน ต้องใช้เวลานานกว่าโอบามาจะยอมรับว่าเป็นผลงานของผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ อันสะท้อนถึงความล้มเหลวของฝ่ายข่าวกรองและความไร้ประสิทธิภาพของกองกำลัง พิเศษที่ไม่สามารถเดินทางมาช่วยสถานทูตไว้ทัน ความผิดพลาดนี้กลายเป็นจุดด่างพร้อมของโอบามาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศในสมัยนั้นคือฮิลลารี คลินตันให้พรรคริพับลิกันได้โจมตีอยู่เนืองๆ
9.โอบามาแสดงความลังเลใจที่จะเรียกการยึดอำนาจของทหารอียิปต์เมื่อไม่นานว่าเป็นรัฐประหารก็ เพราะเขาไม่ค่อยศรัทธาในประชาธิปไตยของประเทศโลกที่ 3 เท่าไรนัก (มิเช่นนั้นแล้วเขาคงไม่อาจทนกับนายฮอสนี มูบารัคได้กว่า 2 ปี )ด้วยมองว่าตัวนายมอร์ซี และภราดรภาพมุสลิมว่าเป็นเผด็จการและจะนำอียิปต์ไปสู่การเป็นรัฐศาสนา  นายมอร์ซียังมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มที่สหรัฐฯ ไม่ชอบคือคือพวกฮามัสในฉนวนกาซาซึ่งเคยยิงจรวดโจมตีอิสราเอล (กระนั้นโอบามาก็สามารถร่วมงานกับมอร์ซีได้โดยกดดันให้ประธานาธิบดีอียิปต์ บังคับให้ฮามัสยุติปฏิบัติการณ์นี้) รวมไปถึงการเชื่อมความสัมพันธ์กับอิหร่าน การยอมรับการทำรัฐประหารอาจทำให้สหรัฐฯ  ต้องระงับเงินช่วยเหลือทางทหารและด้านอื่นๆ อีกมากมายอันอาจทำให้อียิปต์ซึ่งภาวะเศรษฐกิจกำลังเปราะบางต้องพบกับความ เสี่ยงในเรื่องความมั่นคง แม้ว่ารัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์ได้รับเงินช่วยเหลือหลายพันล้านเหรียญจากซา อุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ตาม
จากทั้ง 9 ข้อสะท้อนให้เห็นถึงภาพอันเปลือยเปล่าของบารัค โอบามาที่ขัดแย้งกับภาพตอนรณรงค์หาเสียงเมื่อปี 2008 ดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1  เมื่อโอบามาขึ้นมามีอำนาจแทนที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเสรีนิยมหรืออิงกับหลักคุณธรรมตามความคาดหวังของชาวโลก[ii] เขากลับหันมาใช้แนวคิดการเมืองที่ปรากฏ (Realpolitik) ซึ่งมีสถาปนิกคนสำคัญคือเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตที่ปรึกษาทางความมั่นคงและอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของริชาร์ด  นิกสันและเจอรัลด์ ฟอร์ด ที่มุ่งเน้นเรื่องการรักษาดุลอำนาจมากกว่าการคำนึงถึงอุดมการณ์ทางการเมือง หรือคุณธรรมของตัวสหรัฐฯ เองหรือประเทศพันธมิตร  และผลที่ออกมากลายเป็น Reluctant Realpolitik หรือแนวคิดการเมืองที่ปรากฏ(ว่า)ลังเลใจไปเสีย 
ภาพที่ 2  โอบามาโดยส่วนตัวแล้วอาจเป็นคนดีมีความรัก โลก แต่เขาก็ไม่ต่างจากประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้คือมีอำนาจจำกัด เขาต้องฝ่าฟันกับกลุ่มอำนาจอื่นมากมายโดยเฉพาะคู่ปรับตลอดกาลคือรัฐสภา สหรัฐฯ หรือสภาคองเกรสที่ว่าตามความจริงแล้วอาจมีอำนาจยิ่งกว่าประธานาธิบดีเสีย อีกรวมไปถึงกลุ่มนักวิ่งเต้น (Lobbyist) ทั้งหลายโดยเฉพาะนักวิ่งเต้นเพื่ออิสราเอลที่ทรงอิทธิพลในการเมืองสหรัฐฯ  เขายังต้องพยายามควบคุมกลุ่มผลประโยชน์อื่นเช่นระบบราชการเช่นกองทัพ หน่วยข่าวกรอง รัฐบาลท้องถิ่น  รวมไปการต่อรองผลประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติ  สื่อมวลชน กลุ่มประชาสังคมฯลฯ  การตั้งความหวังต่อตัวเขาว่าเหมือนเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยของคนอเมริกันและ ชาวโลกสะท้อนว่าคนเหล่านั้นไม่เข้าใจโครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐ ฯ เท่าไรนัก
ภาพที่ 3  ในระดับต่างประเทศนั้นโอบามาต้องต่อสู้กับการเสื่อมอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสหรัฐฯ ในโลกยุคใหม่อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากสมัยของบุช อันสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือประเทศใดหรือสามารถกำหนดสถานการณ์ได้เด็ดขาดเหมือน ช่วงสงครามเย็น[iii]    โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามเย็นที่ประเทศต่างๆ ในประเทศโลกที่ 3 หลายประเทศที่ล้วนกลายเป็น Emerging Market หรือประเทศที่มีการพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้มี การยากสำหรับสหรัฐฯ ในการควบคุมหรือแม้แต่กดดัน ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ยังทำให้บริษัทข้ามชาติสัญญาติอเมริกันต้องพึ่ง พิงประเทศเหล่านั้น    นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังอาจโดนโจมตีกลับมาว่าล่วงละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่นและอาจลามไปถึง เรื่องที่สหรัฐฯ ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง   ดังนั้น   โอบามาจึงต้องประนีประนอมเพื่อให้เกิดดุลอำนาจ แม้ว่าผู้นำประเทศนั้นจะมีปัญหากับเรื่องสิทธิมนุษยชนเพียงไหนก็ตามเช่นมี การยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพูดอยู่พอสมควรแต่ก็คงเป็นวัตถุประสงค์ของโอบามา ในการนำมาเป็นเพื่อการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ระหว่างประเทศหรือระดับภูมิภาค เสียมากกว่า
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าในเรื่องทางการเมืองไม่ว่าระหว่าง ประเทศหรือในประเทศที่มีความซับซ้อนและตัวผู้แสดงมากมายนั้น ภาพแห่งการเป็นคนเปี่ยมด้วยเมตตาและคุณธรรมของผู้นำทางการเมืองไม่ว่าใคร ล้วนจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามทั้งสิ้น



