ผมขอชี้แจงเรื่องร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับประชาชน(เพิ่มเติม)เพราะมีการกล่าว และ/สันนิษฐานว่า
คณะนิติราษฎร์และศูนย์ข้อมูลประชาชน (ศปช.) ได้เข้ามาช่วยยกร่างให้ ดังนี้
ผมในฐานะคนรวบรวมความคิดเห็นและขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่พอจะรู้จัก
และขอคำปรึกษาได้ได้นำร่างรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์และร่าง
พรบ.ของวรชัยมารวมกันก่อนจะร่างขึ้นมาใหม่
โดยทำตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้งสองร่างซึ่งเป็นวิธีที่เคยทำเมื่อ
ครั้งจะต้องยกร่าง กม.เกี่ยวกับเด็กสมัยทำงานพัฒนาด้านเด็กในอดีต
นอกจากนั้น แม่น้องเกดกับผม และพี่นิชา (หิรัญบูรณะ ธุวธรรม)
เคยไปให้ความเห็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ
และร่างนิรโทษกรรมฯฉบับอื่นอื่นเมื่อปีที่แล้ว (๒๕๕๕)
ต่อคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก.ซึ่งตอนนั้นมีประมาณ ๕ ฉบับ
รวมทั้งของพล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน พรรคมาตุภูมิและคุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ
พรรคเพื่อไทยอยู่ด้วยซึ่งผมก็เอาเนื้อหาตรงนั้นมาใช้ด้วยเช่นกันซึ่งในการ
ประชุมครั้งนั้นก็มีคุณวีรพัฒน์ปริยวงศ์ไปให้ความเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ
กฎหมายด้วย
(ส่วนเพิ่มเติม)
ตอนนั้นเรื่องร่างกฎหมายไม่ได้อยู่ในหัวของญาติคนไหนเลยเรายังหวังว่าจะมี
ร่างที่ดีกว่านี้ออกมากันร่างเหล่านี้ไม่ให้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งมีร่าง
ของคุณวรชัย
เหมะออกมาเมื่อต้นปีกลุ่มญาติฯก็แถลงข่าวสนับสนุนร่างนี้เช่นกันในการจัด
เวทีญาติในวันครบรอบ ๓ ปีวันที ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา
แต่เมื่อกลุ่มญาติฯได้นำร่างของคุณวรชัยมาอ่านเราพบความคลุมเครือของ
การไม่กล่าวถึงปฏิบัติการทางทหารซึ่งบางคนมองว่าการไม่กล่าวถึงน่าจะหมาย
ความว่าปฏิบัติการทางทหารนั้นชอบธรรมอยู่แล้วซึ่งนักกฎหมายบางท่านให้ความ
เห็นว่าน่าจะใช่
อย่างไรก็ตามคุณวรชัยได้ยอมรับแล้วว่าร่างของคุณวรชัยนั้นนิรโทษกรรมทหารทั้งหมดกรุณาอ่านที่นี่ ('วรชัย' ชี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับญาติวีรชนเดินหน้าลำบาก)
เมื่อเห็นว่าไม่สามารถพึ่งพานักการเมืองได้ทางญาติจึงจำเป็นต้องร่าง
พ.ร.บ.นี้ขึ้นมาเองนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกลุ่มญาติฯ
เพิ่งมาร่างเอาป่านนี้
เพราะเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้หรือไม่และจะได้รับความช่วยเหลือจากใครบ้าง
สำหรับกระบวนการยกร่างนั้นกลุ่มญาติฯตั้งต้นจากนำการกระทำที่ควรนิรโทษ
กับไม่สมควรนิรโทษมาเป็นตัวตั้งโดยไม่ได้ดูว่าควรนิรโทษใคร (นิรโทษกรรม =
นิรโทษ + กรรม (หรือการกระทำ)
แล้วเห็นร่วมกันในเบื้องต้นว่าควรจะนิรโทษการกระทำแบบไหน
