แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชาธรรม: วิจัยเผยปัจจัยความพร้อมวิทยุชุมชน-แนะ กสทช.สนับสนุนรอบด้าน

ที่มา ประชาไท


เวทีสาธารณะเปิด (ร่าง) สรุปผลการศึกษา “โครงการวิจัยการตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย”  พร้อม 6 ข้อเสนอเบื้องต้นต่อ กสทช.
 
วันที่ 27 ก.ค.56 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเวทีสาธารณะ “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย” โดยมีตัวแทนวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 200 คนเข้าร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะต่อ ร่างผลการวิจัยอย่างคึกคัก
 
งานวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก กสท.โดยใช้ระยะเวลาศึกษาจำนวน 6 เดือน (ระหว่างเดือนมี.ค.-ก.ย.56) ตามวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนที่จะดำเนินการเป็นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ 2.ศึกษากรอบแนวทาง รูปแบบ วิธีการหารายได้ของผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนของประเทศไทย และ 3.ศึกษากรอบแนวทาง กลไก การกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการส่งเสริมชุมชนที่มีความพร้อมให้เป็นผู้มีคุณสมบัติในการขอรับใบ อนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชน
 
การศึกษาได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 4 ภาค ผ่าน 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีวิทยุในด้านการบริหารจัดการสถานีวิทยุ จำนวน 20 สถานีใน 4 ภาค และ2.กลุ่มผู้ฟังวิทยุชุมชน จำนวน 200 คน ใน 4 ภาค โดยการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสังเกตการสัมภาษณ์บุคลากรของวิทยุชุมชน ตลอดจนผู้รับฟังรายการ หลังจากได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ทีมวิจัยแต่ละภาคได้ประมวลสรุปผลการศึกษาและนำเสนอข้อมูลในเวทีประชุมกลุ่ม ย่อย เพื่อตรวจสอบยืนยันข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม
 
 
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า งานวิจัยนี้ได้นำกรอบแนวคิดการบริหารจัดการทางธุรกิจเพื่อมาใช้อธิบายการ ดำเนินของวิทยุชุมชน ซึ่งมักเป็นประเด็นที่วิทยุธุรกิจนำมากล่าวอ้างเสมอว่าวิทยุชุมชนเป็น อุดมคติ ทำไม่ได้จริงในสังคมไทย
 
อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการวิทยุชุมชนแตกต่างจากการบริหารจัดการ องค์กรรูปแบบอื่นอย่างมาก เพราะการบริหารจัดการโดยทั่วไปเป็นวิธีคิดเชิงธุรกิจที่ต้องการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ากับการลงทุน การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจมีต้นทุนต่ำ ทั้งทุนด้านเวลา งบประมาณ และกำลังคน แต่ให้ผลตอบแทนสูง แต่การบริหารจัดการวิทยุชุมชนมุ่งเน้นการสร้างทุนทางสังคมมากกว่าตัวเงิน ดังนั้นการบริหารจัดการวิทยุชุมชนเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินงานวิทยุ ชุมชนจึงจำเป็นต้องมีทิศทาง และวิธีการที่สอดคล้องกับความหมายที่แท้จริงของวิทยุชุมชนที่เน้นหลักการ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และถ้าบริหารจัดการไม่ถูกต้อง อาจทำให้การดำเนินงานหลงทิศ ผิดเป้าหมาย เกิดปัญหา อุปสรรค นำไปสู่ความขัดแย้ง จนอาจต้องหยุดกระจายเสียงหรือปิดสถานีในที่สุด
 
สำหรับ ร่างผลจากการศึกษาการตรวจสอบคุณสมบัติ ปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนในประเทศไทย พบว่า สถานีวิทยุชุมชนมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักการดำเนินของสถานีวิทยุชุมชน คือ ชุมชนเป็นเจ้าของ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และดำเนินงานในรูปแบบอาสาสมัคร เพื่อประโยชน์ชุมชน
 
