1. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่ปรากฏในรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53” เป็นข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555[1]
ตาราง 1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีและจำนวนคดีจำแนกตามศาลและภูมิภาค
พื้นที่ที่เกิดเหตุและ
มีการดำเนินคดี
|
ศาลยุติธรรม
|
ศาลเยาวชนและครอบครัว
|
รวม
(คน/คดี)
|
||
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (คน)
|
จำนวนคดี (คดี)
|
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (คน)
|
จำนวนคดี (คดี)
|
||
กรุงเทพฯ |
789
|
589
|
31
|
31
|
820/620
|
ปริมณฑล |
148
|
120
|
17
|
17
|
165/137
|
ภาคกลาง |
188
|
183
|
28
|
28
|
216/211
|
ภาคเหนือ |
34
|
21
|
8
|
8
|
42/29
|
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ |
432
|
298
|
83
|
82
|
515/380
|
ภาคตะวันออก |
5
|
4
|
-
|
-
|
5/4
|
รวม
|
1,596
|
1,215
|
167
|
166
|
1,763/1,381
|
ตาราง 2 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีจำแนกตามศาลและประเภทคดีที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในแต่ละภูมิภาค
พื้นที่ที่เกิดเหตุ
และมีการดำเนินคดี
|
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรม (คน)
|
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ (คน)
|
รวม
(คน)
|
||||
ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
|
คดี อาญาอื่นๆ
|
ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และคดีอาญาอื่นๆ
|
ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
|
คดี อาญาอื่นๆ
|
ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และคดีอาญาอื่นๆ
|
||
กรุงเทพฯ |
539
|
48
|
202
|
22
|
1
|
8
|
820
|
ปริมณฑล |
60
|
1
|
87
|
16
|
-
|
1
|
165
|
ภาคกลาง |
163
|
6
|
19
|
26
|
-
|
2
|
216
|
ภาคเหนือ |
3
|
2
|
29
|
5
|
-
|
3
|
42
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
234
|
77
|
121
|
71
|
-
|
12
|
515
|
ภาคตะวันออก |
3
|
-
|
2
|
-
|
-
|
-
|
5
|
รวม
|
1,002
|
134
|
460
|
140
|
1
|
26
|
1,763
|
ตาราง 3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี และผู้ต้องขังจำแนกตามสถานะของคดี
สถานะของคดี
|
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (คน)
|
จำนวนผู้ต้องขัง
(คน)
|
ชั้นสอบสวน/อัยการ |
7
|
-
|
ชั้นพิจารณา |
54
|
3
|
ชั้นอุทธรณ์ |
153
|
27
|
ชั้นฎีกา |
18
|
9
|
คดีเด็ดขาด |
1,307
|
11**
|
จำหน่ายคดีชั่วคราว (หลบหนี) |
15
|
-
|
จำหน่ายคดีเด็ดขาด (เสียชีวิต) |
3
|
-
|
ไม่มีข้อมูลสถานะคดี |
46
|
-
|
รวม
|
1,603*
|
50
|
** เป็นนักโทษคดีเสพและครอบครองยาเสพติด พร้อมทั้งฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน
2. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ปรับข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556
2.1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) โดยมี
- จำนวนผู้ถูกฟ้องเพิ่ม 2 ราย
(เดิมถูกจับกุมแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง) ข้อหาบุกรุกศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
และมั่วสุมก่อความวุ่นวาย 1 ราย (เยาวชน) และข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ
พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย
- จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีแต่ข้อมูลตกหล่น
68 ราย ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกนอกเคหสถาน (เชียงใหม่) 67 ราย
2.2 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว ประมาณ 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน
2.3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด ประมาณ 150 คน ได้ประกัน 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกัน(อยู่ในเรือนจำต่างๆ) 13 คน
2.4 จำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้ (เท่าที่มีข้อมูล)
- จ.มุกดาหาร 65 หมาย[2]
- จ.อุดรฯ 50 หมาย
- จ.อุบลฯ คดีเผาศาลากลาง 44 หมาย คดีอื่นๆ จำนวนหลักร้อย
- จ.ขอนแก่น จำนวนหลักร้อย
- เชียงใหม่ไม่ทราบแน่
2.5 ตัวอย่างคดีที่ถูกฟ้องมากกว่าหนึ่งข้อหา และคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องแต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีต่อ[3]
(1) กรณีอุดรธานี – นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก
20 ปี, นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 10 ปี 3 เดือน, นายเดชา คมขำ จำคุก 20
ปี 6 เดือน, นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน
และแต่ละคนต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกคนละตั้งแต่ 31-47.3 ล้านบาท
นอกจากข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและวางเพลิงที่ว่าการอำเภอแล้ว ทั้ง 4
คนนี้ ยังมีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + บุกรุกโดยมีอาวุธ +
และทำให้เสียทรัพย์ (รถดับเพลิง)(2) กรณีอุบลราชธานี - น.ส.ปัทมา มูลมิล,นาย ธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ, นายสนอง เกตุสุวรรณ์, นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ทั้ง 4 คนนี้ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดให้คนละ 1 ใน 3 เหลือ 34 ปี นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และวางเพลิงเผาศาลากลางอุบลราชธานี ศาลตัดสินให้พวกเขามีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + กีดขวางทางจราจร + และทำให้เสียทรัพย์ของเอกชน (ร้านค้าเอกชนในพื้นที่ศาลากลางถูกเพลิงไหม้ไปด้วย) ต่อให้ตัดข้อหาเผาศาลากลางและ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป นักโทษจากอุดรฯและอุบลฯ ก็อาจต้องโทษจำคุกอีกคนละหลายปี