หลังจากนั้นผมใช้วิธี ctrlc + ctrl v จากทุกร่าง
แล้วสกัดคำที่ญาติดูแล้วไม่เข้าใจหรือไม่พอใจ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นออก
(เราจะร่างให้เข้าใจง่ายมากกว่าร่างให้เป็นแบบที่นักกฎหมายร่าง)
นอกจากนั้นผมยังได้ตั้งกิจกรรมเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ร่างของคุณวรชัยเหมะและคณะในเฟซบุ๊คของผมเองและได้ความคิดเห็นที่น่าสนใจและ
ผมได้รวบรวมไว้เพื่อปิดช่องโหว่จากร่างของคุณวรชัยให้ครบถ้วนตามที่ญาติแสดง
ความต้องการไว้และยังได้ขอความเห็นเพื่อนนักกิจกรรมต้านรัฐประหาร
เพื่อนทนายสิทธิมนุษยชนอาจารย์ด้านสันติวิธี ฯลฯ ก่อนจะได้ร่างนี้มา
หลังจากนั้นจึงไปชี้แจงกับอาจารย์บางท่านในคณะนิติราษฎร์ว่าผมลอกคำใน
ร่างฯมาใช้ตรงไหนบ้าง
ซึ่งอาจารย์ท่านก็แนะนำว่าให้ระวังการใช้คำเพราะมันเป็นร่างที่คนละระดับของ
การบังคับใช้ (รัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติ)
ในส่วนการลอกนั้นอาจารย์ท่านนั้นบอกว่าลอกหรือไม่ลอกก็ไม่เป็นไรเพราะคณะ
นิติราษฎร์ร่างรัฐธรรมนูญชิ้นนั้นขึ้นมาเพราะเป็น “บริการวิชาการสาธารณะ”
ใครนำไปใช้ก็ได้
แต่คณะนิติราษฎร์มีจุดยืนในร่างรัฐธรรมนูญอาจารย์ท่านนั้นจึงไม่สะดวกที่จะ
เข้ามาช่วยแก้ไขความ
หรือคำแต่ถ้าสอบถามความคิดเห็นในข้อกฎหมายอาจารย์คณะนิติราษฎร์ทุกท่านก็
ยินดีและพร้อมให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผมตรวจสอบพบว่า "เนื้อความ"
บางส่วนในร่างของคุณวรชัยก็นำมาจากร่างของนิติราษฎร์ด้วยเช่นกัน
ก่อนที่จะสรุปเป็นร่างสุดท้าย
ผมได้ขอความเห็นจากเพื่อนที่ทำงานในศูนย์ข้อมูลประชาชน (ศปช.)
บางคนว่าร่างนี้ได้นิรโทษกรรมครอบคลุมมวลชนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงหรือไม่
ซึ่งเจ้าหน้าที่บางท่านเป็นห่วงในส่วนการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
(ผมไม่ทราบรายละเอียด)
ผมเลยอธิบายว่าถ้าแย่งปืนจากทหารระหว่างการชุมนุมหรือนอกการชุมนุมแต่มีผล
เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวร่างนี้ครอบคลุมให้นิรโทษแต่ถ้าเอาปืน
ตัวเองหรือปืนใครเข้ามาในที่ชุมนุมญาติเห็นว่าไม่สมควรนิรโทษเว้นแต่ว่าการ
กระทำนั้นเข้าข่ายลหุโทษ (โทษเบา)
ซึ่งการพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยเฉพาะที่ชุมนุมของคนหมู่มากไม่น่าจะ
ใช่ลหุโทษส่วนโดนเจ้าหน้าที่ยัดอาวุธปืนใส่มือ
(ผมไม่ทราบว่ามีกรณีนี้หรือไม่) ก็จำเป็นต้องพิสูจน์ทราบต่อไป
อย่างไรก็ตาม
เราเห็นร่วมกันว่าถ้าใครถูกจับด้วยข้อหาอะไรสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับ
คือสิทธิในการประกันตัวเพราะขนบกฎหมายบ้านเราใช้วิธีกล่าวหา
ดังนั้นสิทธิในการประกันตัวต้องมาก่อน
(ซึ่งในทางปฏิบัติเราจะทราบได้ว่าไม่จริงนี่เป็นบางส่วนของเหตุผลที่ว่าทำไม
คณะนิติราษฎร์จึงร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ร่าง พรบ.)