โครงสร้างการบริหารจัดการของสถานี ประกอบด้วยหัวหน้าสถานี คณะกรรมการสถานี และอาสาสมัครฝ่ายต่างๆ ทุกสถานีมีรายได้ซึ่งมาจากการสนับสนุนของชุมชนเป็นหลัก ออกอากาศโดยไม่มีโฆษณาเพราะไม่แสวงหาผลกำไรในเชิงธุรกิจ เพื่อรักษาความเป็นอิสระ และเป็นปากเสียงของชุมชนการดำเนินงานของวิทยุชุมชนเพื่อมุ่งตอบสนองความต้อง การของชุมชนและรักษาผลประโยชน์ ซึ่งสะท้อนผ่านสัดส่วนของรายการที่ชุมชนผลิตเองหรือรับรายการจากที่อื่นหาก เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับชุมชน มุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลข่าวสารของชุมชนเป็นหลัก รวมทั้งการมีบทบาทสนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆของชุมชน
 
ส่วนปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนในภาคเหนือ ซึ่งวิเคราะห์ตามกรอบ 5 M นั้น สรุปได้ดังนี้
 
1. ความพร้อมด้านบุคลากร (Man) ซึ่งประกอบไปด้วย หัวหน้าสถานี คณะกรรมการสถานี อาสาสมัครฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายผู้จัดรายการวิทยุ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายเทคนิค เป็นต้น พบว่าสถานีวิทยุชุมชนมีบุคลากรมาช่วยงานด้วยใจ ในลักษณะอาสาสมัคร ไม่มีค่าตอบแทน ยกเว้นบางแห่งที่มีเจ้าหน้าที่ประจำของสถานีที่ได้รับค่าตอบแทน แต่ก็ใช้เป็นรูปสวัสดิการมากว่าเป็นเงินเดือน บุคลากรที่มาทำงานวิทยุชุมชน จึงต้องมีคุณสมบัติประการแรกคือ เป็นคนดีซึ่งได้แก่ เป็นบุคคลที่เสียสละ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของส่วนรวม มีความซื่อสัตย์สุจริต และคุณสมบัติรองลงมา คือ มีความรู้ความสามารถในการงานที่ตนรับผิดชอบ และ มีความเข้าใจหลักการของวิทยุชุมชน ตามลำดับ

ส่วนการได้มาของหัวหน้าสถานีและคณะกรรมการของสถานีนั้น นิยมใช้วิธีการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชน หรือคณะกรรมการโดยส่วนใหญ่มักเป็นตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว และมีศักยภาพในการดึงความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมมาสนับสนุนงานของสถานี วิทยุชุมชนได้
 
2. ความพร้อมด้านการเงิน (Money) พบว่าสิ่งที่ชุมชนให้การสนับสนุนวิทยุชุมชนมากที่สุด คือ ด้านการเงิน โดยเงินที่สนับสนุนนั้นได้มาจากสมาชิกในชุมชนเป็นหลัก และรองลงมาคือ หน่วยงานหรือองค์กรที่ก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชน รูปแบบที่วิทยุชุมชนนิยมใช้ในการระดมทุนหารายได้เข้าสถานีมากที่สุด คือ การจัดกิจกรรมทางศาสนา หรือ กิจกรรมประจำปีของชุมชน สถานีวิทยุชุมชนจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าของสถานี ค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ค่าซ่อมแซมเครื่องส่ง และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประจำของสถานี
 
เมื่อสอบถามถึงความต้องการในการช่วยเหลือหรือสนับสนุนด้านการเงินให้ เกิดความพร้อมในการดำเนินการวิทยุชุมชน พบว่า สถานีวิทยุชุมชนต้องการให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สนับสนุนด้านเงินทุนแก่สถานีวิทยุชุมชนตามกฎหมายมากที่สุด โดยควรสนับสนุนในสัดส่วนระหว่างกสทช.และชุมชน ร้อยละ50:50 ของรายจ่ายทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 80,000 - 100,000 บาท/ปี เพื่อคงความเป็นอิสระในการดำเนินงานของวิทยุชุมชน และการพึ่งพาตนเองของวิทยุชุมชน
 