(3) กรณีนายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำคุกคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับ 6,100 บาท ในฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน + มีวัตถุระเบิดและเครื่องวิทยุชนิดมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต + พกพาวัตถุระเบิดและอาวุธต่าง ๆ + ปล้นทรัพย์
(4) นายคำหล้า ชมชื่น จำคุก 10 ปี มีความผิดฐานปล้นปืน (เอ็ม 16) จากเจ้าหน้าที่ทหาร 2 กระบอก บริเวณซอยหมอเหล็ง (แท้จริงคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสี่แยกดินแดง มีการแย่งปืนและดึงทหารลงจากรถ)
(5) นายบัณฑิต สิทธิทุม จำคุก 38 ปี มีความผิดฐานก่อการร้าย + พกพาอาวุธปืนกล + มีวัตถุระเบิด + ใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก (ใช้อาร์พีจียิ่งใส่ ก.กลาโหม) + ใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) + พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร
(6) คดีผู้หญิงยิง ฮ. – คดีนี้มีจำเลย 3 คน คือ 1.นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ 2. นายสุรชัย นิลโสภา 3. นายชาตรี ศรีจินดา ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ และปลอมแปลงเอกสารราชการ ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสามคน แต่อัยการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 (นางนฤมล) ส่วนจำเลยที่ 2 เสียชีวิต และไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 3 หากร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับประชาชนผ่านสภา นางนฤมลก็ยังต้องถูกดำเนินคดีต่อไป
(7) คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล – แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ไปแล้วก็ตาม แต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป
3. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (เท่าที่รวบรวมได้) 55 รายจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย
จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด 23 ราย (ไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย)
· ข้อสังเกต/ข้อเสนอของ ศปช.
1.
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับ
การชุมนุมปี 53 ของ ศปช. เป็นเพียงความพยายามขององค์กรภาคประชาชนเล็กๆ
ในการทำให้สังคมได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
ดังนั้น ข้อมูลของ
ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง
โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม
และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก
ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ
ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล
ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม
หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง2. ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก
ก. การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่
พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง
โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย
เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย
และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห
จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น
ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
ข. หน่วยงานใน
กระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม
ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม
และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน
หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง
ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น
บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว
ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง
การใช้ดุลพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ
และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง
ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯลฯ
เหล่านี้
ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่
แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมใน
คดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น
การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบา (1 ปี)
โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว
พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ
ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น
(เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย
พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เป็นต้น
ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น
ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดอง
กัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ
และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีและสังคม นอกจากนี้
ในระยะยาว ควรต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง
ตลอดจนผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง
ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล
และเรือนจำ
เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นใน
สังคมได้อย่างแท้จริง
[1]
สำหรับรายละเอียดของแต่ละคดี จะอยู่ในรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม:
เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53” ฉบับออนไลน์
ค้นได้จากเว็บไซต์: http://www.pic2010.org.
[2] ตัวเลขของมุกดาหารได้มาจากคำเบิกความของตำรวจในศาลเยาวชน มุกดาหาร จะเป็นใครบ้าง ข้อหาอะไรบ้าง ศปช. ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้.
[3] พวงทอง ภวัครพันธุ์. 2556. ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก ประชาไท เว็บไซต์: http://prachatai.com/journal/2013/07/47796.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น