(ส่วนเพิ่มเติม) ในส่วนที่มีมิตรสหายบางท่านแสดงความห่วงใยว่าพี่น้องที่เผาศาลากลางอาจจะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจากร่าง พ.ร.บ.นี้
ผมได้ชี้แจงว่าในร่างแรกแรกนั้นมีคำว่า
"การกระทำใดใดที่เป็นความผิดต่อทรัพย์สินอันเป็นสถานที่ราชการหรือ
สัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ เช่น การเผาทำลายศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ
ฯลฯให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง" บรรจุไว้ในมาตรา 3
(4) ก่อนจะกล่าวถึงการเอาผิดผู้เผาทำลายทรัพย์สินเอกชน
กรณีนี้
นักวิชาการทางกฎหมายท่านหนึ่งบอกผมว่าถ้าไม่นิรโทษคนเผาทรัพย์สินเอกชนแล้ว
ข้อความในวรรคนี้ไม่ต้องมีก็ได้ ให้เลือกเอาว่าจะตัดวรรคไหนออก
ผมเลยเลือกตัดวรรคนี้ออกเพราะมัวนึกถึงเจตนารมณ์ของญาติที่ต้องการเอาผิดคน
เผาห้าง ฯลฯ
แต่หลายท่านก็ยังบอกว่าในขั้นแปรญัตติค่อยเพิ่มเข้าไปใหม่ก็ได้
อย่างไรก็ดีในมาตรา 4 เขียนถึงการเอาผิด และการนิรโทษ
ซึ่งอ่านแล้วมันลักลั่นกันซึ่งกลุ่มญาติขอขอบคุณ คุณ John Nonlen
สำหรับคำชี้แนะนี้เพราะอย่างที่คุณจอนว่ามันอาจกลายเป็นช่องโหว่ให้คนตีความ
ในทางที่เป็นโทษได้ (แต่นักวิชาการ และ/หรือ
นักกฎหมายทุกท่านยืนยันว่าค่อนข้างยากยกเว้นจะมีการแก้ไขคำในขึ้นแปรญัตติ
ชนิดผิดความไปเลย)
ในส่วนที่บางท่านวิจารณ์ว่า ร่างนี้เข้าข่ายที่นักโทษมาตรา ๑๑๒
อาจจะได้รับการนิรโทษกรรมนั้น ผมเองก็เพิ่งทราบว่าร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชนมีบางเนื้อความเข้าข่ายมาตรา๑๑๒
ซึ่งขอเรียนให้ทราบว่าไม่ใช่เจตนาของคนร่างหรือนักวิชาการนักกฎหมายที่มา
ช่วยกันร่างแต่อย่างใดครับแต่ในการร่างมีการแก้คำกันไปมาจากนักวิชาการหลาย
ท่าน ตอน finalize
เลยไม่ทราบว่าไปตกเข้าข่ายตอนไหนถ้าผิดพลาดอย่างไรน่าจะเกิดจากตัวผมเอง
อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการแปรญัตติในวาระ ๒
ถ้าหลายท่านไม่สบายใจก็สามารถแก้ไขความหรือคำได้อยู่แล้วผมเห็นว่าอย่าหา
เหตุแค่คำสองสามคำมาเป็นข้ออ้างในการไม่รับรองร่างหรือรับร่างนี้แล้วใช้
เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามเลยครับ
เพราะตอนร่างนั้นญาติได้โฟกัสไปที่ "บุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมชุมนุม"
เพราะมีนักโทษการเมือง
และผู้มีหมายจับหลายท่านถูกจับที่บ้านและยัดข้อหาจากเจ้าพนักงาน
ส่วนข้อความก่อนหน้าของมาตรา ๓ (๓) เราไม่ทราบเลยว่าเข้าข่ายมาตรา ๑๑๒