3. ความพร้อมด้านเนื้อหา (Material) พบว่า ผังรายการของสถานีในช่วงแรกจะมาจากการประชุมพิจารณาหรือกำหนดโดยคณะกรรมการ สถานี แต่พอสถานีได้ดำเนินการออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง ก็จะมีการปรับเปลี่ยนผังรายการตามข้อเสนอแนะจากผู้ฟังด้วย เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ฟัง โดยรายการส่วนใหญ่ที่บรรจุอยู่ในผังรายการของสถานีนั้น คนในชุมชนจะเป็นผู้ผลิตรายการเอง ซึ่งมีร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 40 นั้น เป็นรายการที่ถ่ายทอดสัญญาณหรือรับมาจากที่อื่น ซึ่งคณะกรรมการของสถานีก็จะเป็นผู้พิจารณากันว่า เนื้อหาของรายการที่รับมาจากที่อื่นนั้นต้องเป็นประโยชน์กับชุมชน
 
หากวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบของรายการ จะพบว่า เนื้อหารายการส่วนใหญ่จะนำเสนอเนื้อหาที่เป็นความบันเทิงในด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่นมากกว่ารายการประเภทอื่นๆ ส่วนผู้จัดรายการนั้น พบว่า เป็นคนในชุมชน กลุ่มนักเรียน นักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น หมอ ครู ตำรวจ และสุดท้าย คือ นักปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
 
ปัญหาของการจัดรายการวิทยุที่พบมากที่สุด คือ ด้านเวลาของผู้จัดรายการ ที่ขาดความต่อเนื่องในการมาจัดรายการวิทยุ และผู้จัดรายการก็ขาดทักษะในการจัดรายการวิทยุด้วย ดังนั้นเมื่อสอบถามถึงความต้องการในการพัฒนารายการ ผู้จัดรายการวิทยุชุมชนจะมีความต้องการอันดับหนึ่ง คือ ต้องการได้รับการอบรมในด้านการจัดรายการวิทยุหรือการเป็นผู้ประกาศ รองลงมา คือ การควบคุมเทคนิค การบันทึกเทปและการตัดต่อ และอันดับสุดท้ายคือ การเขียนบทวิทยุ และหน่วยงานที่เหมาะสมจะให้เป็นผู้จัดการอบรม คือ กสทช. หรือ สถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพในระดับท้องถิ่น
 
4. ความพร้อมด้านเทคนิค (Machine) จากผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของวิทยุชุมชนมีการเรียนรู้ด้านเทคนิคกันเอง ซึ่งการเรียนรู้ด้านเทคนิคนี้ จะเป็นความรู้และทักษะในการจัดการดูแลเกี่ยวกับเทคนิคในเบื้องต้น เช่น การควบคุมเสียง การดูแลควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องส่ง เป็นต้น ส่วนความรู้และทักษะด้านเทคนิคที่ซับซ้อนขึ้น ได้แก่ การซ่อมแซมเครื่องส่งเมื่อเสีย บุคลากรของสถานีวิทยุชุมชนยังไม่สามารถจัดการได้ ต้องส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้จัดการ ซึ่งอยู่ภายนอกชุมชน และมีจำนวนจำกัด
 
เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้ช่วยเหลือหรือสนับสนุนความพร้อมด้าน เทคนิค ผลปรากฏว่า วิทยุชุมชนต้องการให้ กสทช.สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและออกตรวจ เครื่องส่งเป็นระยะ รองลงมาคือ อบรมให้ความรู้ด้านเทคนิค และสุดท้าย คือ ให้ กสทช.สนับสนุนด้านการเงินในการซ่อมแซมบำรุงเครื่องส่ง เพราะการซ่อมแซมเครื่องส่งในแต่ละครั้งนั้นเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
 