[i] วัตถุประสงค์การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นมีความไม่ชัดเจนในขณะที่ สื่อตะวันตกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อตะวันออกกลางและโลก แต่อิหร่านอ้างว่าเพื่อสันติภาพ  อย่างไรก็ตามตะวันตกได้แสดงว่าตนมีลักษณะเป็น 2 มาตรฐานอย่างแท้จริงว่าไม่ยอมโจมตีหลายประเทศที่การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ น่าจะเป็นภัยต่อโลกมากว่าเช่นอิสราเอล หรือคู่กัดตลอดกาลอย่างเช่นอินเดียและปากีสถาน
 
[ii] จอร์จ ดับเบิลยู บุชเคยดำเนินนโยบายต่างประเทศอิงกับลัทธินวอนุรักษ์นิยม (Neo-conservative) ที่มองโลกเป็นสีขาวดำ ต้องมีการใช้กำลังทหารเพื่อปราบคนชั่ว ปกป้องคุณธรรม  ด้วยสงครามที่ล้มเหลวทำให้เขาถูกมองว่าเป็นประธานาธิบดีที่ชั่วร้าย ดังนั้นโอบามาจึงต้องชูภาพว่าจะดำเนินนโยบายที่แตกต่างจากบุชคืออิงกับ คุณธรรมดังว่า แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงตามมุมมองของพวกสัจนิยม (Realism)ที่ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาผลประโยชน์หรือครอบงำซึ่งกันกันและกันแล้วรวมไปถึงผลประโยชน์และ การขยายตัวของจักรวรรดิอเมริกันแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่สหรัฐฯ จะสามารถทำสิ่งใดบนหลักแห่งคุณธรรมเป็นสำคัญ
 
[iii] อย่างไรก็ตาม ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์สงครามเย็นให้ดี ไม่ว่าสหรัฐ ฯ หรือสหภาพโซเวียตเอง ก็ไม่สามารถมีอำนาจเหนือประเทศที่ดูเหมือนเป็นพันธมิตรกับตนได้เด็ดขาด อย่างเช่นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ  กับฝรั่งเศส หรือ สหภาพโซเวียตกับยูโกสลาเวีย และมีหลายสถานการณ์ที่สะท้อนว่ามหาอำนาจทั้ง  2 มีอำนาจจำกัดจนต้องถูกบีบให้ดำเนินปฏิบัติการที่พาตนเองไปสู่หายนะอย่างเช่น สหรัฐฯ  ในสงครามเวียดนาม และสหภาพโซเวียตในสงครามอัฟกานิสถาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น