อ่านคำวิจารณ์ของคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรมและคุณบุญระดม จิตรดอน ที่นี่ (คำต่อคำ!!! "สนธิญาณ" ชี้ร่างนิรโทษฉบับ ปชช.หมกเม็ดหวังช่วยคนผิด ม.112-เตือน ปชป.อย่าผลีผลามหนุน)
สรุปว่ากระบวนการร่าง พ.ร.บ.ฯ นี้
จึงมาจากที่ชี้แจงข้างต้นโดยลอกคำในร่างรัฐธรรมนูญบางส่วนของคณะนิติราษฎร์
มาใช้ ควบรวมกับร่างอื่นอื่นโดยเฉพาะร่างคุณวรชัยและคณะ
และขอข้อมูลเรื่องคดีและนักโทษการเมืองจากเพื่อนเพื่อนศปช.ให้เขาช่วยดูว่า
ครอบคลุมนักโทษการเมืองทุกคนหรือไม่เพราะกลุ่มญาติฯคำนึงถึงนักโทษการเมือง
มาเป็นอันดับแรกไม่ใช่พวกเราเองอย่างที่บางท่านได้ชิงวิจารณ์ก่อนจะเห็น
“ตัวบท” ทั้งหมด
ร่างนี้แม้กลุ่มญาติจะช่วยกันยกร่างขึ้นแต่เราใช้ชื่อว่าร่างฉบับ
ประชาชน เพราะเราเชื่อว่าถ้าประชาชนทุกสีทุกฝ่ายได้อ่านน่าจะพอใจและ
“พอรับได้”
มากกว่าทุกร่างที่นักการเมืองได้นำเสนอมาและมีแต่พี่น้องประชาชนเท่านั้นที่
จะช่วยกดดันให้ร่างนี้เป็นร่างหลักและผ่านรัฐสภาโดยเร็วเพื่อการบังคับใช้
เพื่อให้นักโทษการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงได้ออกมาจากเรือนจำในส่วน
ที่ไม่สามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นให้นานและทั่วถึงมากกว่านี้ทางกลุ่มญาติฯ
ต้องขออภัยเพราะเกรงว่าจะปรับแก้ไม่ทันสภาผู้แทนราษฎรเปิดในต้นเดือนสิงหาคม
ที่จะถึงนี้
สำหรับความลักลั่น ซ้ำซ้อนและประดักประเดิด
ของภาษาที่ใช้ในร่างนี้นั้นผมคงต้องกล่าวโทษสาขาวิชาสันทนาการ
คณะพลศึกษาที่ผมเรียนจบมาเพราะไม่มีวิชานิติศาสตร์ในการเรียนการสอนตามหลัก
สูตรนี้แต่อย่างใด จะเรียกว่าจบพละแล้วริมาร่างข้อเสนอกฎหมายคงไม่ผิดนะครับ
จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบ และขอบคุณทุกท่านที่สนใจมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ,
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ตัวแทนกลุ่มญาติฯ
หมายเหตุ:
๑. เราเพิ่งทราบจากคนในฝั่งมวลชนพันธมิตรที่ให้ข้อมูลกับเราและได้อ่านร่างนี้แล้วว่ายังมีมวลชนพันธมิตรถูกคุมขังอยู่
๒. ผมได้รับฉันทามติจากลุ่มญาติฯให้ชี้แจงในส่วนเนื้อหาของร่างนี้ส่วนความคิดเห็นท่านสามารถสอบถามญาติฯทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมได้
๓. กรณีการเผาห้างนั้น ศาลได้ยกฟ้องคนเสื้อแดงไปแล้วจึงต้องพิสูจน์ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัวของ
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ โดยทางกองบรรณาธิการได้รับอนุญาตจากคุณพันธ์ศักดิ์
ศรีเทพเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อในหน้าเว็บประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น