ส่วนปัญหาคลื่นแทรก คลื่นทับซ้อนซึ่งมาจากสถานีวิทยุแห่งอื่นนั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่และพบบ่อยมากที่สุดของวิทยุชุมชน มีถึงร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของปัญหาด้านเทคนิคทั้งหมด ดังนั้นสถานีวิทยุชุมชนจึงเสนอมายัง กสทช.ให้ช่วยจัดระเบียบคลื่นความถี่ตามกฎหมายอย่างจริงจัง
 
นอกจากนี้ ในการให้วิทยุชุมชนบันทึกรายการไว้เป็นหลักฐานตามกฎหมายนั้น จากผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เกือบทุกสถานีจะมีการบันทึกรายการไว้ในคอมพิวเตอร์ และซีดีหรือดีวีดีตามลำดับ แต่มีบางสถานีเท่านั้นที่ไม่สามารถบันทึกรายการได้ โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่จะบันทึก และบุคลากรของสถานีก็ขาดทักษะในการบันทึกรายการ
 
5. ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ (Management) พบว่า วิทยุชุมชนมีระบบการบริหารจัดการผ่านการประชุมของคณะกรรมการสถานีอย่าง น้อย 1-3 เดือนต่อครั้งมากที่สุด และรองลงมาคือ มีการประชุมของคณะกรรมการเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเรื่องเร่งด่วนเกี่ยวกับ สถานี ซึ่งประเด็นที่ปรึกษาหารือกันในที่ประชุมของคณะกรรมการส่วนใหญ่หรือมากที่ สุด ก็คือ เรื่องการบริหารจัดการ รองลงมาคือ เรื่องการจัดรายการวิทยุ และสุดท้ายเรื่องการจัดการด้านเทคนิค ตามลำดับ โดยการประชุมแต่ละครั้ง จะมีเลขานุการคณะกรรมการ หรือคณะกรรมการในการประชุมหมุนเวียนช่วยกันจดบันทึกการประชุมไว้ด้วย
 
นอกจากสถานีวิทยุชุมชนจะมีการบริหารจัดการสถานีผ่านการประชุมของคณะ กรรมการอยู่เป็นประจำแล้ว กลุ่มผู้ฟังทางบ้านก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือ ให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงการทำงานของสถานีวิทยุชุมชนผ่านช่องทางต่างๆได้ด้วย โดยผู้ฟังทางบ้านจะแสดงความคิดเห็นผ่านตัวผู้จัดรายการวิทยุหรือคณะกรรมการ ของสถานี เมื่อพบเจอกันในชุมชนมากที่สุด รองลงมา คือ เสนอแนะผ่านในรายการวิทยุ และสุดท้ายผ่านทางเว็บไซต์ของสถานี
 
การบริหารจัดการทางด้านการเงิน สถานีวิทยุชุมชนจะมีการบันทึกเป็นรายรับรายจ่ายเพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยชุมชนสามารถตรวจสอบผ่านเอกสารซึ่งแสดงไว้ที่สถานี หรือการแจ้งผ่านรายการของสถานีในช่วงเวลาก่อนปิดสถานีทุกวัน หรือแจ้งให้ทราบในการประชุมของคณะกรรมการ
 
 
นอกจากนั้นโครงการวิจัยฯ ได้ศึกษากลยุทธ์การจูงใจของสถานีเพื่อให้ชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานสถานี วิทยุชุมชน โดยวิเคราะห์ตามกรอบ 4P ซึ่งสรุปได้ดังนี้
 
1. สถานที่ตั้ง (Place) พบว่าสถานีวิทยุชุมชนตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ เดินทางไปมาได้สะดวก เอื้อต่อการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหรือสนับสนุนงานของวิทยุ ชุมชน เช่น ตั้งในที่ทำการองค์กรของชุมชน หรือศาสนาสถาน เป็นต้น
 
2. ผลิตภัณฑ์ (Product) พบว่า รูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุนั้น กลุ่มผู้ฟังมองว่าดีอยู่แล้ว สามารถตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ รวมทั้งได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนด้วย ดังนั้น ผู้ฟังจึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดรายการวิทยุ และผังรายการ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดมาจากคณะกรรมการของสถานีและผู้จัดรายการวิทยุเป็นหลัก
 
ส่วนเหตุผลในการติดตามรับฟังรายการมาโดยตลอดนั้น เพราะลีลาของผู้จัดรายการที่มีความเป็นกันเอง เป็นคนในชุมชน และใช้ภาษาถิ่นในการจัดรายการวิทยุ จึงทำให้เข้าใจง่ายเป็นหลัก รองลงมา คือ รูปแบบรายการมีความน่าสนใจ และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังทางบ้านมีส่วนร่วมในรายการด้วย
 
3. การสนับสนุนด้านราคา (Price) พบว่า ชุมชนให้การสนับสนุนวิทยุชุมชน ในรูปการบริจาคเงินมากที่สุด รองลงมาคือการบริจาคสิ่งของ สุดท้ายคือการเสนอตัวเป็นอาสาสมัครช่วยงานวิทยุชุมชนในด้านต่างๆ โดยการสนับสนุนด้านเงินมักเป็นรายครั้งหรือตามความสะดวกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดผ้าป่าของสถานี การบริจาคในรูปแบบสิบลดหนึ่งของคริสตจักร เป็นต้นเหตุผลในการสนับสนุนเพราะผู้ฟังเห็นว่ารายการวิทยุมีคุณภาพและมี ประโยชน์ต่อชุมชน สถานีมีบทบาทเป็นปากเป็นเสียง ทำหน้าที่ช่วยเหลืองานของชุมชน ผู้ฟังต้องการรักษาสถานีซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชุมชน รวมทั้งต้องการให้กำลังใจคณะกรรมการและผู้จัดรายการของสถานีที่เสียสละเพื่อ งานส่วนรวมมาโดยตลอด
 
4. กลยุทธ์จูงใจให้คนสนับสนุนสถานี (Promotion) พบว่า กลยุทธ์ในการสร้างแจงจูงใจให้คนในชุมชนหันมาสนับสนุนสถานีวิทยุชุมชนมากขึ้น ประกอบไปด้วย 1. ประเด็นในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ฟังสนับสนุน ซึ่งควรเป็นประเด็นเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น รองลงมาคือ ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะบุคคลที่ด้อยโอกาสในสังคม เช่น เด็ก สตรี ผู้พิการ เป็นต้น และ 2. กลยุทธ์ที่จะทำให้มีรายได้จากการระดมทุนมากขึ้น ซึ่งได้แก่ การประกาศรายชื่อผู้สนับสนุนผ่านทางสถานี การเขียนรายชื่อผู้บริจาคลงบนสิ่งของ และสุดท้าย คือ การออกไปถ่ายทอดสดกิจกรรมงานต่างๆ ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมองว่าวิทยุชุมชนช่วยเหลืองานของชุมชนมาโดยตลอด คอยอยู่เคียงข้างชุมชนเสมอ
 
ส่วนการคงความเป็นอัตลักษณ์หรือตัวตนของวิทยุชุมชน เพื่อให้ชุมชนสนับสนุนวิทยุชุมชนต่อไปหรือมากขึ้น คือ ควรเน้นความสามารถของผู้จัดรายการ การสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำสถานี และสุดท้ายคือ การเพิ่มการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยเฉพาะการรณรงค์เรื่องสิทธิชุมชน
 
ทั้งนี้ร่างสรุปผลงานวิจัยยังมีข้อเสนอเบื้องต้นต่อ กสทช. ดังนี้
1. เสนอให้ กสทช. ดำเนินการแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่แทรก/ทับซ้อนโดยเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาร่วมกันของสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ
 
2. แนวทางในการแก้ปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนระหว่างสถานีวิทยุชุมชนกับสถานี ธุรกิจ เสนอให้ กสทช. เป็นผู้เจรจากับสถานีธุรกิจที่คลื่นความถี่ทับซ้อนกับคลื่นของวิทยุชุมชน เนื่องจากสถานีวิทยุชุมชนเป็นสถานีขนาดเล็ก ไม่มีกำลังในการต่อรองกับสถานีธุรกิจได้
 
3. เสนอให้ กสทช. ทบทวนข้อกำหนดทางเทคนิคและกำลังส่งของสถานีวิทยุชุมชน ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ
 
4. การขอรับใบอนุญาต เป็นประเด็นปัญหาร่วมกันของสถานีกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งตัวแทนสถานีสะท้อนว่า ขั้นตอนและกระบวนการขอรับใบอนุญาตเป็นภาระแก่สถานีเป็นอย่างมากและไม่สอด คล้องกับแนวทางปฏิบัติของสถานีวิทยุชุมชนที่ทำงานในรูปแบบอาสาสมัคร ซึ่งผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับขั้นตอนการปฏิบัติทางราชการ สถานีกลุ่มตัวอย่างเกือบทุกสถานีประสบปัญหาเรื่องการกรอกเอกสาร การหาเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนตามที่ กสทช.กำหนด การแก้ไขเอกสาร การส่งเอกสารเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายในการตรวจเครื่องส่ง รวมถึงมีสถานีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งสถานีที่ประสบปัญหาขึ้นทะเบียนไม่ทันในช่วง เวลาที่ กสทช. กำหนด คือ สถานีวิทยุชุมชนรือเสาะเรดิโอ จ.นราธิวาส ซึ่งมีสาเหตุจากช่องทางการสื่อสารของ กสทช. ที่เน้นการสื่อสารผ่านเว็บไซต์และหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นช่องทางที่สถานีส่วน ใหญ่เข้าไม่ถึง ประกอบกับสถานีอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และภาษาหลักในการสื่อสารของชุมชนซึ่งเป็นภาษาถิ่น (ภาษายาวี) ทำให้การได้ข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอและไม่ทันท่วงที ซึ่งมีผลให้ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตที่ตามประกาศ กสทช. ที่กำหนด
 
5. เสนอให้ กสทช. จัดให้มีการฝึกอบรมเสริมศักยภาพ 3 ด้าน คือ ก. ด้านการจัดรายการ ข. ด้านเทคนิค ค. ด้านการบริหารจัดการสถานี โดย กสทช.ช่วยสนับสนุนค่าอบรมและค่าเดินทางให้กับสถานีวิทยุชุมชน รวมถึงจัดทำคู่มือประกอบการอบรม เพื่อให้ตัวแทนสถานีวิทยุชุมชนที่เข้าร่วมการอบรมสามารถนำกลับมาเผยแพร่และ ส่งต่อความรู้ให้กับอาสาสมัครของสถานีคนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
6. เสนอให้ กสทช. คุ้มครองสิทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน รวมถึงให้ความรู้/ข้อมูลข่าวสารกับสถานีที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ บริการชุมชน เพื่อให้สถานีมีความรู้ความเข้าใจและสามารถรักษาสิทธิของตนได้ เสนอให้ กสทช. ทำความเข้าใจธรรมชาติของสถานีวิทยุชุมชนที่ดำเนินการโดยระบบอาสาสมัคร ซึ่งบางครั้งมีภารกิจทำให้ไม่สามารถจัดรายการได้ตามที่กำหนดในผังรายการ
 
 
หมายเหตุ: คลิกอ่านความคิดเห็นของ รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม อดีตกรรมการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ต่องานวิจัยนี้ได้ที่ วิจัยตรวจสอบคุณสมบัติปัจจัยความพร้อมของชุมชนฯ (วิทยุชุมชน)
 
 
ที่มา: ประชาธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น